สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

ชุบทอง : รู้ ใช้ ปลอดภัย จากเคมี

ชุบทอง :  รู้ ใช้ ปลอดภัย จากเคมี
ชุบทอง : รู้ ใช้ ปลอดภัย จากเคมี
 
 

การชุบเคลือบผิวเครื่องประดับด้วยไฟฟ้า เช่น การชุบทอง เงิน นาก ว่ากันว่าเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันยังคงพบเห็นร้านรับชุบเครื่องประดับ เครื่องหมาย และของที่ระลึกต่างๆ ตามแหล่งชุมชนอยู่บ้าง โดยมักเป็นร้านขนาดเล็กที่ทำคนเดียว ใช้พื้นที่หน้าร้านเพียงเล็กน้อยตั้งอุปกรณ์ รวมไปถึงร้านที่ทำเป็นกิจการขนาดกลางที่มีลูกจ้าง 4-5 คน ทำงานในห้องแถวเล็ก ๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่ ที่สามารถชุบชิ้นงานได้เป็นร้อย ๆ ชิ้นในการชุบครั้งเดียว

 

ขั้นตอนการชุบ

 

        การชุบโลหะมีค่าประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ (รูปที่ 4)

 

การชุบทองแดงด่าง เป็นการชุบรองพื้น เพื่อให้การเคลือบผิวขั้นต่อไปยึดเกาะผิวได้ดีขึ้น เนื่องจากทองแดงด่างมีการยึดเกาะกับผิวชิ้นงานได้ดีมาก และโลหะมีค่าที่จะนำมาชุบทับสามารถยึดเกาะกับทองแดงด่างได้ดีกว่าเกาะผิวชิ้นงานโดยตรง รวมทั้งเพื่อเพิ่มความหนาของผิว ส่วนการชุบทองแดงกรดจะทำให้ผิวเรียบมันเงา ทำให้โลหะที่ชุบทับต่อไปเรียบเงา การชุบนิกเกิลจะทำให้ผิวชิ้นงานเป็นเงาสีขาวอมเหลือง เมื่อนำไปชุบทองหรือโลหะอื่นจะได้ชิ้นงานที่มีผิวชุบที่เงางาม ขั้นสุดท้ายเป็นการชุบโลหะมีค่า ได้แก่ โครเมียม ทองเหลือง นาก ทองเค เงิน ทอง ทองคำขาว และโลหะอื่น ๆ

 

ในการชุบจริงอาจมีการลดขั้นตอนลงตามความเหมาะสมของชิ้นงานด้วย เช่นหากชิ้นงานเป็นเครื่องประดับที่เคยเคลือบมาแล้ว ก็เพียงทำความสะอาดแล้วชุบขั้นสุดท้ายได้เลย ไม่ต้องชุบรองพื้นก่อน เป็นต้น

 

สารเคมีที่เกี่ยวข้อง

 

      การชุบโลหะมีค่าเป็นกิจกรรมที่มีสารเคมีเกี่ยวข้องด้วยจำนวนมาก ตัวอย่างสารเคมีที่ใช้ในการทำน้ำยาชุบและที่ใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ มีดังนี้

 

        สารละลายสำหรับล้างทำความสะอาดผิวชิ้นงาน: การทำความสะอาดทั่วไปใช้สารละลายโซเดียมไซยาไนด์เข้มข้น 20 40 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ถ้าชิ้นงานสกปรกมากอาจต้องทำความสะอาดโดยใช้กรดหรือด่างกัดก่อน

 

        น้ำยาชุบทองแดงด่าง : สูตรที่ใช้ทั่วไปประกอบด้วยสารโซเดียมไซยาไนด์ โปตัสเซียมโซเดียมทาร์เทรต โซเดียมคาร์บอเนต และคอปเปอร์ไซยาไนด์ ผสมรวมกันในน้ำกลั่น

 

        น้ำยาชุบทองแดงกรด : เป็นส่วนผสมของสารคอปเปอร์ซัลเฟต กรดซัลฟุริกหรือกรดกำมะถันเข้มข้น 96% กรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ และน้ำยาเงา (ทองแดง) น้ำกลั่น

 

        น้ำยาชุบนิกเกิล : มีองค์ประกอบหลักคือ นิกเกิลซัลเฟต นิกเกิลคลอไรด์ กรดบอริค น้ำยาพื้นนิกเกิล น้ำยาเงานิกเกิล น้ำกลั่น

 

        น้ำยาชุบทอง : มีหลายสูตรแล้วแต่ผู้ผลิตหรือผู้ใช้จะพัฒนาขึ้น สารเคมีที่ใช้ผสมเป็นน้ำยาชุบทองได้แก่ กรดไนตริกหรือกรดดินปะสิว กรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ โซเดียมไซยาไนด์ แผ่นทองคำ และน้ำกลั่น

 

        น้ำยาชุบทอง 24 เค : สารเคมีที่ใช้ได้แก่ เกลือโปตัสเซียมไซยาไนด์ โปตัสเซียมไซยาไนด์ โปตัสเซียมคาร์บอเนต โปตัสเซียมฟอสเฟต น้ำกลั่น

 

        น้ำยาชุบเงิน : ส่วนผสมของน้ำยาชุบเงินประกอบด้วย เม็ดเงินหรือแผ่นเงิน กรดซัลฟุริก โซเดียมคลอไรด์ โซเดียมไซยาไนด์ บางสูตรใช้ซิลเวอร์โปตัสเซียมไซยาไนด์ ผสมกับโปตัสเซียมไซยาไนด์และโปตัสเซียมคาร์บอเนต

       

เคมีภัณฑ์หรือน้ำยาชุบต่าง ๆ ดังตัวอย่างข้างต้นมีจำหน่ายตามร้านขายเคมีภัณฑ์ทั่วไปและที่ขายสารเฉพาะสำหรับการชุบเคลือบ โดยมีขายทั้งในแบบที่เป็นสารเคมีที่นำไปผสมเอง และที่เป็นแบบน้ำยาสำเร็จรูป ซึ่งผู้ผลิตคิดสูตรขึ้นมา มีทั้งน้ำยาทำความสะอาดสูตรต่าง ๆ ตลอดไปถึงน้ำยาชุบต่าง ๆ สำหรับกิจการขนาดกลางหรือใหญ่มักจะผสมน้ำยาชุบใช้เองเพราะประหยัดต้นทุน แต่สำหรับกิจการขนาดเล็กนิยมซื้อน้ำยาชุบสำเร็จรูปมาใช้ เพราะสะดวกกว่า           

 

ผู้ที่ให้บริการชุบรายเล็กมักซื้อสารเคมีหรือน้ำยาชุบสำเร็จรูปมาใช้ครั้งละไม่มากนัก และเป็นลักษณะการแบ่งขาย เช่นตักใส่ถุงพลาสติกให้ ดังนั้นผู้ซื้อมักไม่ได้ข้อมูลสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ที่ซื้อไปใช้ แต่สำหรับกิจการขนาดกลางและใหญ่ซึ่งจะสั่งสารเคมีมาผสมเองปริมาณต่อครั้งที่สั่งซื้อค่อนข้างมาก ปกติจะได้สารที่บรรจุมาในภาชนะที่มีฉลากบอกข้อมูลสารเคมีติดมาด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ส่วนใหญ่ประกอบการมาเป็นเวลานานจึงมักไม่ค่อยสนใจข้อมูลที่ระบุมาในฉลาก การป้องกันอันตรายจากการใช้สารจะเป็นไปในลักษณะการเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงาน ซึ่งบางรายในตอนเริ่มทำเคยได้รับผลกระทบจากการสัมผัสสารเคมี ทำให้เกิดเป็นแผลกัดที่มือ ยิ่งถ้ามือมีแผลอยู่ก่อนแล้ว อาการจะยิ่งรุนแรง เมื่อทำนานเข้าก็จะเรียนรู้ที่จะระวังตัวมากขึ้น เช่น ไม่รับประทานอาหารโดยยังไม่ได้ล้างมือ ไม่สูดดมสาร เนื่องจากทราบว่าสารที่ใช้มีอันตราย โดยเฉพาะสารไซยาไนด์ นอกจากนี้ผู้รับชุบรายเล็กยังเห็นว่าปริมาณสารที่ใช้ไม่มาก จึงเข้าใจว่าไม่ค่อยมีผลกระทบต่อสุขภาพมากนักหากเทียบกับกิจการขนาดใหญ่หรือที่ทำเป็นโรงงาน

 

สารเคมีที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นมีความเป็นอันตรายมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป โดยปกติผู้ผลิตจะบอกอันตรายของสารโดยใส่เครื่องหมายลักษณะอันตรายไว้บนฉลากตามระบบขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งแบ่งสารอันตรายออกเป็น 9 กลุ่มโดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ กัน (http://www.chemtrack.org/UNClass-Intro.asp) ตัวอย่างของสัญลักษณ์ เช่น ( ตัวอย่างของสัญลักษณ์ใน รูปที่ 6 )

 

การรับสัมผัสสารเหล่านี้จะก่ออันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ ในขณะปฏิบัติงานควรระมัดระวังป้องกันไม่ให้ร่างกายสัมผัสสารได้แก่ การไม่หายใจเอาไอระเหยเข้าไป  ระวังอย่าให้เข้าตา โดนผิวหนัง หรือเสื้อผ้า และหลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง ดังนั้นจึงควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวขณะปฏิบัติงานได้แก่ เครื่องป้องกันระบบหายใจ ถุงมือทนสารเคมี แว่นตาแบบก๊อกเกิลล์ที่ป้องกันสารเคมีได้ และเครื่องป้องกันหน้า เมื่อใช้สารเสร็จแล้วต้องปิดภาชนะให้สนิท

 

ในกรณีที่สัมผัสสาร ซึ่งอาจเกิดจากเหตุสุดวิสัยต่าง ๆ จะต้องทำการปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องเหมาะสมโดยส่วนใหญ่แล้ว สำหรับสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการชุบผิวมีหลักการปฐมพยาบาลเมื่อสัมผัสสารเคมีดังนี้

 

1.       หากสูดดมสารเข้าไปให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์  ถ้าไม่หายใจต้องให้การช่วยหายใจ  ถ้าหายใจลำบากต้องให้ออกซิเจน

 

2.       หากถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที ถอดเสื้อและรองเท้าที่เปื้อนสารออกแล้วไปพบแพทย์ ในกรณีที่เข้าตาให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง แล้วไปพบแพทย์

 

 

3.       กรณีกลืนกินเข้าไปต้องระวังในเรื่องการทำให้อาเจียน เพราะสารบางกลุ่ม ห้ามทำให้อาเจียน แต่สารบางกลุ่มต้องทำให้อาเจียน (ดูตัวอย่างในตารางที่ 1)   

 

        ข้อมูลประเภทความเป็นอันตรายของสารที่เกี่ยวข้องบางชนิดและข้อควรระวังในการปฐมพยาบาลเมื่อกลืนกินเข้าไป แสดงในตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 ประเภทความเป็นอันตรายและข้อควรระวังในการปฐมพยาบาลเมื่อกลืนกินเข้าไปของสารบางชนิด

สารเคมี

ประเภทอันตราย
ตามระบบสหประชาชาติ

การปฐมพยาบาลเมื่อกลืนกิน

กรดซัลฟุริก

8 : กัดกร่อน

ห้ามทำให้อาเจียน

กรดไนตริก

8 : กัดกร่อน

ห้ามทำให้อาเจียน

กรดบอริค

-

ใช้น้ำบ้วนปาก ถ้ายังมีสติ

กรดไฮโดรคลอริก

8 : กัดกร่อน

ห้ามทำให้อาเจียน

คอปเปอร์ซัลเฟต

9 : เบ็ตเตล็ด

ใช้น้ำบ้วนปาก ถ้ายังมีสติ

คอปเปอร์ไซยาไนด์

6.1 : สารพิษ

ใช้น้ำบ้วนปาก ถ้ายังมีสติ

โซเดียมไซยาไนด์

6.1 : สารพิษ

ใช้น้ำบ้วนปาก ถ้ายังมีสติ

นิกเกิลคลอไรด์

6.1 : สารพิษ

กระตุ้นให้อาเจียน

นิกเกิลซัลเฟต

9 : เบ็ตเตล็ด

กระตุ้นให้อาเจียน

 

น้ำยาชุบสำเร็จรูป

 

        นอกจากผสมน้ำยาล้างหรือชุบตามสูตรขึ้นใช้แล้ว ผู้มีอาชีพชุบทองยังสามารถหาซื้อน้ำยาล้างหรือชุบสำเร็จรูปมาใช้ได้เลยซึ่งสะดวกกว่า ในกรณีของน้ำยาสำเร็จรูปพบว่า ผู้รับชุบรายเล็กหรือผู้ซื้อไม่ทราบข้อมูลองค์ประกอบ อันตราย และการระวังป้องกันอันตรายของน้ำยาชุบสำเร็จ เนื่องจากผู้ขายไม่ได้บอกและไม่มีฉลากข้อมูลติดมากับภาชนะที่บรรจุด้วย

        ตัวอย่างข้อมูลความปลอดภัย (MSDS) ของน้ำยาชุบทองแดงของบริษัท Cohler Enterprises มีข้อมูลด้านความปลอดภัยดังนี้

 

        น้ำยาชุบทองแดง : อันตรายต่อสุขภาพได้แก่ ระคายเคืองอย่างรุนแรงต่อเนื่อเยื่อที่สัมผัสสารละลาย(น้ำยา) เป็นสารพิษ หากกลืนกินเข้าไปแม้ปริมาณน้อยก็อาจเสียชีวิต อาการเมื่อสัมผัสสารละลายนี้เป็นเวลานานเช่น

 

                ในกรณีหายใจหรือสูดดมไอหรือละอองที่ฟุ้งกระจายเข้าไปทำให้เกิดการระคายเคืองจมูก คอ และทางเดินหายใจ และอาจทำให้เกิดอาการพิษจากไซยาไนด์ได้ อาการที่ปรากฏอาจได้แก่ อ่อนเพลีย ปวดหัว ง่วง อาเจียน โคม่า และอาจเสียชีวิตได้ ถ้าหายใจเข้าไปปริมาณมากจะทำให้ระคายเคืองปอดอย่างรุนแรง

 

                ในกรณีที่สัมผัสผิวหนังหรือดวงตา การสัมผัสซ้ำ ๆ หรือนาน ๆ สามารถทำให้ผิวหนังอักเสบ (บวมแดง) ถ้าเข้าตาจะระคายเคืองหรือแสบร้อนตาทันที อาการปรากฏเช่น น้ำตาไหล มองเห็นไม่ชัด การสัมผัสซ้ำๆ นานๆ อาจทำให้เป็นต้อได้

 

                การป้องกันตัวได้แก่ ใช้ในที่ที่มีการระบายอากาศเพียงพอ มีที่ล้างตาและฝักบัวล้างตัวอยู่ใกล้เคียงทีที่ใช้สาร ในการใช้งานปกติไม่ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจ ใช้อุปกรณ์ป้องกันดวงตา มือ (ถุงมือยางหรือนีโอพรีน) และร่างกาย

 

แนวทางลดความเป็นอันตรายและลดปริมาณการใช้สารเคมี

 

        จะเห็นว่าสารละลายที่ใช้ในการชุบผิวหรือน้ำยาชุบส่วนใหญ่จะมีสารประกอบของไซยาไนด์เป็นส่วนผสมด้วย แต่ด้วยไซยาไนด์เป็นสารพิษ อันตรายต่อผู้ทีต้องเกี่ยวข้องด้วย จึงได้มีการพัฒนาน้ำยาชุบสูตรที่ไม่มีไซยาไนด์ขึ้นใช้แทน เช่น สูตรทองซัลไฟต์  สูตรไธโอซัลเฟต หรือสูตรผสมซัลไฟต์กับไธโอซัลเฟต

 

        สำหรับน้ำยาชุบที่ใช้จนเสื่อมสภาพแล้ว มีการนำมาสกัดแยกเอาโลหะมีค่าเช่น ทอง และเงิน ออกมาจากน้ำยาชุบที่เสื่อมสภาพ ร้านรับชุบที่ใช้น้ำยาชุบปริมาณมากจึงมักจะมีผู้ประกอบการมารับซื้อน้ำยาชุบเสื่อมสภาพถึงร้าน แต่รายได้จากการขายน้ำยาชุบเสื่อมสภาพจะไม่มากนัก การรักษาสภาพน้ำยาชุบให้ใช้งานได้นานที่สุดจะสร้างความคุ้มค่าให้มากกว่า

 
 

การชุบเคลือบผิวเครื่องประดับด้วยไฟฟ้า เช่น การชุบทอง เงิน นาก ว่ากันว่าเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันยังคงพบเห็นร้านรับชุบเครื่องประดับ เครื่องหมาย และของที่ระลึกต่างๆ ตามแหล่งชุมชนอยู่บ้าง โดยมักเป็นร้านขนาดเล็กที่ทำคนเดียว ใช้พื้นที่หน้าร้านเพียงเล็กน้อยตั้งอุปกรณ์ รวมไปถึงร้านที่ทำเป็นกิจการขนาดกลางที่มีลูกจ้าง 4-5 คน ทำงานในห้องแถวเล็ก ๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่ ที่สามารถชุบชิ้นงานได้เป็นร้อย ๆ ชิ้นในการชุบครั้งเดียว

 

ขั้นตอนการชุบ

 

        การชุบโลหะมีค่าประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ (รูปที่ 4)

 

การชุบทองแดงด่าง เป็นการชุบรองพื้น เพื่อให้การเคลือบผิวขั้นต่อไปยึดเกาะผิวได้ดีขึ้น เนื่องจากทองแดงด่างมีการยึดเกาะกับผิวชิ้นงานได้ดีมาก และโลหะมีค่าที่จะนำมาชุบทับสามารถยึดเกาะกับทองแดงด่างได้ดีกว่าเกาะผิวชิ้นงานโดยตรง รวมทั้งเพื่อเพิ่มความหนาของผิว ส่วนการชุบทองแดงกรดจะทำให้ผิวเรียบมันเงา ทำให้โลหะที่ชุบทับต่อไปเรียบเงา การชุบนิกเกิลจะทำให้ผิวชิ้นงานเป็นเงาสีขาวอมเหลือง เมื่อนำไปชุบทองหรือโลหะอื่นจะได้ชิ้นงานที่มีผิวชุบที่เงางาม ขั้นสุดท้ายเป็นการชุบโลหะมีค่า ได้แก่ โครเมียม ทองเหลือง นาก ทองเค เงิน ทอง ทองคำขาว และโลหะอื่น ๆ

 

ในการชุบจริงอาจมีการลดขั้นตอนลงตามความเหมาะสมของชิ้นงานด้วย เช่นหากชิ้นงานเป็นเครื่องประดับที่เคยเคลือบมาแล้ว ก็เพียงทำความสะอาดแล้วชุบขั้นสุดท้ายได้เลย ไม่ต้องชุบรองพื้นก่อน เป็นต้น

 

สารเคมีที่เกี่ยวข้อง

 

      การชุบโลหะมีค่าเป็นกิจกรรมที่มีสารเคมีเกี่ยวข้องด้วยจำนวนมาก ตัวอย่างสารเคมีที่ใช้ในการทำน้ำยาชุบและที่ใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ มีดังนี้

 

        สารละลายสำหรับล้างทำความสะอาดผิวชิ้นงาน: การทำความสะอาดทั่วไปใช้สารละลายโซเดียมไซยาไนด์เข้มข้น 20 40 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ถ้าชิ้นงานสกปรกมากอาจต้องทำความสะอาดโดยใช้กรดหรือด่างกัดก่อน

 

        น้ำยาชุบทองแดงด่าง : สูตรที่ใช้ทั่วไปประกอบด้วยสารโซเดียมไซยาไนด์ โปตัสเซียมโซเดียมทาร์เทรต โซเดียมคาร์บอเนต และคอปเปอร์ไซยาไนด์ ผสมรวมกันในน้ำกลั่น

 

        น้ำยาชุบทองแดงกรด : เป็นส่วนผสมของสารคอปเปอร์ซัลเฟต กรดซัลฟุริกหรือกรดกำมะถันเข้มข้น 96% กรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ และน้ำยาเงา (ทองแดง) น้ำกลั่น

 

        น้ำยาชุบนิกเกิล : มีองค์ประกอบหลักคือ นิกเกิลซัลเฟต นิกเกิลคลอไรด์ กรดบอริค น้ำยาพื้นนิกเกิล น้ำยาเงานิกเกิล น้ำกลั่น

 

        น้ำยาชุบทอง : มีหลายสูตรแล้วแต่ผู้ผลิตหรือผู้ใช้จะพัฒนาขึ้น สารเคมีที่ใช้ผสมเป็นน้ำยาชุบทองได้แก่ กรดไนตริกหรือกรดดินปะสิว กรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ โซเดียมไซยาไนด์ แผ่นทองคำ และน้ำกลั่น

 

        น้ำยาชุบทอง 24 เค : สารเคมีที่ใช้ได้แก่ เกลือโปตัสเซียมไซยาไนด์ โปตัสเซียมไซยาไนด์ โปตัสเซียมคาร์บอเนต โปตัสเซียมฟอสเฟต น้ำกลั่น

 

        น้ำยาชุบเงิน : ส่วนผสมของน้ำยาชุบเงินประกอบด้วย เม็ดเงินหรือแผ่นเงิน กรดซัลฟุริก โซเดียมคลอไรด์ โซเดียมไซยาไนด์ บางสูตรใช้ซิลเวอร์โปตัสเซียมไซยาไนด์ ผสมกับโปตัสเซียมไซยาไนด์และโปตัสเซียมคาร์บอเนต

       

เคมีภัณฑ์หรือน้ำยาชุบต่าง ๆ ดังตัวอย่างข้างต้นมีจำหน่ายตามร้านขายเคมีภัณฑ์ทั่วไปและที่ขายสารเฉพาะสำหรับการชุบเคลือบ โดยมีขายทั้งในแบบที่เป็นสารเคมีที่นำไปผสมเอง และที่เป็นแบบน้ำยาสำเร็จรูป ซึ่งผู้ผลิตคิดสูตรขึ้นมา มีทั้งน้ำยาทำความสะอาดสูตรต่าง ๆ ตลอดไปถึงน้ำยาชุบต่าง ๆ สำหรับกิจการขนาดกลางหรือใหญ่มักจะผสมน้ำยาชุบใช้เองเพราะประหยัดต้นทุน แต่สำหรับกิจการขนาดเล็กนิยมซื้อน้ำยาชุบสำเร็จรูปมาใช้ เพราะสะดวกกว่า           

 

ผู้ที่ให้บริการชุบรายเล็กมักซื้อสารเคมีหรือน้ำยาชุบสำเร็จรูปมาใช้ครั้งละไม่มากนัก และเป็นลักษณะการแบ่งขาย เช่นตักใส่ถุงพลาสติกให้ ดังนั้นผู้ซื้อมักไม่ได้ข้อมูลสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ที่ซื้อไปใช้ แต่สำหรับกิจการขนาดกลางและใหญ่ซึ่งจะสั่งสารเคมีมาผสมเองปริมาณต่อครั้งที่สั่งซื้อค่อนข้างมาก ปกติจะได้สารที่บรรจุมาในภาชนะที่มีฉลากบอกข้อมูลสารเคมีติดมาด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ส่วนใหญ่ประกอบการมาเป็นเวลานานจึงมักไม่ค่อยสนใจข้อมูลที่ระบุมาในฉลาก การป้องกันอันตรายจากการใช้สารจะเป็นไปในลักษณะการเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงาน ซึ่งบางรายในตอนเริ่มทำเคยได้รับผลกระทบจากการสัมผัสสารเคมี ทำให้เกิดเป็นแผลกัดที่มือ ยิ่งถ้ามือมีแผลอยู่ก่อนแล้ว อาการจะยิ่งรุนแรง เมื่อทำนานเข้าก็จะเรียนรู้ที่จะระวังตัวมากขึ้น เช่น ไม่รับประทานอาหารโดยยังไม่ได้ล้างมือ ไม่สูดดมสาร เนื่องจากทราบว่าสารที่ใช้มีอันตราย โดยเฉพาะสารไซยาไนด์ นอกจากนี้ผู้รับชุบรายเล็กยังเห็นว่าปริมาณสารที่ใช้ไม่มาก จึงเข้าใจว่าไม่ค่อยมีผลกระทบต่อสุขภาพมากนักหากเทียบกับกิจการขนาดใหญ่หรือที่ทำเป็นโรงงาน

 

สารเคมีที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นมีความเป็นอันตรายมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป โดยปกติผู้ผลิตจะบอกอันตรายของสารโดยใส่เครื่องหมายลักษณะอันตรายไว้บนฉลากตามระบบขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งแบ่งสารอันตรายออกเป็น 9 กลุ่มโดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ กัน  ตัวอย่างของสัญลักษณ์ เช่น ( ตัวอย่างของสัญลักษณ์ใน รูปที่ 6 )

 

การรับสัมผัสสารเหล่านี้จะก่ออันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ ในขณะปฏิบัติงานควรระมัดระวังป้องกันไม่ให้ร่างกายสัมผัสสารได้แก่ การไม่หายใจเอาไอระเหยเข้าไป  ระวังอย่าให้เข้าตา โดนผิวหนัง หรือเสื้อผ้า และหลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง ดังนั้นจึงควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวขณะปฏิบัติงานได้แก่ เครื่องป้องกันระบบหายใจ ถุงมือทนสารเคมี แว่นตาแบบก๊อกเกิลล์ที่ป้องกันสารเคมีได้ และเครื่องป้องกันหน้า เมื่อใช้สารเสร็จแล้วต้องปิดภาชนะให้สนิท

 

ในกรณีที่สัมผัสสาร ซึ่งอาจเกิดจากเหตุสุดวิสัยต่าง ๆ จะต้องทำการปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องเหมาะสมโดยส่วนใหญ่แล้ว สำหรับสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการชุบผิวมีหลักการปฐมพยาบาลเมื่อสัมผัสสารเคมีดังนี้

 

1.       หากสูดดมสารเข้าไปให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์  ถ้าไม่หายใจต้องให้การช่วยหายใจ  ถ้าหายใจลำบากต้องให้ออกซิเจน

 

2.       หากถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที ถอดเสื้อและรองเท้าที่เปื้อนสารออกแล้วไปพบแพทย์ ในกรณีที่เข้าตาให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง แล้วไปพบแพทย์

 

 

3.       กรณีกลืนกินเข้าไปต้องระวังในเรื่องการทำให้อาเจียน เพราะสารบางกลุ่ม ห้ามทำให้อาเจียน แต่สารบางกลุ่มต้องทำให้อาเจียน (ดูตัวอย่างในตารางที่ 1)   

 

        ข้อมูลประเภทความเป็นอันตรายของสารที่เกี่ยวข้องบางชนิดและข้อควรระวังในการปฐมพยาบาลเมื่อกลืนกินเข้าไป แสดงในตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 ประเภทความเป็นอันตรายและข้อควรระวังในการปฐมพยาบาลเมื่อกลืนกินเข้าไปของสารบางชนิด

สารเคมี

ประเภทอันตราย
ตามระบบสหประชาชาติ

การปฐมพยาบาลเมื่อกลืนกิน

กรดซัลฟุริก

8 : กัดกร่อน

ห้ามทำให้อาเจียน

กรดไนตริก

8 : กัดกร่อน

ห้ามทำให้อาเจียน

กรดบอริค

-

ใช้น้ำบ้วนปาก ถ้ายังมีสติ

กรดไฮโดรคลอริก

8 : กัดกร่อน

ห้ามทำให้อาเจียน

คอปเปอร์ซัลเฟต

9 : เบ็ตเตล็ด

ใช้น้ำบ้วนปาก ถ้ายังมีสติ

คอปเปอร์ไซยาไนด์

6.1 : สารพิษ

ใช้น้ำบ้วนปาก ถ้ายังมีสติ

โซเดียมไซยาไนด์

6.1 : สารพิษ

ใช้น้ำบ้วนปาก ถ้ายังมีสติ

นิกเกิลคลอไรด์

6.1 : สารพิษ

กระตุ้นให้อาเจียน

นิกเกิลซัลเฟต

9 : เบ็ตเตล็ด

กระตุ้นให้อาเจียน

 

น้ำยาชุบสำเร็จรูป

 

        นอกจากผสมน้ำยาล้างหรือชุบตามสูตรขึ้นใช้แล้ว ผู้มีอาชีพชุบทองยังสามารถหาซื้อน้ำยาล้างหรือชุบสำเร็จรูปมาใช้ได้เลยซึ่งสะดวกกว่า ในกรณีของน้ำยาสำเร็จรูปพบว่า ผู้รับชุบรายเล็กหรือผู้ซื้อไม่ทราบข้อมูลองค์ประกอบ อันตราย และการระวังป้องกันอันตรายของน้ำยาชุบสำเร็จ เนื่องจากผู้ขายไม่ได้บอกและไม่มีฉลากข้อมูลติดมากับภาชนะที่บรรจุด้วย

        ตัวอย่างข้อมูลความปลอดภัย (MSDS) ของน้ำยาชุบทองแดงของบริษัท Cohler Enterprises มีข้อมูลด้านความปลอดภัยดังนี้

 

        น้ำยาชุบทองแดง : อันตรายต่อสุขภาพได้แก่ ระคายเคืองอย่างรุนแรงต่อเนื่อเยื่อที่สัมผัสสารละลาย(น้ำยา) เป็นสารพิษ หากกลืนกินเข้าไปแม้ปริมาณน้อยก็อาจเสียชีวิต อาการเมื่อสัมผัสสารละลายนี้เป็นเวลานานเช่น

 

                ในกรณีหายใจหรือสูดดมไอหรือละอองที่ฟุ้งกระจายเข้าไปทำให้เกิดการระคายเคืองจมูก คอ และทางเดินหายใจ และอาจทำให้เกิดอาการพิษจากไซยาไนด์ได้ อาการที่ปรากฏอาจได้แก่ อ่อนเพลีย ปวดหัว ง่วง อาเจียน โคม่า และอาจเสียชีวิตได้ ถ้าหายใจเข้าไปปริมาณมากจะทำให้ระคายเคืองปอดอย่างรุนแรง

 

                ในกรณีที่สัมผัสผิวหนังหรือดวงตา การสัมผัสซ้ำ ๆ หรือนาน ๆ สามารถทำให้ผิวหนังอักเสบ (บวมแดง) ถ้าเข้าตาจะระคายเคืองหรือแสบร้อนตาทันที อาการปรากฏเช่น น้ำตาไหล มองเห็นไม่ชัด การสัมผัสซ้ำๆ นานๆ อาจทำให้เป็นต้อได้

 

                การป้องกันตัวได้แก่ ใช้ในที่ที่มีการระบายอากาศเพียงพอ มีที่ล้างตาและฝักบัวล้างตัวอยู่ใกล้เคียงทีที่ใช้สาร ในการใช้งานปกติไม่ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจ ใช้อุปกรณ์ป้องกันดวงตา มือ (ถุงมือยางหรือนีโอพรีน) และร่างกาย

 

แนวทางลดความเป็นอันตรายและลดปริมาณการใช้สารเคมี

 

        จะเห็นว่าสารละลายที่ใช้ในการชุบผิวหรือน้ำยาชุบส่วนใหญ่จะมีสารประกอบของไซยาไนด์เป็นส่วนผสมด้วย แต่ด้วยไซยาไนด์เป็นสารพิษ อันตรายต่อผู้ทีต้องเกี่ยวข้องด้วย จึงได้มีการพัฒนาน้ำยาชุบสูตรที่ไม่มีไซยาไนด์ขึ้นใช้แทน เช่น สูตรทองซัลไฟต์  สูตรไธโอซัลเฟต หรือสูตรผสมซัลไฟต์กับไธโอซัลเฟต


        สำหรับน้ำยาชุบที่ใช้จนเสื่อมสภาพแล้ว มีการนำมาสกัดแยกเอาโลหะมีค่าเช่น ทอง และเงิน ออกมาจากน้ำยาชุบที่เสื่อมสภาพ ร้านรับชุบที่ใช้น้ำยาชุบปริมาณมากจึงมักจะมีผู้ประกอบการมารับซื้อน้ำยาชุบเสื่อมสภาพถึงร้าน แต่รายได้จากการขายน้ำยาชุบเสื่อมสภาพจะไม่มากนัก การรักษาสภาพน้ำยาชุบให้ใช้งานได้นานที่สุดจะสร้างความคุ้มค่าให้มากกว่า


รูปที่ 4 ขั้นตอนการชุบโลหะมีค่า


รูปที่ 5 สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการชุบทอง (ภาพจาก พิชิต เลี่ยมพิพัฒน์, กรกฏาคม 2549.)

ตัวอย่างของสัญลักษณ์ใน รูปที่ 6
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Copper sulfate
Cuprous cyanide
Hydrochloric acid
Nickel(II) chloride Hexahydrate
Nickel(II) sulfate
Nitric acid
Orthoboric acid
Potassium cyanide
Potassium sodium tartrate
Sodium carbonate
Sodium cyanide
Sulfuric acid


view