001 001A
เล่มที่ 1 หน้า 1
พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เวรัญชกัณฑ์ เวรัญชพราหมณ์ [๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป เวรัญชพราหมณ์ได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล ประทับอยู่ ณ บริเวณ ต้นไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ก็แลพระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์แม้ เพราะเหตุนี้ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบแม้เพราะเหตุนี้ ทรงบรรลุวิชชาและจรณะ แม้เพราะเหตุนี้ เสด็จไปดีแม้เพราะเหตุนี้ ทรงทราบโลกแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นศาสดา ของเทพและมนุษย์ทั้งหลายแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพุทธะแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เพราะเหตุนี้ พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้ง
002 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค
เล่มที่ 1 หน้า 2
เทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์ให้รู้ ทรง แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็น พระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี. เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า [๒] หลังจากนั้น เวรัญชพราหมณ์ได้ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้ว ได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่ บันเทิงเป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เวรัญชพราหมณ์ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่าน พระโคดม ข้าพเจ้าได้ทราบมาว่า พระสมณโคดม ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวก พราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญ ด้วยอาสนะ ข้อที่ข้าพเจ้าทราบมานี้นั้นเป็นเช่นนั้นจริง อันการที่ท่านพระโคดม ไม่ไหว้ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมา โดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะนี้นั้น ไม่สมควรเลย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ เพราะว่าตถาคตพึงไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญบุคคลใดด้วยอาสนะ แม้ ศีรษะของบุคคลนั้นก็จะพึงขาดตกไป. ว. ท่านพระโคดมมีปกติไม่ไยดี.
003 เวรัญชกัณฑ์ เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
เล่มที่ 1 หน้า 3
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม มีปกติไม่ไยดี ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะความไยดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมมีปกติไม่ไยดี ดังนี้ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว. ว. ท่านพระโคดมไม่มีสมบัติ. ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม ไม่มีสมบัติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมไม่มีสมบัติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว. ว. ท่านพระโคดมกล่าวการไม่ทำ. ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม กล่าวการไม่ทำ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวการไม่ทำ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว. ว. ท่านพระโคดมกล่าวความขาดสูญ. ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม กล่าวความขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง
004 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค
เล่มที่ 1 หน้า 4
ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวความขาดสูญแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวความขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว. ว. ท่านพระโคดมช่างรังเกียจ. ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม ช่างรังเกียจ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรารังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรารังเกียจความถึงพร้อมแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างรังเกียจ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว. ว. ท่านพระโคดมช่างกำจัด. ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม ช่างกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อกำจัดสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่ เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่ เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว. ว. ท่านพระโคดมช่างเผาผลาญ. ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม ช่างเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมที่ควรเผาผลาญ ธรรมที่ เป็นบาปอกุศลซึ่งควรเผาผลาญ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคนช่างเผาผลาญ พราหมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศล
005 เวรัญชพราหมณ์ ทรงอุปมาด้วยลูกไก่
เล่มที่ 1 หน้า 5
ซึ่งควรเผาผลาญ ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวถูก แต่ไม่ใช่เพราะเหตุที่ท่านมุ่งกล่าว. ว. ท่านพระโคดมไม่ผุดเกิด. ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม ไม่ผุดเกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดใน ภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคน ไม่ผุดเกิด พราหมณ์ การนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ ตถาคต ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีใน ภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมไม่ผุดเกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว. ทรงอุปมาด้วยลูกไก่ [๓] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนฟองไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ฟองไก่เหล่านั้น อันแม่ไก่พึงกกดีแล้ว อบดีแล้ว ฟักดีแล้ว บรรดา ลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวใดทำลายกระเปาะฟอง ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วย จะงอยปาก ออกมาได้โดยสวัสดีก่อนกว่าเขา ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร จะเรียกว่าพี่หรือน้อง. ว. ท่านพระโคดม ควรเรียกว่าพี่ เพราะมันแก่กว่าเขา.
006 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค
เล่มที่ 1 หน้า 6
ทรงแสดงฌานสี่และวิชชาสาม ภ. เราก็เหมือนอย่างนั้นแล พราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ใน อวิชชา เกิดในฟอง อันกระเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลาย กระเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะความเพียรของเราที่ ปรารภแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. ปฐมฌาน เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่. ทุติยฌาน เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิด แต่สมาธิอยู่. ตติยฌาน เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะ ปีติสิ้นไป ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้. จตุตถฌาน เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และ ดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
007 เวรัญชกัณฑ์ จุตูปปาตญาณ
เล่มที่ 1 หน้า 7
บุพเพนิวาสานุสติญาณ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิต ไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสติญาณ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ว่า ในภพโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพ นั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพโน้นนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่าง นั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพโน้นนั้นแล้ว ได้มาเกิดใน ภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ พร้อมทั้งอาการ ด้วยประการฉะนี้ พราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี่แล เราได้บรรลุแล้วในปฐมยาม แห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืด เรา กำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร เผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่ง ของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น. จุตูปปาตญาณ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิต
008 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค
เล่มที่ 1 หน้า 8
ไปเพื่อญาณ เครื่องรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็น หมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบ ด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้า แต่แตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตาม กรรมด้วยประการดังนี้ พราหมณ์ วิชชาที่สองนี้แล เราได้บรรลุแล้วใน มัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืด เรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สองของ เรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น. อาสวักขยญาณ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิต ไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตาม เป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ได้รู้ชัด
009 เวรัญชกัณฑ์ เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
เล่มที่ 1 หน้า 9
ตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้ อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิต หลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี พราหมณ์ วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วใน ปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืด เรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สาม ของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น. เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก [๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เวรัญชพราหมณ์ได้ทูล คำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมเป็นผู้เจริญที่สุด ท่านพระโคดม เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย อย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คน หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ พระองค์จงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้
010 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค
เล่มที่ 1 หน้า 10
เป็นต้นไป และขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงทรงรับอาราธนาอยู่จำพรรษา ที่เมืองเวรัญชาของข้าพเจ้าเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณี ครั้นเวรัญชพราหมณ์ ทราบการรับอาราธนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณหลีกไป. เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย [๕] ก็โดยสมัยนั้นแล เมืองเวรัญชา มีภิกษาหารน้อย ประชาชน หาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย ครั้งนั้น พวกพ่อค้าม้าชาวอุตราปถะ มีม้าประมาณ ๕๐๐ ตัว ได้เข้าพักแรมตลอดฤดูฝน ในเมืองเวรัญชา พวกเขาได้ตกแต่งข้าวแดงสำหรับภิกษุรูปละแล่งไว้ที่คอกม้า เวลาเช้าภิกษุทั้งหลายครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตใน เมืองเวรัญชา เมื่อไม่ได้บิณฑบาต จึงเที่ยวไปบิณฑบาตที่คอกม้า รับข้าวแดง รูปละแล่งนำไปสู่อารามแล้วลงครกโขลกฉัน ส่วนท่านพระอานนท์บดข้าวแดง แล่งหนึ่งที่ศิลา แล้วน้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ เสวยพระกระยาหาร ที่บดถวายนั้นอยู่ได้ทรงสดับเสียงครกแล้ว. พระพุทธประเพณี พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัสถามก็ดี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระตถาคตทั้งหลายทรงกำจัดสิ่งที่ไม่ประกอบด้วย
011 เวรัญชกัณฑ์ พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท
เล่มที่ 1 หน้า 11
ประโยชน์ด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยอาการสองอย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรง บัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ นั่นเสียงครกหรือหนอ จึงท่านพระอานนท์กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญว่า ดีละ ดีละ อานนท์ พวกเธอเป็นสัตบุรุษ ชนะวิเศษแล้ว พวกเพื่อนพรหมจารีชั้นหลังจักดูหมิ่นข้าวสาลีและข้าวสุกอัน ระคนด้วยเนื้อ. พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท [๖] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายยังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้เมืองเวรัญชามีภิกษาหารน้อย ประชาชน หาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์ จะยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย พระพุทธเจ้าข้า พื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดินผืนใหญ่นี้ สมบูรณ์ มีรสอันโอชา เหมือนน้ำผึ้งหวี่ ที่ไม่มีตัวอ่อนฉะนั้น ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงพลิก แผ่นดิน ภิกษุทั้งหลายจักได้ฉันง้วนดิน พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ ก็สัตว์ผู้อาศัย แผ่นดินเล่า เธอจะทำอย่างไรแก่สัตว์เหล่านั้น. ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักนิรมิตฝ่ามือข้างหนึ่งให้เป็นดุจแผ่นดินใหญ่ ยัง สัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเหล่านั้นให้ไปอยู่ในฝ่ามือนั้น จักพลิกแผ่นดินด้วยมืออีก ข้างหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า.
012 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมกาล
เล่มที่ 1 หน้า 12
ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การพลิกแผ่นดิน เธออย่าพอใจเลย สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้รับผลตรงกันข้าม. ม. ขอประทานพระวโรกาส ขอภิกษุสงฆ์ทั้งหมดพึงไปบิณฑบาตใน อุตรกุรุทวีป พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็ภิกษุผู้ไม่มีฤทธิ์เล่า เธอจักทำอย่างไรแก่ภิกษุเหล่านั้น. ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักทำให้ภิกษุทั้งหมดไปได้ พระพุทธเจ้าข้า. ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การที่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดไปบิณฑบาตถึง อุตรกุรุทวีป เธออย่าพอใจเลย. เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน [๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความ ปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ดังนี้ ครั้นเวลาสายัณห์ท่านออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิต เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ ไหน ไม่ดำรงอยู่ ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนสารีบุตร พระศาสนาของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรง อยู่นาน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และ พระนามกัสสปะดำรงอยู่นาน.
013 เวรัญชกัณฑ์ เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
เล่มที่ 1 หน้า 13
ส. อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูก่อนสารีบุตร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่ สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งสามพระองค์นั้นมีน้อย สิกขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ ปาฏิโมกข์ก็มิได้ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธาน แห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตาม พระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน ดูก่อนสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน ยังไม่ได้ร้อย ด้วยด้าย ลมย่อมกระจาย ขจัด กำจัดซึ่งดอกไม้เหล่านั้นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เพราะเขาไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ฉันใด เพราะอันตรธานแห่ง พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจาก ตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลันฉันนั้นเหมือนกัน เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงกำหนด จิตของสาวกด้วยพระหฤทัย แล้วทรงสั่งสอนสาวก. ดูก่อนสารีบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามเวสสภู ทรงกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ด้วยพระหฤทัยแล้วทรง สั่งสอน พร่ำสอน ภิกษุสงฆ์ประมาณพันรูป ในไพรสณฑ์อันน่าพึงกลัวแห่ง
014 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค
เล่มที่ 1 หน้า 14
หนึ่งว่า พวกเธอจงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนั้น จงทำในใจอย่างนี้ อย่าได้ทำในใจอย่างนั้น จงละส่วนนี้ จงเข้าถึงส่วนนี้อยู่เถิด ดังนี้ ลำดับนั้นแล จิตของภิกษุประมาณพันรูปนั้น อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามเวสสภูทรงสั่งสอนอยู่อย่างนั้น ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนั้น ได้หลุดพ้น แล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ในเพราะความที่ไพรสณฑ์อันน่า พึงกลัวนั้นซิ เป็นถิ่นที่น่าสยดสยองจึงมีคำนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งยังไม่ปราศจาก ราคะเข้าไปสู่ไพรสณฑ์นั้น โดยมากโลมชาติย่อมชูชัน ดูก่อนสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภูไม่ดำรง อยู่นาน. ส. อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรง อยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูก่อนสารีบุตร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระนาม โกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรม โดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งสาม พระองค์นั้นมีมาก สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่ง สาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอด ระยะกาลยืนนาน ดูก่อนสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน
015 เวรัญชกัณฑ์ ปรารภเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท
เล่มที่ 1 หน้า 15
ร้อยดีแล้วด้วยด้าย ลมย่อมกระจายไม่ได้ ขจัดไม่ได้ กำจัดไม่ได้ซึ่งดอกไม้ เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาร้อยดีแล้วด้วยด้าย ฉันใด เพราะ อันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวก ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอด ระยะกาลยืนนาน ฉันนั้น เหมือนกัน. ดูก่อนสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนาม กัสสปะ ดำรงอยู่นาน. ปรารภเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท [๘] ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรลุกจากอาสนะ ทำผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาแล้ว ที่จะทรงบัญญัติ สิกขาบท ที่จะทรงแสดงปาติโมกข์แก่สาวก อันจะเป็นเหตุให้พระศาสนานี้ ยั่งยืนดำรงอยู่ได้นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จงรอก่อน สารีบุตร จงยับยั้งก่อนสารีบุตร ตถาคตผู้เดียวจักรู้กาลในกรณีนั้น พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่ แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ตลอดเวลาที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ปรากฏ ในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาฏิโมกข์ แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรม
016 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค
เล่มที่ 1 หน้า 16
บางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็น หมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนาน ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวช นานแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้น พระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรม เหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย ต่อเมื่อใด สงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลายแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดง ปาติโมกข์แก่สาวกเพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรม บางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็น หมู่ใหญ่เลิศโดยลาภ ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภแล้ว และ อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดา จึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวกเพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรม เหล่านั้นแหละ ดูก่อนสารีบุตร ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียดไม่มีโทษ ปราศจาก มัวหมองบริสุทธิ์ผุดผ่องตั้งอยู่ในสารคุณ เพราะบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ภิกษุ ที่ทรงคุณธรรมอย่างต่ำ ก็เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า. เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์ [๙] ครั้นปวารณาพรรษาแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก ท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตทั้งหลายยังมิได้บอกลาผู้ที่นิมนต์ ให้อยู่จำพรรษาแล้ว จะไม่หลีกไปสู่ที่จาริกในชนบท ข้อนี้เป็นประเพณีของ พระตถาคตทั้งหลาย มาไปกันเถิดอานนท์ เราจะบอกลาเวรัญชพราหมณ์
017 เวรัญชกัณฑ์ เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์
เล่มที่ 1 หน้า 17
ท่านพระอานนท์ทูลสนองพระพุทธดำรัสว่าเป็นดังรับสั่งพระพุทธเจ้าข้า ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรมีท่าน พระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของเวรัญชพราหมณ์ ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย ทันใดนั้น เวรัญชพราหมณ์ดำเนินเข้าไปสู่ที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระองค์รับสั่งว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราเป็นผู้อันท่านนิมนต์ อยู่จำพรรษาแล้ว เราขอบอกลาท่าน เราปรารถนาจะหลีกไปสู่ที่จาริกในชนบท. เวรัญชพราหมณ์กราบทูลว่า เป็นความจริง ท่านพระโคดม ข้าพเจ้า นิมนต์พระองค์อยู่จำพรรษา ก็แต่ว่าไทยธรรมอันใดที่จะพึงถวาย ไทยธรรม อันนั้นข้าพเจ้ายังมิได้ถวาย และไทยธรรมนั้นมิใช่ว่าจะไม่มี ทั้งประสงค์จะ ไม่ถวายก็หาไม่ ภายในไตรมาสนี้ พระองค์จะพึงได้ไทยธรรมนั้นจากไหน เพราะฆราวาสมีกิจมาก มีกรณียะมาก ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยพระสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติ ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอัชเฌสนาโดยดุษณีภาพ และแล้วทรงชี้แจง ให้เวรัญชพราหมณ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรง ลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ. หลังจากนั้น เวรัญชพราหมณ์สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต ในนิเวศน์ของตน โดยผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานไปกราบทูลภัตตกาล แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว. ขณะนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้วถือ บาตรจีวร เสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของเวรัญชพราหมณ์ ครั้นถึงแล้ว
018 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค
เล่มที่ 1 หน้า 18
ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จึงเวรัญชพราหมณ์ อังคาส ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหาร อันประณีต ด้วยมือของตนจนให้ห้ามภัตรแล้ว ได้ถวายไตรจีวรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสวยเสร็จทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้วให้ทรงครอง และ ถวายผ้าคู่ให้ภิกษุครอง รูปละสำรับ จึงพระองค์ทรงชี้แจงให้เวรัญชพราหมณ์ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากที่ประทับ เสด็จกลับ ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เมืองเวรัญชาตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินไปยังเมืองท่าปยาคะ ไม่ทรงแวะเมืองโสเรยยะ เมืองสังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ ทรงข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองท่าปยาคะ เสด็จพระพุทธดำเนิน ถึงพระนครพาราณสี ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่พระนครพาราณสี ตาม พระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครเวสาลี เมื่อ เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลีนั้นแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับ อยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น. เวรัญชภาณวาร จบ
019 อรรถกถาพระวินัย
เล่มที่ 1 หน้า 19
ชื่อสมันตปาสาทิกาแปล มหาวิภังควรรณนา ภาค ๑ อารัมภกถา ๑- ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการแด่พระผู้เป็น ที่พึ่ง ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา พระองค์ผู้ทรงกระทำกรรมที่ทำได้ยากยิ่ง ตลอดกาลซึ่งจะนับประมาณมิได้ แม้ด้วย หลายโกฏิกัป ทรงถึงความยากลำบาก เพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตวโลก. ข้าพเจ้าขอ ถวายนมัสการแด่พระธรรมอันประเสริฐ อัน ขจัดเสียซึ่งข่ายคือกิเลส มีอวิชชาเป็นต้น ที่พระพุทธเจ้าทรงเสพอยู่เป็นนิตย์ ซึ่งสัตวโลก เมื่อไม่หยั่งรู้ต้องท่องเที่ยวไปสู่ภพน้อย และภพใหญ่. ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการด้วย เศียรเกล้า ซึ่งพระอริยสงฆ์ ผู้ประกอบ &01
020 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 20
ด้วยคุณ มีศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ วิมุตติญาณทัสสนะเป็นเค้ามูล เป็นเนื้อนาบุญ ของเหล่าชนผู้มีความต้องการด้วยกุศล. ข้าพเจ้า นมัสการอยู่ ซึ่งพระรัตนตรัยอันควร นมัสการโดยส่วนเดียว ด้วยประการดังกล่าว มานี้ ได้แล้วซึ่งกุศลผลบุญที่ไพบูล หลั่งไหล ไม่ขาดสายอันใด ด้วยอานุภาพแห่งกุศลผล บุญนั้น ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ปลอดอันตราย. ข้าพเจ้าจักอาศัยอานุภาพของท่านบูรพาจารย์ พรรณนาพระวินัยให้ไม่ปะปนกัน ซึ่งเมื่อ ทรงอยู่แล้ว ศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้มิได้ ทรงตั้งมั่นอยู่ (ในส่วนสุดทั้งสอง) แต่ทรง ดำรงชอบด้วยดี (ในมัชฌิมาปฏิปทา) เป็น อันประดิษฐานอยู่ได้. แท้ที่จริง พระวินัยนี้ ถึงท่านบูรพาจารย์ผู้องอาจ ซึ่งขจัดมลทิน และอาสวะออกหมดแล้วด้วยน้ำคือญาณ มี วิชชาและปฏิสัมภิทาบริสุทธิ์ ฉลาดในการ สังวรรณนาพระสัทธรรม หาผู้เปรียบปาน ในความเป็นผู้ขัดเกลาได้ไม่ง่าย เปรียบดัง ธงชัยของวัดมหาวิหาร ได้สังวรรณนาไว้โดย นัยอันวิจิตร คล้อยตามพระสัมพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐ. กระนั้น เพราะสังวรรณนานี้
021 อารัมภกถา
เล่มที่ 1 หน้า 21
มิได้อำนวยประโยชน์ไร ๆ แก่ชาวภิกษุใน เกาะอื่น เพราะท่านเรียบเรียงไว้ด้วยภาษา ชาวเกาะสิงหล ฉะนั้น ข้าพเจ้าผู้รำลึกอยู่ ด้วยดีโดยชอบ ถึงคำเชิญของพระเถระนาม ว่า พุทธสิริ จึงจักเริ่มด้วยดี ซึ่งการสังวรรณนานี้ อันควรแก่นัยพระบาลี ณ บัดนี้. และ เมื่อจะเริ่มด้วยดี ซึ่งสังวรรณนานั้น จักเอา มหาอรรถกถาเป็นโครงของสังวรรณนานั้น ไม่ละข้อความอันควร แม้จากวินิจฉัย ซึ่ง ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามหาปัจจรี และ อรรถกถาอันปรากฏด้วยดี โดยชื่อว่ากุรุนที เป็นต้น กระทำเถรวาทไว้ในภายในแล้ว จึง จักเริ่มด้วยดีโดยชอบซึ่งสังวรรณนา ขอภิกษุ ทั้งหลายปูนเถระ ปูนใหม่ และปานกลาง ผู้มีจิตเลื่อมใสเคารพนับถือพระธรรมของ พระตถาคตเจ้า ผู้มีดวงประทีปคือพระธรรม จงตั้งใจฟังสังวรรณนานั้นของข้าพเจ้า โดย เคารพเถิด. พระอรรถกถาจารย์ชาวสิงหล มิได้ ละมติ (อธิบาย) ของท่านพุทธบุตรทั้งหลาย ผู้รู้ธรรมวินัย เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ ได้แต่งอรรถกถาในปางก่อน. เพราะ
022 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 22
เหตุนั้นแล คำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถา ทั้งหมดยกเว้นคำที่เขียนด้วยความพลั้งพลาด เสีย ย่อมเป็นประมาณแห่งบัณฑิตทั้งหลาย ผู้มีความเคารพในสิกขาในพระศาสนานี้. ก็ เพราะแม้วรรณนานี้ จะแสดงข้อความแห่ง คำทั้งหลายที่มาในพระสุตตันตะให้เหมาะสม แก่พระสูตร ละทิ้งภาษาอื่นจากอรรถกถานั้น เสียทีเดียว และย่นพลความพิสดาร (คำ ประพันธ์ที่พิสดาร) ให้รัดกุมเข้า ก็จักไม่ให้ เหลือไว้ ซึ่งข้อวินิจฉัยทั้งปวง ไม่ข้ามลำดับ พระบาลีที่เป็นแบบแผนอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรตามศึกษาวรรณนา นี้โดยเอื้อเฟื้อแล. ๑- เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในคาถาเหล่านั้นว่า จักพรรณนาพระวินัย ดังนี้ ผู้ศึกษาควรกำหนดพระวินัยก่อนว่า วินัยนั้น คืออะไร ? เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวคำนี้ว่า ที่ชื่อว่า วินัย ในที่นี้ประสงค์เอาวินัยปิฎกทั้งสิ้น. ก็เพื่อจะสังวรรณนาพระวินัยนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวมาติกาดังต่อไปนี้ว่า พระวินัยปิฎกนี้ ผู้ใดกล่าวไว้ กล่าว ในกาลใด กล่าวไว้เพราะเหตุใด ผู้ใดทรงไว้ &01
023 อารัมภกถา
เล่มที่ 1 หน้า 23
ผู้ใดนำสืบมา และตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด ข้าพเจ้ากล่าววิธีนี้แล้ว ภายหลังจักแสดง เนื้อความแห่งปาฐะว่า "เตน" เป็นต้นโดย ประการต่าง ๆ ทำการพรรณนาอรรถแห่ง พระวินัย. บรรดามาติกาเหล่านั้น คำว่า วุตฺตํ เยน ยทา ยสฺมา นี้ ท่านอาจารย์กล่าวหมายเอาคำมีอาทิอย่างนี้ก่อนว่า โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ (ณ โคนต้นไม้สะเดาอันนเฬรุยักษ์สิงสถิต) ใกล้เมืองเวรัญชา. ๑- เพราะคำนี้มิใช่เป็นคำที่กล่าวให้ประจักษ์กับพระองค์เองแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า. ๒- เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงควรกล่าวตั้งปัญหานั่นดังนี้ ว่า คำนี้ใครกล่าวไว้ กล่าวไว้ในกาลไหน และเพราะเหตุไร จึงกล่าวไว้. (แก้ว่า) คำนี้ท่าน พระอุบาลีเถระกล่าวไว้ ก็แลคำนั้น ท่านพระอุบาลีเถระกล่าวไว้ในคราวทำ ปฐมมหาสังคีติ (ในคราวทำสังคายนาใหญ่ครั้งแรก). อันชื่อว่า ปฐมมหาสังคีตินี้ พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้กล่าวแล้วในแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น๓ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในนิทานบัณฑิตควรทราบตามนัยนี้ แม้ใน อรรถกถานี้. &01
024
เล่มที่ 1 หน้า 24
พาหิรนิทานวรรณนา [ปรารภมูลเหตุทำปฐมสังคายนา] ๑- ความพิสดารว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลกทรง บำเพ็ญพุทธกิจ ตั้งแต่ทรงยังพระธรรมจักรให้เป็นไปเป็นต้น จนถึงโปรด สุภัททปริพาชกแล้วเสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในเวลา ใกล้รุ่ง ในวันวิสาขปุณณมี ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ในสาลวัน อันเป็นที่เสด็จ ประพาสของเจ้ามัลละทั้งหลาย ใกล้กรุงกุสินารา ท่านพระมหากัสสปผู้เป็น พระสังฆเถระแห่งภิกษุประมาณ ๗ แสนรูป ซึ่งประชุมกันในสถานที่ปรินิพพาน แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ระลึกถึงคำที่สุภัททวุฑฒบรรพชิตกล่าว เมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วได้ ๗ วันว่า อย่าเลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกไปเลย ท่านทั้งหลายอย่าร่ำไรไปเลย พวกเราพ้น ดีแล้วจากพระมหาสมณะพระองค์นั้น ด้วยว่าพวกเราถูกพระมหาสมณะ พระองค์นั้น คอยรบกวนห้ามปรามว่า นี้สมควรแก่เธอทั้งหลาย นี้ไม่สมควร แก่เธอทั้งหลาย ดังนี้ ก็บัดนี้พวกเราจักปรารถนากระทำกรรมใด ก็จักทำ กรรมนั้น พวกเราจักไม่ปรารถนากระทำกรรมใด จักไม่ทำกรรมนั้น ๒- ดังนี้ ดำริอยู่ว่า ข้อที่พวกปาปภิกษุ จะพึงเป็นผู้สำคัญเสียว่า ปาพจน์มีพระศาสดา ล่วงไปแล้ว ดังนี้ ได้พรรคพวกแล้วพึงยังพระสัทธรรมให้อันตรธานได้ไม่นาน เลย เรื่องนี้เป็นฐานะที่มีได้แน่. ความจริง พระวินัยยังตั้งอยู่ตราบใด ปาพจน์ยังมีพระศาสดาไม่ล่วงไปแล้วตราบนั้น ข้อนี้สมด้วยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า &01
025 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 25
ตรัสไว้ว่า อานนท์ ! ธรรมวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายโดยกาลล่วง ไปแห่งเรา ๑- ดังนี้ อย่ากระนั้นเลย เราพึงสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ซึ่งจะเป็นวิธีที่พระศาสนานี้จะพึงดำรงมั่นตั้งอยู่สิ้นกาลนาน. อนึ่ง โดยเหตุที่ เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า กัสสป ! เธอจักทรงผ้าบังสุกุลอันทำ ด้วยป่านของเรา ซึ่งเราใช้นุ่งห่มแล้วหรือ ดังนี้ แล้วทรงอนุเคราะห์ด้วย สาธารณบริโภคในจีวร และด้วยการทรงยกย่องไว้เทียบเทียมพระองค์ใน อุตริมนุสธรรม มีอนุปุพพวิหารเก้า และอภิญญาหกเป็นประเภท โดยนัยมีอาทิ อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เราจำนงอยู่เพียงใด เราสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย เทียว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงพร้อมซึ่งปฐมฌาน อยู่ได้เพียงนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! แม้กัสสปจำนงอยู่เพียงใด เธอสงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ ย่อมเข้าถึงพร้อม ซึ่งปฐมฌานอยู่ได้เพียงนั้นเหมือนกัน ๒- ดังนี้ ความเป็นผู้ไม่มีหนี้อย่างอื่นอะไร จักมีแก่เรานั้นได้, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเราว่า กัสสปนี้จักเป็นผู้ดำรง วงศ์พระสัทธรรมของเรา ดังนี้แล้ว ทรงอนุเคราะห์ด้วยอสาธารณานุเคราะห์นี้ ดุจพระราชาทรงทราบพระราชโอรสผู้จะดำรงวงศ์สกุลของพระองค์แล้ว ทรง อนุเคราะห์ด้วยการทรงมอบเกราะของพระองค์และพระอิสริยยศฉะนั้น มิใช่หรือ ดังนี้ จึงยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัย ๓- เหมือนอย่างที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป ได้เตือนภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! สมัยหนึ่งเราพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลจากเมืองปาวา มาสู่ เมืองกุสินารา ๔- ดังนี้เป็นต้น. สุภททกัณฑ์ทั้งปวง ผู้ศึกษาพึงทราบโดยพิสดาร. &01
026 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 26
[พระมหากัสสปชักชวนทำสังคายนา] เบื้องหน้าแต่นั้น ท่านพระมหากัสสปได้กล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! เอาเถิด เราทั้งหลายจะสังคายนาพระธรรมและพระวินัยกัน เพราะว่า ในกาล เบื้องหน้า อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกขัดขวาง อวินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะ ถูกขัดขวาง ในกาลภายหน้า พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะ หย่อนกำลัง พวกอวินัยวาทีจะมีกำลัง พวกวินัยวาทีจะหย่อนกำลัง๑- ดังนี้. ภิกษุทั้งหลายได้เรียนท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ถ้าอย่างนั้น ขอพระเถระ โปรดคัดเลือกภิกษุทั้งหลายเถิด. ๒- [พระมหากัสสปคัดเลือกภิกษุ ๔๙๙ รูป] พระเถระเว้นภิกษุผู้เป็นปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระขีณาสพสุกขวิปัสสก ผู้ทรงพระปริยัติ คือนวังคสัตถุศาสน์ ทั้งสิ้นเสียจำนวนหลายร้อยและหลายพัน เลือกเอาเฉพาะพระภิกษุขีณาสพ เท่านั้น มีจำนวน ๔๙๙ รูป ผู้ทรงไว้ซึ่งประเภทแห่งสรรพปริยัติ คือ พระไตรปิฎก ได้บรรลุปฏิสัมภิทามีอานุภาพมาก แตกฉานในไตรวิชชาเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นสู่เอตทัคคะโดยมาก ผู้ซึ่งพระธรรมสังคาหกาจารย์ หมายถึงจึงกล่าวคำนี้ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปได้คัดเลือก พระอรหันต์ ๔๙๙ รูป๓- ดังนี้เป็นต้น. [ทำสังคายนาจะเว้นพระอานนท์ไม่ได้] ถามว่า ก็พระเถระทำให้หย่อนอยู่ ๑ รูป เพื่อใคร ? แก้ว่า เพื่อให้ โอกาสแก่ท่านพระอานนทเถระ. จริงอยู่ การสังคายนาธรรมไม่อาจทำทั้งร่วม &01
027 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 27
ทั้งแยกจากท่านพระอานนท์นั้นได้ เพราะท่านพระอานนท์นั้นยังเป็นพระเสขะ มีกิจจำต้องทำอยู่, ฉะนั้นจึงไม่อาจทำร่วมกับท่านได้, แต่เพราะนวังคสัตถุศาสน์ มีสุตตะ เคยยะ เป็นต้น อะไร ๆ ที่พระทศพลแสดงแล้ว ชื่อว่าท่านมิได้รับ เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี, เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจจะเว้น ท่านได้. ถามว่า ถ้าเมื่อไม่อาจทำอย่างนั้นได้ ถึงแม้ท่านยังเป็นพระเสขะอยู่ พระเถระก็ควรเลือก เพราะเป็นผู้มีอุปการะมากแก่การสังคายนาพระธรรม เมื่อมีความจำเป็นต้องเลือกอย่างนั้น เพราะเหตุไร พระเถระจึงไม่เลือกท่าน. แก้ว่า เพราะจะเว้นคำค่อนขอดของผู้อื่น. ความจริง พระเถระเป็นผู้คุ้นเคย ในท่านพระอานนท์อย่างยิ่งยวด. จริงอย่างนั้น แม้เมื่อศีรษะหงอกแล้ว ท่านพระมหากัสสป ก็ยังเรียกท่านพระอานนท์นั้นโดยใช้กุมารกวาทะว่า เด็กคนนี้ ไม่รู้จักประมาณเสียเลย ดังนี้. อนึ่ง ท่านพระอานนท์นี้ประสูติในศากยสกุล เป็นพระภาดาของพระตถาคต เป็นโอรสของพระเจ้าอาว์, จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย จะสำคัญในพระมหากัสสปเถระนั้นเหมือนถึงฉันทาคติ จะพึงกล่าวค่อนขอดว่า พระเถระเว้นภิกษุทั้งหลายผู้ได้บรรลุปฏิสัมภิทาเป็นอเสขะเสียเป็นอันมาก ได้ เลือกเอาพระอานนท์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาเป็นเสขะ. พระเถระเมื่อจะเว้นคำ ค่อนขอดของผู้อื่นนั้นเสีย, คิดว่า การสังคายนาไม่อาจทำได้โดยเว้นพระอานนท์ เสีย เราจักรับเอาพระอานนท์เข้าด้วย ตามอนุมัติของภิกษุทั้งหลายเท่านั้น จึงมิได้เลือกพระอานนท์นั้นเข้าด้วย. [ภิกษุทั้งหลายขอให้เลือกพระอานนท์] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย จึงพากันวิงวอนพระเถระ เพื่อต้องการให้เลือก พระอานนท์เสียเองทีเดียว เหมือนอย่างที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า พวก ภิกษุได้กล่าวคำนี้กะท่านพระมหากัสสปว่า ท่านผู้เจริญ ! ถึงท่านอานนท์นี้
028 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 28
จะยังเป็นเสขะ เป็นผู้ไม่ควรถึงความลำเอียงเพราะความรัก ความชัง ความหลง ความกลัวก็จริง, ถึงกระนั้นธรรมและวินัย ที่ท่านได้เล่าเรียนในสำนักของ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีมาก. ท่านผู้เจริญ ! ถ้ากระนั้น ขอพระเถระโปรดเลือก พระอานนท์เข้าด้วยเถิด. ๑- ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป จึงได้เลือกท่าน อานนท์เข้าด้วย ๒- รวมกับท่านนั้นที่ท่านพระมหากัสสปเลือกตามอนุมัติของ ภิกษุทั้งหลาย ๓- จึงเป็นพระเถระ ๕๐๐ รูป ด้วยประการฉะนี้. [เลือกกรุงราชคฤห์เป็นที่ทำปฐมสังคายนา] ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกอย่างนี้ ว่า พวกเรา จะพึงสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ณ สถานที่ไหนหนอแล ครั้งนั้นแล ภิกษุเถระทั้งหลายได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า กรุงราชคฤห์แล มีที่โคจรกว้างขวาง มีเสนาสนะมากมาย, อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ทำสังคายนาพระธรรมและพระวินัยเถิด, ภิกษุเหล่าอื่นไม่ควรเข้าจำพรรษาใน กรุงราชคฤห์. ๔- ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงปรึกษาตกลงกันดังนั้น. แก้ว่า เพราะจะมีวิสภาคบุคคลบางคนเข้าไปสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึงคัดค้าน ถาวรกรรมของพวกเรานี้เสีย. ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสป จึงสวดประกาศ ด้วยญัตติทุติยกรรม. ญัตติทุติยกรรม ๕- นั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าว ไว้ในสังคีติขันธกะนั้นแล. [พระมหาเถระแยกกันเดินทางไปสู่กรุงราชคฤห์] ครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระ ทราบว่า นับแต่วันที่พระตถาคต ปรินิพพานมา เมื่อวันสาธุกีฬาและวันบูชาพระธาตุล่วงไปได้อย่างละ ๗ วัน เป็นอันล่วงไปแล้วกึ่งเดือน, บัดนี้ฤดูคิมหันต์ยังเหลืออยู่เดือนหนึ่ง ดิถีที่จะเข้า &01
029 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 29
จำพรรษาก็ใกล้เข้ามาแล้ว จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พวกเราไปยัง กรุงราชคฤห์กันเถิด แล้วได้พาเอาภิกษุสงฆ์กึ่งหนึ่งเดินไปทางหนึ่ง. พระอนุรุทธเถระ ก็พาเอาภิกษุสงฆ์กึ่งหนึ่งเดินไปอีกทางหนึ่ง. ท่านพระอานนท์เถระถือเอาบาตร และจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุสงฆ์แวดล้อม มีความประสงค์จะเดิน ทางผ่านกรุงสาวัตถีไปยังกรุงราชคฤห์ ก็หลีกจาริกไปทางกรุงสาวัตถี. [พระอานนท์ไปถึงที่ไหนมีเสียงร้องไห้ในที่นั้น] ในสถานที่ที่พระอานนท์ไปแล้ว ๆ ได้มีการร้องไร้ร่ำไรมากมายว่า ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! ท่านพักพระศาสดาไว้ที่ไหน จึงมาแล้ว ก็เมื่อพระเถระ ไปถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ ได้มีการร้องไห้ร่ำไรมากมาย เหมือนในวันที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานฉะนั้น. [พระอานนท์ปัดกวาดเสนาสนะที่เคยประทับ] ได้ทราบว่า ในกรุงสาวัตถีนั้น ท่านพระอานนท์ได้ปลอบโยนมหาชน นั้นให้เบาใจด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยไตรลักษณ์ มีความไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วเข้าไปยังพระเชตวัน เปิดประตูพระคันธกุฎีที่พระทศพลเคยประทับ แล้ว นำเตียงและตั่งออกมาเคาะตีปัดกวาดพระคันธกุฎี เก็บหยากเยื่อดอกไม้ที่ เหี่ยวแห้งทิ้งเสีย แล้วนำเอาเตียงและตั่งกลับเข้าไปตั้งไว้ในที่เดิมอีก ได้ทำวัตร ทุกอย่างที่ควรทำ เหมือนในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังดำรงอยู่ฉะนั้น. [พระอานนท์ฉันยาระบาย] ในกาลนั้น พระเถระ เพราะเป็นผู้มากไปด้วยการยืนและการนั่ง จำเดิมแต่กาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานมา เพื่อชำระกายที่มีธาตุหนาแน่น ให้สบาย ในวันที่สอง จึงนั่งฉันยาระบายที่เจือด้วยน้ำนมอยู่ในวิหารนั่นเอง
030 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 30
ซึ่งท่านหมายถึง จึงได้กล่าวคำนี้กะมาณพที่สุภมาณพส่งไปว่า มิใช่กาลเสียแล้ว มาณพ ! เผอิญวันนี้เราดื่มยาระบายเสียแล้ว, ถ้ากระไรเอาไว้พรุ่งนี้เถิด เรา จึงจะเข้าไป ๑- ดังนี้. ในวันรุ่งขึ้นพระเถระ มีพระเจตกเถระเป็นปัจฉาสมณะ ได้ไป (ยังนิเวศน์ของสุภมาณพ) ถูกสุภมาณพถาม จึงได้แสดงพระสูตรที่ ๑๐ ชื่อสุภสูตร ในทีฆนิกาย. ในกาลนั้นพระเถระสั่งให้นายช่างทำการปฏิสังขรณ์ สถานที่ปรักหักพังในพระเชตวันวิหารแล้ว เมื่อวันวัสสูปนายิกาใกล้เข้ามาได้ ไปยังกรุงราชคฤห์. ถึงพระมหากัสสปเถระและพระอนุรุทธเถระก็พาเอาภิกษุ สงฆ์ทั้งปวงไปสู่กรุงราชคฤห์เหมือนกัน. [พระเถระทั้งหลายคิดซ่อมวิหาร ๑๘ แห่ง] ก็โดยสมัยนั้นแล ในกรุงราชคฤห์มีมหาวิหารอยู่ ๑๘ ตำบล มหาวิหาร เหล่านั้นแม้ทั้งหมดได้รกรุงรังด้วยของที่ถูกทิ้งและตกเกลื่อน. จริงอยู่ พวกภิกษุ ทั้งหมดพากันถือเอาบาตรและจีวรของตน ๆ ได้ทอดทิ้งวิหารและบริเวณไปใน สถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพาน. พระเถระทั้งหลายในวิหารเหล่านั้น เพื่อที่จะบูชาพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าและเพื่อจะเปลื้องวาทะของพวก เดียรถีย์เสีย จึงคิดกันว่า ตลอดเดือนแรก พวกเราจะทำการปฏิสังขรณ์ที่ชำรุด ทรุดโทรม. ก็พวกเดียรถีย์พึงกล่าวว่า เหล่าสาวกของพระสมณโคดม เมื่อ พระศาสดายังดำรงอยู่เท่านั้น จึงปฏิบัติวิหาร เมื่อปรินิพพานแล้ว ก็พากัน ทอดทิ้งเสีย. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ก็เพื่อจะเปลื้องวาทะของพวกเดียรถีย์ เหล่านั้น พระเถระทั้งหลายจึงได้คิดกันอย่างนั้น. ข้อนี้สมจริงดัง &01
031 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 31
พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ครั้งนั้นแล พระภิกษุเถระทั้งหลายได้มีความปริวิตก ดังนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พระผู้มีพระภาคเจ้าแลทรงสรรเสริญการปฏิสังขรณ์ ที่ชำรุดทรุดโทรม เอาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พวกเราจะทำการปฏิสังขรณ์ที่ ชำรุดทรุดโทรมตลอดเดือนแรก จักประชุมกันทำสังคายนาพระธรรมและ พระวินัยตลอดเดือนอันมีในท่ามกลาง ๑- ดังนี้. [พระเถระไปทูลขอหัตถกรรมจากพระเจ้าอชาตศัตรู] ในวันที่ ๒ พระเถระเหล่านั้นได้ไปยืนอยู่ที่ประตูพระราชวัง. พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จมาไหว้แล้ว รับสั่งถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระคุณเจ้าทั้งหลาย พากันมาเพราะเหตุไร ดังนี้ แล้วจึงทรงรับสั่งย้อนถาม ถึงกิจที่พระองค์เองควรทำ. พระเถระทั้งหลายได้ทูลบอกหัตถกรรมเพื่อ ประโยชน์แก่การปฏิสังขรณ์มหาวิหารทั้ง ๑๘ ตำบล. [พระราชาทรงอุปถัมภ์กิจสงฆ์ทุกอย่าง] พระราชาทรงรับว่า ดีละ เจ้าข้า แล้วได้พระราชทานพวกมนุษย์ ผู้ทำหัตถกรรม. พระเถระทั้งหลายสั่งให้ปฏิสังขรณ์วิหารทั้งหมดเสร็จสิ้นเดือน แรก แล้วได้ทูลให้พระราชาทรงทราบว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! การปฏิสังขรณ์วิหารเสร็จสิ้นแล้ว บัดนี้อาตมภาพทั้งหลาย จะทำการสังคายนา พระธรรมและพระวินัย. ราชา. ดีละ เจ้าข้า ! ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงหมดความคิดระแวง สงสัยกระทำเถิด อาณาจักรจงไว้เป็นภาระของข้าพเจ้า ธรรมจักรจงเป็นภาระ ของพระคุณเจ้าทั้งหลาย ขอพระคุณเจ้าโปรดใช้ข้าพเจ้าเถิด เจ้าข้า ! จะให้ ข้าพเจ้าทำอะไร. &01
032 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 32
พระเถระ. ขอถวายพระพรมหาบพิตร ! ขอพระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างสถานที่นั่งประชุมสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้ทำสังคายนา. ราชา. จะให้ข้าพเจ้าสร้าง ณ ที่ไหน เจ้าข้า ? เถระ. ควรสร้างที่ประตูถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภารบรรบต ขอถวาย พระพร. [พระราชารับสั่งให้ประดับถ้ำดุจวิมานพรหม] พระเจ้าอชาตศัตรูทรงรับสั่งว่า ได้ เจ้าข้า ! ดังนี้ แล้วรับสั่งให้สร้าง มณฑปที่มีเครื่องประดับอันเป็นสาระซึ่งควรทัศนา เช่นกับสถานที่อัน วิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตไว้ มีฝาเสาและบันไดอันนายช่างจำแนกไว้ดี วิจิตรด้วยมาลากรรม และลดากรรมนานาชนิด ราวกะว่าจะครอบงำเสียซึ่งสมบัติแห่งราชมณเฑียร ของพระมหากษัตริย์ ดุจประหนึ่งว่าจะเยาะเย้ยสิริแห่งเทพวิมาน ปาน ประหนึ่งว่าเป็นสถานที่อาศัยอยู่แห่งสิริ ดุจท่าเป็นที่ประชุมชั้นเอกของเหล่าวิหค คือนัยนาแห่งเทพดาและมนุษย์ และประดุจสถานที่รื่นรมย์ในโลกอันเขา ประมวลจัดสรรไว้ ตกแต่งมณฑปนั้นให้เป็นเช่นกับวิมานพรหมมีเพดานงดงาม รุ่งเรืองดุจสลัดอยู่ซึ่งพวงดอกกุสุมที่ห้อยย้อยนานาชนิด วิจิตรด้วยเครื่องบูชา ดอกไม้ต่าง ๆ มีการงานอันควรทำที่พื้นทำสำเร็จเรียบร้อยดีแล้ว ประหนึ่งว่ามี พื้นที่บุด้วยแก้วมณีอันวิจิตรด้วยรัตนะฉะนั้น ภายในมหามณฑปนั้นทรงรับสั่ง ให้ปูเครื่องลาดอันเป็นกัปปิยะ ๕๐๐ ที่ซึ่งคำนวณค่ามิได้ สำหรับภิกษุ ๕๐๐ รูป แล้วให้ปูเถรอาสน์พิงข้างด้านทิศทักษิณ ผินหน้าไปทางทิศอุดร ในท่ามกลาง มณฑปให้ตั้งธรรมาสน์อันควรเป็นที่ประทับนั่ง ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผินหน้าไปทางทิศบูรพาและทรงวางพัดวีชนีอันวิจิตรด้วยงาไว้บนธรรมาสน์นั่น
033 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 33
แล้วรับสั่งให้เผดียงแก่ภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ! กิจของข้าพเจ้าสำเร็จแล้ว ดังนี้. [พวกภิกษุเตือนพระอานนท์มิให้ประมาท] พวกภิกษุได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส ! การประชุมจะมีใน วันพรุ่งนี้ แต่ท่านยังเป็นเสขะบุคคลอยู่ เพราะเหตุนั้น ท่านไม่ควรไปสู่ที่ ประชุม ขอท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ดำริว่า การประชุมจะมีในวันพรุ่งนี้ ก็ข้อที่เรายังเป็นเสขะอยู่ จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้นไม่สมควรแก่เราแล แล้วได้ ยับยั้งอยู่ด้วยกายคตาสติตลอดราตรีเป็นอันมากทีเดียว ในเวลาราตรีใกล้รุ่ง ลงจากที่จงกรมแล้ว เข้าไปยังวิหาร คิดว่า จักพักนอน ได้เอนกายลง. เท้า ทั้งสองพ้นจากพื้น แต่ศีรษะไม่ทันถึงหมอน ในระหว่างนี้ จิตก็พ้นจากอาสวะ ทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. ความจริง ท่านพระอานนท์นี้ยังยั้งอยู่แล้วใน ภายนอกด้วยการจงกรม เมื่อไม่สามารถจะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ จึงคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้แก่เรามิใช่หรือว่า อานนท์ ! เธอเป็นผู้ได้ทำบุญ ไว้แล้ว จงหมั่นประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้หาอาสวะมิได้โดยฉับพลัน ๑- อันธรรมดาว่าโทษแห่งพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่มี เราปรารภ ความเพียรมากเกินไป เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน เอาเถิด ! เราจะประกอบความเพียรให้สม่ำเสมอ ดังนี้ จึงลงจากที่จงกรม ยืนล้างเท้าในที่ล้างเท้าแล้วเข้าไปสู่วิหารนั่งบนเตียง ดำริว่า จักพักผ่อนสัก หน่อยหนึ่ง ได้เอนกายลงบนเตียง. เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ถึงหมอน ในระหว่างนี้ จิตก็พ้นจากอาสวะทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. ความเป็น &01
034 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 34
พระอรหันต์ของพระเถระเว้นจากอิริยาบถ ๔. เพราะฉะนั้น เมื่อมีผู้ถามว่า ในพระศาสนานี้ ภิกษุรูปไหน ไม่นอน ไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่จงกรม ได้บรรลุ พระอรหัต จะตอบว่า พระอานนทเถระ ก็ควร. [พระอานนท์ดำดินไปเข้าประชุมสงฆ์] ครั้งนั้นในวันที่ ๒ ภิกษุเถระทั้งหลายทำภัตกิจเสร็จ เก็บบาตรและ จีวรแล้ว ไปประชุมกันที่ธรรมสภา. ส่วนพระอานนทเถระมีความประสงค์จะ ให้ผู้อื่นรู้การบรรลุความเป็นพระอรหันต์ของตน มิได้ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเมื่อจะนั่งบนอาสนะของตน ๆ ตามลำดับผู้แก่ ได้นั่งเว้นอาสนะ ไว้สำหรับพระอานนทเถระ. เมื่อภิกษุบางพวกในธรรมสภานั้นถามว่า นั่นอาสนะ ใคร ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ของพระอานนท์ ภิกษุทั้งหลายถามว่า ก็ท่าน พระอานนท์ไปไหนเล่า? ในสมัยนั้น พระเถระคิดว่า บัดนี้เป็นเวลาที่เราจะไป เมื่อจะแสดงอานุภาพของตน ในลำดับนั้น จึงดำลงในแผ่นดินแล้วแสดงตน บนอาสนะของตนนั้นเอง. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มาทางอากาศแล้วนั่ง ก็มี. [พระเถระเริ่มปรึกษาและสมมติตนเป็นผู้ปุจฉาวิสัชนา] เมื่อพระอานนท์นั้นนั่งแล้วอย่างนั้น พระมหากัสสปเถระ จึงปรึกษา ภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พวกเราจะสังคายนาอะไรก่อน พระธรรม หรือพระวินัย ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ข้าแต่ท่านพระมหากัสสป ! ชื่อว่าพระวินัย เป็นอายุของพระพุทธศาสนา เมื่อพระวินัยยังตั้งอยู่ พระพุทธศาสนาจัดว่ายัง ดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น พวกเราจะสังคายนาพระวินัยก่อน. พระมหากัสสป. จะให้ใครเป็นธุระ ?
035 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 35
ภิกษุทั้งหลาย. ให้ท่านพระอุบาลี. ถามว่า พระอานนท์ไม่สามารถหรือ ? แก้ว่า ไม่สามารถหามิได้. ก็อีกอย่างหนึ่งแล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่นั่นเอง ทรงอาศัยวินัยปริยัติ จึงตั้งท่านพระอุบาลีไว้ใน เอตทัคคะว่า ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาภิกษุทั้งหลาย สาวกของเราผู้ทรงวินัย อุบาลีเป็นเลิศดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงปรึกษากันว่า พวกเราจะถาม พระอุบาลีเถระสังคายนาพระวินัย ดังนี้ ลำดับนั้นพระเถระก็ได้สมมติตนเอง เพื่อต้องการถามพระวินัย. ฝ่ายพระอุบาลีเถระก็ได้สมมติตนเพื่อประโยชน์ แก่การวิสัชนา. [คำสมมติตนปุจฉาวิสัชนาพระวินัย] ในการสมมตินั้น มีพระบาลีดังต่อไปนี้ :- ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป เผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้ ข้าพเจ้าพึงถามพระวินัยกะพระอุบาลี. ๑- ฝ่ายพระอุบาลีก็เผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้ ข้าพเจ้าผู้อันท่าน พระมหากัสสปถามแล้วพึงวิสัชชนา ๒- พระวินัย. [ปุจฉาและวิสัชนาพระวินัย] ท่านพระอุบาลีครั้นสมมติตนอย่างนั้นแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะห่มจีวร เฉวียงบ่า ไหว้ภิกษุเถระทั้งหลายแล้วนั่งบนธรรมาสน์จับพัดวีชนี อันวิจิตร &01
036 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 36
ด้วยงา. คราวนั้นพระมหากัสสปนั่งบนเถรอาสน์ แล้วถามพระวินัยกะท่าน พระอุบาลีว่า ท่านอุบาลี ! ปฐมปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน ? พระอุบาลี. ที่เมืองเวสาลี ขอรับ. พระมหากัสสป. ทรงปรารภใคร ? พระอุบาลี. ทรงปรารภพระสุทินกลันทบุตร. พระมหากัสสป. ทรงปรารภในเพราะเรื่องอะไร ? พระอุบาลี. ในเพราะเมถุนธรรม. ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามท่านพระอุบาลีถึงวัตถุบ้าง นิทานบ้าง บุคคลบ้าง บัญญัติบ้าง อนุบัญญัติบ้าง อาบัติบ้าง อนาบัติบ้าง แห่งปฐมปาราชิก ๑- เหมือนอย่างว่าท่านพระมหากัสสป ถามถึงวัตถุบ้าง ฯลฯ ถามถึงอนาบัติบ้าง แห่งปฐมปาราชิกฉันใด ก็ถามถึงวัตถุบ้าง ฯลฯ อนาบัติ บ้าง แห่งทุติยปาราชิกฉันนั้น... แห่งตติยปาราชิกฉันนั้น... ถามถึงวัตถุบ้าง ฯลฯ อนาบัติบ้าง แห่งจตุตถปาราชิกก็ฉันนั้น. พระอุบาลีเถระอัน พระมหากัสสปถามแล้ว ๆ ก็ได้วิสัชนาแล้ว. [รวบรวมพระวินัยของภิกษุไว้เป็นหมวด ๆ] ลำดับนั้น พระเถระทั้งหลาย ยกปาราชิก ๔ เหล่านี้ขึ้นสู่สังคหะ (การสังคายนา) ว่า นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์ แล้วได้ตั้งสังฆาทิเสส ๑๓ ไว้ว่า เตรสกัณฑ์ ตั้ง ๒ สิกขาบทไว้ว่า อนิยต ตั้ง ๓๐ สิกขาบทไว้ว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ตั้ง ๙๒ สิกขาบทไว้ว่า ปาจิตตีย์ ตั้ง ๔ สิกขาบทไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ ตั้ง ๗๕ สิกขาบทไว้ว่า เสขิยะ (และ) ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า อธิกรณสมถะ ดังนี้. &01
037 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 37
[รวบรวมวินัยของภิกษุณีเป็นหมวด ๆ] พระเถระทั้งหลายครั้นยกมหาวิภังค์ขึ้นสู่สังคหะอย่างนี้แล้ว จึงตั้ง ๘ สิกขาบท ในภิกษุณีวิภังค์ไว้ว่า นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์ ตั้ง ๑๗ สิกขาบทไว้ว่า สัตตรสกัณฑ์ ตั้ง ๓๐ สิกขาบทไว้ว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ตั้ง ๑๖๖ สิกขาบท ไว้ว่า ปาจิตตีย์ ตั้ง ๘ สิกขาบทไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ ตั้ง ๗๕ สิกขาบทไว้ว่า เสขิยะ (และ) ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า อธิกรณสมถะ ดังนี้. พระเถระทั้งหลาย ครั้นยกภิกษุณีวิภังค์ขึ้นสู่สังคหะอย่างนี้แล้ว จึงได้ ยกแม้ขันธกะและบริวารขึ้น (สู่สังคายนา) โดยอุบายนั้นนั่นแล. พระวินัยปิฎก พร้อมทั้งอุภโตวิภังค์ขันธกะและบริวารนี้ พระเถระทั้งหลายยกขึ้นสู่สังคหะแล้ว ด้วยประการฉะนี้. พระมหากัสสปเถระ ได้ถามวินัยปิฎกทั้งหมด. พระอุบาลีเถระก็ได้ วิสัชนาแล้ว. ในที่สุดแห่งการปุจฉาและวิสัชนา พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้ ทำการสาธยายเป็นคณะ โดยนัยที่ยกขึ้นสู่สังคหะนั้นแล. ในอวสานแห่งการ สังคายนาพระวินัย พระอุบาลีเถระวางพัดวีชนีอันขจิตด้วยงาแล้ว ลงจาก ธรรมาสน์ไหว้พวกภิกษุผู้แก่แล้วนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตน. [เริ่มสังคายนาพระสูตร] ท่านพระมหากัสสป ครั้นสังคายนาพระวินัยแล้ว ประสงค์จะสังคายนา พระธรรม จึงถามภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อพวกเราจะสังคายนาพระธรรม ควรจะ ทำใครให้เป็นธุระ สังคายนาพระธรรม ? ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ให้ท่านพระอานนทเถระ
038 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 38
[คำสวดสมมติปุจฉาวิสัชนาพระสูตร ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้ ข้าพเจ้าพึงถามพระธรรมกะท่านพระอานนท์. ๑- ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ก็เผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้ ข้าพเจ้าอันพระมหากัสสปถามแล้วพึงวิสัชนา ๒- พระธรรม. [ปุจฉาและวิสัชนาพระสูตร] ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ลุกขึ้นจากอาสนะห่มจีวรเฉวียงบ่า ไหว้ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้วนั่งบนธรรมาสน์จับพัดวีชนีอันขจิตด้วยงา. พระมหากัสสปเถระ ถามพระธรรมกะพระอานนทเถระว่า อานนท์ผู้มีอายุ ! พรหมชาลสูตรพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ณ ที่ไหน ? พระอานนท์. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ตรัสที่พระตำหนักหลวงใน พระราชอุทยานชื่ออัมพลัฏฐิกา ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทาต่อกัน. พระมหากัสสป. ทรงปรารภใคร ? พระอานนท์. ทรงปรารภสุปปิยปริพาชก และพรหมทัตตมาณพ. ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามท่านพระอานนท์ถึงนิทานบ้าง บุคคลบ้าง แห่งพรหมชาลสูตร. พระมหากัสสป. ท่านอานนท์ผู้มีอายุ ! ก็สามัญญผลสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ณ ที่ไหน ? &01
039 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 39
พระอานนท์. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ตรัส ณ ที่สวนอัมพวันของหมอชีวก ใกล้กรุงราชคฤห์. พระมหากัสสป. ทรงปรารภใคร ? พระอานนท์. ทรงปรารภพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร. ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามท่านพระอานนท์ถึงนิทานบ้าง บุคคลบ้าง แห่งสามัญญผลสูตร. ถามนิกายทั้ง ๕ โดยอุบายนี้นั่น ๑- แล. [นิกาย ๕] ที่ชื่อว่านิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย. บรรดานิกายเหล่านั้น พระพุทธพจน์ที่เหลือยกเว้น ๔ นิกายเสีย ชื่อว่าขุททกนิกาย. ในขุททกนิกายนั้น พระวินัย ท่านอุบาลีเถระ ได้วิสัชนาแล้ว. ขุททกนิกายที่เหลือ และอีก ๔ นิกาย พระอานนทเถระวิสัชนา. [พระพุทธพจน์มีจำนวนต่าง ๆ กัน] พระพุทธพจน์แม้ทั้งหมดนี้นั้น พึงทราบว่ามีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรส มี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจธรรมและวินัย มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจปฐมะ มัชฌิมะ ปัจฉิมะ อนึ่ง มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจปิฎก มี ๕ อย่าง ด้วยอำนาจนิกาย มี ๙ อย่าง ด้วยอำนาจองค์ มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยอำนาจพระธรรมขันธ์. [พระพุทธพจน์มีอย่างเดียว] พระพุทธพจน์ ชื่อว่ามีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรสอย่างไร ? คือ ตาม ความเป็นจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณจนถึง &01
040 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 40
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างนี้ทรงพร่ำสอนเทวดา มนุษย์ นาค และยักษ์ หรือทรงพิจารณาตลอดเวลา ๔๕ ปี ได้ตรัสพระพุทธพจน์ ใดไว้ พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมดมีรสเดียว คือมีวิมุตติเป็นรสเท่านั้น. พระพุทธพจน์ ชื่อว่ามีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรส ด้วยประการฉะนี้. [พระพุทธพจน์มี ๒ อย่าง] พระพุทธพจน์ชื่อว่ามี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจธรรมและวินัยอย่างไร ? คือ อันพระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้นั่นแล ย่อมถึงการนับว่า พระธรรมและวินัย. บรรดาธรรมและวินัยนั้น วินัยปิฎก ชื่อว่าวินัย. พระพุทธพจน์ที่เหลือชื่อว่า ธรรม. เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระมหากัสสปได้กล่าวไว้แล้วว่า ผู้มีอายุ ! อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงสังคายนาธรรมและวินัย และว่า เราพึงถามพระวินัย กะท่านอุบาลี พึงถามพระธรรมกะท่านอานนท์ ดังนี้. พระพุทธพจน์ ชื่อว่ามี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจธรรมและวินัย ด้วยประการฉะนี้. [พระพุทธพจน์มี ๓ อย่าง] พระพุทธพจน์มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจปฐมะ มัชฌิมะ และปัจฉิมะ อย่างไร ? คืออันที่จริง พระพุทธพจน์นี้ทั้งหมดนั่นแล แบ่งประเภทเป็น ๓ คือ ปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์ (และ) ปัจฉิมพุทธพจน์ บรรดาพระพุทธพจน์ ๓ อย่างนั้น พระพุทธพจน์ว่า เราแสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร มีความ เกิดเป็นอเนก ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป แน่ะ นายช่างผู้ทำเรือน ! เราพบเจ้าแล้ว เจ้าจัก
041 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 41
สร้างเรือน (คืออัตภาพของเรา) ไม่ได้อีก ต่อไป ซี่โครงทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว ยอดเรือน (คืออวิชชา) เรารื้อเสียแล้ว จิต ของเราได้ถึงพระนิพพานมีสังขารไปปราศ แล้ว เราได้บรรลุความสิ้นไปแห่งตัณหา ทั้งหลาย ๑- แล้ว ดังนี้ นี้ชื่อว่าปฐมพุทธพจน์. อาจารย์บางพวกกล่าวถึงอุทานคาถาในขันธกะ ว่า เมื่อใดแลธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ ๒- ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่าปฐมพุทธพจน์. ก็คาถานั้นเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญู ทรง พิจารณา ปัจจยาการ ในพระญาณอันสำเร็จด้วยโสมนัส ในวันปาฏิบท บัณฑิต พึงทราบว่า อุทานคาถา. อนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ตรัสพระดำรัสใด ในคราว ปรินิพพานว่า ภิกษุทั้งหลายเอาเถิด บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขาร ทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงให้ถึงพร้อมด้วย ความไม่ประมาทเถิด ๓- นี้ชื่อว่าปัจฉิมพุทธพจน์. พระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในระหว่างแห่งกาลทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่ามัชฌิมพุทธพจน์. พระพุทธพจน์ชื่อว่ามี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจเป็น ปฐมะ มัชฌิมะ และปัจฉิมะ ด้วยประการฉะนี้. [ปิฎก ๓] พระพุทธพจน์ทั้งปวงเป็น ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปิฎกอย่างไร ? ก็พระพุทธพจน์แม้ทั้งปวง มีอยู่ ๓ ประการเท่านั้น คือพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก. ใน ๓ ปิฎกนั้น พระพุทธพจน์นี้คือ &01
042 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 42
ประมวลพระพุทธวจนะแม้ทั้งหมด ทั้งที่ร้อยกรองในปฐมสังคายนา ทั้งที่ ร้อยกรองในภายหลัง เป็นปาฏิโมกข์ ๒ ฝ่าย วิภังค์ ๒ ขันธกะ ๒๒ บริวาร ๑๖ ชื่อวินัยปิฎก. พระพุทธวจนะนี้คือ ทีฆนิกายเป็นที่รวบรวมพระสูตร ๓๔ สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น มัชฌิมนิกาย เป็นที่รวบรวมพระสูตร ๑๕๒ สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น สังยุตตนิกาย เป็นที่รวบรวมพระสูตร ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฆตรณสูตรเป็นต้น อังคุตตรนิกาย เป็นที่รวบรวม พระสูตร ๙,๕๕๗ สูตร มีจิตตปริยาทานสูตรเป็นต้น ขุททกนิกาย ๑๕ ประเภท ด้วยอำนาจแห่งขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน พุทธวงศ์ จริยาปิฎก ชื่อสุตตันตปิฎก. พระพุทธพจน์นี้คือธัมมสังคิณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน ชื่ออภิธรรมปิฎก. [อรรถาธิบายคำว่าวินัย] ในพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมนั้น พระวินัย อันบัณฑิตผู้รู้อรรถแห่ง พระวินัยทั้งหลายกล่าวว่า วินัย เพราะมีนัย ต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกาย และวาจา. จริงอยู่ ในพระวินัยนี้ มีนัยต่าง ๆ คือ มีปาฏิโมกขุทเทส ๕ ประการ กองอาบัติ ๗ มีปาราชิกเป็นต้น มาติกาและนัยมีวิภังค์เป็นต้นเป็นประเภท และนัยคืออนุบัญญัติเป็นพิเศษ คือมีนัยอันกระทำให้มั่นและกระทำให้หย่อน เป็นประโยชน์. อนึ่ง พระวินัยนี้ย่อมฝึกกายและวาจา เพราะห้ามซึ่งอัชฌาจาร
043 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 43
ทางกายและทางวาจา. เพราะฉะนั้น พระวินัยนี้ ท่านจึงกล่าวว่า วินัย เพราะ มีนัยต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกายและวาจา. ด้วยเหตุนั้น เพื่อ ความเป็นผู้ฉลาดในอรรถาธิบายคำแห่งวินัยนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถาประพันธ์ นี้ไว้ว่า พระวินัยนี้ อันบัณฑิตผู้รู้อรรถแห่ง พระวินัยทั้งหลายกล่าวว่า วินัย เพราะมีนัย ต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกาย และวาจา ดังนี้. [อรรถาธิบายคำว่าสูตร] ส่วนพระสูตรนอกนี้ ท่านกล่าวว่า สูตร เพราะบ่งถึง ประโยชน์ เพราะมีอรรถอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสดีแล้ว เพราะเผล็ดประโยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์ เพราะป้องกันด้วยดี และเพราะมีส่วนเสมอด้วยเส้นด้าย. จริงอยู่ พระสูตรนั้น ย่อมบ่งถึงประโยชน์ต่างด้วยประโยชน์มีประโยชน์ ตนและประโยชน์ผู้อื่นเป็นต้น. อนึ่ง ประโยชน์ทั้งหลายอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสดีแล้ว ในพระสูตรนี้ เพราะตรัสโดยอนุโลมแก่อัธยาศัยแห่งเวไนย. อนึ่ง พระสูตรนี้ ย่อมเผล็ดประโยชน์ ท่านอธิบายว่า ย่อมเผล็ดผลดุจข้าวกล้าฉะนั้น. อนึ่ง พระสูตรนี้ย่อมหลั่งประโยชน์เหล่านั้น ท่านอธิบายว่า ย่อมรินดุจแม่โคนม
044 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 44
หลั่งน้ำนมฉะนั้น. อนึ่ง พระสูตรนี้ย่อมป้องกัน ท่านอธิบายว่า ย่อมรักษา ด้วยดี ซึ่งประโยชน์เหล่านั้น. อนึ่ง พระสูตรนี้มีส่วนเสมอด้วยเส้นด้าย. เหมือนอย่างว่าเส้นบรรทัด ย่อมเป็นประมาณของช่างไม้ฉันใด แม้พระสูตรนี้ ก็ย่อมเป็นประมาณแห่งวิญญูชนฉันนั้น. อนึ่ง เหมือนดอกไม้ที่เขาคุมไว้ด้วย เส้นด้ายอันลมให้เรี่ยรายกระจัดกระจายไม่ได้ฉันใด ประโยชน์ทั้งหลายที่ทรง ประมวลไว้ด้วยพระสูตรนี้ย่อมไม่เรี่ยราย ไม่กระจัดกระจายฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในอรรถาธิบายคำแห่งพระสูตรนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถา ประพันธ์นี้ไว้ว่า พระสูตรท่านกล่าวว่า สูตร เพราะ บ่งถึงประโยชน์ เพราะมีอรรถอัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เพราะเผล็ด ประโยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์ เพราะป้องกัน ด้วยดี และเพราะมีส่วนเสมอด้วยด้าย ดังนี้. [อรรถาธิบายคำว่าอภิธรรม] ส่วนพระอภิธรรมนอกนี้ ด้วยเหตุที่ธรรมทั้งหลาย ที่มีความ เจริญ ที่มีความกำหนดหมาย ที่บุคคลบูชา แล้ว ที่บัณฑิตกำหนดตัด และที่ยิ่ง อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในพระอภิธรรมนี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อภิธรรม. ก็อภิศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่าเจริญ ว่ามีความกำหนดหมาย ว่าอันบุคคลบูชาแล้ว ว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดแล้ว และว่ายิ่ง. จริงอย่างนั้น
045 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 45
อภิศัพท์นี้มาในอรรถว่าเจริญ ในคำเป็นต้นว่า ทุกขเวทนากล้า ย่อมเจริญ แก่เรา. ๑- ดังนี้ มาในอรรถว่ามีความกำหนดหมายในคำเป็นต้นว่า ราตรี เหล่านั้นใด อันท่านรู้กันแล้ว กำหนดหมายแล้ว ๒- ดังนี้. มาในอรรถว่าอัน บุคคลบูชาแล้ว ในคำมีว่า พระองค์เป็นพระราชาผู้อันพระราชาบูชาแล้ว เป็นจอมมนุษย์ ๓- เป็นอาทิ. มาในอรรถว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดแล้ว ในคำ เป็นอาทิว่า ภิกษุเป็นผู้สามารถเพื่อจะแนะนำเฉพาะธรรม เฉพาะวินัย ๔- ท่าน อธิบายว่า เป็นผู้สามารถจะแนะนำในธรรมและวินัย ซึ่งเว้นจากความปะปน กันและกัน. มาในอรรถว่ายิ่ง ในคำเป็นต้นว่า มีวรรณะงามยิ่ง ๕- ดังนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทั้งหลายในพระอภิธรรมนี้ มีความเจริญบ้าง โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุย่อมเจริญมรรค เพื่อเข้าถึงรูปภพ ๖- ภิกษุมีจิตประกอบ ด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ๗- อยู่. ชื่อว่ามีความกำหนดหมายบ้าง เพราะ เป็นธรรมควรกำหนดได้ ด้วยกรรมทวารและปฏิปทาที่สัมปยุตด้วยอารมณ์ เป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า จิต... ปรารภอารมณ์ใด ๆ เป็นรูปารมณ์ก็ดี สัททารมณ์ก็ดี ๘- . อันบุคคลบูชาแล้วบ้าง อธิบายว่า ควรบูชา โดยนัยเป็นต้นว่า เสขธรรม อเสขธรรม โลกุตรธรรม ๙- . ชื่อว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดบ้าง เพราะ เป็นธรรมที่ท่านกำหนดตามสภาพ โดยนัยเป็นต้นว่า ในสมัยนั้น ผัสสะมี เวทนา ๑๐- มี. ตรัสธรรมทั้งหลายที่ยิ่งบ้าง โดยนัยเป็นต้นว่า มหัคคตธรรม อัปปมาณธรรม ๑๑- อนุตตรธรรม ๑๒- . ด้วยเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดใน อรรถาธิบายคำแห่งพระอภิธรรมนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ไว้ว่า &01
046 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 46
ด้วยเหตุที่ธรรมทั้งหลายที่มีความ เจริญ ที่มีความกำหนดหมาย ที่บุคคลบูชา แล้ว ที่บัณฑิตกำหนดตัด และที่ยิ่ง อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วใน พระอภิธรรมนี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อภิธรรม. ส่วนปิฎกศัพท์ใด เป็นศัพท์ที่ไม่พิเศษในพระวินัย พระสูตรและ พระอภิธรรมนี้ ปิฎกศัพท์นั้น อันบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้อรรถแห่งปิฎก กล่าวว่า ปิฎก โดยอรรถว่าปริยัติและภาชนะ ศัพท์ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้น บัณฑิตพึงให้ ประชุมลงด้วยปิฎกศัพท์นั้น แล้วพึงทราบ. [ปิฎกเปรียบเหมือนตะกร้า] จริงอยู่ แม้ปริยัติ ท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในคำทั้งหลายเป็นต้นว่า อย่าเชื่อ โดยการอ้างตำรา ๑- . แม้ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในคำ เป็นต้นว่า ลำดับนั้น บุรุษถือจอบและตะกร้ามา ๒- . เพราะเหตุนั้น บัณฑิต ทั้งหลายผู้รู้อรรถแห่งปิฎกกล่าวว่า ปิฎก โดยอรรถว่าปริยัติและภาชนะ. บัดนี้ พึงทราบอรรถแห่งบาทคาถาว่า เตน สโมธาเนตฺวา ตโยปิ วินยาทโย เญยฺยา โดยนัยอย่างนี้ ศัพท์แม้ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้นเหล่านั้น อันบัณฑิตพึงย่อเข้าเป็นสมาสกับด้วยปิฎกศัพท์ซึ่งมีอรรถเป็น ๒ อย่าง นี้นั้น แล้ว พึงทราบอย่างนี้ว่า วินัยนั้นด้วยชื่อว่าปิฎกด้วย เพราะเป็นปริยัติ และ เพราะเป็นภาชนะแห่งเนื้อความนั้น ๆ เหตุนั้นจึงชื่อว่า วินัยปิฎก, สูตรนั้นด้วย &01
047 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 47
ชื่อว่าปิฎกด้วยโดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นแล เหตุนั้นจึงชื่อว่า สุตตปิฎก, อภิธรรมนั้นด้วย ชื่อว่าปิฎกด้วย โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นเอง เหตุนั้นจึง ชื่อว่า อภิธรรมปิฎก. ก็ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว เพื่อความเป็นผู้ฉลาดโดย ประการต่าง ๆ ในปิฎกเหล่านั้นนั่นแลแม้อีก บัณฑิตพึงแสดงความต่างแห่งเทศนา ศาสนา กถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพ ในปิฎกเหล่านั้น ตามสมควร ภิกษุย่อมถึง ซึ่งความต่างแห่งปริยัติก็ดี สมบัติและวิบัติ ก็ดี อันใด ในปิฎกใด มีวินัยปิฎกเป็นต้น โดยประการใด บัณฑิตพึงประกาศความ ต่างแห่งปริยัติเป็นต้น แม้นั้นทั้งหมด โดย ประการนั้น. วาจาเครื่องแสดงและวาจาเครื่องประกาศ ในปิฎกทั้ง ๓ นั้น ดังต่อ ไปนี้ :- แท้จริง ปิฎกทั้ง ๓ นี้ ท่านเรียกว่า อาณาเทศนา โวหารเทศนา ปรมัตถเทศนา และยถาปราธศาสน์ ยถานุโลมศาสน์ ยถาธรรมศาสน์ และ ว่าสังวราสังวรกถา ทิฏฐิวินิเวฐนกถา และนามรูปปริเฉทกถา ตามลำดับ. ความจริง บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นี้ วินัยปิฎกท่านให้ชื่อว่า อาณาเทศนา เพราะ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรแก่อาณา ทรงแสดงไว้โดยเป็นปิฎกมากด้วยอาณา. สุตตันตปิฎก ท่านให้ชื่อว่าโวหารเทศนา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดใน
048 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 48
โวหาร ทรงแสดงไว้โดยเป็นปิฎกมากด้วยโวหาร, อภิธรรมปิฎก ท่านให้ชื่อว่า ปรมัตถเทศนา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดในปรมัตถ์ ทรงแสดงไว้โดย เป็นปิฎกมากด้วยปรมัตถ์. อนึ่ง ปิฎกแรกท่านให้ชื่อว่า ยถาปราธศาสน์ เพราะ สัตว์ทั้งหลายที่เป็นผู้มีความผิดมากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนตาม ความผิดในปิฎกนี้. ปิฎกที่สองท่านให้ชื่อว่า ยถานุโลมศาสน์ เพราะสัตว์ ทั้งหลาย ผู้มีอัธยาศัย อนุสัย จริยา และอธิมุตติไม่ใช่อย่างเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนตามสมควรในปิฎกนี้, ปิฎกที่สามท่านให้ชื่อว่า ยถาธรรมศาสน์ เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีความสำคัญในสิ่งสักว่ากองธรรมว่า เราว่า ของเรา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนตามธรรมในปิฎกนี้. อนึ่ง ปิฎกแรกท่านให้ชื่อว่า สังวราสังวรกถา เพราะความสำรวมน้อยและใหญ่ อันเป็น ปฏิปักษ์ต่อความละเมิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปิฎกนี้, ปิฎกที่สองท่าน ให้ชื่อว่า ทิฏฐิวินิเวฐนกถา เพราะการคลี่คลายทิฏฐิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิ ๖๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปิฎกนี้, ปิฎกที่สามท่านให้ชื่อว่า นามรูปปริเฉทกถา เพราะการกำหนดนามรูปอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีราคะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปิฎกนี้. ก็แลในปิฎกทั้งสามนี้ บัณฑิตพึงทราบ สิกขา ๓ ปหานะ ๓ คัมภีรภาพ ๔ ประการ. จริงอย่างนั้น อธิสีลสิกขา ท่านกล่าวไว้โดยพิเศษในพระวินัยปิฎก, อธิจิตตสิกขา ท่านกล่าวไว้โดยพิเศษ ในพระสุตตปิฎก, อธิปัญญาสิกขาท่านกล่าวไว้โดยพิเศษในพระอภิธรรมปิฎก. อนึ่ง ความละวีติกมกิเลสท่านกล่าวไว้ในวินัยปิฎก เพราะศีลเป็นข้าศึกต่อ ความละเมิดแห่งกิเลสทั้งหลาย, ความละปริยุฏฐานกิเลส ท่านกล่าวไว้ใน
049 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 49
พระสุตตปิฎก เพราะสมาธิเป็นข้าศึกต่อปริยุฏฐานกิเลส, ความละอนุสัยกิเลส ท่านกล่าวไว้ในอภิธรรมปิฎก เพราะปัญญาเป็นข้าศึกต่ออนุสัยกิเลส. อนึ่ง การละกิเลสทั้งหลายด้วยองค์นั้น ๆ ท่านกล่าวไว้ในปิฎกที่หนึ่ง, การละด้วย การข่มไว้และตัดขาด ท่านกล่าวไว้ใน ๒ ปิฎกนอกนี้. อนึ่ง การละสังกิเลส คือทุจริต ท่านกล่าวไว้ในปิฎกที่หนึ่ง, การละกิเลสคือตัณหาและทิฏฐิ ท่าน กล่าวไว้ใน ๒ ปิฎกนอกนี้. ก็บัณฑิตพึงทราบความที่พระพุทธพจน์เป็นคุณ ลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา และโดยปฏิเวธทั้ง ๔ อย่าง ในปิฎก ทั้ง ๓ นี้ แต่ละอย่าง ๆ. [อธิบายคัมภีรภาพ ๔ อย่าง] บรรดาคัมภีรภาพทั้ง ๔ นั้น พระบาลี ชื่อว่าธรรม. เนื้อความแห่ง พระบาลีนั้นนั่นแล ชื่อว่าอรรถ. การแสดงพระบาลีนั้นที่กำหนดไว้ด้วยใจนั้น ชื่อว่าเทศนา. การหยั่งรู้พระบาลีและอรรถแห่งพระบาลีตามเป็นจริง ชื่อว่า ปฏิเวธ. ก็เพราะในปิฎกทั้ง ๓ นี้ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธเหล่านี้ อันบุคคลผู้มีปัญญาทรามทั้งหลายหยั่งลงได้ยากและมีที่ตั้งอาศัยที่พวกเขาไม่พึง ได้ ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้นหยั่งลงได้ยากฉะนั้น, เพราะฉะนั้น จึงจัดว่าเป็นคุณลึกซึ้ง. ก็แลบัณฑิตพึงทราบคัมภีรภาพทั้ง ๔ ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ แต่ละปิฎก ด้วยประการฉะนี้. [อธิบายคัมภีรภาพอีกนัยหนึ่ง] อีกอย่างหนึ่ง เหตุ ชื่อว่าธรรม, สมจริงดังพระดำรัสที่
050 ปฐมสมันตปาสาทิแปแปล
เล่มที่ 1 หน้า 50
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความรู้ในเหตุ ชื่อว่าธรรมปฏิสัมภิทา. ๑- ผลแห่งเหตุ ชื่อว่าอรรถ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความรู้ในผล แห่งเหตุ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ๒- . บัญญัติ อธิบายว่า การสนทนาธรรมตาม ธรรม ชื่อว่าเทศนา. การตรัสรู้ชื่อว่าปฏิเวธ. ก็ปฏิเวธนั้นเป็นทั้งโลกิยะและ โลกุตระ คือความรู้รวมลงในธรรมตามสมควรแก่อรรถ ในอรรถตามสมควร แก่ธรรม ในบัญญัติตามสมควรแก่ทางแห่งบัญญัติ โดยวิสัยและโดยความไม่ งมงาย ๓- . บัดนี้ ควรทราบคัมภีรภาพทั้ง ๔ ประการ ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ แต่ละ ปิฎก เพราะเหตุที่ธรรมชาติหรืออรรถชาติใด ๆ ก็ดี อรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงให้ทราบ ย่อมเป็นอรรถมีหน้าเฉพาะต่อญาณของนักศึกษาทั้งหลาย ด้วยประการใด ๆ เทศนาอันส่องอรรถนั้นให้กระจ่างด้วยประการนั้น ๆ นี้ใด ก็ดี ปฏิเวธคือความหยั่งรู้ไม่วิปริตในธรรม อรรถและเทศนานี้ใดก็ดี ใน ปิฎกเหล่านี้ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธทั้งหมดนี้ อันบุคคลผู้มี ปัญญาทรามทั้งหลาย มิใช่ผู้มีกุศลสมภารได้ก่อสร้างไว้ พึงหยั่งถึงได้ยากและ มีที่พึ่งอาศัยไม่ได้ ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้นหยั่งถึงได้ยาก ฉะนั้น. ก็พระคาถานี้ว่า บัณฑิตพึงแสดงความต่างแห่งเทศนา ศาสนา กถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพ ในปิฎกเหล่านั้นตามสมควร ดังนี้ &01
051 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 51
เป็นอันข้าพเจ้าขยายความแล้ว ด้วยคำเพียงเท่านี้. ส่วนในพระคาถานี้ว่า ภิกษุย่อมถึงความต่างแห่งปริยัติก็ดี สมบัติและวิบัติก็ดี อันใด ในปิฎกใดมีวินัย ปิฎกเป็นต้น โดยประการใด บัณฑิตพึง ประกาศความต่างแห่งปริยัติเป็นต้น แม้นั้น ทั้งหมด โดยประการนั้น ดังนี้. บัณฑิตพึงเห็นความต่างแห่งปริยัติ ๓ อย่าง ใน ๓ ปิฎกดังนี้ :- [ปริยัติ ๓ อย่าง] จริงอยู่ ปริยัติ ๓ คือ อลคัททูปมาปริยัติ ๑ นิสสรณัตถปริยัติ ๑ ภัณฑาคาริยปริยัติ ๑- ๑ ในปริยัติ ๓ อย่างนั้น ปริยัติใด อันบุคคลเรียนไม่ดี คือเรียนเพราะเหตุมีการโต้แย้งเป็นต้น, ปริยัตินี้ ชื่อว่า ปริยัติเปรียบด้วยงูพิษ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือหรือที่แขน หรือที่ อวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตายหรือความทุกข์ปางตาย ซึ่งมีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ งูพิษเขาจับไม่ดี แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัย นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ พวกเขาครั้นเรียน &01
052 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 52
ธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่พิจารณาอรรถแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรม เหล่านั้นย่อมไม่ควรต่อการเพ่งพินิจแก่พวกเขา ผู้ไม่พิจารณาอรรถด้วยปัญญา พวกเขาเรียนธรรมมีการโต้แย้งเป็นอานิสงส์ และมีหลักการบ่นเพ้อว่าอย่างนี้ เป็นอานิสงส์ และย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรมที่พวกกุลบุตรต้องประสงค์ เล่าเรียน ธรรมเหล่านั้นที่เขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อ ทุกข์ สิ้นกาลนาน แก่โมฆบุรุษเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ? ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดี. ๑- อนึ่ง ปริยัติอันบุคคลเรียนดีแล้ว คือจำนงอยู่ซึ่งความบริบูรณ์แห่งคุณ มีสีลขันธ์เป็นต้นนั่นแล เรียนแล้ว ไม่เรียนเพราะเหตุมีความโต้แย้งเป็นต้น ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติมีประโยชน์ที่จะออกจากวัฏฏะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง หมายตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนานแก่กุลบุตรเหล่านั้น ข้อนั้น เพราะอะไรเป็นเหตุ ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอัน กุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ๒- ดังนี้. ส่วนพระขีณาสพผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว มีกิเลสอันละแล้ว มีมรรค อันอบรมแล้ว มีธรรมอันไม่กำเริบแทงตลอดแล้ว มีนิโรธอันกระทำให้แจ้ง แล้ว ย่อมเรียนซึ่งปริยัติใด เพื่อต้องการแก่อันดำรงซึ่งประเพณี เพื่อต้องการ แก่อันตามรักษาซึ่งวงศ์ ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติของท่านผู้ประดุจขุนคลัง. [ภิกษุผู้ปฏิบัติดีใน ๓ ปิฎกได้ผลดีต่างกัน] อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติดีในพระวินัย อาศัยสีลสมบัติ ย่อมได้บรรลุวิชชา ๓ ก็เพราะตรัสจำแนกประเภทวิชชา ๓ เหล่านั้นนั่นแลไว้ในพระวินัยนั้น ผู้ &01
053 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 53
ปฏิบัติดีในพระสูตร อาศัยสมาธิสมบัติ ย่อมได้บรรลุอภิญญา ๖ ก็เพราะตรัส จำแนกประเภทอภิญญา ๖ เหล่านั้นไว้ในพระสูตรนั้น. ผู้ปฏิบัติดีในพระอภิธรรม อาศัยปัญญาสมบัติ ย่อมได้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ก็เพราะตรัสจำแนกประเภท ปฏิสัมภิทา ๔ นั้น ไว้ในพระอภิธรรมนั้นนั่นเอง. ผู้ปฏิบัติดีในปิฎกเหล่านี้ ย่อมบรรลุสมบัติต่างกัน คือวิชชา ๓ อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ นี้ตามลำดับ ด้วยประการฉะนี้. [ผู้ปฏิบัติไม่ดีใน ๓ ปิฎกได้ผลเสียต่างกัน] ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระวินัย ย่อมมีความสำคัญว่าหาโทษมิได้ ใน ผัสสะทั้งหลายมีสัมผัสซึ่งรูปเป็นอุปาทินกะเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสห้ามแล้ว โดยความเป็นอาการเสมอกับด้วยสัมผัสซึ่งวัตถุมีเครื่องลาด และผ้าห่มเป็นต้น ซึ่งมีสัมผัสเป็นสุข ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว. แม้ข้อนี้ต้องด้วยคำที่พระอริฏฐะกล่าวว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธรรมอัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ว่า เป็นธรรมอันทำอันตรายได้อย่างไร ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถ เพื่อกระทำอันตรายแก่บุคคลผู้เสพได้ ๑- ดังนี้. ภิกษุ นั้นย่อมถึงความเป็นผู้ทุศีล เพราะความปฏิบัติไม่ดีนั้น. ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระสูตร ไม่รู้อยู่ซึ่งอธิบายในพระบาลีมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ดังนี้ ย่อมถือเอาผิด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสว่า บุคคลมีธรรมอันตนถือผิดแล้ว ย่อม กล่าวตู่เราทั้งหลายด้วย ย่อมขุดตนเองด้วย ย่อมได้ประสบบาปมิใช่บุญมาก ด้วย ๒- ดังนี้ ภิกษุนั้นย่อมถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิผิด เพราะการถือนั้น. &01
054 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 54
ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่มีในพระอภิธรรม แล่นเกินไปซึ่งการวิจารณ์ธรรม ย่อมคิดแม้ซึ่งเรื่องที่ไม่ควรคิด ย่อมถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต เพราะคิดซึ่งเรื่อง ที่ไม่ควรคิดนั้น. ข้อนี้ต้องด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลคิดอยู่ซึ่งเรื่องที่ไม่ควรคิดเหล่าใด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า แห่งความลำบากใจ เรื่องที่ไม่ควรคิดเหล่านี้ ๔ ประการ อันบุคคลไม่ควรคิด ๑- ดังนี้. ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในปิฎก ๓ เหล่านี้ ย่อมถึงความวิบัติต่างด้วยความเป็น ผู้ทุศีล ความเป็นผู้มีทิฏฐิผิดและความฟุ้งซ่านแห่งจิตนี้ ตามลำดับ ด้วยประการ ฉะนี้. ถึงพระคาถาแม้นี้ว่า ภิกษุย่อมถึงซึ่งความต่างแห่งปริยัติ ก็ดี สมบัติและวิบัติก็ดี อันใด ในปิฎกใดมี วินัยปิฎกเป็นต้น โดยประการใด บัณฑิต พึงประกาศความต่างแห่งปริยัติเป็นต้น แม้นั้นทั้งหมดโดยประการนั้น ดังนี้ เป็นอันข้าพเจ้าขยายแล้วด้วยคำเพียงเท่านี้. บัณฑิตครั้นทราบ ปิฎกโดยประการต่าง ๆ อย่างนั้นแล้ว ก็ควรทราบพระพุทธพจน์นั้นว่า มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปิฎกเหล่านั้น. [พระพุทธพจน์มี ๕ นิกาย] พระพุทธพจน์มี ๕ ด้วยอำนาจแห่งนิกาย อย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมดนั่นแล ย่อมมี ๕ ประเภท คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย (และ) ขุททกนิกาย. &01
055 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 55
[ทีฆนิกาย ๓๔ สูตร] บรรดานิกายทั้ง ๕ นั้น ทีฆนิกายเป็นไฉน ? พระสูตร ๓๔ สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น สงเคราะห์ (รวบรวม) เป็น ๓ วรรค ชื่อทีฆนิกาย. นิกายใดมีพระสูตร ๓๔ สูตรถ้วน สงเคราะห์เป็น ๓ วรรค, นิกายแรกนี้ อนุโลม ตามเนื้อความ ชื่อว่าทีฆนิกาย. ก็เพราะเหตุไร นิกายนี้ ท่านจึงเรียกว่า ทีฆนิกาย ? เพราะเป็นที่ ประชุม และเป็นที่รวมแห่งพระสูตรทั้งหลายที่มีขนาดยาว. จริงอยู่ ที่ประชุม และที่รวมท่านเรียกว่า นิกาย ก็ในข้อที่นิกายศัพท์ เป็นศัพท์บอกความประชุม และความรวมนี้ มีอุทาหรณ์ที่ควรสาธกทั้งทางศาสนาทั้งทางโลก มีอาทิอย่างนี้ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่เล็งเห็นแม้ซึ่งหมู่อันหนึ่งอื่น ซึ่งงดงาม เหมือนหมู่สัตว์ดิรัจฉานนี้ คือหมู่ปลวก หมู่สัตว์เล็ก ๆ นะภิกษุทั้งหลาย ! บัณฑิตพึงทราบพจนารถ (ความหมายของคำ) ในความที่นิกายทั้ง ๔ แม้ที่เหลือ ชื่อว่านิกาย ด้วยประการฉะนี้. [มัชฌิมนิกายมี ๑๕๒ สูตร] มัชฌิมนิกายเป็นไฉน ? พระสูตร ๑๕๒ สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น สงเคราะห์เป็น ๑๕ วรรค ซึ่งมีขนาดปานกลาง ชื่อมัชฌิมนิกาย. นิกายที่มีพระสูตร ๑๕๒ สูตร จัดเป็น ๑๕ วรรค ชื่อว่ามัชฌิมนิกาย. [สังยุตตนิกายมี ๗,๗๖๒ สูตร] สังยุตตนิกายเป็นไฉน ? พระสูตร ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฆตรณสูตร เป็นต้น ตั้งอยู่ด้วยอำนาจแห่งสังยุตมีเทวตาสังยุตเป็นต้น ชื่อสังยุตตนิกาย
056 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 56
นิกาย ที่มีพระสูตร ๗,๗๖๒ สูตร ซึ่งรวบรวมหมวดสังยุต นี้ชื่อว่าสังยุตตนิกาย. [อังคุตตรนิกายมี ๙,๕๕๗ สูตร] อังคุตตรนิกายเป็นไฉน ? พระสูตร ๙,๕๕๗ สูตร มีจิตตปริยาทานสูตร เป็นต้น ที่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจแห่งองค์หนึ่ง ๆ และเกินหนึ่ง ชื่ออังคุตตรนิกาย. ในอังคุตตรนิกาย นับจำนวนพระสูตร ได้ดังนี้ คือ ๙,๕๕๗ สูตร. [ขุททกนิกายมี ๑๕ ประเภท] ขุททกนิกายเป็นไฉน ? เว้น ๔ นิกายเสีย พระพุทธพจน์ที่เหลือคือ พระวินัยปิฎก พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระบาลี ๑๕ ประเภท ที่แสดง ไว้แล้วในตอนต้น มีขุททกปาฐะเป็นอาทิ ชื่อขุททกนิกาย ด้วยประการฉะนี้. เว้นนิกายแม้ทั้ง ๔ มีทีฆนิกายเป็นต้นนั่นเสีย พระพุทธพจน์อื่นจากนั้น บัณฑิต เรียกว่า ขุททกนิกาย ฉะนี้แล. พระพุทธพจน์มี ๕ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งนิกาย ดังพรรณนามา ฉะนี้. [พระพุทธพจน์มี ๙ อย่าง] พระพุทธพจน์มี ๙ อย่าง ด้วยสามารถแห่งองค์อย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธพจน์นี้ทั้งหมดทีเดียว มี ๙ ประเภท คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ.
057 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 57
[อธิบายพระพุทธพจน์มีองค์ ๙ ทีละองค์] บรรดาพระพุทธพจน์ที่มีองค์ ๙ นั้น อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร และพระสูตร มีมงคลสูตร รตนสูตร นาลกสูตร และตุวฎกสูตร เป็นต้น ในสุตตนิบาต และพระตถาคตพจน์ (พระดำรัสของพระตถาคต) ที่มีชื่อว่าสูตรแม้อื่น พึงทราบว่า พระสูตร. พระสูตรที่มีคาถาแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เคยยะ. สคาถกวรรค (วรรคที่มีคาถา) แม้ทั้งสิ้น ในสังยุตตนิกาย พึงทราบว่า เคยยะ โดยพิเศษ. พระอภิธรรมปิฎกทั้งสิ้น พระสูตรที่ไม่มีคาถาปน และพระพุทธพจน์ แม้อื่น ที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้า ด้วยองค์ ๘ พึงทราบว่า เวยยากรณะ. ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วน ๆ ที่ไม่มีชื่อว่าสูตร ในสุตตนิบาต พึงทราบว่า คาถา. พระสูตร ๘๒ สูตร ที่ปฏิสังยุตด้วยคาถาซึ่งสำเร็จด้วยโสมนัสสญาณ พึงทราบว่า อุทาน. พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ข้อนี้สมจริงดังคำที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ๑- พึงทราบว่า อิติวุตตกะ. ชาดก ๕๕๐ มีอปัณณกชาดกเป็นต้น พึงทราบว่า ชาตกะ. พระสูตร ที่ปฏิสังยุตด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมแม้ทั้งหมด ซึ่งเป็นไป โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อัจฉริยภัพภูตธรรม ๔ อย่าง เหล่านี้ ย่อมมีในพระอานนท์ ๒- พึงทราบว่า อัพภูตธัมมะ. &01
058 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 58
พระสูตรที่มนุษย์เป็นต้นถามแล้ว ได้ความรู้และความยินดีแม้ทั้งหมด มีจูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร และมหาปุณณมสูตรเป็นต้น พึงทราบว่า เวทัลละ. พระพุทธพจน์มีองค์ ๙ ด้วยอำนาจแห่งองค์ ดังพรรณนามาฉะนี้. [พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์] พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งพระธรรมขันธ์ อย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมดเทียว มี ๘๔,๐๐๐ ประเภท ด้วยอำนาจแห่งพระธรรมขันธ์ ที่พระอานนทเถระแสดงไว้แล้วอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเรียนเอาพระธรรม จากพุทธสำนัก ๘๒,๐๐๐ จากสำนักภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมที่เป็นไปในหทัยของข้าพเจ้า จึงมี จำนวน ๘๔,๐๐๐ ดังนี้. [วิธีคำนวณนับพระธรรมขันธ์เฉพาะขันธ์หนึ่ง ๆ] บรรดาพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ นั้น พระสูตรที่มีอนุสนธิเดียวจัด เป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์. ในพระสูตรที่มีอนุสนธิมาก นับพระธรรมขันธ์ด้วย อำนาจแห่งอนุสนธิ. ในคาถาพันธ์ทั้งหลาย คำถามปัญหา (ข้อหนึ่ง) จัดเป็น หนึ่งพระธรรมขันธ์, คำวิสัชนา (ข้อหนึ่ง) จัดเป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์. ในพระอภิธรรม การจำแนกติกะทุกะแต่ละติกะทุกะ และการจำแนก วารจิตแต่ละวารจิต จัดเป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์. ในพระวินัย มีวัตถุ มีมาติกา มีบทภาชนีย์ มีอันตราบัติ มีอาบัติ มีอนาบัติ มีกำหนดติกะ บรรดาวัตถุและมาติกาเป็นต้นเหล่านั้น ส่วนหนึ่ง ๆ พึงทราบว่า เป็นพระธรรมขันธ์อันหนึ่ง ๆ.
059 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 59
พระพุทธพจน์ (ทั้งหมด) มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่ง พระธรรมขันธ์ ดังพรรณนามาฉะนี้. [ปฐมสังคายนาจัดพระพุทธพจน์ไว้เป็นหมวด ๆ] พระพุทธพจน์นั้น โดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ โดยความไม่ ต่างกัน มีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรส, โดยความต่างกัน มีประเภท ๒ อย่าง เป็นต้น ด้วยอำนาจธรรมและวินัยเป็นอาทิ อันพระมหาเถระผู้เป็นคณะที่ ชำนาญ มีพระมหากัสสปเป็นประมุข เมื่อจะสังคายนาจึงกำหนดประเภทนี้ก่อน แล้วร้อยกรองไว้ว่า นี้พระธรรม, นี้พระวินัย, นี้ปฐมพุทธพจน์, นี้ มัชฌิมพุทธพจน์, นี้ปัจฉิมพุทธพจน์, นี้พระวินัยปิฎก, นี้พระสุตตันตปิฎก, นี้ พระอภิธรรมปิฎก, นี้ทีฆนิกาย, นี้มัชฌิมนิกาย, นี้สังยุตตนิกาย, นี้อังคุตตรนิกาย, นี้ขุททกนิกาย, นี้องค์ ๙ มีสุตตะเป็นต้น, นี้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์. ก็ท่านร้อยกรองประเภทตามที่กล่าวไว้แล้วนี้เท่านั้นอย่างเดียวหามิได้ ยังได้กำหนดประเภทที่ควรรวบรวมไว้แม้อื่น ๆ ซึ่งมีหลายชนิด มีอุทานสังคหะ วัคคสังคหะ เปยยาลสังคหะ นิบาตสังคหะ เช่นเอกนิบาต และทุกนิบาต เป็นต้น สังยุตตสังคหะและปัณณาสกสังคหะเป็นอาทิ ที่ปรากฏอยู่ใน พระไตรปิฎก ได้ร้อยกรองอยู่ ๗ เดือนจึงสำเร็จ ด้วยประการฉะนี้. [พระพุทธศาสนาอาจตั้งอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี] ก็ในเวลาจบการร้อยกรองพระพุทธพจน์นั้น มหาปฐพีนี้เหมือนเกิด ความปราโมทย์ให้สาธุการอยู่ว่า พระมหากัสสปเถระ ทำพระศาสนาของ พระทศพลนี้ให้สามารถเป็นไปได้ตลอดกาลประมาณ ๕,๐๐๐ พระวรรษา ดังนี้ ก็หวั่นไหวเอนเอียง สะเทือนสะท้านเป็นอเนกประการ จนถึงน้ำรองแผ่นดิน
060 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 60
เป็นที่สุด และอัศจรรย์ทั้งหลายเป็นอันมากก็ได้ปรากฏมีแล้ว ด้วยประการฉะนี้. สังคีติใดในโลก ท่านเรียกว่า ปัญจสตาสังคีติ เพราะ พระธรรมสังคาหกเถระ ๕๐๐ รูปทำ, และ เรียกว่า เถริกาสังคีติ เพราะพระเถระ ทั้งหลายนั่นแลทำแล้ว สังคีตินี้ ชื่อปฐมมหาสังคีติ ด้วยประการฉะนี้. เมื่อปฐมมหาสังคีตินี้เป็นไปอยู่ ท่านพระมหากัสสป เมื่อจะถามถึง พระวินัย (กะท่านพระอุบาลีเถระ) จึงถามถึงนิทาน ที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ว่า ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึงบุคคลบ้าง ดังนี้เป็นต้น ซึ่งเป็น ที่สุดแห่งคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส อุบาลี ! ปฐมปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติแล้ว ณ ที่ไหน ? เป็นต้น คำนิทานนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ ประสงค์จะให้พิสดารตั้งแต่ต้น แล้วกล่าวถึงบุคคลเป็นต้น ที่บัญญัติ วินัยปิฎก และเหตุที่บัญญัตินั่นทั้งหมด จึงกล่าวไว้แล้ว. [อธิบายความเริ่มต้นแห่งนิทานวินัย] คำนิทาน (คำเริ่มต้น) ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชายํ วิหรติ ๑- เป็นอาทิ บัณฑิตควรกล่าวไว้ทั้งหมด, เพราะคำเริ่มต้นนี้ ท่าน พระอุบาลีเถระกล่าวไว้อย่างนี้. ก็แลคำเริ่มต้นนั้น บัณฑิตควรทราบว่า ท่าน พระอุบาลีเถระกล่าวไว้แล้วในคราวกระทำสังคายนาใหญ่ครั้งแรก. ก็ใจความ แห่งบทนี้ว่า ก็คำนี้ใครกล่าวและกล่าวในกาลไหน เป็นต้น เป็นอันข้าพเจ้า ประกาศแล้ว ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้. บัดนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยใน บทว่า กล่าวไว้เพราะเหตุไร นี้ต่อไป :- &01
061 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 61
เพราะท่านพระอุบาลีนี้ ถูกพระมหากัสสปเถระถามถึงนิทานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวนิทานนั้นให้พิสดารแล้วตั้งแต่ต้น ด้วยประการฉะนี้. คำเริ่มต้นนี้ บัณฑิตควรทราบว่า ท่านพระอุบาลีเถระ แม้เมื่อกล่าวในคราวทำ สังคายนาใหญ่ครั้งแรกก็ได้กล่าวแล้วเพราะเหตุนี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็ใจความ แห่งบทมาติกาเหล่านี้ว่า วุตฺตํ เยน ยทา ยสฺมา ดังนี้ เป็นอันข้าพเจ้า ประกาศแล้ว ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้. บัดนี้ เพื่อจะประกาศเนื้อความ แห่งบทมาติกาเหล่านี้ว่า ธาริตํ เยน จาภฏํ ยตฺถ ปติฏฺฐิตญฺเจตเมตํ วตฺวา วิธึ บัณฑิตจึงกล่าวคำนี้ไว้. [พระมหาเถระมีพระอุบาลีเป็นต้นนำพระวินัยปิฎกสืบต่อมา] ถามว่า ก็พระวินัยปิฎกนี้นั้น ซึ่งมีนิทานประดับด้วยคำมีอาทิอย่างนี้ ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชายํ วิหรติ ดังนี้ ใครทรงไว้ ? ใครนำสืบมา ? (และ) ตั้งมั่นอยู่แล้วในบุคคลไหน ? ข้าพเจ้าจะเฉลยต่อไป :- พระวินัยปิฎกนี้ ท่านพระอุบาลีเถระจำทรงไว้ ต่อพระพักตร์ของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเบื้องต้นก่อน. เมื่อพระตถาคตเจ้ายังไม่ปรินิพพาน นั่นแล ภิกษุหลายพันรูป ต่างโดยได้อภิญญา ๖ เป็นต้น จำทรงไว้ต่อจากท่าน พระอุบาลีเถระนั้น เมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว พระธรรมสังคาหกเถระ ทั้งหลาย มีพระมหากัสสปเป็นประมุข ก็จำทรงกันต่อมา. บทมาติกาว่า เกนาภฏํ นี้ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป :- ในชมพูทวีปก่อน พระวินัยนั่น นำสืบต่อมาโดยลำดับแห่งอาจารย์ ตั้งแต่ต้นพระอุบาลีเถระ จนถึงสังคายนาครั้งที่ ๓. ในชมพูทวีปนั้นมีลำดับ อาจารย์ดังต่อไปนี้ :-
062 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 62
พระเถระ ๕ องค์เหล่านี้คือ พระอุบาลี ๑ พระทาสกะ ๑ พระโสณกะ ๑ พระสิคควะ ๑ พระโมคคลีบุตรติสสะ ๑ ผู้มีชัยชนะพิเศษได้นำพระวินัยมาโดยลำดับ ไม่ให้ขาดสาย ในสิริชมพูทวีป (ในทวีป ชื่อชมพูอันเป็นสิริ) จนถึงสังคายนาครั้งที่ ๓. [พระอุบาลีเถระเรียนพระวินัยปิฎกจากพุทธสำนัก] ความพิสดารว่า ท่านพระอุบาลีเรียนเอาวงศ์ ระเบียบประเพณี พระวินัย ต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วให้ตั้งอยู่ในหทัยของภิกษุ เป็นอันมาก. จริงอยู่ บรรดาบุคคลผู้เรียนเอาวินัยวงศ์ ในสำนักของท่านนั้น แล้วถึงความเป็นผู้ฉลาดสามารถในพระวินัย ผู้ที่เป็นปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี กำหนดนับไม่ถ้วน ที่เป็นพระขีณาสพ ได้มีจำนวน ๑,๐๐๐ รูป. [พระทาสกเถระเรียนพระวินัยปิฎกจากสำนักพระอุบาลีเถระ] ฝ่ายพระทาสกเถระ ได้เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุบาลีเถระนั้นนั่นเอง ท่านได้เรียนเอา (พระวินัย) ต่อจากพระอุบาลีเถระ แล้วก็บอกสอนพระวินัย (แก่ภิกษุเป็นอันมาก) เหมือนอย่างนั้น. ปุถุชนเป็นต้นผู้เรียนเอา (พระวินัย) ในสำนักของพระเถระแม้นั้น แล้วถึงความเป็นผู้ฉลาดสามารถในพระวินัย กำหนดนับไม่ถ้วน ที่เป็นพระขีณาสพได้มีจำนวนถึง ๑,๐๐๐ รูป. [พระโสณกเถระเรียนพระวินัยปิฎกจากสำนักพระทาสกเถระ] ส่วนพระโสณกเถระ ได้เป็นสัทธิวิหาริกของพระทาสกเถระ. แม้ท่าน ก็เรียนเอา (พระวินัย) ต่อจากพระทาสกเถระ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของตน
063 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 63
แล้วก็บอกสอนพระวินัย (แก่ภิกษุเป็นอันมาก) เหมือนอย่างนั้น. ปุถุชน เป็นต้นผู้เรียนเอา (พระวินัย) ในสำนักของท่านแม้นั้น แล้วถึงความเป็นผู้ ฉลาดสามารถในพระวินัย กำหนดนับไม่ถ้วน ที่เป็นพระขีณาสพได้มีจำนวน ถึง ๑,๐๐๐ รูปเช่นกัน. [พระสิคควเถระเรียนพระวินัยปิฎกจากสำนักพระโสณกเถระ] ฝ่ายพระสิคควเถระ เป็นสัทธิวิหาริกของพระโสณกเถระ เรียนเอา พระวินัย ในสำนักของพระเถระ แล้วได้เป็นผู้รับธุระของพระอรหันต์ ๑,๐๐๐ องค์. อนึ่ง ปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามีก็ดี พระขีณาสพก็ดี ผู้เรียนเอา (พระวินัย) ในสำนักของท่านนั้น แล้วถึงความ เป็นผู้ฉลาดสามารถในพระวินัย ก็กำหนดไม่ได้ว่า เท่านี้ร้อย หรือว่า เท่านี้พัน. ได้ยินว่า เวลานั้น ในชมพูทวีปได้มีการประชุมภิกษุมากมาย. อานุภาพของ พระโมคคลีบุตรติสสเถระ จักมีปรากฏชัดในตติยสังคายนา (ข้างหน้า). พระวินัยปิฎกนี้ พึงทราบว่า ชั้นแรกในชมพูทวีป นำสืบกันมาโดยลำดับแห่ง อาจารย์นี้ จนถึงสังคายนาครั้งที่ ๓ ด้วยประการฉะนี้.
064
เล่มที่ 1 หน้า 64
เริ่มทุติยสังคายนา ก็เพื่อรู้ทุติยสังคายนาแจ่มแจ้ง ควรทราบลำดับดังต่อไปนี้ จริงอยู่ ในกาลใด พระเถระทั้ง ๕๐๐ มีพระมหากัสสป เป็นต้น ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว มีปัญญาอัน รุ่งเรืองเหล่านั้น ครั้นสังคายนาพระสัทธรรม และยังพระสัทธรรมให้รุ่งเรืองในที่ทั้งปวง แล้ว ดำรงอยู่จนถึงที่สุดแห่งชีวิต ไม่มีอาลัย สิ้นเชื้อดับไป เหมือนประทีปดับไปฉะนั้น [ภิกษุชาววัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ] ในกาลนั้น เมื่อคืนและวันล่วงไปโดยลำดับ ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จปรินิพพานแล้วได้ ๑๐๐ ปี พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองไพศาลี แสดง วัตถุ ๑๐ ประการเหล่านี้ ในเมืองไพศาลี คือ :- กปฺปติ สิงฺคิโลณกปฺโป กัปปะว่า เก็บเกลือไว้ด้วยแขนงฉัน กับบิณฑบาตที่ไม่เค็ม ก็ควร. กปฺปติ ทฺวงฺคุลกปฺโป กัปปะว่า จะฉันโภชนะ ในวิกาล เมื่อเงาคล้อยไป ๒ องคุลี ก็ควร. กปฺปติ คามนฺตรกปฺโป กัปปะว่า ภิกษุตั้งใจว่าจะไปใน ละแวกบ้าน ห้ามภัตแล้ว ฉันโภชนะ ที่ไม่เป็นเดน ก็ควร,
065 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 65
กปฺปติ อาวาสกปฺโป กัปปะว่า จะแยกกันทำสังฆกรรมมี อุโบสถเป็นต้น ในเสนาสนะต่างแห่ง ในสีมาเดียวกัน ก็ควร, กปฺปติ อนุมติกปฺโป กัปปะว่า เมื่อตั้งใจว่าจะถือเอาอนุมัติ ในเวลาที่พวกภิกษุผู้ยังไม่มา มาแล้ว เมื่อเธอเหล่านั้นยังไม่ทันมา สงฆ์ เป็นวรรคจะทำกรรมนั้น แล้วอนุมัติ ภายหลัง ก็ควร, กปฺปติ อาจิณฺณกปฺโป กัปปะว่า ข้อที่อาจารย์และอุปัชฌาย์ เคยประพฤติมา ย่อมควร, กปฺปติ อมถิตกปฺโป กัปปะว่า ภิกษุฉันแล้ว ห้ามโภชนะ แล้ว ฉันนมสดที่ยังไม่เป็นทธิ ซึ่ง ไม่เป็นเดน ย่อมควร, กปฺปติ ชโลคึ ปาตุํ ภิกษุจะดื่มสุราอย่างอ่อน ที่ยังไม่ถึง เป็นน้ำเมา ก็ควร, กปฺปติ อทสกํ นิสีทนํ ผ้านิสีทนะที่ไม่มีชาย ก็ควร, กปฺปติ ชาตรูปรชตํ ทองและเงินควรแก่ภิกษุ ๑- . พระราชาทรงพระนามว่า กาฬาโศก ผู้เป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าสุสูนาค ได้ทรงเป็นฝักฝ่ายของพวกภิกษุวัชชีบุตรเหล่านั้นแล้ว. [พระยสเถระได้ทราบเรื่องภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ) ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระยสกากัณฑกบุตร เที่ยวจาริกไปใน วัชชีชนบท ได้สดับว่า ข่าวว่าพวกภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองไพศาลีแสดงวัตถุ ๑๐ &01
066 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 66
ประการในเมืองไพศาลี ดังนี้ จึงดำริว่า ข้อที่เราได้ฟังความวิบัตแห่งพระศาสนา ของพระทศพลแล้ว จะพึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยเสีย ไม่สมควรแก่เราเลย เอาละ เราจะข่มพวกอธรรมวาทีเสีย แล้วจะยกย่องธรรม ดังนี้ จึงได้ไป ทางเมืองไพศาลี. ดังได้ยินมาว่า ท่านพระยสกากัณฑกบุตร พักอยู่ที่กูฏาคารศาลา ใน ป่ามหาวันใกล้เมืองไพศาลีนั้น. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองไพศาลี ใส่น้ำให้เต็มถาดทองสัมฤทธิ์แล้วตั้งไว้ในท่ามกลางสงฆ์ในวันอุโบสถ นั้น กล่าวแนะนำอุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองไพศาลี ผู้มาแล้ว ๆ อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ! ท่านทั้งหลายจงถวายรูปิยะแก่สงฆ์ กหาปณะหนึ่งก็ได้, กึ่งกหาปณะ ก็ได้, บาทหนึ่งก็ได้, มาสกหนึ่งก็ได้, กิจของสงฆ์ที่ต้องทำด้วยบริขาร จักมี ดังนี้ ๑- . คำทั้งปวงควรเล่าจนถึงคำว่า ก็วินัยสังคีตินี้ ได้มีภิกษุ ๗๐๐ รูป ไม่หย่อนไม่เกิน, เพราะฉะนั้น วินัยสังคีตินี้ท่านจึงเรียกว่า สัตตสติกา. ก็ภิกษุล้านสองแสนรูป ซึ่งท่านพระยสกากัณฑกบุตร ชักชวนได้ ประชุมกันในสันติบาตินี้. วัตถุ ๑๐ ประการเหล่านั้น ท่านพระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเถระ เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย วินิจฉัยเสร็จในท่ามกลางภิกษุ เหล่านั้น, อธิกรเป็นอันระงับเสร็จแล้ว. [คัดเลือกพระเถระทำทุติยสังคายนาได้ ๗๐๐ รูป] ภายหลังพระเถระทั้งหลาย ปรึกษากันว่า พวกเราจักสังคายนา พระธรรมและพระวินัยอีก ดังนี้ จึงได้คัดเลือกภิกษุ ๗๐๐ รูปผู้ทรงพระไตรปิฎก บรรลุปฏิสัมภิทา แล้วนั่งประชุมกันที่วาลิการามใกล้เมืองไพศาลี ชำระมลทิน &01
067 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 67
แห่งพระศาสนาทั้งปวง ได้สังคายนาพระธรรมและวินัยทั้งหมด ด้วยอำนาจปิฎก นิกาย องค์ และธรรมขันธ์ซ้ำอีก เช่นเดียวกับที่พระมหากัสสปเถระสังคายนา แล้วนั่นแล. สังคีติใดในโลก ท่านเรียกว่า สัตตสตสังคีติ เพราะ พระเถระ ๗๐๐ รูปทำ, และเรียกว่า ทุติยสังคีติ เพราะเทียบสังคีติที่ทำก่อน สังคีตินี้ทำอยู่ ๘ เดือนจึงสำเร็จ ด้วยประการฉะนี้. ก็แลสังคีตินี้นั้น อันพระเถระเหล่าใดร้อยกรองไว้แล้ว บรรดาพระเถระเหล่านั้น พระเถระที่ปรากฏ ๑- คือ พระสัพพกามี ๑ พระสาฬหะ ๑ พระเรวตะ ๑ พระขุชชโสภิตะ ๑ พระยสะ ๑ พระสาณสัมภูตะ ๑ เหล่านี้ เป็นสัทธิวิหาริก ของพระอานนทเถระ เคยเห็นพระตถาคต พระสุมนะ ๑ พระวาสภคามี ๑, ๒ รูปนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นสัทธิวิหาริกของ พระอนุรุทธะ เคยเห็นพระตถาคต ก็แล พระเถระทั้งหลายผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ทุก ๆ รูปเป็นผู้ปลงภาระแล้ว เสร็จกิจแล้ว หาอาสวะมิได้ ดังนี้แล. จบทุติยสังคีติเท่านี้ &01
068
เล่มที่ 1 หน้า 68
เรื่องระหว่างทุติยตติยสังคายนา พระเถระทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นสังคายนาทุติยสังคีตินี้อย่างนั้นแล้ว จึงตรวจดูว่า แม้ในอนาคตเสนียด (เสี้ยนหนาม) เห็นปานนี้ จักเกิดขึ้นแก่ พระศาสนาหรือหนอแล ? แล้วได้เห็นเหตุนี้ว่า ในปีที่ ๑๘ ต่อจาก ๑๐๐ ปี แต่นี้ไป พระราชาทรงพระนามว่าพระเจ้าธรรมาโศก จะทรงอุบัติขึ้นใน พระนครปาฏลีบุตร ครอบครองราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ท้าวเธอจักทรง เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แล้วจักยังลาภและสักการะเป็นอันมากให้เป็นไป, ในครั้งนั้น พวกเดียรถีย์ผู้ปรารถนาลาภและสักการะ จักบวชในพระศาสนา แล้วแสดงทิฏฐิของตน เสนียดใหญ่ จักเกิดขึ้นในพระศาสนา ด้วยอาการอย่างนี้ [ติสสมหาพรหมจักแก้ความเสื่อมพระศาสนาในอนาคต] ครั้งนั้น พระเถระเหล่านั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่อเสนียดนั่น เกิดขึ้นแล้ว พวกเราจักทันเห็นหรือไม่หนอ ? ลำดับนั้นพระเถระทั้งหมด นั่นแล ทราบความที่ตนเป็นผู้ไม่ทันเห็น (เหตุการณ์) ในเวลานั้น จึงคิดว่า ใครเล่าหนอ ! จักเป็นผู้สามารถให้อธิกรณ์นั้นระงับได้ แล้วได้ตรวจดู มนุษยโลก และเทวโลกชั้นกามาวจรทั้งสิ้น ก็มิได้เห็นใคร ๆ ได้เห็นแต่ ท้าวมหาพรหมชื่อติสสะในพรหมโลก ผู้มีอายุยังเหลือน้อย ได้อบรมมรรคเพื่อ บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงขึ้นไป. พระเถระทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นเห็นแล้ว จึงได้มีความดำริดังนี้ว่า ถ้าพวกเราพึงทำความอุตสาหะ เพื่อต้องการให้พรหม นั่นเกิดในมนุษยโลกไซร้, พรหมนั่นก็จักถือปฏิสนธิในเรือนของโมคคลีพราหมณ์
069 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 69
แน่นอน, และต่อจากนั้นก็จักถูกเล้าโลมด้วยมนต์แล้วออกบวช, ครั้น ติสสทารกนั้นบวชแล้วอย่างนี้ เล่าเรียนพระพุทธพจน์ทั้งสิ้น เป็นผู้ได้บรรลุ ปฏิสัมภิทา จักย่ำยีพวกเดียรถีย์ วินิจฉัยอธิกรณ์นั้นแล้ว เชิดชูพระศาสนา. [พวกพระเถระไปเชิญติสสมหาพรหมให้มาเกิดในมนุษยโลก] พระเถระเหล่านั้นไปยังพรหมโลก แล้วได้กล่าวคำนี้กะท้าวติสสมหาพรหมว่า ดูก่อนสหายผู้นิรทุกข์ ! ในปีที่ ๑๘ ถัดจาก ๑๐๐ ปี แต่ปีนี้ไป เสียดอย่างใหญ่จักเกิดขึ้นในพระศาสนา, และพวกเราได้ตรวจดูมนุษยโลก และเทวโลกชั้นฉกามาวจรทั้งสิ้น ก็มิได้เห็นใคร ๆ ผู้สามารถ เพื่อจะเชิดชู พระศาสนาได้, ค้นดูตลอดพรหมโลกจึงได้พบท่านผู้เจริญ, ดังพวกข้าพเจ้า ขอโอกาส ท่านสัตบุรุษ ! ขอท่านจงให้ปฏิญญา (แก่พวกข้าพเจ้า) เพื่อเกิด ในมนุษยโลก แล้วเชิดชูพระศาสนาของพระทศพลเถิด. [ติสสมหาพรหมรับปฏิญญามาเกิดในมนุษยโลก] เมื่อพระเถระทั้งหลาย กล่าวเชิญอย่างนั้นแล้ว ท้าวมหาพรหมจึง ดำริว่า ได้ยินว่า เราจักเป็นผู้สามารถเพื่อชำระเสนียดซึ่งจะเกิดขึ้นในพระศาสนา แล้วเชิดชูพระศาสนา ดังนี้ แล้วเป็นผู้หรรษาร่าเริงบันเทิงใจ ได้ให้ปฏิญญา รับว่า ดีละ. พระเถระทั้งหลายพิจารณากิจที่ควรทำนั้นในพรหมโลกเสร็จแล้ว ก็พากันกลับมาอีก. [พวกพระเถระลงทัณฑกรรมแก่พระสิคควะและพระจัณฑวัชชี] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเถระทั้ง ๒ รูปคือ พระสิคควเถระ และ พระจัณฑวัชชีเถระ ยังเป็นพระนวกะอยู่. พระเถระเหล่านั้น เป็นภิกษุหนุ่ม ทรงพระไตรปิฎก บรรลุปฏิสัมภิทา สิ้นอาสวะแล้ว เป็นสัทธิวิหาริกของ
070 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 70
พระโสณกะ. พระเถระทั้ง ๒ รูปนั้น ไม่ได้มาร่วมระงับอธิกรณ์นั้น. พระเถระ ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ! พวกท่านหาได้เป็นผู้ร่วมคิดของพวกเรา ในอธิกรณ์นี้ไม่, เพราะเหตุนั้น ทัณฑกรรมนี้จงมีแก่พวกท่าน คือ ท้าวมหาพรหมชื่อติสสะ จักถือปฏิสนธิในเรือนของโมคคลีพราหมณ์, บรรดาท่าน ทั้งสอง รูปหนึ่งจงชักนำท้าวติสสมหาพรหมนั้นมาบวช, รูปหนึ่งจงให้เรียน พระพุทธพจน์ ดังนี้ พระเถระแม้เหล่านั้นทุก ๆ รูป มี พระสัพพกามีเป็นต้น เป็นผู้มีฤทธิ์มาก รุ่งเรืองแล้วในโลก ดำรงอยู่จนตลอดอายุ แล้วก็ปรินิพพาน เหมือนกองไฟลุกโชติช่วง ดับไปแล้วฉะนั้น พระเถระชื่อแม้เหล่านั้น สิ้นอาสวะแล้ว ถึงความเป็นผู้ชำนาญ แตกฉานในปฏิสัมภิทา ครั้นทำทุติยสังคายนา ชำระพระศาสนาให้หมดจด ทำเหตุเพื่อ ความเจริญแห่งพระสัทธรรม แม้ในอนาคต แล้ว ก็เข้าถึงอำนาจแห่งความเป็นผู้ไม่เที่ยง ธีรชนทราบความที่สังขารเป็นของไม่เที่ยง เป็นของลามก ก้าวล่วงได้โดยยากอย่างนี้ แล้ว ก็ควรพากเพียร เพื่อบรรลุอมตบทที่ เป็นบทยั่งยืน ดังนี้แล. พรรณนาทุติยสังคีติ เป็นอันจบลงแล้วโดยอาการทั้งปวง ด้วยลำดับ คำเพียงเท่านี้.
071
เล่มที่ 1 หน้า 71
เริ่มตติยสังคายนา [ติสสมหาพรหมเกิดในมนุษยโลก] แม้ติสสมหาพรหมแล เคลื่อนจากพรหมโลกแล้ว ได้ถือปฏิสนธิ ในเรือนของโมคคลีพราหมณ์. ฝ่ายพระสิคควเถระ จำเดิมแต่ติสสมหาพรหม นั้นถือปฏิสนธิ ก็เข้าไปบิณฑบาตยังเรือนของพราหมณ์ตลอด ๗ ปี. แม้วันหนึ่ง ท่านก็ไม่ได้ข้าวต้มสักว่าหนึ่งกระบวยหรือข้าวสวยสักว่าหนึ่งทัพพี. ก็โดยล่วงไป ถึง ๗ ปี ในวันหนึ่งท่านได้เพียงคำพูดว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด เจ้าข้า ! [พราหมณ์ผู้บิดาของติสสมหาพรหมพบพระสิคควเถระ] ในวันนั้นนั่นเอง แม้พราหมณ์ทำกิจที่ควรทำบางอย่างภายนอกบ้าน แล้ว เดินกลับมา ก็พบพระเถระที่ทางสวน จึงเรียนถามว่า บรรพชิตผู้เจริญ ! ท่านได้มายังเรือนของกระผมแล้วหรือ ? พระเถระ. เออ รูปได้ไปแล้ว พราหมณ์ ! พราหมณ์. ท่านได้อะไรบ้างหรือ ? พระเถระ. เออ ได้ พราหมณ์ ! พราหมณ์นั้น ไปถึงเรือนแล้วถามว่า ใครได้ให้อะไร ๆ แก่บรรพชิต นั้นบ้างหรือ ? พวกชนในเรือนตอบว่า ไม่ได้ให้อะไร ๆ. [โมคคลีพราหมณ์คอยจับมุสาของพระเถระ] ในวันที่ ๒ พราหมณ์นั่งอยู่ที่ประตูเรือนนั่นเอง ด้วยคิดว่า วันนี้ เราจักข่มขี่บรรพชิตด้วยการกล่าวเท็จ. ในวันที่ ๒ พระเถระก็ไปถึงประตูเรือน
072 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 72
ของพราหมณ์. พราหมณ์พอเห็นพระเถระ ก็พูดอย่างนี้ว่า วานนี้ ท่านไม่ได้ อะไร ๆ ในเรือนของกระผมเลย ก็บอกว่า ได้ การกล่าวเท็จควรแก่ท่าน หรือหนอ ? พระเถระ พูดว่า พราหมณ์ ! ในเรือนของท่าน ข้าพเจ้าไม่ได้แม้ เพียงคำพูดว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด ดังนี้ ถึง ๗ ปี วานนี้ได้เพียงคำพูด ว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจึงได้พูดอย่างนี้ หมาย เอาการปฏิสันถารนั่น. [โมคคลีพราหมณ์เลื่อมใสในพระเถระ] ฝ่ายพราหมณ์คิดว่า สมณะเหล่านี้ ได้แม้เพียงการปฏิสันถารก็ยัง สรรเสริญว่า ได้ (ถ้า) ได้ของที่ควรเคี้ยว ควรบริโภคอะไรอย่างอื่นแล้ว ทำไมจักไม่สรรเสริญเล่า. พราหมณ์เลื่อมใสอย่างนี้แล้ว จึงสั่งให้ถวายภิกษา ทัพพีหนึ่ง และกับข้าวที่ควรแก่ภิกษานั้นจากภัตที่เขาจัดไว้เพื่อตน แล้วเรียนว่า ท่านจักได้ภิกษาชนิดนี้ทุก ๆ เวลา ดังนี้. จำเดิมแต่วันรุ่งขึ้น พราหมณ์นั้น ได้เห็นความสงบเรียบร้อยของพระเถระผู้เข้าไปอยู่ ก็ยิ่งเลื่อมใสขึ้น แล้วขอร้อง พระเถระเพื่อต้องการให้ทำภัตกิจในเรือนของตน ตลอดกาลเป็นนิตย์. พระเถระ รับนิมนต์แล้ว ก็ได้ทำภัตกิจทุกวัน ๆ เมื่อจะกลับ ก็ได้แสดงพระพุทธพจน์ บ้างเล็กน้อย จึงกลับไป. [พระสิคควเถระเริ่มสนทนาปราศรัยกับติสสมาณพ] มาณพแม้นั้นแล มีอายุได้ ๑๖ ปีเท่านั้น ก็ได้ถึงฝั่งแห่งไตรเพทคนอื่นใคร ๆ จะนั่งหรือนอนบนอาสนะหรือที่นอนของสัตว์ผู้บริสุทธิ์ซึ่งมาจาก พรหมโลก ย่อมไม่ได้. เวลาใด ติสสมาณพนั้นไปเรือนของอาจารย์, เวลานั้น
073 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 73
พวกคนใช้ ก็เอาผ้าขาวคลุมเตียงและตั่งของเขาห้อยไว้. พระเถระดำริว่า บัดนี้ เป็นกาลที่จะให้มาณพบวชได้ และเราก็มาที่นี้นานแล้ว, ทั้งการพูดจาอะไร ๆ กับมาณพก็มิได้เกิดขึ้น, เอาเถิด บัดนี้การพูด (กับมาณพนั้น) จักเกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยบัลลังก์ (ของเขา) ด้วยอุบายอย่างนี้. ท่านจึงไปเรือน (ของมาณพ นั้น) แล้วอธิษฐานให้อาสนะอะไร ๆ อย่าอื่นในเรือนนั้นไม่ปรากฏ ยกเว้น แต่บัลลังก์ของมาณพ. คนในเรือนของพราหมณ์เห็นพระเถระแล้ว เมื่อไม่เห็น ที่นั่งอะไร ๆ อย่างอื่น ก็ได้ปูลาดบัลลังก์ของมาณพ ถวายพระเถระ. พระเถระ ก็นั่งบนบัลลังก์. ฝ่ายมาณพแลก็กลับมาจากเรือนของอาจารย์ ในขณะนั้น นั่นเอง เห็นพระเถระนั่งอยู่บนบัลลังก์ของตน ก็โกรธ เสียใจ จึงพูดว่า ใครให้ปูบัลลังก์ของข้าพเจ้าแก่สมณะ ? พระเถระทำภัตกิจเสร็จแล้ว เมื่อ มาณพมีความดุร้ายสงบลงแล้ว จึงได้พูดอย่างนี้ว่า ดูก่อนมาณพ ก็ท่านรู้มนต์ อะไร ๆ บ้างหรือ ? มาณพเรียนว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ ! ในเวลานี้ เมื่อกระผมไม่ รู้มนต์, คนอื่นใครเล่าจึงจักรู้ได้ ดังนี้แล้ว ก็ (ย้อน) ถามพระเถระว่า ก็ ท่านเล่า รู้มนต์หรือ ? พระเถระ พูดว่า จงถามเถิด มาณพ ท่านถามแล้ว อาจจะรู้ได้. [ติสสมาณพถามปัญหากับพระเถระ] ครั้งนั้นแล มาณพได้ถามพระเถระในข้อที่เป็นปม (ลี้ลับซับซ้อน) ซึ่งมีอยู่ในไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ ๑- เภฏุภศาสตร์ ๒- พร้อมทั้งอักษร &01
074 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 74
ประเภทมีอิติหาส ๑- เป็นที่ห้า ซึ่งมาณพเอง แม้ทั้งอาจารย์ของเขาก็ไม่เห็นนัย ด้วยตนเอง. พระเถระ แม้ตามปกติก็เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท และบัดนี้ก็ได้บรรลุ ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ในการแก้ปัญหาเหล่านั้น จึงไม่หนักสำหรับท่าน, ดังนั้น ท่านจึงแก้ปัญหาเหล่านั้น ในขณะนั้นนั่นเอง แล้วได้พูดกะมาณพว่า ดูก่อนมาณพ ท่านถามเรามากพอแล้ว คราวนี้แม้เราก็จะถามปัญหากะเธอสัก ข้อหนึ่ง เธอจักพยากรณ์แก่เราไหม ? มาณพเรียนว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ ! จงถามเถิด ขอรับกระผม จักแก้. [พระสิคควเถระถามปัญหากับมาณพ] พระเถระ จึงถามปัญหานี้ ในจิตตยมกว่า จิตของบุคคลใดเกิดขึ้นอยู่ ไม่ดับ จิตของบุคคลนั้น จักดับ ไม่เกิดขึ้น ก็อีกอย่างหนึ่ง จิตของบุคคลใด จักดับ ไม่เกิดขึ้น จิตของบุคคลนั้น เกิดขึ้นอยู่ไม่ดับ ๒- ? ดังนี้. มาณพ ไม่สามารถจะกำหนด (ข้อปัญหา) ทั้งเบื้องบนหรือเบื้องต่ำได้ จึงเรียนถามว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ ! นี้ชื่อมนต์อะไร ? พระเถระ นี้ชื่อ พุทธมนต์ มาณพ ! มาณพ. ท่านผู้เจริญ ! ก็ท่านอาจให้พุทธมนต์นี้ แก่กระผมได้ไหม ? พระเถระ. อาจให้แก่บุคคลผู้ถือบรรพชาอย่างที่เราถือ มาณพ ! [ติสสมาณพขออนุญาตมารดาบิดาบวชเพื่อเรียนมนต์) ต่อจากนั้น มาณพเข้าไปหามารดาบิดาแล้วพูดว่า บรรพชิตรูปนี้ ย่อมรู้พุทธมนต์ และท่านก็ไม่ให้แก่ผู้ที่ไม่บวชอยู่ในสำนักของท่าน กระผม จักบวชในสำนักของท่านนั่น แล้วเรียนเอามนต์. &01
075 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 75
คราวนั้น มารดาบิดาของเขา สำคัญอยู่ว่า ลูกของเราแม้บวชแล้ว จงเรียนมนต์เถิด ครั้นเรียนแล้ว ก็จักกลับมาบ้านอีก ดังนี้ จึงอนุญาตว่า จงเรียนเถิด ลูก ! พระเถระ บอกกรรมฐาน คืออาการ ๓๒ ก่อนแล้วให้เด็กบรรพชา. ติสสสามเณรนั้น ทำบริกรรมในกรรมฐานนั้นอยู่ ต่อกาลไม่นานนักก็ดำรงอยู่ ในโสดาปัตติผล. [พระเถระส่งสามเณรติสสะไปยังสำนักพระจัณฑวัชชีเถระ] ลำดับนั้น พระเถระดำริว่า สามเณร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว บัดนี้ เธอไม่ควรจะเคลื่อนจากพระศาสนา ก็ถ้าเรา จะสอนกรรมฐานแก่เธอ ให้ยิ่งขึ้นไป เธอก็จะพึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ จะพึงเป็นผู้มีความขวนขวาย น้อย เพื่อจะเรียนพระพุทธพจน์, บัดนี้ ก็เป็นเวลาที่จะส่งเธอไปยังสำนักของ พระจัณฑวัชชีเถระ. ลำดับนั้น พระเถระ ก็พูดกะสามเณรนั้นว่า. มาเถิด สามเณร ! เธอจงไปยังสำนักของพระเถระ เรียนเอาพระพุทธพจน์เถิด จงถามถึงความ ไม่มีโรคตามคำสั่งของเรา, และจงเรียนอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌายะ (ของกระผม) ส่งกระผมมายังสำนักของใต้เท้า ขอรับ ! เมื่อท่านถามว่า พระอุปัชฌายะของ เธอชื่ออะไร ? พึงเรียนว่า ชื่อพระสิคควะขอรับ ! เมื่อท่านถามว่า ข้าพเจ้า ชื่ออะไร ? พึงเรียนอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌายะของกระผม รู้จักชื่อของใต้เท้า ขอรับ !
076 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 76
[สามเณรติสสะไปอยู่ในสำนักของพระจัณฑวัชชีเถระ] สามเณรติสสะ รับว่า ดีละ ขอรับ ! แล้วกราบไหว้ทำประทักษิณ พระเถระแล้ว เดินทางไปยังสำนักของพระจัณฑวัชชีเถระโดยลำดับ ไหว้แล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระเถระ ถามว่า สามเณร ! เธอมาจากไหน ? สามเณร. พระอุปัชฌายะส่งกระผมมายังสำนักของใต้เท้า ขอรับ ! พระเถระ. พระอุปัชฌายะของเธอ ชื่ออะไร ? สามเณร. ชื่อพระสิคควเถระ ขอรับ ! พระเถระ. ข้าพเจ้าชื่ออะไร ? สามเณร. พระอุปัชฌายะของกระผมรู้จักชื่อของใต้เท้า ขอรับ ! พระเถระ. จงเก็บบาตรและจีวรเสีย ในบัดนี้เถิด. สามเณร. ดีละ ขอรับ ! [สามเณรติสสะปฏิบัติกิจวัตรตามระเบียบพระวินัย] สามเณร เก็บบาตรและจีวรแล้ว ในวันรุ่งขึ้น ก็ปัดกวาดบริเวณ แล้วเข้าไปตั้งน้ำฉันและไม้ชำระฟันไว้. พระเถระปัดกวาดสถานที่ที่สามเณรกวาดซ้ำอีก เทน้ำนั้นทิ้งแล้วนำน้ำ อื่นมาไว้ และนำไม้ชำระฟันนั้นออกเสีย แล้วถือเอาไม้ชำระฟันอื่น. พระเถระทำอยู่อย่างนี้ถึง ๗ วัน ในวันที่ ๗ จึงถาม (สามเณร) ซ้ำอีก. สามเณร ก็เรียนท่านซ้ำอีก เช่นกับที่กล่าวมาแล้วในก่อนนั้นแล. [พระจัณฑวัชชีเถระให้สามเณรติสสะเรียนพระพุทธพจน์] พระเถระ รู้ได้ดีว่า พราหมณ์คนนี้ เป็นผู้ว่าง่ายหนอ จึงถามว่า เธอมาเพื่อประสงค์อะไร ?
077 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 77
สามเณรเรียนว่า เพื่อประสงค์จะเรียนพระพุทธพจน์ ขอรับ ! พระเถระสั่งว่า เธอจงเรียนในบัดนี้เถิด สามเณร ! จึงเริ่มให้เรียน พระพุทธพจน์ ตั้งแต่วันรุ่งขึ้นไป. [สามเณรติสสะเรียนพระพุทธพจน์พร้อมทั้งอรรถกถา] ติสสะ ทั้งที่ยังเป็นสามเณรเทียว เรียนเอาพระพุทธพจน์ทั้งหมด พร้อมทั้งอรรถกถา เว้นพระวินัยปิฎก. ก็ในเวลาอุปสมบทแล้วยังไม่ได้พรรษา เลย ได้เป็นติปิฎกธร (ผู้ทรงไตรปิฎก). พระอาจารย์และพระอุปัชฌายะ มอบพระพุทธพจน์ทั้งสิ้นไว้ในมือของพระโมคคลีบุตรติสสเถระแล้ว ดำรงอยู่ ตราบเท่าอายุ ก็ปรินิพพาน. ฝ่ายพระโมคคลีบุตรติสสเถระ เจริญกรรมฐานแล้วบรรลุเป็น พระอรหันต์ ในสมัยต่อมา บอกสอนพระธรรมและพระวินัยแก่ภิกษุเป็นอันมาก. [พระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพินทุสารมีพระราชโอรส ๑๐๑ พระองค์ พระเจ้าอโศก ทรงสั่งให้สำเร็จโทษพระราชโอรสเหล่านั้นเสียทั้งหมด ยกไว้แต่ เจ้าติสสกุมาร ผู้ร่วมพระมารดาเดียวกันกับพระองค์. ท้าวเธอเมื่อสั่งให้สำเร็จ โทษ ยังมิได้ทรงอภิเษกเลย ครองราชย์อยู่ถึง ๔ ปี ต่อล่วงไปได้ ๔ ปี ในปีที่ ๑๘ ถัดจาก ๒๐๐ ปี แต่ปีปรินิพพานของพระตถาคตมา จึงทรงถึงการ อภิเษกเป็นเอกราช ในชมพูทวีปทั้งสิ้น. [พระราชอำนาจแผ่ไปเบื้องบนเบื้องต่ำประมาณ ๑ โยชน์] ก็ด้วยอานุภาพแห่งการทรงอภิเษกของท้าวเธอ พระราชฤทธิ์ทั้งหลาย เหล่านี้ ได้มาแล้ว. พระราชอำนาจแผ่ไปภายใต้มหาปฐพีประมาณหนึ่งโยชน์ ในอากาศเบื้องบน ก็เหมือนกัน.
078 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 78
พระราชา ทรงมีพระศรัทธาเกิดแล้วในพระศาสนา ได้ทรง (แบ่ง) น้ำ ๘ หม้อ จากน้ำดื่ม ๑๖ หม้อ ที่พวกเทวดานำมาจากสระอโนดาตวันละ ๘ หาบ ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ ถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงพระไตรปิฎก ประมาณ ๖๐ รูป (วันละ) ๒ หม้อ พระราชทานแก่พระนางอสันธิมิตตา ผู้เป็นพระอัครมเหสี (วันละ) ๒ หม้อ พระราชทานแก่เหล่าสตรีนักฟ้อน หนึ่งหมื่นหกพันนาง (วันละ) ๒ หม้อ ทรงใช้สอยด้วยพระองค์เอง (วันละ) ๒ หม้อ. กิจคือการชำระพระทนต์และการชำระฟันทุก ๆ วัน ของพระราชา พระมเหสีของเหล่าสตรีนักฟ้อนหนึ่งหมื่นหกพันนาง และของภิกษุประมาณ หกหมื่นรูป ย่อมสำเร็จได้ด้วยไม้ชำระฟันชื่อนาคลดา อันสนิทอ่อนนุ่มมีรส ซึ่งมีอยู่ในป่าหิมพานต์ที่เทวดาทั้งหลายนั่นเองนำมาถวายทุก ๆวัน. อนึ่ง เทวดาทั้งหลาย นำมะขามป้อมที่เป็นพระโอสถ สมอที่เป็น พระโอสถ และมะม่วงสุกที่มีสีเหมือนทอง ซึ่งสมบูรณ์ด้วยกลิ่นและรส มาถวาย แด่พระราชาพระองค์นั้นทุก ๆ วันเหมือนกัน ยังได้นำพระภูษาทรง พระภูษา ห่ม เบญจพรรณ ผ้าเช็ดพระหัตถ์ที่มีสีเหลือง. และน้ำทิพยบานจากสระฉัททันต์ มาถวายทุกวันเหมือนอย่างนั้น. ส่วนพญานาคทั้งหลายก็นำเครื่องพระสุคนธ์สำหรับสนานพระเศียร พระสุคนธ์สำหรับไล้พระวรกาย ผ้ามีสีคล้ายดอกมะลิ ที่มิได้ทอด้วยด้าย เพื่อ เป็นพระภูษาห่ม และยาหยอดพระเนตรที่มีค่ามาก จากนาคพิภพมาถวายแด่ พระราชาพระองค์นั้นทุก ๆ วันเช่นกัน. นกแขกเต้าทั้งหลาย ก็คาบข้าวสาลีเก้าพันเกวียนที่เกิดเอง ใน สระฉัททันต์นั่นแล มาถวายทุก ๆ วัน. หนูทั้งหลาย ก็เกล็ดข้าวเหล่านั้นให้หมด แกลบและรำ. ข้าวสารที่หักแม้เมล็ดเดียวก็ไม่มี. ข้าวสารนี้แล ถึงความเป็น
079 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 79
พระกระยาหารเสวยแห่งพระราชา ในที่ทุกสถาน. ตัวผึ้งทั้งหลาย ก็ทำน้ำผึ้ง. พวกหมี ก็ผ่าฟืนที่โรงครัว. พวกนกการเวกก็บินมาร้องส่งเสียงอย่างไพเราะ ทำพลีกรรมถวายแด่พระราชา. [พระเจ้าอโศกรับสั่งพญากาฬนาคเนรมิตพระพุทธรูปให้ดู] ๑- พระราชาผู้ทรงประกอบแล้วด้วยฤทธิ์เหล่านี้ วันหนึ่งทรงใช้สังขลิกพันธ์ อันกระทำด้วยทอง ให้นำพญานาคนามว่า กาฬะ มีอายุตลอด กัปหนึ่ง ผู้ใดพบเห็นพระรูปของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์เชิญให้ขนดเหนือ บัลลังก์ อันควรค่ามาก ภายใต้เศวตฉัตร ทรงกระทำบูชา ด้วยดอกไม้ ทั้งที่เกิดในน้ำ ทั้งที่เกิดบนบก หลายร้อยพรรณและด้วยสุวรรณบุปผา ทรง แวดล้อมด้วยนางฟ้อน ๑๖,๐๐๐ ผู้ประดับแล้วด้วยอลังการทั้งปวงโดยรอบ ตรัสว่า เชิญท่านกระทำพระรูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงยังจักร คือ พระสัทธรรมอันประเสริฐให้หมุนไป ทรงพระญาณอันหาที่สุดมิได้ ให้ถึงคลอง แห่งดวงตาเหล่านี้ของข้าพเจ้าก่อนเถิด ดังนี้ ทอดพระเนตรพระรูปอัน พญานาคนามว่า กาฬะ นั้นเนรมิตแล้ว ประหนึ่งว่าพื้นน้ำอันประดับแล้วด้วย ดอกกมล อุบล และปุณฑริกที่แย้มบาน ปานประหนึ่งว่าแผ่นฟ้า อันพราวพราย ด้วยความระยิบระยับด้วยการพวยพุ่งแห่งข่ายรัศมีของกลุ่มดารา เพราะ ความที่พระพุทธรูปนั้น ทรงมีพระสิริด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ประดับแล้วด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ซึ่งบังเกิดแล้วด้วยอำนาจแห่งบุญ อันพรรณรายทั่วพระสรีระทั้งสิ้น งดงามด้วยจอมพระเศียรอันเฉิดฉายด้วย พระเกตุมาลา ซึ่งปราศจากมลทินสีต่าง ๆ ประหนึ่งยอดแห่งภูเขาทอง อันแวดวง ด้วยสายรุ้งและสายฟ้า อันกลมกลืนกับแสงเงิน เป็นประหนึ่งจะดูดดึงดวงตา &01
080 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 80
แห่งคณะพรหมทวยเทพมวลมนุษย์ฝูงนาค และหมู่ยักษ์ เพราะพระพุทธรูป นั้นมีความแพรวพราวด้วยความฉวัดเฉวียนแห่งพระรัศมีอันแผ่ออกข้างละวา วงล้อมรัศมีอันวิจิตรด้วยสีมีสีเขียวเหลืองแดงเป็นต้น ได้ทรงกระทำการบูชา อันได้นามว่า บูชาด้วยดวงตา ตลอด ๗ วัน. [พระเจ้าอโศกไม่ทรงเลื่อมใสนักบวชนอกศาสนา] ได้ยินว่า พระราชาทรงรับการอภิเษกแล้ว ได้ทรงนับถือลัทธิพาเหียร ปาสัณฑะ ๑- ตลอดเวลา ๓ ปีทีเดียว. ในปีที่ ๔ จึงได้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา. ได้ยินว่า พระเจ้าพินทุสารพระชนกของพระราชาพระองค์นั้น ได้ทรง นับถือพวกพราหมณ์. ท้าวเธอได้ทรงตั้งนิตยภัตไว้ แก่พวกพราหมณ์ และ แก่ตาปะขาวและปริพาชกเป็นต้น ผู้ถือลัทธิปาสัณฑะอันเป็นของประจำชาติ พราหมณ์มีประมาณหกแสนคน. แม้พระเจ้าอโศก ก็ทรงถวายทานที่พระชนก ให้เป็นไปแล้วในภายในบุรีของพระองค์เหมือนอย่างนั้น ในวันหนึ่ง ได้ประทับ ยืนอยู่ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกพราหมณ์เหล่านั้น ผู้กำลังบริโภค (อาหาร) ด้วยมารยาทที่เหินห่างจากความสงบเรียบร้อย ไม่มีความสำรวม อินทรีย์ ทั้งไม่ได้รับฝึกหัดอิริยาบถ (กิริยามารยาท) จึงทรงดำริว่า การที่เรา ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วให้ทานเช่นนี้ในเขตที่เหมาะสมจึงควร ครั้นทรงดำริ อย่างนี้แล้ว จึงตรัสเรียกพวกอำมาตย์ว่า ไปเถิด พนาย ! พวกท่านจงนำสมณะ และพราหมณ์ของตน ๆ ผู้สมมติกันว่าดี มายังภายในพระราชวัง เราจักถวาย ทาน. พวกอำมาตย์ทูลรับพระราชโองการว่า ดีละ พระเจ้าข้า ! แล้วก็ได้นำ นักบวชนอกศาสนามีตาปะขาว ปริพาชก อาชีวก และนิครนถ์เป็นต้นนั้น ๆ มาแล้วทูลว่า ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ! ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ &01
081 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 81
ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เวลานั้น พระราชาทรงรับสั่งให้ปูลาดอาสนะ ทั้งสูงและต่ำไว้ภายในพระราชวัง แล้วรับสั่งว่า เชิญเข้ามาเถิด จึงทรงเชิญ พวกนักบวชผู้มาแล้ว ๆ ว่า เชิญนั่งบนอาสนะที่สมควรแก่ตน ๆ เถิด ดังนี้. บรรดานักบวชเหล่านั้น บางพวกนั่งบนตั่งภัทรบิฐ บางพวกก็นั่งบนตั่งแผ่นกระดาน. พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยาที่นั่งนั้นแล้ว ก็ทรงทราบได้ว่า นักบวชเหล่านั้นไม่มีธรรมที่เป็นสาระในภายในเลย ได้ถวายของควรเคี้ยวควร ปริโภคที่ควรแก่นักบวชเหล่านั้นแล้ว ก็ทรงส่งกลับไป. เมื่อกาลเวลาล่วงไปอยู่อย่างนั้น วันหนึ่ง พระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่ ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นนิโครธสามเณร ผู้ฝึกฝนคุ้มครองตน มี อินทรีย์สงบ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ กำลังเดินผ่านไปทางพระลานหลวง. [ประวัตินิโครธสามเณร] ถามว่า ก็ชื่อนิโครธนี้ คืออะไร ? แก้ว่า นิโครธนี้เป็นพระโอรส ของสุมนราชกุมาร ผู้เป็นพระเชษฐโอรสของพระเจ้าพินทุสาร. ในเรื่องนั้น มีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้ :- ดังได้สดับมาว่า ในเวลาที่พระเจ้าพินทุสาร (ผู้พระชนก) ทรงทุพพลภาพนั่นแล (ทรงพระประชวรหนัก) อโศกกุมาร ได้สละราชสมบัติในกรุงอุชเชนี ที่ตนได้แล้ว เสด็จกลับมายึดเอาพระนครทั้งหมดไว้ในเงื้อมมือของตน แล้ว ได้จับสุมนราชกุมารไว้. ในวันนั้นเอง พระเทวีชื่อสุมนา พระสุมนราชกุมาร ได้ทรงพระครรภ์แก่เต็มที่แล้ว. พระนางสุมนาเทวีนั้นปลอมเพศหนี เดินมุ่ง ไปสู่บ้านคนจัณฑาลแห่งใดแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ได้ทรงสดับเสียงของเทวดา ผู้สิงอยู่ที่ต้นนิโครธแห่งใดแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากเรือนของหัวหน้าหมู่บ้าน
082 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 82
คนจัณฑาล ซึ่งกล่าวเชิญอยู่ว่า ข้าแต่พระแม่เจ้าสุมนา ! ขอจงเสด็จเข้ามา ทางนี้เถิด ก็ได้เสด็จเข้าไปใกล้เทวดานั้น. เทวดาได้นิรมิตศาลาหลังหนึ่ง ด้วยอานุภาพของตน แล้วได้ถวายว่า ขอพระแม่เจ้า จงประทับอยู่ที่ศาลา หลังนี้เถิด. พระเทวีนั้นได้เสด็จเข้าไปสู่ศาลาหลังนั้นแล้ว ในวันที่พระนาง เสด็จเข้าไปถึงนั่นเอง ก็ประสูติพระราชโอรส. เพราะเหตุที่พระโอรสนั้น อัน เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นนิโครธรักษาไว้ พระนางเทวีนั้น จึงทรงขนานพระนามว่า นิโครธ. หัวหน้าหมู่บ้านคนจัณฑาลได้สำคัญพระเทวีนั้น เป็นดุจธิดาแห่งนาย ของตน ตั้งแต่วันที่ตนได้พบเห็น จึงได้ตั้งข้อปฏิบัติประจำไว้. พระราชธิดา ได้ประทับอยู่ ณ สถานที่นั้นสิ้น ๗ ปี. ฝ่ายนิโครธกุมาร ก็มีชนมายุได้ ๗ ปี แล้ว. [นิโครธกุมารบวชสำเร็จเป็นพระอรหันต์พระชนม์ ๗ ปี] ในครั้งนั้น พระเถระรูปหนึ่ง ชื่อมหาวรุณเถระ เป็นพระอรหันต์ ได้เห็นความถึงพร้อมแห่งเหตุของทารก ได้พิจารณาคิดว่า บัดนี้ ทารกมี ชนมายุได้ ๗ ปี, เป็นกาลสมควรที่จะให้เขาบวชได้ จึงทูลพระราชธิดาให้ ทรงทราบ แล้วให้นิโครธกุมารนั้นบวช. ในเวลาปลงผมเสร็จนั่นเอง พระกุมาร ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์. วันหนึ่งนิโครธสามเณรนั้น ได้ชำระร่างกายแต่ เช้าตรู่ ทำอาจาริยวัตรและอุปัชฌายวัตรเสร็จแล้ว ถือเอาบาตรและจีวร คิดว่า เราจะไปยังประตูเรือนของโยมมารดา แล้วก็ออกไป. ก็นิวาสสถานแห่งโยม มารดาของนิโครธสามเณรนั้น ต้องเดินเข้าไปยังพระนคร ทางประตูด้าน ทิศทักษิณ ผ่านท่ามกลางพระนครไปออกทางประตูด้านทิศปราจีน. ก็โดยสมัยนั้น พระเจ้าอโศกธรรมราช ทรงเสด็จจงกรมอยู่ที่สีหบัญชร ผินพระพักตร์ไปทาง ทิศปราจีน. ขณะนั้นเอง นิโครธสามเณร ผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ทอด
083 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 83
สายตาดูประมาณชั่วแอก เดินไปถึงพระลานหลวง. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า จึงได้กล่าวว่า วันหนึ่ง พระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ได้ ทอดพระเนตรเห็นนิโครธสามเณร ผู้ฝึกฝนคุ้มครองตน มีอินทรีย์สงบ สมบูรณ์ ด้วยอิริยาบถ กำลังเดินผ่านไปทางพระลานหลวง ดังนี้. [พระเจ้าอโศกทรงเลื่อมใสนิโครธสามเณร] ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว พระราชาได้ทรงพระรำพึง ดังนี้ว่า ชนแม้ทั้งหมดนี้ มีจิตฟุ้งซ่าน มีส่วนเปรียบเหมือนมฤคที่วิ่งพล่านไป, ส่วน ทารกคนนี้ ไม่มีจิตฟุ้งซ่าน, การมองดู การเหลียวดู การคู้แขน และการ เหยียดแขนของเขางามยิ่งนัก, ภายในของทารกคนนี้ น่าจักมีโลกุตรธรรม แน่นอน ดังนี้ พร้อมกับการทอดพระเนตรเห็นของพระราชานั่นเอง พระหฤทัยก็เลื่อมใสในสามเณร, ความรักก็ได้ตั้งขึ้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า เพราะได้ยินว่า แม้ในกาลก่อน ในเวลาทำบุญ นิโครธสามเณรนี้ ได้เป็นพ่อค้าผู้เป็นพี่ชายใหญ่ของพระราชา. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ความรักนั้น ย่อมเกิดเพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ เพราะการอยู่ร่วมกันในภพก่อน ๑ เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ เหมือน อุบลและปทุมเป็นต้นที่เหลือ เมื่อเกิดในน้ำ ย่อมเกิดได้เพราะอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือ น้ำและเปือกตมฉะนั้น ๑- . &01
084 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 84
[พระเจ้าอโศกมหาราชรับสั่งให้นิมนต์สามเณรเข้ามา] ลำดับนั้น พระราชาทรงเกิดความรัก มีความนับถือมาก (ในสามเณร นั้น) จึงทรงสั่งพวกอำมาตย์ไปว่า พวกเธอจงนิมนต์สามเณรนั่นมา. ท้าวเธอ ทรงรำพึงว่า อำมาตย์เหล่านั้น มัวชักช้าอยู่ จึงทรงส่งไปอีก ๒ - ๓ นายว่า จงให้สามเณรนั้นรีบมาเถิด. สามเณรได้เดินไปตามปกติของตนนั่นเอง. พระราชาตรัสว่า ท่านทราบอาสนะที่ควรแล้ว นิมนต์นั่งเถิด. สามเณรนั้น เหลียวดูข้างโน้นข้างนี้แล้วคิดว่า บัดนี้ ไม่มีภิกษุเหล่าอื่น จึงเดินเข้าไปใกล้ บัลลังก์ ซึ่งยกเศวตฉัตรกั้นไว้ แล้วแสดงอาการแด่พระราชา เพื่อต้องการให้ ทรงรับบาตร. พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นสามเณรนั้นกำลังเดินเข้าไป ใกล้บัลลังก์นั่นแล จึงทรงดำริว่า วันนี้เอง สามเณรรูปนี้ จักเป็นเจ้าของ ราชมณเฑียรนี้ในบัดนี้ สามเณรถวายบาตรที่พระหัตถ์พระราชา แล้วขึ้นนั่ง บนบัลลังก์. พระราชาทรงน้อมถวายอาหารทุกชนิดคือข้าวต้ม ของควรเคี้ยว และข้าวสวย ที่เขาเตรียมไว้เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ (แก่สามเณรนั้น) สามเณรรับอาหารพอยังอัตภาพของตนให้เป็นไปเท่านั้น. [พระเจ้าอโศกมหาราชตรัสถามข้อธรรม] ในที่สุดภัตกิจ พระราชา ตรัสถามว่า พ่อเณรรู้พระโอวาทที่ พระศาสดาทรงประทาน แก่พวกพ่อเณรหรือ ? สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! อาตมภาพ ย่อมรู้โดยเอกเทศ (เท่านั้น). พระราชา ทรงรับสั่งว่า พ่อเณร ! ขอจงแสดงโอวาทที่พ่อเณรรู้นั้น แก่โยมบ้าง.
085 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 85
สามเณร ทูลรับว่า ได้ มหาบพิตร ! ดังนี้แล้ว ได้กล่าวอัปปมาทวรรค ในธรรมบท ตามสมควรแด่พระราชา เพื่อประโยชน์แก่การอนุโมทนา. พระราชาพอได้ทรงสดับว่า ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย, ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย ๑- ดังนี้เป็นต้น ก็ทรงรับสั่งว่า พ่อเณร ! จงยังธรรมเทศนาที่ข้าพเจ้าได้รู้แล้วให้จบ ไว้ก่อน ดังนี้. [พระเจ้าอโศกมหาราชถวายนิตยภัตสามเณรเป็นทวีคูณ] ในอวสานแห่งการอนุโมทนา พระราชาทรงรับสั่งว่า พ่อเณร ! โยม จะถวายธุวภัต แก่พ่อเณร ๘ ที่. สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! อาตมภาพ จะถวายธุวภัต เหล่านั้น แก่พระอุปัชฌายะ (ของอาตมภาพ). พระราชา ตรัสถามว่า พ่อเณร ! ผู้ที่ชื่อว่าอุปัชฌายะนี้ ได้แก่คน เช่นไร ? สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! ผู้ที่เห็นโทษน้อยใหญ่ แล้ว ตักเตือน และให้ระลึก ชื่อว่าพระอุปัชฌายะ. พระราชา ทรงรับสั่งว่า พ่อเณร ! โยมจะถวายภัต ๘ ที่ แม้อื่นอีก แก่พ่อเณร. สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! อาตมภาพ จะถวายภัต เหล่านั้น แก่พระอาจารย์ (ของอาตมภาพ). &01
086 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 86
พระราชา ตรัสถามว่า พ่อเณร ! ผู้ที่ชื่อว่าพระอาจารย์นี้ ได้แก่คน เช่นไร ? สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! ผู้ที่ให้อันเตวาสิก และ สัทธิวิหาริก ตั้งอยู่ในธรรมที่ควรศึกษา ในพระศาสนานี้ ชื่อว่าพระอาจารย์. พระราชา ทรงรับสั่งว่า ดีละ พ่อเณร ! โยมจะถวายภัต ๘ ที่แม้อื่นอีก แก่พ่อเณร. สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! อาตมภาพ จะถวายภัต เหล่านั้น แก่พระภิกษุสงฆ์. พระราชา ตรัสถามว่า พ่อเณร ! ผู้ที่ชื่อว่าภิกษุสงฆ์นี้ ได้แก่คน เช่นไร ? สามเณร ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! บรรพชาและอุปสมบทของ อาจารย์และอุปัชฌายะของอาตมภาพ และบรรพชาของอาตมภาพ อาศัยหมู่ ภิกษุใด หมู่ภิกษุนั้น ชื่อว่าภิกษุสงฆ์. พระราชา ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง แล้วทรงรับสั่งว่า พ่อเณร ! โยมจะถวายภัต ๘ ที่แม้อื่นอีก แก่พ่อเณร. สามเณร ทูลรับว่า ดีละ ในวันรุ่งขึ้นได้พาเอาภิกษุ ๓๒ รูป เข้าไป ยังภายในพระราชวัง ฉันภัตตาหาร. [พระเจ้าอโศกมหาราชถวายนิตยภัตแก่ภิกษุหกแสนรูป] พระราชา ทรงปวารณาว่า ภิกษุ ๓๒ รูปแม้อื่น พร้อมทั้งพวกท่าน จงรับภิกษา พรุ่งนี้เถิด ดังนี้แล้ว ทรงให้เพิ่มภิกษุมากขึ้นทุกวัน ๆ โดยอุบาย นั้นนั่นแล ได้ทรงตัดภัตของพวกนักบวชนอกศาสนา มีพราหมณ์และปริพาชก
087 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 87
เป็นต้น ตั้งหกแสนคนเสียแล้วได้ทรงตั้งนิตยภัตไว้สำหรับภิกษุหกแสนรูป ในภายในพระราชนิเวศน์ เพราะความเลื่อมใสที่เป็นไปในพระนิโครธเถระ ๑- นั่นเอง. ฝ่ายพระนิโครธเถระ ก็ให้พระราชาพร้อมทั้งบริษัทดำรงอยู่ใน ไตรสรณคมน์และเบญจศีล ทำให้เป็นผู้มีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหว ด้วยความ เลื่อมใสอย่างปุถุชน แล้วให้ดำรงมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา. [พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างวัด และเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ แห่ง] พระราชา ทรงรับสั่งให้นายช่างสร้างมหาวิหาร ชื่อว่าอโศการาม แล้วก็ทรงตั้งภัตไว้เพื่อถวายภิกษุหกแสนรูปอีก และทรงรับสั่งให้สร้าง พระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ซึ่งประดับด้วยพระเจดีย์ ๘๕,๐๐๐ องค์ ไว้ในพระนคร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทั่วชมพูทวีปทั้งสิ้น โดยความชอบธรรมนั่นเอง หาใช่โดย ไม่ชอบธรรมไม่. ได้ยินว่า ในวันหนึ่ง พระราชาทรงถวายมหาทานที่อโศการาม ประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งนับได้ประมาณหกแสนรูป ทรง ปวารณาสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ แล้วตรัสถามปัญหานี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ชื่อว่า พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว มีประมาณเท่าไร ? พระสงฆ์ ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! ชื่อว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง แล้วนั้น ว่าโดยองค์ มีองค์ ๙ ว่าโดยขันธ์ มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์. พระราชาทรงเลื่อมใสในพระธรรม แล้วทรงรับสั่งว่า เราจักบูชาพระธรรมขันธ์ แต่ละขันธ์ด้วยวิหารแต่ละหลัง ๆ ดังนี้ ในวันเดียวเท่านั้น ได้ทรงสละ พระราชทรัพย์ถึง ๙๖ โกฏิ แล้วได้ทรงบังคับพวกอำมาตย์ว่า ไปเถิดพนาย ! พวกท่านเมื่อให้สร้างวิหารในนครแต่ละนคร จงให้สร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ &01
088 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 88
หลัง ไว้ในพระนคร ๘๔,๐๐๐ นครเถิด ดังนี้ ส่วนพระองค์เองได้ทรงเริ่ม การงานเพื่อประโยชน์แก่อโศกมหาวิหาร ในอโศการาม. พระสงฆ์ได้ให้ พระเถระชื่อว่าอินทคุตตเถระ ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สิ้นอาสวะแล้ว เป็นนวกัมมาธิฏฐายี. ๑- พระเถระได้ยังการงานที่ยังไม่สำเร็จนั้น ๆ ให้แล้วเสร็จ ด้วยอานุภาพของตน. พระเถระได้ให้การสร้างพระวิหารสำเร็จลง ๓ ปี แม้ ด้วยอานุภาพอย่างนั้น. [พระเจ้าอโศกมหาราชทรงทำการฉลองพระวิหาร] ข่าวสารจากทุก ๆ นคร ได้มาถึงวันเดียวกันนั่นเอง. พวกอำมาตย์ ได้กราบทูลแด่พระราชาว่า ขอเดชะ พระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลังสร้างเสร็จแล้ว. พระราชา ทรงรับสั่งให้เที่ยวตีกลองประกาศทั่วพระนครว่า ล่วงไป ๗ วัน แต่วันนี้ จักมีการฉลองพระวิหาร ขอให้ประชาชนทั้งหมด จงสมาทานองค์ศีล ๘ เตรียมการฉลองพระวิหาร ทั้งภายในพระนคร และภายนอกพระนคร ล่วงไป ๗ วัน แต่การฉลองพระวิหารนั้น พระราชาแวดล้อมด้วยหมู่เสนามี องค์ ๔ นับได้หลายแสน ซึ่งแต่งตัวด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง เสด็จเที่ยวชม พระนคร ที่มหาชนผู้มีความอุตสาหะประสงค์จะตกแต่งพระนคร ได้ตกแต่ง ประดับประดาแล้ว ให้เป็นเหมือนมีความสง่างามยิ่งกว่าสิริ แห่งราชธานีชื่อ อมรวดี ในเทวโลก เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระวิหาร ได้ประทับยืนอยู่ ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์. ก็ภิกษุที่ประชุมกันในขณะนั้นมีประมาณ ๘๐ โกฏิ. ก็แลพวกนางภิกษุณีมีประมาณเก้าล้านหกแสน. บรรดาภิกษุเหล่านั้น เฉพาะ ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพนับได้ประมาณแสนรูป. ภิกษุขีณาสพเหล่านั้น ได้มี ความวิตกข้อนี้ว่า ถ้าพระราชาจะพึงทอดพระเนตรเห็นอธิการ (ทานอันยิ่ง) &01
089 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 89
ไม่มีส่วนเหลือของพระองค์ ก็จะพึงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ต่อจากนั้น จึงได้ทำปาฏิหาริย์ ชื่อว่าโลกวิวรณ์ (คือการเปิดโลก). [พระเจ้าอโศกมหาราชทอดพระเนตรเห็นทั่วทั้งชมพูทวีป] พระราชา ประทับยืนอยู่ที่อโศการามนั้นแล ทรงเหลียวดูตลอดทั้ง ๔ ทิศ ได้ทอดพระเนตรเห็นชมพูทวีป ซึ่งมีมหาสมุทรเป็นที่สุดโดยรอบ และ พระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ที่รุ่งโรจน์อยู่ด้วยการบูชาในการฉลองพระวิหารอย่าง โอฬาร. ท้าวเธอเมื่อทอดพระเนตรดูสมบัตินั้น ก็ทรงประกอบด้วยปีติปราโมทย์ อย่างโอฬาร ทรงพระดำริว่า ก็มีอยู่หรือที่ปีติปราโมทย์เห็นปานนี้ เคยเกิดขึ้น แก่ใคร ๆ อื่นบ้าง ? จึงตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ใน พระศาสนาของพระทศพลโลกนาถเจ้าของเราทั้งหลาย มีใครบ้าง ได้สละบริจาค อย่างมากมาย การบริจาคของใครเล่ายิ่งใหญ่. ภิกษุสงฆ์ได้มอบการวิสัชนา ปัญหาที่พระราชาตรัสถาม ให้เป็นหน้าที่ของท่านโมคคลีบุตรติสสเถระ. พระเถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! ขึ้นชื่อว่าผู้ถวายปัจจัย ในพระศาสนาของ พระทศพลเช่นกับพระองค์ ในเมื่อพระตถาคตเจ้าแม้ยังทรงพระชนม์อยู่ ไม่มี ใครเลย พระองค์เท่านั้น ทรงมีการบริจาคยิ่งใหญ่. [พระเจ้าอโศกยังไม่เป็นทายาทแห่งพระศาสนา] พระราชา ทรงสดับคำของพระเถระแล้ว ได้มีพระวรกายอันปีติ ปราโมทย์อย่างโอฬารถูกต้องแล้ว หาระหว่างมิได้ จึงทรงพระดำริว่า ได้ยินว่า ผู้ที่ถวายปัจจัยเช่นกับเรา ไม่มี ได้ยินว่า เรามีการบริจาคยิ่งใหญ่ ได้ยินว่า เรากำลังยกย่องเชิดชูพระศาสนา ด้วยไทยธรรม ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะได้
090 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 90
ชื่อว่า เป็นทายาทแห่งพระศาสนาหรือไม่. ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงตรัสถาม ภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! โยมเป็นทายาทแห่งพระศาสนา หรือ ยังหนอ ? ในลำดับนั้น ท่านพระโมคคลีบุตรติสสเถระ ฟังพระราชดำรัส นี้แล้ว เมื่อเล็งเห็นอุปนิสัยสมบัติ แห่งพระมหินท์ผู้เป็นพระโอรส (ของท้าว เธอ) จึงดำริว่า ถ้าพระกุมารนี้ จักทรงผนวชไซร้ พระศาสนาก็จักเจริญ อย่างยิ่ง จึงถวายพระพรเรื่องนี้กะพระราชาว่า มหาบพิตร ! ผู้ที่จะเป็นทายาท แห่งพระศาสนา หาใช่ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่ ก็อีกอย่างหนึ่งแล ผู้ถวายปัจจัย เช่นนั้น ย่อมถึงความนับว่า ปัจจัยทายก หรือ ผู้อุปัฏฐาก (เท่านั้น) มหาบพิตร ! แท้จริง แม้ผู้ใดพึงถวายปัจจัยกองตั้งแต่แผ่นดินขนาดจดถึง พรหมโลก แม้ผู้นั้น ก็ยังไม่ถึงความนับว่า เป็นทายาทในพระศาสนาได้. [ผู้ที่ให้บุตรบวชชื่อว่าได้เป็นทายาทแห่งพระศาสนา] ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ถ้าเช่นนั้น ทายาทแห่งพระศาสนา จะมีได้อย่างไรเล่า ? พระเถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง จะเป็นผู้มั่งคั่งก็ตาม จะเป็นผู้ยากจนก็ตาม ให้บุตร ผู้เป็นโอรสของตนบวช (ในพระศาสนา) มหาบพิตร ! บุคคลนี้ ท่านเรียกว่า เป็นทายาทแห่งพระศาสนา. เมื่อพระโมคคลีบุตรติสสเถระ ถวายพระพรอย่างนั้นแล้ว พระเจ้าอโศกธรรมราช ทรงพระดำริว่า ได้ยินว่า เราแม้ทำการบริจาคเห็นปานนี้แล้ว ก็ยังไม่ถึงความเป็นทายาทแห่งพระศาสนาได้เลย ทรงปรารถนาความเป็นทายาท ในพระศาสนาอยู่ จึงทรงทอดพระเนตรเหลียวดู ข้างโน้นและข้างนี้ ได้ ทอดพระเนตรเห็นพระมหินทกุมาร [ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์) ซึ่งประทับ ยืนอยู่ในที่ไม่ไกล. ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว ท้าวเธอก็ทรงพระรำพึงดังนี้
091 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 91
ว่า เราประสงค์จะสถาปนาพระกุมารองค์นี้ไว้ในตำแหน่งอุปราช จำเดิมแต่เวลา ติสสกุมารผนวชแล้ว ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น การบรรพชาแลเป็นคุณชาติอุดม กว่าตำแหน่งอุปราชเสียอีก. ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงรับสั่งกะพระกุมารว่า พ่อ ! ลูกจะสามารถบวชได้ไหม ? พระกุมาร แม้ตามปกติ จำเดิมแต่เวลา พระติสสกุมารทรงผนวชแล้ว ก็มีพระประสงค์อยากจะผนวชอยู่ทีเดียว พอได้ ทรงสดับพระราชดำรัสก็เกิดพระปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ สมมติเทพ ! หม่อมฉันจะบวช ทูลกระหม่อม ทรงพระบรมราชานุญาตให้ กระหม่อมฉันบวชแล้ว จะได้เป็นทายาทในพระศาสนา. ก็โดยสมัยนั้นแล แม้พระนางสังฆมิตตา พระราชธิดา (ของท้าวเธอ) ก็ประทับยืนอยู่ในสถานที่นั้นเอง. พระกุมารทรงพระนามว่า อัคคิพรหม ผู้เป็น พระสวามีของพระนางสังฆมิตตานั้นแล ก็ได้ผนวชร่วมกับพระติสสกุมารผู้เป็น อุปราชแล้ว. พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระนางสังฆมิตตานั้นแล้ว จึงรับสั่ง ว่า แม่ ! แม้ลูกสามารถจะบวชได้ไหม ? พระนางทูลตอบว่า ดีละ ทูลกระหม่อมพ่อ ! หม่อมฉันสามารถ. พระราชาทรงขอบใจพระราชโอรสและธิดา แล้ว มีพระราชหฤทัยเบิกบาน จึงตรัสพระดำรัสนี้กะพระภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่ พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย จงให้ทารกเหล่านี้บวช แล้ว กระทำให้โยมเป็นทายาทในพระศาสนาเถิด. พระสงฆ์รับพระราชดำรัสแล้ว ก็ให้พระกุมารบรรพชา โดยมีพระโมคคลีบุตรติสสเถระ เป็นพระอุปัชฌายะ และมีพระมหาเทวเถระเป็นอาจารย์ ให้อุปสมบท โดยมีพระมัชฌินติกเถระ เป็นอาจารย์. ได้ยินว่า คราวนั้น พระกุมารมีพระชนมายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์.
092 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 92
[พระมหินทเถระได้บรรลุพระอรหัตเวลาอุปสมบท) ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ในมณฑลอุปสมบทนั้นนั่นแล. พระอาจารย์แม้ของพระนางสังฆมิตตาราชธิดา ชื่อว่าพระอายุ ปาลิตเถรี ส่วนพระอุปัชฌายะ ชื่อพระธัมมปาลิตเถรี. ได้ยินว่า คราวนั้น พระนางสังฆมิตตา มีพระชนมายุได้ ๑๘ ปี. ภิกษุสงฆ์ยังพระนางสังฆมิตตานั้น ผู้พอบรรพชาแล้ว ให้ดำรงอยู่ในสิกขา ในโรงสีมานั้นนั่นแล. เวลาที่พระโอรสและพระธิดาทั้ง ๒ องค์ผนวช พระราชาทรงอภิเษก ครองราชย์ได้ ๖ ปี. ภายหลังตั้งแต่เวลาที่ทรงผนวชแล้ว พระมหินทเถระ ก็ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมและพระวินัย อยู่ในสำนักพระอุปัชฌายะของตน นั่นเอง ได้เรียนเอาเถรวาททั้งหมด พร้อมทั้งอรรถกถา ที่ท่านสงเคราะห์ด้วย พระไตรปิฎก ซึ่งขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๒ คราว จบในภายใน ๓ พรรษา แล้วได้เป็น ปาโมกข์ (หัวหน้า) ของพวกภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป ผู้เป็นอันเตวาสิก แห่งอุปัชฌายะของตน. คราวนั้น พระเจ้าอโศกธรรมราช ทรงอภิเษกครองราชย์ ได้ ๙ ปี. [พระเจ้าอโศกทรงตั้งมูลนิธิถวายสงฆ์ห้าแสน] ก็ในรัชกาลที่พระราชาทรงอภิเษกได้ ๘ ปีนั่นแล พระโกนตบุตรติสสเถระ เที่ยวไปเพื่อต้องการยาบำบัดพยาธิ ด้วยภิกขาจารวัตรก็ไม่ได้เนยใสสักว่า ฟายมือหนึ่ง เลยสิ้นอายุสังขาร เพราะกำลังแห่งพยาธิ ได้โอวาทภิกษุสงฆ์ ด้วยความไม่ประมาท แล้วนั่งโดยบัลลังก์ในอากาศ เข้าเตโชธาตุปรินิพพานแล้ว. พระราชา ทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้ว ได้ทรงทำสักการะแก่ พระเถระ แล้วทรงรับสั่งว่า ขึ้นชื่อว่า เมื่อเราครองราชย์อยู่ พวกภิกษุยังหา
093 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 93
ปัจจัยได้ยากอย่างนี้ แล้วทรงรับสั่งให้สร้างสระโบกขรณีไว้ที่ประตูทั้ง ๔ แห่ง พระนคร ให้บรรจุเต็มด้วยเภสัชถวายไว้. ได้ยินว่าสมัยนั้นเครื่องบรรณาการ ตั้งห้าแสน เกิดขึ้นแก่พระราชาทุกวัน ๆ คือ ที่ประตูทั้ง ๔ แห่งพระนคร ปาตลีบุตรสี่แสน ที่สภาหนึ่งแสน ครั้งนั้นพระราชาทรงสละถวายท่านนิโครธเถระ วันละหนึ่งแสน หนึ่งแสนเพื่อต้องการทรงบูชาด้วยวัตถุมีของหอมและ ดอกไม้เป็นต้น ที่พุทธเจดีย์ หนึ่งแสนเพื่อต้องการทรงบูชาพระธรรม คือ ทรงน้อมถวายแสนนั้น เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัย ๔ แก่พวกภิกษุผู้ทรงธรรมเป็น พหูสูต แสนหนึ่งถวายภิกษุสงฆ์ ถวายอีกแสนหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่เภสัชที่ ประตูทั้ง ๔ ด้าน. ลาภและสักการะอันโอฬาร เกิดแล้วในพระศาสนาด้วยอาการ อย่างนี้. [พวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา] เดียรถีย์ทั้งหลาย เสื่อมลาภและสักการะแล้ว ชั้นที่สุดไม่ได้ แม้สักว่า ของกินและเครื่องนุ่งห่ม เมื่อปรารถนาลาภและสักการะ จึงปลอมบวชใน พระพุทธศาสนา แล้วแสดงทิฏฐิ (ลัทธิ) ของตน ๆ ว่า นี้ธรรม นี้วินัย. พวกเดียรถีย์เหล่านั้น แม้เมื่อไม่ได้บวชก็ปลงผมเสียเอง แล้วนุ่งผ้ากาสายะ เที่ยวไปในวิหารทั้งหลาย เข้าไป (ร่วม) อุโบสถบ้าง ปวารณาบ้าง สังฆกรรม บ้าง คณะกรรมบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย ไม่ยอมทำอุโบสถ ร่วมกับพวกภิกษุ เดียรถีย์เหล่านั้น. คราวนั้น ท่านพระโมคคลีบุตรติสสเถระ ดำริว่า บัดนี้ อธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ไม่นานเลย อธิกรณ์นั้นจักหยาบช้าขึ้น ก็เราอยู่ในท่ามกลาง แห่งภิกษุเดียรถีย์เหล่านั้น จะไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นได้ ดังนี้ จึงมอบการ คณะถวายท่านพระมหินทเถระ ประสงค์จะพักอยู่โดยผาสุกวิหารด้วยตนเอง แล้วได้ไปยังอโธคังคบรรพต.
094 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 94
[พวกเดียรถีย์แสดงลัทธินอกพุทธศาสนา] พวกเดียรถีย์แม้เหล่านั้นแล ถึงถูกภิกษุสงฆ์ปราบปรามโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสนา ก็ไม่ยอมตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติอันคล้อยตามพระธรรม วินัย ทั้งได้ให้เสนียดจัญไร มลทิน และเสี้ยนหนาม ตั้งขึ้นแก่พระศาสนา มิใช่อย่างเดียว บางพวกบำเรอไฟ บางพวกย่างตนให้ร้อนอยู่ในเครื่องอบตน ๕ อย่าง บางพวกประพฤติหมุนไปตามพระอาทิตย์ บางพวกก็ยืนยันพูดว่า พวกเรา จักทำลายพระธรรมวินัยของพวกท่าน ดังนี้. คราวนั้น ภิกษุสงฆ์ ไม่ได้ทำอุโบสถหรือปวารณา ร่วมกับเดียรถีย์ เหล่านั้นเลย. ในวัดอโศการาม อุโบสถขาดไปถึง ๗ ปี. พวกภิกษุ ได้กราบ ทูลเรื่องนั้นแม้แด่พระราชาแล้ว. [พระเจ้าอโศกทรงใช้อำมาตย์ให้ระงับอธิกรณ์] พระราชา ทรงบังคับอำมาตย์นายหนึ่งไปว่า เธอไปยังพระวิหาร ระงับอธิกรณ์แล้ว นิมนต์ภิกษุสงฆ์ให้ทำอุโบสถเถิด ดังนี้. อำมาตย์ไม่อาจจะ ทูลย้อนถามพระราชาได้ จึงเข้าไปหาอำมาตย์พวกอื่นแล้วกล่าวว่า พระราชา ทรงส่งข้าพเจ้าไปว่า เธอจงไปยังพระวิหาร ระงับอธิกรณ์แล้ว ทำอุโบสถเถิด ดังนี้ อธิกรณ์จะระงับได้อย่างไรหนอ ? อำมาตย์เหล่านั้นพูดว่า พวกข้าพเจ้า กำหนดหมายได้ ด้วยอุบายอย่างนี้ว่า พวกราชบุรุษ เมื่อจะปราบปัจจันตชนบท ให้ราบคาบ ก็ต้องฆ่าพวกโจร ชื่อฉันใด ภิกษุเหล่าใดไม่ทำอุโบสถ พระราชา จักมีพระราชประสงค์ให้ฆ่าภิกษุเหล่านั้นเสีย ฉันนั้นเหมือนกัน. ลำดับนั้น อำมาตย์นายนั้น ไปยังพระวิหาร นัดให้ภิกษุสงฆ์ประชุม กันแล้วเรียนชี้แจงว่า พระราชาทรงส่งข้าพเจ้ามาว่า เธอจงนิมนต์ภิกษุสงฆ์ให้
095 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 95
ทำอุโบสถเถิด ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! บัดนี้ ขอพวกท่านจงทำอุโบสถกรรมเถิด. พวกภิกษุพูดว่า อาตมภาพทั้งหลาย จะไม่ทำอุโบสถร่วมกับเหล่า เดียรถีย์. อำมาตย์เริ่มเอาดาบตัดศีรษะ (ของเหล่าภิกษุ) ให้ตกไป ตั้งต้นแต่ อาสนะของพระเถระลงไป. ท่านพระติสสเถระได้เห็นอำมาตย์นั้น ผู้ปฏิบัติผิด อย่างนั้นแล. [ประวัติของพระติสสเถระจะออกบวช] ชื่อว่า พระติสสเถระไม่ใช่คนธรรมดาสามัญ คือพระภาดาร่วม พระราชมารดาเดียวกันกับพระราชา มีนามว่าติสสกุมาร. ได้ยินว่าพระราชาทรงอภิเษก แล้ว ได้ทรงตั้งติสสกุมารนั้นไว้ ในตำแหน่งอุปราช วันหนึ่ง ติสสกุมารนั้น เสด็จไปเที่ยวป่า ได้ทอดพระเนตรเห็นหมู่มฤคฝูงใหญ่ ซึ่งเล่นอยู่ด้วยการ ตามความคิด (คือตามความใคร่ของตน). ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว ติสสกุมารนั้นได้ทรงมีพระรำพึงดังนี้ว่า มฤคเหล่านี้มีหญ้าเป็นอาหาร ยังเล่น กันได้อย่างนี้ก่อน. ส่วนพระสมณะเหล่านี้ ฉันโภชนะอันประณีต ในราช ตระกูลแล้ว จำวัดอยู่บนที่นอนอันอ่อนนุ่ม จักเล่นการเล่นที่น่าชอบใจไม่ได้ เทียวหรือ. ติสสกุมารนั้น เสด็จกลับมาจากป่านั้นแล้ว ได้กราบทูลความรำพึง ของตนนี้แด่พระราชา. พระราชาทรงพระดำริว่า พระกุมารระแวงสงสัยในที่ มิใช่ฐานะ (มิใช่เหตุ), เอาเถอะเราจักให้เขายินยอมด้วยอุบายอย่างนี้ ในวันหนึ่ง ทรงทำเป็นเหมือนกริ้วด้วยเหตุการณ์บางอย่าง แล้วทรงขู่ด้วยมรณภัยว่า เธอ จงมารับเอาราชสมบัติตลอด ๗ วัน, หลังจากนั้นเราจักฆ่าเธอเสีย ดังนี้ แล้ว ให้รับรู้คำสั่งนั้น. ได้ยินว่า พระกุมารนั้นทรงดำริว่า ในวันที่ ๗ พระราชา จักให้ฆ่าเราเสีย ดังนี้ ไม่ทรงสนาน ไม่เสวย ทั้งบรรทมก็ไม่หลับ ตามสมควร แก่พระหฤทัย ได้มีพระสรีระเศร้าหมองเป็นอย่างมาก. แต่นั้น พระราชา
096 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 96
ตรัสถามติสสกุมารนั้นว่า เธอเป็นผู้มีรูปร่างอย่างนี้ เพราะเหตุอะไร ! พระกุมาร ทูลว่า ขอเดชะ ! เพราะกลัวความตาย. พระราชาทรงรับสั่งว่า เฮ้ย; อัน ตัวเธอเองเล็งเห็นความตายที่ข้าพเจ้าคาดโทษไว้แล้ว หมดสงสัยสิ้นคิด ยังจะ ไม่เล่นหรือ ! พวกภิกษุ เล็งเห็นความตายเนื่องด้วยลมหายใจเข้าและหายใจ ออกอยู่ จักเล่นได้อย่างไร ? จำเดิมแต่นั้นมา พระกุมารก็ทรงเลื่อมใสใน พระศาสนา. ครั้นรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง พระกุมารนั้นเสด็จออกไปล่าเนื้อ เที่ยว สัญจรไปในป่า ได้ทอดพระเนตรเห็นพระโยนกมหาธรรมรักขิตเถระ ผู้นั่งให้ พญาช้างตัวใดตัวหนึ่งจับกิ่งสาละพัดอยู่. พระกุมารครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว ก็เกิดความปราโมทย์ดำริว่า เมื่อไรหนอแล แม้เราจะพึงบวชเหมือน พระมหาเถระนี้, วันนั้นจะพึงมีหรือหนอแล. พระเถระรู้อัธยาศัยของพระกุมาร นั้นแล้ว เมื่อพระกุมารนั้นเห็นอยู่นั่นแล ได้เหาะขึ้นไปในอากาศ แล้วได้ยืน อยู่บนพื้นน้ำที่สระโบกขรณี ในวัดอโศการาม ห้อยจีวรและผ้าอุตราสงค์ไว้ที่ อากาศ แล้วเริ่มสรงน้ำ. พระกุมารทอดพระเนตรเห็นอานุภาพของพระเถระ นั้นแล้วก็ทรงเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง ดำริว่า เราจักบวชให้ได้ในวันนี้ทีเดียว แล้วเสด็จกลับ ได้ทูลลาพระราชาว่า ขอเดชะ ! หม่อมฉันจักบวช. พระราชา ทรงยับยั้ง (ทรงขอร้อง) เป็นอเนกประการ เมื่อไม่ทรงสามารถเพื่อจะให้ พระกุมารนั้นกลับ (พระทัย) ได้ จึงทรงรับสั่งให้ตกแต่งมรรคาที่จะไปสู่วัด อโศการาม ให้พระกุมารแต่งองค์เป็นเพศมหรสพ ให้แวดล้อมด้วยหมู่เสนา ซึ่งประดับประดาแล้ว ทรงนำไปยังวิหาร ภิกษุเป็นอันมากได้ฟังว่า ข่าวว่า พระยุพราช จักผนวช ก็พากันตระเตรียมบาตรและจีวรไว้. พระกุมารเสด็จ ไปยังเรือนเป็นที่บำเพ็ญเพียร แล้วได้ทรงผนวช พร้อมกับบุรุษแสนหนึ่ง ในสำนักของพระมหาธรรมรักขิตเถระนั่นเอง. ก็กุลบุตรทั้งหลายผู้ผนวชตาม
097 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 97
พระกุมาร จะกำหนดนับไม่ได้. พระกุมารทรงผนวชในเวลาที่พระราชาทรง อภิเษกครองราชย์ได้ ๔ ปี. ครั้งนั้น ยังมีพระกุมารองค์อื่น มีพระนามว่า อัคคิพรหม ผู้เป็นพระสวามีของพระนางสังฆมิตตา ซึ่งเป็นพระภาคิไนยของ พระราชา. พระนางสังฆมิตตาประสูติพระโอรส ของอัคคิพรหมองค์นั้นเพียง องค์เดียวเท่านั้น. อัคคิพรหมแม้องค์นั้น ได้สดับข่าวว่า พระยุพราช ทรง ผนวชแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา แล้วทูลขอพระบรมราชานุญาตว่า ขอเดชะ แม้หม่อมฉัน ก็จักบวช ดังนี้. และอัคคิพรหมองค์นั้นได้รับพระบรมราชานุญาตว่า จงบวชเถิด พ่อ ! ก็ได้บวชในวันนั้นนั่นเอง. พระเถระผู้อันขัตติยชน ซึ่งมีสมบัติอย่างโอฬาร บวชตามอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระติสสเถระ ผู้เป็นพระกนิษฐภาดาของพระราชา. [พระติสสเถระนั่งกันไม่ให้อำมาตย์ตัดศีรษะพระ] ท่านพระติสสเถระนั้น ครั้นเห็นอำมาตย์นายนั้นผู้ปฏิบัติผิดอย่างนั้นแล้ว จึงดำริว่า พระราชา คงจะไม่ทรงส่งมาเพื่อให้ฆ่าพระเถระทั้งหลาย เรื่องนี้ จักเป็นเรื่องที่อำมาตย์คนนี้เข้าใจผิดแน่นอนทีเดียว ดังนี้ จึงได้ไปนั่งบนอาสนะ ใกล้อำมาตย์นั้นเสียเอง. อำมาตย์นายนั้น จำพระเถระนั้นได้ ก็ไม่อาจฟัน ศัสตราลงได้จึงได้กลับไปกราบทูลแด่พระราชาว่าขอเดชะ ! ข้าพระพุทธเจ้า ได้ตัดศีรษะของพวกภิกษุชื่อมีประมาณเท่านี้ ผู้ไม่ปรารถนาทำอุโบสถให้ตกไป ขณะนั้น ก็มาถึงลำดับแห่งท่านติสสเถระผู้เป็นเจ้าเข้า ข้าพระพุทธเจ้าจะทำ อย่างไร ? พระราชา พอได้ทรงสดับเท่านั้น ก็ตรัสว่า เฮ้ย ! ก็ข้า ได้ส่ง เธอให้ไปฆ่าภิกษุทั้งหลายหรือ ? ทันใดนั่นเอง เกิดความเร่าร้อนขึ้นใน พระวรกาย จึงเสด็จไปยังพระวิหาร ตรัสถามพระภิกษุผู้เป็นพระเถระว่า
098 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 98
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! อำมาตย์คนนี้โยมไม่ได้สั่งเลย ได้ทำกรรมอย่างนี้ แล้ว บาปนี้จะพึงมีแก่ใครหนอแล ? [พวกภิกษุถวายความเห็นแด่พระราชาเป็น ๒ นัย] พระเถระบางพวก ถวายพระพรว่า อำมาตย์นายนี้ได้ทำตามพระดำรัส สั่ง ของมหาบพิตรแล้ว, บาปนั่น จึงมีแก่มหาบพิตรด้วย. พระเถระบางพวก ถวายพระพรว่า บาปนั่น ย่อมมีแด่มหาบพิตรและอำมาตย์แม้ทั้ง ๒ ด้วย. พระเถระบางพวกถวายพระพรอย่างนี้ว่า ขอถวายพระพร ! ก็มหาบพิตร ทรงมีความคิด หรือว่า อำมาตย์นายนี้ จงไปฆ่าภิกษุทั้งหลาย ! พระราชา ทรงรับสั่งว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ไม่มี, โยมมีความประสงค์เป็นกุศล จึงได้ส่งเขาไปด้วยสั่งว่า ขอภิกษุสงฆ์จงสามัคคีกันทำอุโบสถเถิด. พระเถระ ทั้งหลายถวายพระพรว่า ถ้าว่า มหาบพิตร มีพระราชประสงค์เป็นกุศลไซร้, บาปก็ไม่มีแด่มหาบพิตร, บาปนั่นย่อมมีแก่อำมาตย์เท่านั้น. พระราชาทรง เกิดมีความสงสัยเป็นสองจิตสองใจจึงรับสั่งถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ จะมีภิกษุบางรูปบ้างไหม ? ผู้สามารถเพื่อจะตัดข้อสงสัยนี้ของโยม แล้วยกย่อง พระศาสนา. ภิกษุทั้งหลายถวายพระพรว่า มี มหาบพิตร ! ภิกษุนั้นชื่อ พระโมคคลีบุตรติสสเถระ, ท่านสามารถที่จะตัดข้อสงสัยนี้ของมหาบพิตร แล้ว ยกย่องพระศาสนาได้. ในวันนั้นเอง พระราชาได้ทรงจัดส่งพระธรรมกถึก ๓ รูป แต่ละรูปมีภิกษุพันหนึ่งเป็นบริวาร, และอำมาตย์ ๔ นาย แต่ละนาย มีบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร ด้วยทรงรับสั่งว่า ขอท่านทั้งหลาย จงรับเอา พระเถระมาเถิด.
099 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 99
[พระโมคคลีบุตรติสสเถระไม่มาเพราะอาราธนาไม่ถูกเรื่อง] พระธรรมกถึกและอำมาตย์เหล่านั้นไปแล้ว ได้เรียน (พระเถระ) ว่า พระราชารับสั่งให้หาท่าน ดังนี้. พระเถระ ไม่ยอมมา. แม้ครั้งที่ ๒ พระราชา ก็ได้ทรงจัดส่งพระธรรมกถึก ๘ รูป และอำมาตย์ ๘ นาย ซึ่งมีบริวารคนละ พัน ๆ ไป ด้วยรับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงกราบเรียน (พระเถระนั้น) ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระราชารับสั่งให้หา แล้วให้นิมนต์พระเถระมา. พระธรรมกถึกและอำมาตย์เหล่านั้น ได้กราบเรียน (พระเถระ) เหมือนอย่างที่ ทรงรับสั่งนั้นแล. ถึงแม้ครั้งที่ ๒ พระเถระก็มิได้มา. พระราชาตรัสถาม พระเถระทั้งหลายว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! โยมได้ส่งทูตไปถึง ๒ ครั้ง แล้ว เพราะเหตุไร พระเถระจึงมิได้มา ? พระเถระทั้งหลาย ถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! ที่ท่านไม่มานั้น เพราะทูตเหล่านั้น กราบเรียนท่านว่า พระราชา สั่งให้หา แต่เมื่อทูตเหล่านั้นกราบเรียนท่านอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า ผู้เจริญ ! พระศาสนาเสื่อมโทรม, ขอพระคุณเจ้าได้โปรดเป็นสหายพวกข้าพเจ้า เพื่อเชิดชูพระศาสนาเถิด ดังนี้, พระเถระ จะพึงมา. คราวนั้น พระราชา ทรงรับสั่งเหมือนอย่างนั้นแล้ว จึงทรงจัดส่งพระธรรมกถึก ๑๖ รูป และ อำมาตย์ ๑๖ นาย ซึ่งมีบริวารคนละพัน ๆ ไป ได้ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลาย อีกว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระเถระเป็นคนแก่ หรือยังหนุ่มแน่น ? ภิกษุ. แก่ มหาบพิตร ! ราชา. พระเถระนั้น จักขึ้นคานหามหรือวอ เจ้าข้า ! ภิกษุ. ท่านจักไม่ขึ้น (ทั้ง ๒ อย่าง) มหาบพิตร ! ราชา. พระเถระพักอยู่ ณ ที่ไหน ? เจ้าข้า. ภิกษุ. ที่แม่น้ำคงคาตอนเหนือ มหาบพิตร.
100 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 100
พระราชา ทรงรับสั่งว่า ดูก่อนพนาย ! ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจง ผูกเรือขนาน แล้วอาราธนาให้พระเถระนั่งบนเรือขนานนั้นนั่นแล จัดการ อารักขาที่ฝั่งทั้ง ๒ ด้าน นำพระเถระมาเถิด. พวกภิกษุและเหล่าอำมาตย์ ไปถึงสำนักของพระเถระแล้ว ได้เรียนให้ทราบตามพระราชสาสน์. พระเถระได้สดับ (พระราชสาสน์นั้น) แล้วคิดว่า เพราะเหตุที่เรา บวชมาก็ด้วยตั้งใจว่า จักเชิดชูพระศาสนา ตั้งแต่ต้นฉะนั้น กาลนี้นั้นก็มาถึง แก่เราแล้ว จึงได้ถือเอาท่อนหนังลุกขึ้น. [พระเจ้าอโศกมหาราชทรงพระสุบินเห็นช้างเผือกล้วน] ครั้งนั้น พระราชาทรงใฝ่พระราชหฤทัยอยู่แล้วว่า พรุ่งนี้ พระเถระ จักมาถึงพระนครปาตลีบุตร ดังนี้ ก็ทรงเห็นพระสุบิน ในส่วนราตรี ได้มี พระสุบินเห็นปานนี้ คือพญาช้างเผือกปลอดมาลูบคลำพระราชา จำเดิมแต่ พระเศียร แล้วได้จับพระราชาที่พระหัตถ์ข้างขวา. ในวันรุ่งขึ้น พระราชาได้ ตรัสถามพวกโหรผู้ทำนายสุบินว่า เราฝันเห็นสุบิน เห็นปานนี้ จักมีอะไร แก่เรา ? โหรทำนายสุบินคนหนึ่ง ทูลถวายความเห็นว่า ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า พระสมณะผู้ประเสริฐ จักจับใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทที่ พระหัตถ์ข้างขวา. คราวนั้น พระราชาก็ได้ทรงทราบข่าวว่า พระเถระมาแล้ว ในขณะนั้นนั่นเอง จึงเสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วเสด็จลงลุยแม่น้ำท่อง ขึ้นไป จนถึงพระเถระ ในน้ำมีประมาณเพียงชานุ แล้วได้ถวายพระหัตถ์แก่ พระเถระผู้กำลังลงจากเรือ. พระเถระได้จับพระราชาที่พระหัตถ์ข้างขวาแล้ว. [ราชบุรุษถือดาบจะตัดศีรษะพระโมคคลีบุตรติสสเถระ] พวกราชบุรุษถือดาบ เห็นกิริยานั้นแล้ว ก็ชักดาบออกจากฝัก ด้วย คิดว่า พวกเราจักตัดศีรษะของพระเถระให้ตกไป ดังนี้. ถามว่า เพราะเหตุไร ?
101 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 101
แก้ว่า เพราะได้ยินว่า ในราชตระกูลมีจารีตนี้ว่า ผู้ใดจับพระราชาที่พระหัตถ์ ราชบุรุษพึงเอาดาบตัดศีรษะของผู้นั้นให้ตกไป. พระราชาทอดพระเนตรเห็น เงา (ดาบ) เท่านั้น ก็ทรงรับสั่งว่า แม้ครั้งก่อน เราไม่ประสบความสบายใจ เพราะเหตุที่ผิดในภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าทำผิดในพระเถระเลย ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเถระจึงได้จับพระราชาที่พระหัตถ์ ? แก้ว่า เพราะเหตุที่ พระเถระนั้น อันพระราชาให้อาราธนามา เพื่อต้องการจะตรัสถามปัญหา ฉะนั้น พระเถระใฝ่ใจอยู่ว่า พระราชาพระองค์นี้เป็นอันเตวาสิกของเรา จึงได้จับ. [พระเจ้าอโศกทรงสงสัยท่านพระโมคคลีบุตรติสสเถระ] พระราชาทรงนำพระเถระไปสู่ราชอุทยานของพระองค์ แล้วทรงรับสั่ง ให้ตั้งการอารักขาล้อมไว้ แต่ภายนอกถึง ๓ ชั้น ส่วนพระองค์เองก็ทรงล้างเท้า พระเถระแล้วทาน้ำมันให้ ประทับนั่งอยู่ในสำนักของพระเถระ แล้วทรงพระดำริว่า พระเถระจะเป็นผู้สามารถไหมหนอ เพื่อตัดความสงสัยของเรา ระงับ อธิกรณ์ที่เกิดขึ้น แล้วยกย่องพระศาสนา ดังนี้ เพื่อต้องการจะทรงทดลองดู จึงเรียนถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! โยมมีความประสงค์ที่จะเห็นปาฏิหาริย์ สักอย่างหนึ่ง. พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! ประสงค์ทอดพระเนตรเห็น ปาฏิหาริย์ชนิดไหน ? พระราชา. อยากเห็นแผ่นดินไหว เจ้าข้า. ! พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! ประสงค์ทอดพระเนตรเห็น เห็นแผ่นดินไหวทั้งหมด หรือจะทอดพระเนตรเห็นแผ่นดินไหวบางส่วน พระราชา. ก็บรรดา ๒ อย่างนี้ อย่างไหนทำได้อยาก เจ้าข้า.
102 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 102
พระเถระ. ขอถวายพระพร ? เมื่อถาดสำริดเต็มด้วยน้ำ จะทำให้น้ำ นั้นไหวทั้งหมด หรือให้ไหวเพียงกึ่งหนึ่ง เป็นของทำได้ยาก. พระราชา. ให้ไหวเพียงกึ่งหนึ่ง เจ้าข้า. พระเถระ. ขอถวายพระพร ! ด้วยประการดังถวายพระพรมาแล้ว นั่นแล การให้แผ่นดินไหวบางส่วนทำได้ยาก. พระราชา. ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ถ้าเช่นนั้น โยมจักดูแผ่นดินไหว บางส่วน (เท่านั้น). พระเถระ. ขอถวายพระพร ! ถ้าเช่นนั้นในแต่ละโยชน์โดยรอบ รถจงจอดทับแดนด้วยล้อข้างหนึ่งด้านทิศบูรพา ม้าจงยืนเหยียบแดน ด้วยเท้า ทั้งสองด้านทิศทักษิณ บุรุษจงยืนเหยียบแดนด้วยเท้าข้างหนึ่งด้านทิศปัจฉิม ถาดน้ำถาดหนึ่ง จงวางทาบส่วนกึ่งกลางด้านทิศอุดร. พระราชารับสั่งให้กระทำ อย่างนั้นแล้ว. [พระโมคคลีบุตรติสสเถระอธิษฐานให้แผ่นดินไหว] พระเถระ เข้าจตุตถฌานซึ่งมีอภิญญาเป็นบาท ออกแล้ว ได้อธิษฐาน ให้แผ่นดินไหว มีประมาณโยชน์หนึ่ง ด้วยรำพึงว่า ขอให้พระราชาจง ทอดพระเนตรเห็น ดังนี้ ทางทิศบูรพาล้อรถที่หยุดอยู่ภายในเขตแดนนั่นเอง ไหวแล้ว นอกนี้ไม่ไหว. ทางทิศทักษิณและทิศปัจฉิม เท้าของม้าและบุรุษ ที่เหยียบอยู่ในเขตแดนเท่านั้น ไหวแล้ว และตัว (ของม้าและบุรุษ) ก็ไหวเพียงกึ่งหนึ่ง ๆ ด้วยประการอย่างนี้ ทางทิศอุดร น้ำที่ขังอยู่ภายในเขต แม้แห่งถาดน้ำ ไหวกึ่งส่วนเท่านั้น ที่เหลือไม่มีไหวเลยแล.
103 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 103
[พระเจ้าอโศกตรัสถามข้อสงสัยในบาป] พระราชา ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้ว ก็ตกลงพระทัยว่า บัดนี้ พระเถระจักสามารถเพื่อจะยกย่องพระศาสนาได้ จึงตรัสถามความสงสัย ของพระองค์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! โยมได้ส่งอำมาตย์นายหนึ่งไปด้วย สั่งว่า เธอไปยังพระวิหารระงับอธิกรณ์แล้วนิมนต์ให้ภิกษุสงฆ์ทำอุโบสถเถิด ดังนี้ เขาไปยังพระวิหารแล้ว ได้ปลงภิกษุเสียจากชีวิตจำนวนเท่านี้รูป บาป นั่นจะมีแก่ใคร ? พระเถระ ทูลถามว่า ขอถวายพระพร ! ก็พระองค์มีความคิดหรือว่า อำมาตย์นี้ จงไปยังพระวิหารแล้ว ฆ่าภิกษุทั้งหลายเสีย. พระราชา. ไม่มี เจ้าข้า. พระเถระ. ขอถวายพระพร ! ถ้าพระองค์ไม่มีความคิดเห็นปานนี้ไซร้ บาปไม่มีแด่พระองค์เลย. [พระโมคคลีบุตรติสสเถระอ้างพระพุทธพจน์เล่าอดีตนิทาน] ลำดับนั้น พระเถระ (ถวายวิสัชนา) ให้พระราชาทรงเข้าพระทัย เนื้อความนี้ด้วยพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวเจตนาว่าเป็น กรรม บุคคลคิดแล้ว จึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ ๑- ดังนี้. เพื่อแสดง เนื้อความนั้นนั่นแล พระเถระจึงนำติตติรชาดกมา ๒- (เป็นอุทาหรณ์) ดังต่อ ไปนี้. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! ในอดีตกาล นกกระทาชื่อ ทีปกะ เรียนถามพระดาบสว่า &01
104 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 104
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! นกเป็นอันมาก เข้าใจว่า ญาติของพวกเราจับอยู่แล้ว จึงพา กันมา นายพรานอาศัยข้าพเจ้าย่อมถูกต้อง กรรม เมื่อนายพรานอาศัยข้าพเจ้าทำบาป นั้น ใจของข้าพเจ้า ย่อมสงสัย ว่า (บาปนั้น จะมีแก่ข้าพเจ้า หรือหนอ ?). พระดาบส ตอบว่า ก็ท่านมีความคิด (อย่างนี้) หรือว่า ขอนก ทั้งหลายเหล่านั้นมา เพราะเสียง และเพราะเห็นรูปของเราแล้วจงถูกแร้ว หรือ จงถูกฆ่า. นกกระทา เรียนว่า ไม่มี ท่านผู้เจริญ. ลำดับนั้น ดาบสจึงให้นกกระทานั้นเข้าใจยินยอมว่า ถ้าท่านไม่มีความ คิดไซร้ บาปก็ไม่มี แท้จริง กรรมย่อมถูกต้องบุคคลผู้คิดอยู่เท่านั้น หาถูกต้อง บุคคลผู้ไม่คิดไม่. ถ้าใจของท่าน ไม่ประทุษร้าย (ใน การทำความชั่ว) ไซร้ กรรมที่นายพราน อาศัยท่านกระทำ ก็ไม่ถูกต้องท่าน บาปก็ ไม่ติดเปื้อนท่าน ผู้มีความขวนขวายน้อย ผู้เจริญ (คือบริสุทธิ์). [พระเจ้าอโศกทรงชำระเสี้ยนหนามแห่งพระพุทธศาสนา] พระเถระ ครั้น (ถวายวิสัชนา) ให้พระราชาทรงเข้าพระทัยอย่างนั้น แล้ว พักอยู่ในพระราชอุทยานในพระนครนั้นนั่นแล ตลอด ๗ วัน แล้วให้
105 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 105
พระราชาทรงเรียนเอาลัทธิสมัย (แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า). ในวันที่ ๗ พระราชาทรงรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์ประชุมพร้อมกันที่วัดอโศการาม ให้ขึงม่านผ้า กั้นไว้ แล้วประทับนั่งอยู่ภายในม่านผ้า ทรงรับสั่งให้จัดพวกภิกษุ ผู้มีลัทธิ เดียวกันให้รวมกันอยู่เป็นพวก ๆ แล้วรับสั่งให้นิมนต์หมู่ภิกษุมาทีละหมู่แล้ว ตรัสถามว่า กึวาที สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปกติตรัสว่าอย่างไร ? ลำดับนั้น พวกภิกษุสัสสตวาที ทูลว่า สัสสตวาที มีปกติตรัสว่า เที่ยง. พวกภิกษุเอกัจจสัสสติกา ทูลว่า เอกัจจสัสสติกวาที มีปกติตรัสว่า บางอย่างเที่ยง. พวกภิกษุอันตานันติกา ทูลว่า อันตานันติกวาที มีปกติตรัสว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด. พวกภิกษุอมราวิกเขปิกา ทูลว่า อมราวิกเขปิกวาที มีปกติตรัส ถ้อยคำซัดส่ายไม่ตายตัว. พวกภิกษุอธิจจสมุปปันนิกา ทูลว่า อธิจจสมุปปันนิกวาที มีปกติ ตรัสว่า ตน และโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ไม่มีเหตุ. พวกภิกษุสัญญิวาทะ ทูลว่า สัญญิวาที มีปกติตรัสว่า ตน มีสัญญา. พวกภิกษุอสัญญีวาทะ ทูลว่า อสัญญิวาที มีปกติตรัสว่า ตนไม่มี สัญญา. พวกภิกษุเนวสัญญินาสัญญิวาทะ ทูลว่า เนวสัญญินาสัญญิวาที มีปกติตรัสว่า ตนมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่.
106 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 106
พวกภิกษุอุจเฉทวาทะ ทูลว่า อุจเฉทวาที มีปกติตรัสว่า ขาดสูญ. พวกภิกษุทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ทูลว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาที มีปกติตรัสว่า พระนิพพานมีอยู่ในปัจจุบัน (ภพปัจจุบัน ๑- ). [พระเจ้าอโศกทรงรับสั่งให้สึกพวกที่มิใช่ภิกษุหกหมื่นรูป] พระราชาทรงทราบว่า เหล่านี้ไม่ใช่ภิกษุ, เหล่านี้เป็นอัญญเดียรถีย์ ก็เพราะพระองค์ได้ทรงเรียนเอาลัทธิมาก่อนนั่นเอง จึงพระราชทานผ้าขาวแก่ เธอเหล่านั้น แล้วให้สึกเสีย. เดียรถีย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมดมีจำนวนถึงหกหมื่นคน ลำดับนั้น พระราชาทรงรับสั่งให้อาราธนาภิกษุเหล่าอื่นมา แล้วตรัส ถามว่า กึวาที ภนฺเต สมฺมาสมฺพุทฺโธ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปกติตรัสว่าอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลายทูลว่า วิภชฺชวาที มีปกติตรัสจำแนกมหาบพิตร ! เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนั้นแล้ว พระราชาจึงตรัสถามพระเถระว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นวิภัชชวาที (มีปกติตรัส จำแนกหรือ ?) พระเถระทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! ลำดับนั้น พระราชาทรงรับสั่งว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! บัดนี้ พระศาสนาบริสุทธิ์ แล้ว, ขอภิกษุสงฆ์จงทำอุโบสถเถิด ดังนี้ พระราชทานอารักขาไว้แล้ว เสด็จ เข้าไปยังพระนคร. สงฆ์พร้อมเพรียงได้ประชุมกันทำอุโบสถแล้ว. ในสันนิบาต นั้นมีภิกษุจำนวนถึงหกสิบแสนรูป. &01
107 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 107
[พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเลือกภิกษุพันรูปทำตติยสังคายนา] พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เมื่อจะย่ำยีคำกล่าวติเตียนของชนเหล่าอื่น จึงได้แสดง ๑- กถาวัตถุปกรณ์ในสมาคมนั้น. ลำดับนั้น พระเถระ ได้คัดเลือก บรรดาภิกษุซึ่งนับได้มีจำนวนหกสิบแสนรูป เอาเฉพาะภิกษุหนึ่งพันรูป ผู้ทรง ปริยัติ คือพระไตรปิฎก แตกฉานในปฏิสัมภิทา ชำนาญในไตรวิชชาเป็นต้น เมื่อจะสังคายนาธรรมและวินัย ได้ชำระมลทินในพระศาสนาทั้งหมด จึงได้ทำ ตติยสังคีติเหมือนอย่างพระมหากัสสปเถระ และพระยสเถระ สังคายนาธรรม และวินัยฉะนั้น. ในที่สุดแห่งสังคีติ ปฐพีก็ได้หวั่นไหว เป็นอเนกประการ สังคีติซึ่งทำอยู่ ๙ เดือน จึงสำเร็จลงนี้ ที่ท่านเรียกในโลกว่า สหัสสิกสังคีติ เพราะภิกษุพันรูปกระทำ และเรียกว่า ตติยสังคีติ เพราะเทียบกับสังคีติ ๒ คราว ที่มีมาก่อนด้วยประการฉะนี้. ตติยสังคีติ จบ &01
108
เล่มที่ 1 หน้า 108
เรื่องนำพระวินัยปิฎกสืบต่อกันมา ก็เพื่อจะวิสัชนาปัญหานี้ว่า พระวินัยปิฎก ผู้ใดนำสืบมา ข้าพเจ้าจึง ได้กล่าวคำใดไว้ว่า พระวินัยปิฎกนี้ นำสืบกันมาตามลำดับอาจารย์ ตั้งต้น แต่ท่านพระอุบาลีเถระ ในครั้งชมพูทวีปก่อน จนถึงตติยสังคีติ, ในครั้ง ชมพูทวีปนั้น มีการนำสืบกันมาตามลำดับอาจารย์ ดังนี้ :- พระเถระ ๕ รูปเหล่านี้คือ พระอุบาลี ๑ พระทาสกะ ๑ พระโสณกะ ๑ พระสิคควะ ๑ พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ๑ ผู้มี ชัยชนะพิเศษ ได้นำพระวินัยมา ในทวีป ชื่อชมพูอันมีสิริไม่ให้ขาดสาย โดยสืบลำดับ แห่งอาจารย์จนถึงสังคายนาครั้งที่ ๓. เนื้อความแห่งคำนั้น เป็นอันข้าพเจ้าประกาศแล้ว ด้วยคำมีประมาณ เพียงเท่านี้. [รายนามพระเถระผู้นำพระวินัยปิฎกสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้] อนึ่ง ต่อจากตติยสังคายนา พระเถระทั้งหลายมีพระมหินท์เป็นต้น ได้นำพระวินัยปิฎกมาสู่เกาะนี้ (คือเกาะลังกา), พระเถระทั้งหลายมี พระอริฏฐเถระเป็นต้น เรียนเอาจากพระมหินท์แล้ว ได้นำสืบกันมาชั่วระยะหนึ่ง ตั้งแต่เวลาที่พระอริฏฐเถระเป็นต้นนั้นนำมา บัณฑิตพึงทราบว่า พระวินัยปิฎก นี้ ได้นำกันสืบมาตามลำดับอาจารย์ ซึ่งจัดว่าเป็นลำดับอันเตวาสิกของท่าน พระอริฏฐเถระเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเอง จนถึงทุกวันนี้ สมดังที่พระโบราณาจารย์ ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า
109 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 109
ในกาลนั้น พระเถระผู้ประเสริฐ มีปัญญามากเหล่านี้ คือ พระมหินทะ ๑ พระอิฏฏิยะ ๑ พระอุตติยะ ๑ พระสัมพละ ๑ พระเถระผู้เป็นบัณฑิตชื่อภัททะ ๑ มาใน เกาะสิงหลนี้ จากชมพูทวีป, พวกท่านได้ สอนพระวินัยปิฎกในเกาะตัมพปัณณิ สอน นิกายทั้ง ๕ และปกรณ์ทั้ง ๗. ภายหลังแต่ นั้นมา พระอริฏฐะผู้มีปัญญา ๑ พระติสสทัตตะ ผู้ฉลาด ๑ พระกาฬสุมนะผู้องอาจ ๑ พระเถระผู้มีชื่อว่าทีฆะ ๑ พระทีฆสุมนะ ผู้เป็นบัณฑิต ๑, ต่อมาอีกพระกาฬสุมนะ ๑ พระนาคเถระ ๑ พระพุทธรักขิต ๑ พระติสสเถระผู้มีปัญญา ๑ พระเทวเถระผู้ฉลาด ๑, ต่อมาอีก พระสุมนะผู้มีปัญญา และ เชี่ยวชาญในพระวินัย ๑ พระจูฬนาคะผู้ พหูสูตดุจช้างซับมันที่ปราบยาก ๑ พระเถระ ชื่อธรรมปาลิตะ อันสาธุชนบูชาแล้วใน โรหณชนบท ๑ ศิษย์ของพระธรรมปาลิตะ นั้น ชื่อเขมะ มีปัญญามาก ทรงจำ พระไตรปิฎก รุ่งเรืองอยู่ในเกาะด้วยปัญญา ดุจ พระจันทร์เป็นราชาแห่งหมู่ดาวฉะนั้น ๑ พระอุปติสสะผู้มีปัญญา ๑ พระปุสสเทวะผู้ เป็นมหากวี ๑, ต่อมาอีกพระสุมนะผู้มี
110 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 110
ปัญญา ๑ พระเถระชื่อปุปผะ (คือ พระมหาปทุมเถระ ๑- ) ผู้พหูสูต ๑ พระมหาสีวะ ผู้เป็น มหากวี ฉลาดในพระปิฎกทั้งปวง ๑, ต่อมา อีก พระอุบาลี ผู้มีปัญญาเชี่ยวชาญใน พระวินัย ๑ พระมหานาค ผู้มีปัญญามาก ฉลาด ในวงศ์พระสัทธรรม ๑, ต่อมา มีพระอภัย ผู้มีปัญญา ฉลาดในปิฎกทั้งปวง ๑ พระติสสเถระผู้มีปัญญา เชี่ยวชาญในพระวินัย ๑ ศิษย์ของพระติสสเถระนั้น ชื่อปุปผะ (คือ พระสุมนเถระ ๒- ) มีปัญญามากเป็นพหูสูต ตามรักษาพระศาสนาอยู่ ในชมพูทวีป ๑ พระจูฬาภยะผู้มีปัญญา และเชี่ยวชาญใน พระวินัย ๑ พระติสสเถระ ผู้มีปัญญาฉลาด ในวงศ์พระสัทธรรม ๑ พระจูฬเทวะ ผู้มี ปัญญา และเชี่ยวชาญในพระวินัย ๑ พระสีวเถระ ผู้มีปัญญาฉลาดในพระวินัยทั้งมวล ๑, พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย ฉลาดในมรรคา (คือฉลาดใน ทางสวรรค์และทางพระนิพพาน) ได้ ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ ในเกาะตัมพปัณณิ แล้ว ๓- . &01
111
เล่มที่ 1 หน้า 111
เรื่องส่งพระเถระไปประกาศพระศาสนาในต่างประเทศ ในการนำพระศาสนาสืบมาตามลำดับอาจารย์นั้น มีอนุบุพพีกถา ดังต่อไปนี้ :- ได้ยินว่า พระโมคคลีบุตรติสสเถระ ครั้นทำตติยสังคีตินี้แล้ว ได้ ดำริอย่างนี้ว่า ในอนาคต พระศาสนา จะพึงตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในประเทศไหน หนอแล ? ลำดับนั้น เมื่อท่านใคร่ครวญอยู่ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า พระศาสนา จักตั้งมั่นอยู่ด้วยดี ในปัจจันติมชนบททั้งหลาย. ท่านจึงมอบศาสนกิจนั้น ให้ เป็นภาระของภิกษุเหล่านั้น แล้วส่งภิกษุเหล่านั้น ๆ ไปในรัฐนั้น ๆ คือ ส่ง พระมัชฌินติกเถระไปยังรัฐกัสมีรคันธาระด้วยสั่งว่า ท่านไปยังรัฐนั่นแล้ว จง ประดิษฐานพระศาสนาในรัฐนั่น. ท่านได้สั่งพระมหาเทวเถระอย่างนั้นเหมือน กัน แล้วส่งไปยังมหิสกมณฑล ส่งพระรักขิตเถระไปยังวนวาสีชนบท ส่ง พระโยนกธรรมรักขิตเถระไปยังอปรันตกชนบท ส่งพระมหาธรรมรักขิตเถระ ไปยังมหารัฐชนบท ส่งพระมหารักขิตเถระไปยังโลกเป็นที่อยู่ของชนชาวโยนก ส่งพระมัชฌิมเถระไปยังชนบทอันเป็นส่วนหนึ่งแห่งหิมวันตประเทศ ส่ง พระโสณกเถระ ๑ พระอุตตรเถระ ๑ ไปยังสุวรรณภูมิชนบท ส่งพระมหินทเถระ ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของตน กับพระอิฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระ พระสัมพลเถระ พระภัททสาลเถระ ไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีป ด้วยสั่งว่า พวกท่านไปยัง เกาะตัมพปัณณิทวีปแล้ว จงประดิษฐานพระศาสนาในเกาะนั่น. พระเถระแม้ทั้งหมด เมื่อจะไปยังทิสาภาคนั้น ๆ ก็เข้าใจอยู่ว่า ในปัจจันติมชนบททั้งหลายต้องมี คณะปัญจวรรค จึงสมควรทำอุปสมบทกรรมได้ ดังนี้ จึงไปกันพวกละ ๕ รวมกับตน.
112 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 112
[พระมัชฌินติกเถระไปประกาศพระศาสนาที่กัสมีรคันธารรัฐ] ก็โดยสมัยนั้นแล ในแคว้นกัสมีรคันธาระ ในฤดูข้าวกล้าสุก มีพญานาค ชื่ออารวาฬ ได้บันดาลฝน ชื่อว่าฝนลูกเห็บให้ตกลงมา ทำข้าวกล้าให้ลอยไป ยังมหาสมุทร. พระมัชฌินติกเถระเหาะขึ้นไปสู่เวหาสจากนครปาตลีบุตร แล้ว ไปลงเบื้องบนสระอารวาฬที่ป่าหิมพานต์ จงกรมอยู่บ้าง ยืนอยู่บ้าง นั่งอยู่บ้าง สำเร็จการนอนอยู่บ้าง บนหลังสระอารวาฬ. นางนาคมาณวิกาทั้งหลายเห็น พระเถระนั้นแล้ว จึงบอกแก่พญานาคอารวาฬว่า ข้าแต่มหาราช ! มีสมณะโล้น รูปหนึ่ง ทรงแผ่นผ้าที่ตัดขาดด้วยศัสตรา นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ประทุษร้ายน้ำ ของพวกเรา. [พญานาคอารวาฬแผลงฤทธิ์ไล่พระเถระ] พญานาคฟังคำนั้นแล้ว ก็ถูกความโกรธครอบงำ ได้ออกไปพบ พระเถระในทันใดนั้นเอง เมื่ออดกลั้นความลบหลู่ไม่ได้ จึงได้นิรมิตรูปที่ น่าสะพรึงกลัวเป็นอันมาก บนอากาศกลางหาว. (คือบันดาลให้) พายุที่กล้าแข็ง พัดฟุ้งไปในที่นั้น ๆ. รุกขชาติทั้งหลาย ก็หักโค่นลง. เหล่ายอดบรรพตก็ พังทลาย, เมฆทั้งหลายก็คำรามลั่น, สายฟ้าทั้งหลายก็แลบแปลบ ๆ. อสนีบาต ก็ผ่าลงมา, อุทกวารีก็ไหลนอง เหมือนท้องฟ้าแตกฉะนั้น. เหล่าลูกนาคซึ่งมี รูปอันน่าสะพรึงกลัว ก็ประชุมกัน. ฝ่ายพญานาคเอง ก็บังหวนควัน ลุกโพลง ปล่อยฝนเครื่องประหารคุกคามพระเถระด้วยคำหยาบคายเป็นต้นว่า สมณะโล้น ผู้นี้ ทรงผ้าที่ตัดขาด (ด้วยศัตรา) คือใคร ? ได้บังคับหมู่พลนาคไปว่า พวกท่านจงมาจับฆ่า, ขับไสสมณะรูปนี้ออกไป.
113 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 113
[พระเถระทรมานพวกนาคให้คลายพยศแล้ว] พระเถระป้องกันกำลังพลนาคที่น่าสะพรึงกลัวทั้งหมด ด้วยกำลังฤทธิ์ ของตน พูดกะพญานาคว่า ดูก่อนพญานาค ! ถ้าโลกแม้ทั้ง เทวโลก จะพึงมายังเราให้ครั่นคร้ามได้ไซร้, ก็ไม่พึงมีผู้สามารถเพื่อจะบันดาลภัยที่น่ากลัว ให้เกิดแก่เราได้, ดูก่อนพญานาค ! แม้หาก ท่านจะยกแผ่นดินขึ้นทั้งหมด พร้อมทั้ง สมุทร ทั้งบรรพต แล้วพึงเหวี่ยงไปเบื้องบน ของเราได้ไซร้, ท่านก็ไม่พึงสามารถเพื่อจะ บันดาลภัยที่น่ากลัวให้เกิดแก่เราได้เลย, ดูก่อนพญาอุรคาธิบดี ! ท่านเท่านั้น จะพึงมี ความแค้นใจอย่างแน่แท้. ครั้นเมื่อพระเถระกล่าวอย่างนั้นแล้ว พญานาค ถูกพระเถระกำจัด อานุภาพแล้ว เป็นผู้มีความพยายามไร้ผล มีความทุกข์เศร้าใจซบเซาอยู่. พระเถระชี้แจงให้พญานาคนั้นเข้าใจ สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา อันสมควรแก่ขณะนั้นแล้ว ให้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์และเบญจศีล พร้อมด้วย นาคจำนวนแปดหมื่นสี่พัน. ยักษ์ คนธรรพ์ และกุมภัณฑ์ แม้เหล่าอื่นเป็น อันมาก ที่อยู่ป่าหิมพานต์ได้ฟังธรรมกถาของพระเถระแล้ว ก็ได้ตั้งอยู่ใน สรณะและศีล. แม้ปัญจยักษ์ พร้อมด้วยนางหาริดียักษิณี และบุตร ๕๐๐ ก็ได้ตั้งอยู่ในปฐมมรรค.
114 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 114
[พระเถระให้โอวาทพวกยักษ์และรากษสเป็นต้น] ลำดับนั้น ท่านพระมัชฌินติกเถระ เรียกพวกนาคและรากษสแม้ ทั้งหมดมาแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ว่า จำเดิมแต่บัดนี้เป็นต้นไป พวกท่าน อย่าให้ความโกรธเกิดขึ้นเหมือนในกาลก่อน เลย และอย่าทำลายข้าวกล้า (ให้เสียหาย) เพราะว่า สัตว์ทั้งหลาย ใคร่ต่อความสุข จงแผ่เมตตาไปในสัตว์ทั้งหลายว่า ขอมวลมนุษย์ จงอยู่เป็นสุขเถิด. นาคและยักษ์เป็นต้นเหล่านั้นทั้งหมด รับโอวาทของพระเถระว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ! ได้ปฏิบัติตามที่ท่านพร่ำสอนแล้ว. ก็ในวันนั้นแล เป็นสมัยทำ การบูชาพญานาค. เวลานั้น พญานาค สั่งให้นำรัตนบัลลังก์ของตน มาแต่งตั้ง ถวายพระเถระ. พระเถระ ก็นั่งบนบัลลังก์. ฝ่ายพญานาค ได้ยืนพัดพระเถระ อยู่ในที่ใกล้. ในขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายผู้อยู่ในแคว้นกัสมีรคันธาระมาเห็น พระเถระแล้ว ก็พูดกันว่า พระเถระมีฤทธิ์มากแม้กว่าพญานาคของพวกเรา แล้วได้นั่งลงไหว้พระเถระนั่นแล. พระเถระ ก็แสดงอาสิวิโสปมสูตร ๑- แก่ มนุษย์เหล่านั้น. ในเวลาจบพระสูตร สัตว์ประมาณแปดหมื่น ได้บรรลุ ธรรมาภิสมัย. แสนตระกูลออกบวชแล้ว, ก็แลจำเดิมแต่กาลนั้นมา แคว้น กัสมีรคันธาระ ก็รุ่งเรืองไปด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ อบอวลไปด้วยลมพวกฤษีจน ตราบเท่าทุกวันนี้. &01
115 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 115
ในกาลนั้น พระมัชฌินติกะ ผู้ฤษี ไปยังแคว้นกัสมีรคันธาระแล้ว ให้พญานาค ผู้ดุร้าย เลื่อมใสแล้ว ได้ปลดเปลื้องสัตว์ เป็นอันมาก ให้พ้นจากเครื่องผูกแล้วแล. [พระมหาเทวเถระไปประกาศพระศาสนาที่มหิสสกมณฑล] ฝ่ายพระมหาเทวเถระ ไปยังมหิสสกมณฑลแล้ว ก็แสดงเทวทูตสูตร ๑- . ในเวลาจบพระสูตร สัตว์ประมาณสี่หมื่น ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว. สัตว์ ประมาณสี่หมื่นนั่นแล ออกบวชแล้ว. พระมหาเทวเถระ ผู้มีฤทธิ์มาก ไป ยังมหิสสกรัฐแล้ว โอวาทตักเตือน ด้วย เทวทูตทั้งหลาย ได้ปลดเปลื้องสัตว์เป็น อันมาก ให้พ้นจากเครื่องผูกแล้วแล. [พระรักขิตเถระไปประกาศพระศาสนาที่แคว้นวนวาสี] ส่วนพระรักขิตเถระ ไปยังแคว้นวนวาสีชนบทแล้ว ยืนอยู่บนอากาศ ให้ชนชาววนวาสีชนบทเลื่อมใส ด้วยอนมตัคคปริยายกถา ๒- . ก็ในเวลาจบกถา ของพระเถระนั้น สัตว์ประมาณหกหมื่น ได้บรรลุธรรมแล้ว. ประชาชน ประมาณสามหมื่นเจ็ดพันบวชแล้ว. วิหาร ๕๐๐ หลัง ก็ประดิษฐานขึ้นแล้ว. พระเถระนั้น ได้ประดิษฐานพระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในแคว้นวนวาสีชนบท นั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้. &01
116 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 116
พระรักขิตเถระ ผู้มีฤทธิ์มาก ไปยัง วนวาสีชนบทแล้ว ได้ยืนอยู่บนอากาศ กลางหาว แล้วแสดงอนมตัคคิยกถา (แก่ มหาชน) ในวนวาสีชนบทนั้นแล. [พระโยนกธรรมรักขิตเถระไปประกาศพระศาสนาที่อปรันตกชนบท] ฝ่ายพระโยนกธรรมรักขิตเถระ ไปยังอปรันตกชนบทแล้ว ให้ชน ชาวอปรันตกชนบทเลื่อมใส ด้วยอัคคิขันธูปมสุตตันตกถา ๑- แล้ว ก็ให้สัตว์ ประมาณสามหมื่นเจ็ดพันดื่มอมตธรรม. บุรุษออกบรรพชา แต่ขัตติยตระกูล หนึ่งพันคน. และสตรีออกบรรพชาหกพันถ้วน. พระเถระนั้น ได้ประดิษฐาน พระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในอปรันตกชนบทนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้. พระโยนกธรรมรักขิตเถระ ย่างเข้า สู่อปรันตกชนบทแล้ว ก็ให้ชนเป็นอันมาก ในอปรันตกชนบทนั่นเลื่อมใสแล้ว ด้วย อัคคิขันธูปมสูตร ๒- แล. [พระมหาธรรมรักขิตเถระไปประกาศพระศาสนาที่มหารัฐ] ส่วนพระมหาธรรมรักขิตเถระ ไปยังมหารัฐชนบทแล้ว ให้ชน ชาวมหารัฐชนบทเลื่อมใส ด้วยมหานารถกัสสปชาดกกถา ๓- แล้ว ก็ให้สัตว์ประมาณ แปดหมื่นสี่พันตั้งอยู่ในมรรคและผล. ประชาชนจำนวนหนึ่งหมื่นสามพันคน บวชแล้ว. พระเถระนั้น ได้ประดิษฐานพระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในมหารัฐ ชนบทนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้. &01
117 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 117
พระมหาธรรมรักขิตเถระ ผู้ฤษีนั้น ไปยังมหารัฐชนบทแล้ว ก็แสดงชาดก ๑- ให้ มหาชนเลื่อมใสแล้ว. [พระมหารักขิตเถระไปประกาศพระศาสนาที่รัฐโยนก] ฝ่ายพระมหารักขิตเถระ ไปยังรัฐโยนกแล้ว ให้ชนชาวโลกโยนก เลื่อมใส ด้วยกาฬการามสุตตันตกถาแล้ว ได้ให้เครื่องอลังการคือมรรคและผล แก่สัตว์ประมาณหนึ่งแสนสามหมื่นเจ็ดพัน ก็ประชาชนประมาณหนึ่งหมื่น บวชแล้วในสำนักของพระเถระนั้น. แม้พระเถระนั้น ก็ได้ประดิษฐานพระศาสนา ให้ดำรงมั่นอยู่ในรัฐโยนกนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้. ในกาลนั้น พระมหารักขิตเถระ ผู้ฤษีนั้น ไปยังรัฐโยนกแล้ว ก็ให้ชน ชาวโยนกเหล่านั้นเลื่อมใส ด้วยกาฬการามสูตรแล. [พระมัชฌิมเถระไปประกาศพระศาสนาที่หิมวันตประเทศ] ส่วนพระมัชฌิมเถระ กับพระกัสสปโคตตรเถระ ๑ พระอฬกเทวเถระ ๑ พระทุนทุภิสสรเถระ ๑ พระสหัสสเทวเถระ ๑ ไปยังชนบทเป็นส่วน หิมวันตประเทศแล้ว ให้ชาวประเทศนั้นเลื่อมใส ด้วยธัมมจักกัปปวัตตนสุตตันตกถา ๒- แล้ว ให้สัตว์ประมาณแปดสิบโกฏิได้รัตนะคือมรรคและผลแล้ว. ก็พระเถระแม้ทั้ง ๕ รูปนั้น ได้ยังรัฐทั้ง ๔ ให้เลื่อมใสแล้ว. ประชาชนที่บวช ในสำนักของพระเถระแต่ละรูป มีประมาณแสนหนึ่ง. พระเถระทั้ง ๕ รูป &01
118 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 118
เหล่านั้น ได้ประดิษฐานพระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในหิมวันตประเทศนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้. พระมัชฌิมเถระ ไปยัง หิมวันตประเทศแล้วประกาศอยู่ ซึ่งธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ๑- ให้ยักษ์และเสนายักษ์เลื่อมใสแล้วแล. [พระโสณกะกับพระอุตตระไปประกาศพระศาสนาที่สุวรรณภูมิ] ฝ่ายพระโสณกเถระ กับพระอุตตรเถระได้ไปยังแคว้นสุวรรณภูมิ. ก็โดยสมัยนั้น ที่แคว้นสุวรรณภูมินั้น มีนางรากษสตน ๒- หนึ่ง ขึ้นมาจากสมุทร เคี้ยวกินพวกทารกที่เกิดในราชตระกูล. ในวันนั้นเอง มีเด็กคนหนึ่ง เกิดใน ราชตระกูล. มนุษย์ทั้งหลายเห็นพระเถระแล้ว สำคัญอยู่ว่า ผู้นี้จักเป็นสหาย ของพวกรากษส จึงพากันถือเอาอาวุธไปประสงค์จะประหารพระเถระ. พระเถระ พูดว่า พวกท่านถืออาวุธมาทำไมกัน ? มนุษย์เหล่านั้น พูดว่า พวกรากษส ย่อมเคี้ยวกินพวกเด็กที่เกิด แล้ว ๆ ในราชตระกูล, พวกท่านเป็นสหายของรากษสเหล่านั้น. พระเถระ พูดว่า พวกข้าพเจ้า หาได้เป็นสหายของรากษสไม่, พวกข้าพเจ้าชื่อว่า เป็นสมณะ งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป จากการ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ จากความประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ฉันหนเดียว มีศีล ประพฤติพรหมจรรย์มีกัลยาณธรรม. &01
119 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 119
[พระเถระทรมานพวกรากษสให้หนีไปแล้วป้องกันเกาะไว้] ก็ในขณะนั้นเอง นางรากษสตนหนึ่ง พร้อมด้วยบริวาร ขึ้นมาจาก สมุทรด้วยคิดว่า เด็กเกิดในราชตระกูล, พวกเราจักเคี้ยวกินเด็กนั้น. พวก มนุษย์เห็นนางรากษสตนนั้นแล้ว ก็กลัวร้องเสียงดังว่า นางรากษสนี้กำลังมา เจ้าข้า ! พระเถระนิรมิตอัตภาพมากหลายกว่าพวกรากษสเป็นสองเท่า ปิด ล้อมข้างทั้งสองด้วยอัตภาพเหล่านั้น กั้นนางรากษสนั้น พร้อมทั้งบริวารไว้ ตรงกลาง. นางรากษสตนนั้น พร้อมทั้งบริษัท ได้คิดดังนี้ว่า สถานที่นี้ จักเป็นของอันรากษสเหล่านี้ได้แล้วแน่นอน, ส่วนพวกเราก็จักเป็นภักษาของ รากษสเหล่านี้. พวกรากษสทั้งหมดได้รีบหนีไปแล้ว. ฝ่ายพระเถระ ขับไล่รากษสเหล่านั้นให้หนีไปแล้ว จนมองไม่เห็น จึงได้ตั้งอารักขาไว้โดยรอบเกาะ ๑-. อนึ่ง ท่านให้หมู่มหาชน ซึ่งประชุมพร้อม กันอยู่ในสมัยนั้นเลื่อมใส ด้วยพรหมชาลสุตตันตกถา ๒- ทั้งให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์ และศีลแล้ว. ก็ในสันนิบาตนี้ ประชาชนประมาณหกหมื่น ได้บรรลุธรรม แล้ว. พวกเด็กในตระกูลประมาณสามพันห้าร้อย บวชแล้ว. กุลธิดาประมาณ หนึ่งพันห้าร้อยนาง ก็บวชแล้ว. พระเถระนั้น ได้ประดิษฐานพระศาสนาให้ ดำรงมั่นอยู่ในแคว้นสุวรรณภูมินั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้. จำเดิมแต่นั้นมา &01
120 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 120
ชนชาวสุวรรณภูมิ ก็ได้ตั้งชื่อพวกเด็กที่เกิดในราชตระกูลว่า โสณุตตระ (โสณุดร) สืบมา. พระโสณะและพระอุตตระ ผู้มีฤทธิ์ มาก ไปยังแคว้นสุวรรณภูมิ แล้วขับไล่ปีศาจ ทั้งหลายให้หนีไป ได้แสดงพรหมชาลสูตร ๑- แล้ว แล. [พระมหินทเถระไปประกาศพระศาสนาที่เกาะลังกา] ส่วนพระมหินทเถระ ผู้อันพระอุปัชฌายะ และภิกษุสงฆ์เชื้อเชิญว่า ขอท่านจงไปประดิษฐานพระศาสนายังเกาะตัมพปัณณิทวีปเถิด ดังนี้ จึง ดำริว่า เป็นกาลที่เราจะไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีปหรือยังหนอ ? ครั้งนั้น เมื่อท่านใคร่ครวญอยู่ ก็ได้มีความเห็นว่า ยังไม่ใช่กาลที่ควรจะไปก่อน. ถามว่า ก็พระเถระนั้น ได้มีความเห็นดังนี้ เพราะเห็นเหตุการณ์ อะไร ? แก้ว่า เพราะเห็นว่า พระเจ้ามุฏสีวะ ทรงพระชราภาพมาก. [พระมหินทเถระเที่ยวเยี่ยมญาติจนกว่าจะถึงเวลาไปเกาะลังกา] ลำดับนั้น พระเถระดำริว่า พระราชาพระองค์นี้ ทรงพระชราภาพ มาก เราไม่อาจรับพระราชานี้ยกย่องเชิดชูพระศาสนาได้ ก็บัดนี้ พระราชโอรสของพระองค์ ทรงพระนามว่า เทวานัมปิยดิส จักเสวยราชย์ (ต่อไป) เราจักอาจรับพระราชานั้นจะยกย่องเชิดชูพระศาสนาได้ เอาเถิด เราจัก เยี่ยมพวกญาติเสียก่อน จนกว่าเวลานั้นจะมาถึง, บัดนี้ เราจะพึงได้กลับมายัง ชนบทนี้อีกหรือไม่. พระเถระนั้น ครั้นดำริอย่างนั้นแล้ว จึงไหว้พระอุปัชฌายะ &01
121 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 121
และภิกษุสงฆ์ออกไปจากวัดอโศการาม เที่ยวจาริกไปทางทักขิณาคิรีชนบท ซึ่ง เวียนรอบนครราชคฤห์ไปพร้อมกับพระเถระ ๔ รูป มีพระอิฏฏิยะเป็นต้นนั้น สุมนสามเณร ผู้เป็นโอรสของพระนางสังฆมิตตา และภัณฑกอุบาสกเยี่ยมพวก ญาติอยู่จนเวลาล่วงไปถึง ๖ เดือน. ครั้งนั้น พระเถระได้ไปถึงเมืองชื่อเวทิสนคร อันเป็นสถานที่ประทับของพระมารดาโดยลำดับ. [ประวัติย่อของพระมหินทเถระ] ได้ยินว่า พระเจ้าอโศกทรงได้ชนบท (ได้กินเมือง) ในเวลายังทรง พระเยาว์ เมื่อเสด็จไปกรุงอุชเชนี ผ่านเวทิสนคร ได้ทรงรับธิดาของ เวทิสเศรษฐี (เป็นอัครมเหสี). ในวันนั้นเอง พระนางก็ทรงครรภ์ แล้วได้ ประสูติมหินทกุมาร ที่กรุงอุชเชนี. ในเวลาที่พระกุมารมีพระชนม์ได้ ๑๔ พรรษา พระราชาทรงได้รับการอภิเษกขึ้น ครองราชย์. สมัยนั้น พระนาง ที่เป็นมารดาของมหินทกุมารนั้น ก็ประทับอยู่ที่ตำหนักของพระประยูรญาติ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า พระเถระได้ไปถึงเมืองชื่อเวทิสนคร อันเป็นสถานที่ประทับของพระมารดาโดยลำดับ. ก็แล พระเทวีผู้เป็นพระมารดาของพระเถระ ทอดพระเนตรเห็น พระเถระผู้มาถึงแล้ว ก็ทรงไหว้เท้าทั้งสองด้วยเศียรเกล้า แล้วถวายภิกษา ทรงมอบถวายวัดชื่อ เวทิสคิรีมหาวิหาร ที่ตนสร้างถวายพระเถระ. พระเถระ นั่งคิดอยู่ที่วิหารนั้นว่า กิจที่เราควรกระทำในที่นี้สำเร็จแล้ว, บัดนี้ เป็นเวลา ที่ควรจะไปยังเกาะลังกาหรือยังหนอแล. ลำดับนั้น ท่านดำริว่า ขอให้ พระราชกุมารพระนามว่า เทวานัมปิยดิส เสวยอภิเษก ที่พระชนกของเราทรง ส่งไปถวายเสียก่อน, ขอให้ได้สดับคุณพระรัตนตรัย และเสด็จออกไปจาก
122 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 122
พระนคร เสด็จขึ้นสู่มิสสกบรรพตมีมหรสพเป็นเครื่องหมาย, เวลานั้น เรา จักพบพระองค์ท่านในที่นั้น. พระเถระ ก็สำเร็จการพักอยู่ที่เวทิสคิรีมหาวิหาร นั้นและ สิ้นเดือนหนึ่งต่อไปอีก. ก็โดยล่วงไปเดือนหนึ่ง คณะสงฆ์และอุบาสกแม้ทั้งหมด ซึ่งประชุม กันอยู่ในวันอุโบสถ ในดิถีเพ็ญแห่งเดือนแปดต้น (คือวันเพ็ญเดือน ๗) ได้ ปรึกษากันว่า เป็นกาลสมควรที่พวกเราจะไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีปหรือยัง หนอ ? เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวว่า ในกาลนั้น ได้มีพระสังฆเถระ ชื่อมหินท์โดยนาม ๑ พระอิฏฏิยเถระ ๑ พระอุตติยเถระ ๑ พระภัทสาลเถระ ๑ พระสัมพล เถระ ๑ สุมนสามเณร ผู้ได้ฉฬภิญญา มี ฤทธิ์มาก ๑ ภัณฑกอุบาสก ผู้ได้เห็นสัจจะ เป็นที่ ๗ แห่งพระเถระเหล่านั้น ๑, ท่านมหานาคเหล่านั้นนั่นแล พักอยู่ในที่เงียบสงัด ได้ปรึกษากันแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล. [พระอินทร์ทรงเล่าเรื่องพุทธพยากรณ์ถวายให้พระมหินท์ทราบ] เวลานั้น ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งทวยเทพ เสด็จเข้าไปหาพระมหินทเถระ แล้วได้ตรัสคำนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระเจ้ามุฏสีวะ สวรรคต แล้ว, บัดนี้ พระเจ้าเทวานัมปิยดิสมหาราชเสวยราชย์แล้ว, และ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงพยากรณ์องค์ท่านไว้แล้วว่า ในอนาคต ภิกษุชื่อมหินท์ จักยังชาวเกาะตัมพปัณณิทวีปให้เลื่อมใส ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ !
123 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 123
เพราะเหตุดังนั้นแล เป็นกาลสมควรที่ท่านจะไปยังเกาะอันประเสริฐแล้ว แม้ กระผม ก็จักร่วมเป็นเพื่อนท่านด้วย. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท้าวสักกะจึงได้ตรัสอย่างนั้น ? แก้ว่า เพราะได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูโลกด้วย พุทธจักษุ ที่ควงแห่งโพธิพฤกษ์นั่นเอง ได้ทอดพระเนตรเห็นสมบัติแห่งเกาะ นี้ในอนาคต จึงได้ตรัสบอกความนั่นแก่ท้าวสักกะนั้น และทรงสั่งบังคับไว้ ด้วยว่า "ในเวลานั้น ถึงบพิตรก็ควรร่วมเป็นสหายด้วย" ดังนี้ ฉะนั้น ท้าวสักกะ จึงได้ตรัสอย่างนั้น. [พระมหินทเถระพร้อมกับคณะไปเกาะลังกา] พระเถระ รับคำของท้าวสักกะนั้นแล้ว เป็น ๗ คนทั้งตน เหาะขึ้น ไปสู่เวหาสจากเวทิสบรรพต แล้วดำรงอยู่บนมิสสกบรรพต ซึ่งชนทั้งหลายใน บัดนี้จำกันได้ว่า เจติยบรรพต บ้าง ทางทิศบูรพาแห่งอนุราชบุรี, เพราะ เหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงได้กล่าวไว้ว่า พระเถระทั้งหลายพักอยู่ที่เวทิสคิรีบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ สิ้น ๓๐ ราตรีได้ ดำริว่า เป็นกาลสมควร ที่จะไปยังเกาะอัน ประเสริฐ, พวกเราจะพากันไปสู่เกาะอัน อุดม ดังนี้ แล้วได้เหาะขึ้นไปจากชมพูทวีป ลอยไปในอากาศดุจพญาหงส์บินไปเหนือ ท้องฟ้าฉะนั้น, พระเถระทั้งหลายเหาะขึ้นไป แล้วอย่างนั้น ก็ลงที่ยอดเขาแล้ว ยืนอยู่บน ยอดบรรพต ซึ่งงามไปด้วยเมฆ อันตั้งอยู่ ข้างหน้าแห่งบุรีอันประเสริฐราวกะว่า หมู่หงส์จับอยู่บนยอดเขาฉะนั้น.
124 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 124
ก็ท่านพระมหินทเถระ ผู้มาร่วมกับพระเถระทั้งหลาย มีพระอิฏฏิยะ เป็นต้น ยืนอยู่อย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ได้ยืนอยู่แล้วในเกาะนี้ ในปีที่ ๒๓๖ พรรษา นับมาแต่ปีที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน. [ลำดับราชวงศ์ที่เสวยราชย์ในเกาะลังกาและชมพูทวีป] ความพิสดารว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานแล้ว ในปีที่ ๘ แห่ง (รัชกาล) พระเจ้าอชาตศัตรูราช (เสวยราชย์). ในปีนั้นนั่นเอง พระราชโอรสของพระเจ้าสีหกุมาร ผู้ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินต้นวงศ์แห่ง เกาะตัมพปัณณิทวีป ทรงพระนามว่า วิชัยกุมาร เสด็จมาสู่เกาะนี้แล้ว ได้ทรง ทำเกาะนี้ ให้เป็นที่อยู่ของมนุษย์. พระเจ้าวิชัยกุมาร (เสวยราชย์อยู่ในเกาะนี้ ๓๘ ปี) ๑- แล้ว สวรรคตที่เกาะนี้ ในปีที่ ๑๔ แห่ง (รัชกาล) พระเจ้าอุทัยภัทท์ ในชมพูทวีป. พระราชาทรงพระนามว่า บัณฑุวาสุเทพ ขึ้นครองราชย์ใน เกาะนี้ ในปีที่ ๑๕ แห่ง (รัชกาล) พระเจ้าอุทัยภัทท์ (ซึ่งเสวยราชย์อยู่ใน ชมพูทวีป). พระเจ้าบัณฑุวาสุเทพ ได้สวรรคตที่เกาะนี้ ในปีที่ ๒๑ แห่ง (รัชกาล) พระเจ้านาคทัสสกะ (ซึ่งเสวยราชย์อยู่) ในชมพูทวีปนั้น. พระราชกุมาร ทรงพระนามว่า อภัย ขึ้นครองราชย์ในเกาะนี้ ในปีนั้นนั่นเอง. พระเจ้าอภัย (เสวยราชย์อยู่) ในเกาะนี้ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ในปีที่ ๑๗ แห่ง (รัชกาล) พระเจ้าสุสูนาคะ (ซึ่งเสวยราชย์อยู่) ในชมพูทวีปนั้น คราวนั้น ทามริกา พระนามว่า ปกุณฑกาภัย ได้ยึดเอาราชสมบัติ ในปีที่ ๒๐ แห่ง (รัชกาล) พระเจ้าอภัย (ผู้ครองราชย์อยู่ในคราวนั้น). พระเจ้าปกุณฑกาภัย (ครองราชย์อยู่) ในเกาะนี้ ครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ในปีที่ ๑๖ แห่ง (รัชกาล) พระเจ้ากาฬาโศก (ซึ่งเสวยราชย์อยู่) ในชมพูทวีปนั้น. ๑๗ ปีเหล่านั้น &01
125 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 125
รวมกันอีก ๑ ปี ถัดมา จึงเป็น ๑๘ ปี พระเจ้าปกุณฑกาภัย ได้สวรรคตใน เกาะนี้ ในปีที่ ๑๔ แห่ง (รัชกาล). พระเจ้าจันทรคุต (ซึ่งเสวยราชย์อยู่) ในชมพูทวีปนั้น. (ต่อจากนั้น) พระเจ้ามุฏสีวะก็ขึ้นครองราชย์ (ในเกาะนี้) พระเจ้ามุฏสีวะได้สวรรคตในเกาะนี้ ในปีที่ ๑๗ แห่ง (รัชกาล) พระเจ้าอโศกธรรมราช (ซึ่งเสวยราชย์อยู่) ในชมพูทวีปนั้น. (ต่อจากนั้น) พระเจ้าเทวานัมปิยดิสก็ขึ้นครองราชย์ (ในเกาะนี้). อนึ่ง เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอชาตศัตรู เสวยราชย์ได้ ๒๔ ปี. ส่วนพระเจ้าอุทัยภัทท์ เสวยราชย์ได้ ๑๖ ปี. (ต่อจากนั้น) พระเจ้าอนุรุทธะและพระเจ้ามุณฑะ เสวยราชย์ได้ ๘ ปี. พระเจ้านาคทัสสกะ เสวยราชย์ได้ ๒๔ ปี. พระเจ้าสุสูนาคะ เสวยราชย์ได้ ๑๘ ปี. พระเจ้าอโศก ๑- พระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาคะนั้นนั่นแล เสวยราชย์ได้ ๑๘ ปี. พระราชาผู้เป็นพระเจ้าพี่น้องกัน ๑๐ พระองค์ ๒- ซึ่งเป็น พระราชโอรสของพระเจ้าอโศก ๑- เสวยราชย์ได้ ๒๒ ปี. ภายหลังแต่กาลแห่งพระราชา ผู้เป็นพระเจ้าพี่น้องกัน ๑๐ องค์นั้น มีพระราชา ๙ พระองค์ ๓- ทรงมีพระนาม ว่า นันทะ (ต่อสร้อยพระนามทุก ๆ พระองค์) เสวยราชย์ได้ ๒๒ ปีเท่านั้น พระเจ้าจันทรคุต เสวยราชย์ได้ ๒๔ ปี. พระเจ้าวินทุสาร เสวยราชย์ได้ ๒๘ ปี. &01
126 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 126
ในที่สุด (รัชกาล) แห่งพระเจ้าวินทุสารนั้น พระเจ้าอโศกก็ขึ้นครองราชย์. ในกาลก่อนแต่ทรงอภิเษก พระเจ้าอโศกนั้น ครองราชย์อยู่ ๔ ปี. ในปีที่ ๑๘ จากเวลาที่พระเจ้าอโศกทรงอภิเษกแล้ว พระมหินทเถระก็มายืนอยู่ที่เกาะนี้. คำนี้ว่า พระมหินทเถระมายืนอยู่ที่เกาะนี้ ในปีที่ ๒๓๖ พรรษา นับมาแต่ปีที่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบ ตามสายราชวงศ์ (ของพระราชาในชมพูทวีป) นั่น ดังพรรณนามา ฉะนี้. [พระเจ้าเทวานัมปิยดิสทรงพบพระมหินทเถระ] ก็ในวันนั้น ที่เกาะตัมพปัณณิทวีป มีงานนักษัตรฤกษ์ในเชษฐมาสต้น (คือเดือน ๗). พระราชาทรงรับสั่งให้โฆษณานักษัตรฤกษ์ แล้วทรงบังคับ พวกอำมาตย์ว่า พวกท่าน จงเล่นมหรสพเถิด ดังนี้ มีราชบุรุษจำนวนถึง สี่หมื่นเป็นบริวาร เสด็จออกไปจากพระนคร มีพระประสงค์จะทรงกีฬาล่าเนื้อ จึงเสด็จไปโดยทางที่มิสสกบรรพตตั้งอยู่. เวลานั้น มีเทวดาตนหนึ่ง ซึ่งสิงอยู่ ที่บรรพตนั้น คิดว่า เราจักแสดงพระเถระทั้งหลาย แก่พระราชา จึงแปลง เป็นตัวเนื้อละมั่งเที่ยวทำทีกินหญ้าและใบไม้อยู่ในที่ไม่ไกล (แต่พระเถระนั้น). พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นเนื้อละมั่งตัวนั้นแล้ว จึงทรงดำริว่า บัดนี้ ยังไม่สมควรจะยิงเนื้อ ตัวที่ยังเลินเล่ออยู่ จึงทรงดีดสายธนู. เนื้อเริ่มจะหา ทางหนี ๆ ไปทางที่กำหนดหมายด้วยต้นมะม่วง. พระราชาเสด็จติดตามไป ข้างหลัง ๆ แล้วเสด็จขึ้นสู่ทางที่กำหนดด้วยต้นมะม่วงนั่นเอง. ฝ่ายมฤค ก็หายตัว ไปในที่ไม่ไกลพระเถระทั้งหลาย. พระมหินทเถระเห็นพระราชากำลังเสด็จมา ในที่ไม่ไกล จึงอธิษฐานใจว่า ขอให้พระราชาทอดพระเนตรเห็นเฉพาะเรา เท่านั้น อย่าทอดพระเนตรเห็นพวกนอกนี้เลย จึงทูลทักว่า ติสสะ ติสสะ
127 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 127
ขอจงเสด็จมาทางนี้. พระราชาทรงสดับแล้ว เฉลียวพระหฤทัยว่า ขึ้นชื่อว่า ชนผู้ที่เกิดในเกาะนี้ซึ่งสามารถจะเรียกเราระบุชื่อว่า ติสสะ ไม่มี ก็สมณะ โล้นรูปนี้ทรงแผ่นผ้าขาดที่ตัด (ด้วยศัสตรา) นุ่งห่มผ้ากาสาวะ เรียกเราโดย เจาะชื่อ ผู้นี้คือใครหนอแล จักเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ? พระเถระจึงถวาย พระพรว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! อาตมภาพ ทั้งหลายชื่อว่าสมณะ เป็นสาวกของ พระธรรมราชามาที่เกาะนี้ จากชมพูทวีป ก็เพื่ออนุเคราะห์มหาบพิตรเท่านั้น. [ไม้ไผ่ ๓ ลำประมาณค่าไม่ได้เกิดแก่พระเจ้าเทวานัมปิยดิส] โดยสมัยนั้น พระเจ้าเทวานัมปิยดิสมหาราช และพระเจ้าอโศกธรรมราชา ทรงเป็นพระอทิฏฐสหายกัน (คือสหายที่ยังไม่เคยพบเห็นกัน). ก็ด้วย พระบุญญานุภาพ ของพระเจ้าเทวานัมปิยดิสมหาราช มีไม้ไผ่ ๓ ลำ มีประมาณ เท่าคันธงรถ เกิดขึ้นที่กอไม้ไผ่แห่งหนึ่ง ที่เชิงฉาตกบรรพต ลำหนึ่งชื่อ ลดายัฏฐิ ลำหนึ่งชื่อ บุปผยัฏฐิ ลำหนึ่งชื่อ สกุณยัฏฐิ. บรรดาไม้ไผ่ ๓ นั้น ลำที่ชื่อว่า ลดายัฏฐิ (คือลำไม้เถา) มีสีเหมือน เงินแท้ ลดาวัลย์ที่เกิดพันต้นไม้ไผ่นั้นก็ปรากฏมีสีเหมือนทอง. ส่วนในลำที่ ชื่อว่า บุปผยัฏฐิ (คือลำดอกไม้) ก็มีดอกซึ่งมีสีเขียว เหลือง แดง ขาว และดำ ปรากฏมีขั้ว ใบ และเกสรที่จำแนกไว้ดี. ส่วนในลำที่ชื่อว่า สกุณยัฏฐิ (คือลำสกุณชาติ) ก็มีหมู่สกุณาหลายหลากมีหงส์ ไก่ และนกโพระดก (นกระดก) เป็นต้น และมีสัตว์ ๔ เท้านานาชนิด ปรากฏเป็นเหมือนมีชีวิตอยู่. แม้สมจริง ดังที่พระอาจารย์ชาวสิงหล กล่าวไว้ในคัมภีร์ทีปวงศ์ว่า
128 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 128
ไม้ไผ่ ๓ ลำ ได้มีแล้วที่เชิงเขาชื่อ ฉาตกะ ลำที่เป็นเถา มีสีขาวและงามเหมือน สีทอง ปรากฏอยู่ที่ลำต้น ๑- สีเงิน, ดอกสีเขียว เป็นต้น มีอยู่เช่นใด, ดอกเช่นนั้น ก็ปรากฏ อยู่ในลำดอกไม้, สกุณชาติหลายหลาก ก็ จับกันอยู่ที่ลำสกุณชาติ โดยรูปของตน นั่นเอง. [รัตนะคือแก้ววิเศษ ๘ ชนิดเกิดแก่พระเจ้าเทวานัมปิยดิส] รัตนะ (คือแก้ว) มีหลายชนิด มีแก้วมุกดา แก้วมณี และ แก้วไพฑูรย์เป็นต้น เกิดขึ้นแม้จากสมุทร แก่พระเจ้าเทวานัมปิยดิสพระองค์นั้น ส่วนในเกาะตัมพปัณณิทวีป มีแก้วมุกดาเกิดขึ้น ๘ ชนิด คือ แก้วมุกดามี สัณฐานเหมือนรูปช้าง ๑ แก้วมุกดามีสัณฐานเป็นรูปรถ ๑ แก้วมุกดามีสัณฐาน เหมือนผลมะขามป้อม ๑ แก้วมุกดามีสัณฐานเหมือนกำไลมือ ๑ แก้วมุกดามี สัณฐานเหมือนวงแหวน ๑ แก้วมุกดามีสัณฐานเหมือนผลไม้กุ่ม ๑ แก้วมุกดา ปกติ ๑. ท้าวเธอได้ส่งลำไม้ไผ่ แก้วมุกดานั้น ๆ กับรัตนะมากมาย อย่างอื่น ไปถวาย เพื่อเป็นเครื่องบรรณาการ แด่พระเจ้าอโศกธรรมราช. [พระเจ้าอโศกส่งเบญจราชกกุธภัณฑ์ไปถวายพระเจ้าเทวานัมปิยดิส] พระเจ้าอโศกทรงเลื่อมใส แล้วทรงส่งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง ไปถวายแด่ท้าวเธอ คือ เศวตฉัตร ๑ แส้จามร (วาลวีชนี) ๑ พระขรรค์ ๑ รัตนะประดับพระเมาลี (คือ พระอุณหิส ติดพระมหาพิชัยมงกุฏ) ๑ ฉลอง &01
129 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 129
พระบาท ๑ และเครื่องบรรณาการอย่างอื่นหลายชนิด เพื่อประโยชน์แก่การ อภิเษก. คืออย่างไร. คือ สังข์ ๑ คังโคทกวารี (น้ำที่แม่น้ำคงคา หรือน้ำ ที่เกิดจากสระอโนดาต) ๑ วัฒนมานะ จุณสำหรับสรงสนาน ๑ วฏังสกะ (พระมาลากรองสำหรับประดับพระกรรณ หรือกรรเจียก เครื่องประดับหู) ๑ ภิงคาร พระเต้าทอง ๑ นันทิยาวฏะ ภาชนะทอง (ทำไว้เพื่อการมงคล มี สัณฐานเหมือนรูปกากบาท) ๑ สิวิกะ (วอหรือเสลี่ยง) ๑ กัญญา ขัตติยกุมารี ๑ อโธวิมทุสสยุคะ (คู่พระภูษาที่ไม่ต้องซัก) ๑ หัตถปุญฉนะ ผ้าสำหรับเช็ด พระหัตถ์ ๑ หริจันทนะ แก่นจันทน์แดง ๑ อรุณวัณณมัตติกะ ดินสีอรุณ ๑ อัญชนะ ๑- ยาหยอดพระเนตร ๑ หรีตกะ พระโอสถสมอ ๑ อามลกะ พระโอสถมะขามป้อม ๑ ฉะนี้แล. แม้คำนี้ก็สมจริงดังคำที่พระอาจารย์ชาวสิงหล กล่าวไว้ใน คัมภีร์ทีปวงศ์ว่า พระราชาทรงพระนามว่าอโศก ทรง ส่งเครื่องบรรณนาการ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะบุญกรรม (ของพระองค์) ไป (ถวายแด่ พระเจ้าเทวานัมปิยดิส) คือ พัดวาลวีชนี ๑ พระอุณหิส (พระมหาพิชัยมงกุฏ) ๑ เศวตฉัตร ๑ พระขรรค์ ๑ ฉลองพระบาท ๑ เวฐนะ ผ้าโพกพระเศียร ๑ สารปามังคะ สร้อยสังวาล ๑ ภิงคาร พระเต้าทอง ๑ นันทิวัฏฏกะ &01
130 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 130
ภาชนะทอง ๑ สิวิกะ (วอหรือเสลี่ยง) ๑ สังจะ (สังข์สำหรับรดน้ำในเวลาอภิเษก) ๑ วฏังสกะ (พระมาลากรองสำหรับประดับ พระกรรณ หรือกรรเจียกเครื่องประดับหู) ๑ อโธวิมวัตถโกฏิกะ พระภูษาคู่หนึ่งที่ไม่ต้อง ซักฟอก ๑ โสวัณณปาตีถาดทอง ๑ กฏัจฉุ ทัพพี ๑ มหัคฆหัตถปุญฉนะ ผ้าสำหรับเช็ด พระหัตถ์ที่มีค่ามาก ๑ อโนตัตโตทกกาชะ หาบน้ำสระอโนดาต ๑ อุตตมหริจันทนะ แก่นจันทน์แดงที่ดีเลิศ ๑ อรุณวัณณมัตติกะ ดินสีอรุณ ๑ อัญชนะยาหยอดพระเนตรที่นาค นำมาถวาย ๑ หรีตกะพระโอสถสมอ ๑ อามลกะ พระโอสถมะขามป้อม ๑ มหัคฆอมโตสถะ พระโอสถแก้โรคที่มีค่ามาก ๑ ข้าวสาลีมีกลิ่นหอม ๖,๐๐๐ เกวียนที่นกแขกเต้า นำมาถวาย ๑. ก็พระเจ้าอโศก ทรงส่งเครื่องบรรณาการ ที่เป็นอามิสนั้นไปถวาย อย่างเดียวหามิได้ ได้ยินว่า ยังได้ส่งแม้ธรรมบรรณาการนี้ไปถวายอีก ดังนี้คือ หม่อมฉัน ได้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะที่พึ่งแล้ว ได้แสดงตนเป็นอุบาสก ในพระศาสนาแห่ง ศากยบุตร, ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่า
131 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 131
นรชน ! ถึงพระองค์ท่าน ก็จงยังจิตให้ เลื่อมใสในอุดมวัตถุทั้ง ๓ เหล่านี้เถิด ขอให้ ทรงเข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ นั้นว่าเป็นสรณะที่พึ่ง ด้วยพระศรัทธาเถิด. ในวันนั้น พระราชาพระองค์นั้น ทรงรับมุรธาภิเษก ๑ เดือนด้วย เครื่องอุปกรณ์การอภิเษก ที่พระเจ้าอโศกทรงส่งไปถวาย. จริงอยู่ เหล่า เสนามาตย์ได้ทำการอภิเษกถวายแด่ท้าวเธอ ในวันดิถีวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (คือวันเพ็ญเดือน ๖). ท้าวเธอพระองค์นั้น เมื่อทรงอนุสรณ์ถึงศาสนประวัตินั้น ที่พระองค์ ได้ทรงสดับมาไม่นาน ครั้นได้ทรงสดับคำนั้น ของพระเถระว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! อาตมภาพทั้งหลาย ชื่อว่าสมณะเป็นสาวก ของพระธรรมราชา ดังนี้ เป็นต้นแล้วทรงดำริว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย มาแล้วหนอแล จึง ทรงทิ้งอาวุธในทันใดนั้นเอง แล้วประทับนั่งสนทนาสัมโมทนียกถาอยู่ ณ ส่วน ข้างหนึ่ง. เหมือนดังที่พระโบราณาจารย์ กล่าวไว้ว่า พระราชาทรงทิ้งอาวุธแล้ว เสด็จประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นประทับนั่ง แล้ว ได้ตรัสพระดำรัสประกอบด้วย ประโยชน์ เป็นอันมากร่าเริงอยู่. ก็เมื่อท้าวเธอพระองค์นั้น ทรงสนทนาสัมโมทนียกถาอยู่นั่นแล ข้าราชบริพารจำนวนสี่หมื่นเหล่านั้น ก็พากันมาแวดล้อมพระองค์แล้ว.
132 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 132
[พระเถระแสดงให้พระราชาทอดพระเนตรเห็นจริงอีก ๖ คน] คราวนั้น พระเถระ ก็แสดงชน ๖ คนแม้นอกนี้. พระราชาทอด พระเนตรเห็น (ชนทั้ง ๖ นั้น) แล้ว จึงทรงรับสั่ง (ถาม) ว่า คนเหล่านี้ มาเมื่อไร ? พระเถระ. มาพร้อมกับอาตมภาพนั่นแล มหาบพิตร ! พระราชา. ก็บัดนี้ สมณะแม้เหล่าอื่น ผู้เห็นปานนี้ มีอยู่ในชมพูทวีป บ้างหรือ ? พระเถระ. มีอยู่ มหาบพิตร ! บัดนี้ ชมพูทวีป รุ่งเรืองไปด้วย ผ้ากาสาวพัสตร์ สะบัดอบอวลไปด้วยลมฤษี, ในชมพูทวีปนั้น มีพระอรหันต์พุทธสาวกเป็นอันมาก ซึ่งเป็นผู้มีวิชชา ๓ และได้บรรลุฤทธิ์ เชี่ยวชาญทางเจโตปริยญาณ สิ้นอาสวะแล้ว. พระราชา. ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระคุณเจ้าทั้งหลาย พากัน มาโดยทางไหน ? พระเถระ. มหาบพิตร ! อาตมภาพทั้งหลายไม่ได้มาทางน้ำและทาง บกเลย. พระราชา. ก็ทรงเข้าพระทัยได้ดีว่า พระคุณเจ้าเหล่านี้มาทางอากาศ. [พระเถระถามปัญหาเพื่อหยั่งทราบพระปัญญาของพระราชา] พระเถระ. เพื่อจะทดลองดูว่า พระราชา จะทรงมีความเฉียบแหลม ด้วยพระปรีชาหรือหนอแล ? จึงทูลถามปัญหาปรารภต้นมะม่วง ซึ่งอยู่ใกล้ว่า มหาบพิตร ต้นไม้นี้ชื่ออะไร ?
133 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 133
พระราชา. ชื่อต้นมะม่วง ท่านผู้เจริญ ! พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! ก็นอกจากต้นมะม่วงนี้แล้ว มะม่วงต้นอื่น มีอยู่หรือไม่ ? พระราชา. มีอยู่ ท่านผู้เจริญ ! ต้นมะม่วงแม้เหล่าอื่นมีอยู่มากหลาย. พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! ยกเว้นมะม่วงต้นนี้ และ มะม่วงเหล่าอื่นเสียแล้ว ต้นไม้ชนิดอื่น มีอยู่หรือหนอแล ? พระราชา. มีอยู่ ท่านผู้เจริญ ! แต่ต้นไม้เหล่านั้น มิใช่ต้นมะม่วง. พระเถระ. ยกเว้นต้นมะม่วง และมิใช่ต้นมะม่วงเหล่าอื่นเสีย ก็ต้นไม้ ชนิดอื่น มีอยู่หรือ ? พระราชา. มี คือ มะม่วงต้นนี้แหละ ท่านผู้เจริญ. ! พระเถระ. ดีละ มหาบพิตร ! พระองค์ทรงเป็นบัณฑิต, ก็ พระประยูรญาติของพระองค์ มีอยู่หรือ ? มหาบพิตร พระราชา. ชนผู้เป็นญาติของข้าพเจ้า มีอยู่มากหลาย ท่านผู้เจริญ ! พระเถระ. ยกเว้นชนผู้เป็นพระประยูรญาติ ของพระองค์เหล่านี้เสีย แล้ว ชนบางพวกเหล่าอื่น แม้ผู้ที่มิใช่พระประยูรญาติมีอยู่หรือ ? มหาบพิตร ! พระราชา. ชนผู้ที่มิใช่ญาติ มีมากกว่าผู้ที่เป็นญาติ ท่านผู้เจริญ ! พระเถระ. ยกเว้นผู้ที่เป็นพระประยูรญาติของพระองค์ และผู้ที่มิใช่ พระประยูรญาติเสียแล้ว ใคร ๆ คนอื่น มีอยู่หรือ ? ขอถวายพระพร; พระราชา. มี คือ ข้าพเจ้าเอง ท่านผู้เจริญ ! พระเถระ. ดีละ มหาบพิตร ! ขึ้นชื่อว่าตน ไม่จัดว่าเป็นญาติของตน ทั้งจะไม่ใช่ญาติ (ของตน) ก็หามิได้.
134 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 134
[พระราชาพร้อมด้วยข้าราชบริพารดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์] ลำดับนั้น พระเถระคิดว่า พระราชาเป็นบัณฑิต จักทรงสามารถรู้ ธรรมได้ ดังนี้แล้วจึงแสดงจูฬหัตถิปโทปมสูตร ๑-. ในเวลาจบกถา พระราชา พร้อมด้วยข้าราชบริพารประมาณสี่หมื่น ดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์แล้ว. ก็ในขณะนั้นนั่นเอง พนักงานห้องเครื่อง ก็นำพระกระยาหารมา ทูลถวายแด่พระราชา. ส่วนพระราชากำลังทรงสดับพระสูตรอยู่ ได้ทรงเข้า พระหฤทัยดีแล้วอย่างนี้ว่า สมณศากยบุตรเหล่านี้ ไม่ควรจะฉันในเวลานี้. แต่ท้าวเธอ ทรงดำริว่า ก็การที่เราไม่ถามแล้วบริโภคไม่ควร ดังนี้แล้ว จึง ตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านจักฉันหรือ ? พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! พวกอาตมภาพ ไม่ควรฉัน ในเวลานี้. พระราชา. ควรฉันในเวลาไหนเล่า ? ท่านผู้เจริญ ! พระเถระ. ควรฉันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นไป จนถึงเวลาเที่ยงวัน ขอถวายพระพร ! พระราชา. พวกเราไปสู่พระนครกันเถิด ท่านผู้เจริญ ! พระเถระ. อย่าเลย มหาบพิตร ! พวกอาตมภาพจักพักอยู่ในที่ นี้แหละ. พระราชา. ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ถ้าพวกพระคุณเจ้า จะพักอยู่ (ในที่นี้) ไซร้, ขอเด็กคนนี้ จงมาไปกับข้าพเจ้า. พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! เด็กคนนี้บรรลุผลแล้ว รู้แจ้งพระศาสนาแล้ว เป็นปัพพัชชาเปกขะ (คือผู้มุ่งจะบรรพชา) จักบรรพชา ในบัดนี้. &01
135 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 135
พระราชา ทรงรับสั่งว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นพรุ่งนี้ ข้าพเจ้าจักส่งรถมา (รับพวกพระคุณเจ้า), ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย พึงขึ้นรถ นั้นมาเถิด ดังนี้ ถวายบังคมแล้ว ก็เสด็จหลีกไป. [สุมนสามเณรประกาศโฆษณาเวลาฟังธรรมทั่วเกาะลังกา] พระเถระ เมื่อพระราชาเสด็จหลีกไปไม่นานนัก จึงเรียกสุมนสามเณร มาสั่งว่า สุมนะ เธอจงไปโฆษณาเวลาฟังธรรมเถิด. สุมนสามเณรเรียนถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! กระผมจะโฆษณาให้ ได้ยินตลอดที่มีประมาณเท่าไร ? พระเถระสั่งว่า จงโฆษณาให้ได้ยินทั่วเกาะตัมพปัณณิทวีปเถิด. สามเณรรับเถรบัญชาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ดีละ แล้วก็เข้าจตุตถฌาน มีอภิญญาเป็นบาท ออก (จากฌาน) แล้วอธิษฐานมีจิตตั้งมั่น โฆษณาเวลา ฟังธรรมให้ได้ยินทั่วเกาะตัมพปัณณิทวีปตลอด ๓ ครั้งแล้ว. พระราชา ทรงสดับเสียงนั้นแล้ว จึงทรงส่งข่าวไปยังสำนักของ พระเถระทั้งหลายว่า มีอุปัทวะอะไร ๆ หรือ ? ท่านผู้เจริญ ! พระเถระทูลว่า อาตมภาพทั้งหลาย ไม่มีอุปัทวะอะไร อาตมภาพ ทั้งหลาย ได้ให้สามเณรโฆษณาเวลาฟังธรรม, อาตมภาพทั้งหลาย มีความ ประสงค์จะแสดงพระพุทธพจน์ (เท่านั้น). [เสียงโฆษณาเวลาฟังธรรมกระฉ่อนไปถึงชั้นพรหมโลก] ก็แล เหล่าภุมมเทวดา ได้ฟังเสียงของสามเณรนั้นแล้ว ก็ได้ประกาศ เสียงให้บันลือลั่นแล้ว เสียงได้กระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลกด้วยอุบายนั้น เพราะเสียงนั้น ได้มีเทวดามาสันนิบาตกันอย่างมากมาย. พระเถระเห็นเทวดา
136 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 136
มาสันนิบาตกันอย่างมากมาย จึงแสดงสมจิตตสูตร. ในเวลาจบกถา เหล่า เทวดาประมาณอสงไขยหนึ่ง ได้บรรลุธรรมแล้ว. นาคและสุบรรณมากหลาย ก็ได้ตั้งอยู่ในสรณคมน์แล้ว. ก็เมื่อพระสารีบุตรเถระ แสดงพระสูตรนี้อยู่ การสันนิบาตของเหล่าทวยเทพได้มีแล้วเช่นใด, เทวดาสันนิบาตเช่นนั้น ก็ได้ เกิดแล้วแม้เมื่อพระมหินทเถระ (แสดงพระสูตรนี้). [พระปฐมเจดีย์เมืองอนุราชบุรี] ครั้งนั้น โดยล่วงไปแห่งราตรีนั้น พระราชา ก็ทรงส่งรถไปเพื่อ (รับ) พระเถระทั้งหลาย. นายสารถี พักรถไว้ ณ ที่ข้างหนึ่งแล้วเรียนบอก แก่พระเถระทั้งหลายว่า รถมาแล้ว ขอรับ ! โปรดขึ้นรถเถิด, พวกเราจะ ไปกัน. พระเถระทั้งหลายพูดว่า พวกเราจะไม่ขึ้นรถ, ท่านจงไปเถิด พวกเรา จักไปภายหลัง ดังนี้แล้ว ได้เหาะขึ้นสู่เวหาส แล้วไปลง ณ ปฐมเจดีย์สถาน ในด้านทิศบูรพา แห่งเมืองอนุราชบุรี. จริงอยู่ พระเจดีย์นั้น ชาวโลกเรียกว่า พระปฐมเจดีย์ เพราะเป็นเจดีย์ที่ประชาชนสร้างไว้ ในสถานที่พระเถระทั้งหลาย ลงครั้งแรกนั่นแล. [พระราชาทรงรับสั่งให้เตรียมการต้อนรับพระเถระ] ฝ่ายพระราชา ครั้นส่งนายสารถีไปแล้ว จึงทรงบังคับพวกอำมาตย์ว่า ขอให้พากันตกแต่งมณฑปภายในพระราชนิเวศน์เถิด. ในทันใดนั้นเอง อำมาตย์ ทั้งปวง ก็ยินดีร่าเริง ตกแต่งมณฑปเป็นที่น่าเลื่อมใสยิ่งนัก. พระราชาทรง ดำริอีกว่า วันวานนี้ พระเถระเมื่อแสดงหมวดศีลอยู่ ก็กล่าวว่า ที่นอนสูง และที่นอนใหญ่ ย่อมไม่ควร (แก่พวกภิกษุ) ดังนี้, พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย
137 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 137
จักนั่งบนอาสนะทั้งหลาย หรือจักไม่นั่งหนอ เมื่อท้าวเธอ ทรงดำริอยู่อย่างนั้น นั่นแล นายสารถีนั้น ก็มาถึงประตูพระนคร (พอดี). เวลานั้นนายสารถีได้ เห็นพระเถระทั้งหลาย มารัดประคดเอว ห่มจีวรอยู่ก่อนแล้ว. ครั้นเธอเห็น แล้ว ก็เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสยิ่งนัก แล้วกลับมาทูลแด่พระราชาว่า ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ! พระเถระทั้งหลายมาถึงแล้ว. พระราชา ตรัสถามว่า พระเถระทั้งหลาย ขึ้นรถมาหรือ ? ๑- นายสารถีกราบทูลว่า ไม่ขึ้น พระเจ้าข้า ! อีกอย่างหนึ่ง พระเถระ ทั้งหลายออกทีหลังข้าพระพุทธเจ้า มาถึงก่อนได้ยืนอยู่ที่ประตูด้านทิศปราจีน. พระราชาทรงสดับว่า พระเถระทั้งหลายไม่ขึ้นแม้ซึ่งรถ จึงทรงพระดำริว่า บัดนี้ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จักไม่ยินดีอาสนะสูง แล้วตรัสสั่งว่า แน่ะพนาย ! ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงปูอาสนะ โดยอาการเพียงลาดพื้น เพื่อพระเถระ ทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ได้เสด็จสวนทางไป. พวกอำมาตย์ปูเสื่ออ่อนบนพื้นแล้ว ปูเครื่องลาดอันวิจิตมีผ้าโกเชาว์เป็นต้น (พรม) ข้างบน. พวกโหรผู้ทำนายนิมิต เห็น (เหตุการณ์นั้น) แล้ว พากันพยากรณ์ว่า แผ่นดินนี้ถูกพระเถระเหล่านี้ ยึดแล้วในบัดนี้, ท่านเหล่านี้ จักเป็นเจ้าของแห่งเกาะตัมพปัณณิทวีป. ฝ่าย พระราชาได้เสด็จมาถวายบังคมพระเถระทั้งหลายแล้ว ทรงรับเอาบาตรจาก หัตถ์ของพระมหินทเถระ แล้วนิมนต์เหล่าพระเถระให้เข้าไปในเมือง ด้วยการ บูชาและสักการะใหญ่ ให้เข้าไปสู่ภายในพระราชนิเวศน์. พระเถระเห็นการให้ ปูอาสนะแล้ว นั่งพลางคิดไปว่า ศาสนาของเราจักแผ่ไปทั่วลังกาทวีป และ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดุจแผ่นดิน. พระราชาทรงเลี้ยงดูพระเถระทั้งหลายให้อิ่มหนำ ด้วยขาทนียโภชนียะ อันประณีต ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เสร็จเรียบร้อย &01
138 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 138
แล้ว ได้รับสั่งให้เรียกสตรี ๕๐๐ คน มีพระนางอนุฬาเทวีเป็นประมุขมา ด้วยพระดำรัสว่า พวกแม่จงกระทำการอภิวาทและบูชาสักการะพระเถระ ทั้งหลายเถิด ดังนี้ แล้วให้เสด็จประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. [พระเถระแสดงธรรมโปรดพระราชาและชาวเกาะ] ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระเถระ เมื่อจะให้ฝนรัตนะคือพระธรรมตกแก่ พระราชาพร้อมทั้งชนบริวาร จึงได้แสดงเปตวัตถุ วิมานวัตถุ และสัจจสังยุต. สตรีทั้ง ๕๐๐ เหล่านั้น ฟังธรรมเทศนานั้น ของพระเถระ ได้กระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล. แม้เหล่ามนุษย์ที่ได้พบเห็นพระเถระบนเขามิสสกบรรพตใน วันก่อน ก็พากันกล่าวสรรเสริญคุณของพระเถระในที่นั้น ๆ. พวกมหาชนฟัง (จากสำนัก) ของชนเหล่านั้น ได้ประชุมกันส่งเสียงเอ็ดอึงที่พระลานหลวง. พระราชาตรัสถามว่า นั่งเสียงอะไรกัน. ทวยนครกราบทูลว่า พวกมหาชน ร้องว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ! พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้เห็นพระเถระ พระราชาทรงพระดำริว่า ถ้าพวกมหาชนจักเข้ามาในที่นี้ไซร้ โอกาสจักไม่มี จึงตรัสว่า แน่ะพนาย ! พวกเธอจงไปชำระโรงช้าง เกลี่ยทราย โปรยดอกไม้ ๕ สี ผูกเพดานผ้าแล้วปูลาดอาสนะ เพื่อพระเถระทั้งหลายบนที่ของช้างมงคล. พวกราชอำมาตย์ได้กระทำอย่างนั้นแล้ว. พระเถระได้ไปนั่งแสดงเทวทูตสูตร ในที่นั้น. ในเวลาจบกถา คนประมาณหนึ่งพัน ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. ในเวลานั้น ชนทั้งหลายคิดว่า โรงช้างแคบเกินไปเสียแล้ว จึงตกแต่งอาสนะ ที่อุทยานนันทวันใกล้ประตูด้านทิศทักษิณ. พระเถระ (ไป) นั่งแสดงอาสิวิโสปมสูตร ในอุทยานนันทวันนั้น. เพราะฟังอาสิวิโสปมสูตรแม้นั้น คนประมาณ พันหนึ่ง ได้โสดาปัตติผล. ในวันที่สองแต่วันที่พระเถระมาแล้ว ธรรมาภิสมัย (การตรัสรู้ธรรม การบรรลุธรรม) ได้มีแก่คนประมาณ ๒,๕๐๐ คน
139 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 139
[พระราชาถวายอุทยานสร้างวัด] เมื่อพระเถระสัมโมทนาอยู่กับพวกกุลสตรี กุลสุณหา กุลกุมารี ผู้มาแล้วและมาแล้ว ในอุทยานนันทวันนั่นแล เวลาก็ตกเย็น. พระเถระ สังเกตเวลาแล้วลุกขึ้นพลางพูดว่า ได้เวลา พวกเราจะไปยังเขามิสสกบรรพต. พวกอำมาตย์เรียนถามว่า พวกท่านจะไปไหนกันขอรับ ? พระเถระกล่าวว่า จะไปยังที่พักของพวกเรา. อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ แล้วกราบเรียนตามพระบรมราชานุมัติว่า ท่านผู้เจริญ ! เวลานี้ ไม่ใช่เวลาที่ จะไปในที่นั้น อุทยานนันทวันนี้แหละ จงเป็นที่พักของพระผู้เป็นเจ้า. พระเถระ กล่าวว่า อย่าเลย พวกอาตมาจะไป. พวกอำมาตย์กราบเรียนตามพระราชดำรัส อีกว่า ท่านขอรับ ! พระราชาตรัสว่า อุทยานชื่อเมฆวันนี้ เป็นของพระชนกเรา อยู่ไม่ไกลไม่ใกล้นัก จากพระนครสมบูรณ์ด้วยทางไปมา ขอพระเถระเจ้าทั้งหลาย โปรดสำเร็จการอยู่ในอุทยานเมฆวันนี้. พระเถระทั้งหลาย จึงพักอยู่ที่ อุทยานเมฆวัน. ฝ่ายพระราชาแล ได้เสด็จไปยังสำนักของพระเถระ ต่อเมื่อราตรีนั้น ล่วงไป ได้ตรัสถามถึงการจำวัดสบายแล้ว ตรัสถามต่อไปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อารามนี้ สมควรแก่พระภิกษุสงฆ์หรือ ? พระเถระถวายพระพรว่า สมควร มหาบพิตร ! แล้วจึงนำพระสูตรนี้มาว่า อนุชามานิ ภิกฺขเว อารามํ ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตอาราม ดังนี้เป็นต้น. พระราชาทรงพอพระทัย ทรงจับพระสุวรรณภิงคาร (พระเต้าทอง) ให้น้ำตกไปที่มือของพระเถระ ได้ ถวายอุทยานมหาเมฆวัน พร้อมกับน้ำตก แผ่นดินก็หวั่นไหว. นี่ เป็นการ ไหวแห่งแผ่นดินคราวแรกในมหาวิหาร. พระราชาทรงตกพระทัยกลัว จึงตรัส ถามพระเถระว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! เพราะเหตุไร แผ่นดินจึงไหว. พระเถระทูลถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! อย่าตกพระทัยเลย ศาสนาของ
140 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 140
พระทศพลจักตั้งมั่นในเกาะนี้ และที่นี้จักเป็นที่ตั้งมหาวิหารแห่งแรก แผ่นดิน ไหวนั่นเป็นบุรพนิมิตแห่งการประดิษฐานพระศาสนา และที่จะสร้างวิหารนั้น พระราชาทรงเลื่อมใสเหลือประมาณยิ่ง. [พระเถระแสดงธรรมโปรดชาวเกาะติดต่อกันไป] แม้ในวันรุ่งขึ้น พระเถระฉันที่พระราชมณเฑียรตามเคยแล้วแสดง อนมตัคคิยสูตร ในอุทยานนันทวัน. วันรุ่งขึ้นแสดงอัคคิขันโธปมสูตร ท่าน แสดงโดยอุบายนี้นั่นแล ตลอด ๗ วัน. ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์ประมาณ ๘,๕๐๐. ตั้งแต่นั้นมา อุทยานนันทวัน ก็ได้ชื่อว่า โชติวัน เพราะอธิบายว่า เป็นสถานที่พระศาสนาปรากฏความรุ่งเรืองขึ้น. ส่วนในวันที่ ๗ พระเถระแสดง อัปปมาทสูตร โปรดพระราชาในภายในพระราชวังแล้ว ก็เลยไปยังเจติยคิรีบรรพต ทีเดียว. ครั้งนั้นแล พระราชาตรัสถามพวกอำมาตย์ว่า พระเถระสั่งสอน พวกเรา ด้วยโอวาทหนักแล้ว พึงไปเสียหรือหนอ ? พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ! พระเถระพระองค์มิได้นิมนต์มา มาเองแท้ ๆ เพราะฉะนั้น แม้การไม่ทูลลาพระองค์เลยไปเสีย ก็พึงเป็นได้. [พระราชาทรงรถติดตามพระเถระไป] ลำดับนั้น พระราชาเสด็จขึ้นทรงรถและทรงประคองพระเทวีทั้งสอง ให้ขึ้นแล้วได้เสด็จไปยังเจติยคิรีบรรพต ด้วยราชานุภาพใหญ่. ท้าวเธอครั้น เสด็จไปแล้ว ให้พระเทวีทั้งสองพักอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระองค์เองเสด็จ เข้าไปยังสำนักของพระเถระทั้งหลาย มีพระวรกายบอบช้ำเหลือเกินเสด็จเข้าไป. ในเวลานั้นพระเถระทูลท้าวเธอว่า มหาบพิตร เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรง ลำบากพระวรกายเสด็จมาอย่างนี้. พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้ามา
141 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 141
เพื่อทราบว่า พวกท่านให้โอวาทอย่างหนักแก่ข้าพเจ้าแล้ว ประสงค์จะไปใน บัดนี้หรือหนอ ? พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ! พวกอาตมภาพ มิใช่ต้องการ จะไปแต่เวลานี้ ชื่อว่าวัสสูปนายิกกาล (กาลเข้าพรรษา) มหาบพิตร ! ใน วัสสูปนายิกกาลนั้น สมณะได้ที่จำพรรษา จึงจะสมควร. [อริฏฐอำมาตย์ขอพระบรมราชานุญาตบวช] ในวันนั้นนั่นเอง อำมาตย์ชื่ออริฏฐะกับพี่ชายและน้องชายรวม ๕๕ คน ยืนอยู่ในที่ใกล้พระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ! ข้าพระพุทธเจ้าอยากบวชในสำนักของพระเถระ. พระราชาตรัสว่า ดีละ พนาย ! จงบวชเถิด. พระราชาครั้นทรงอนุญาตแล้ว ได้มอบถวายให้พระเถระ. พระเถระ ก็ให้เขาบวชในวันนั้นนั่นเอง. ทั้งหมดได้บรรลุพระอรหัต ในเวลา ปลงผมเสร็จเหมือนกัน. ฝ่ายพระราชาแล ทรงเอาหนามสะล้อมลานพระเจดีย์ ในขณะนั้นนั่นเอง แล้วทรงเริ่มตั้งการงานไว้ที่ถ้ำ ๖๘ ถ้ำ ได้เสด็จกลับสู่ พระนครตามเดิม. พระเถระแม้เหล่านั้น ยังราชตระกูลประกอบด้วยเจ้าพี่และ เจ้าน้อง ๑๐ องค์ ให้เลื่อมใสแล้ว อยู่จำพรรษาที่เจติยคิรีบรรพตสั่งสอนมหาชน แม้ในเวลานั้นได้มีพระอรหันต์ ๖๒ รูป เข้าจำพรรษาแรกในเจติยคิรีบรรพต. [พระเถระแนะให้หาสิ่งที่ควรกราบไหว้บูชา] ครั้งนั้น ท่านพระมหาหินท์ อยู่จำพรรษาปวารณาแล้ว ได้ทูลคำนี้ กับพระราชา ในวันอุโบสถ เดือนกัตติกาเพ็ญว่า มหาบพิตร ! พวกอาตมภาพ ได้เฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามานานแล้ว อยู่อย่างไม่มีที่พึ่ง อยากจะไปยัง ชมพูทวีป. พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าบำรุงพวกท่านด้วยปัจจัย ๔ และมหาชนนี้ อาศัยพระคุณท่าน ตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย เพราะเหตุไร
142 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 142
พวกท่านจึงเบื่อหน่าย. พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ! พวกอาตมภาพได้เฝ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นเวลานานแล้ว สถานที่ควรทำการอภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรมและสามีจิกรรม ไม่มี เพราะเหตุนั้น พวกอาตมภาพจึงเบื่อหน่าย พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ! พระคุณเจ้า ได้พูดแล้วมิใช่หรือว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว. พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ! ปรินิพพานแล้ว แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระสรีรธาตุของพระองค์ยังอยู่. พระราชาตรัสว่า ข้าพเจ้ารู้ ท่านผู้เจริญ ! พระคุณท่านจำนงหวังการสร้างพระสถูป แล้วตรัส ต่อไปว่า ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าจะสร้างพระสถูป นิมนต์พระคุณท่านเลือก พื้นที่ ในบัดนี้เถิด อนึ่ง ข้าพเจ้า จักได้พระธาตุแต่ที่ไหน ท่านผู้เจริญ ! พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ! ทรงปรึกษากับสุมนสามเณรดูเถิด. [สุมนสามเณรรับจัดหาพระธาตุ] พระราชาทรงรับว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ! แล้วเข้าไปหาสุมนสามเณร ตรัสถามว่า ท่านขอรับ ! เดี๋ยวนี้ พวกเราจักได้พระธาตุจากไหน ? สุมนสามเณร ทูลว่า ทรงขวนขวายน้อยเถิด มหาบพิตร ! ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระถนนหนทาง ให้ประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับมีธงชัย ธงประดาก และหม้อน้ำเต็มเป็นต้น แล้วพร้อมด้วยชนบริวารสมาทานองค์ อุโบสถ ให้พวกพนักงานตาลาวจรดนตรี ๑- ทั้งปวงประชุมกัน รับสั่งให้ตกแต่ง ช้างมงคลประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง และให้ยกเศวตฉัตรขึ้น เบื้องบนช้างมงคลนั้นเสร็จแล้ว เวลาเย็น ขอให้ทรงพระกรุณาเสด็จบ่าย พระพักตร์มุ่งตรงไปยังอุทยานมหานาควัน พระองค์จักทรงได้พระธาตุในที่นั้น แน่นอน. พระราชาทรงรับว่า สาธุ. พระเถระทั้งหลาย ก็ได้ไปยังเจติยคิรีบรรพต นั่นแล. &01
143 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 143
[พระเถระสั่งการให้สุมนสามเณรไปเชิญพระธาตุ] ณ เจติยคิรีบรรพตนั้น ท่านพระมหินทเถระ กล่าวกะสุมนสามเณรว่า ไปเถิด สามเณร ! เธอจงเข้าเฝ้าพระเจ้าอโศกธรรมราช ผู้เป็นพระเจ้าตาของเธอ ในชมพูทวีป ทูลตามคำของเราอย่างนี้ว่า มหาบพิตร ! พระเจ้าเทวานัมปิยดิส พระสหายของพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระศาสนาปรารถนาจะให้สร้างพระสถูป ได้ยินว่า พระองค์มีพระธาตุอยู่ในพระหัตถ์ (ในครอบครอง) ขอพระองค์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระธาตุนั้นแก่อาตมภาพเถิด ดังนี้แล้ว รับเอาพระธาตุนั้น จงเข้าไปเฝ้าท้าวสักกเทวราชทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ! ได้ยินว่า พระองค์มีพระธาตุอยู่ในพระหัตถ์ (ในครอบครอง) ๒ องค์ คือ พระทันตธาตุเบื้องขวา ๑ พระธาตุรากขวัญเบื้องขวา ๑ เพราะฉะนั้น ขอ พระองค์โปรดบูชาพระทันตธาตุเบื้องขวา แต่พระราชทานพระธาตุรากขวัญ เบื้องขวาแก่อาตมภาพ และจงทูลท้าวสักกะนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ! เพราะเหตุไร พระองค์ทรงส่งพวกอาตมภาพไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีปแล้ว ทรงปล่อยปละละเลยเสีย ดังนี้. [สุมนสามเณรไปเชิญพระธาตุมาเกาะลังกาตามเถรบัญชา] สุมนสามเณรรับคำของพระเถระว่า ดีละ ขอรับ ! ดังนี้แล้ว ถือเอา บาตรและจีวรเหาะขึ้นสู่เวหาส ในขณะนั้นนั่นเอง ลงที่ประตูนครปาตลีบุตร ไปสู่ราชสำนักทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ. พระมหาราชา ทรงยินดีรับบาตรจาก มือสามเณรอบด้วยของหอมแล้วให้บรรจุพระธาตุเช่นกับแก้วมุกดาอันประเสริฐ ถวาย. สามเณรนั้นรับเอาพระธาตุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าท้าวสักกเทวราช. ท้าวสักกเทวราชเห็นสามเณรแล้วตรัสว่า พ่อสุมนะผู้เจริญ ! เธอเที่ยวมา เพราะ เหตุไร ?
144 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 144
สามเณร. ข้าแต่มหาราช ! พระองค์ทรงส่งพวกอาตมภาพไปยังเกาะ ตัมพปัณณิทวีปแล้ว ทรงปล่อยปละละเลยเสีย เพราะเหตุไร. ท้าวสักกะ. ไม่ได้ละเลย ท่านผู้เจริญ ! พูดไปเถิด จะให้ข้าพเจ้า ทำอะไร ? สามเณร. ได้ยินว่า พระองค์มีพระธาตุอยู่ในพระหัตถ์ ๒ องค์ คือ พระทันตธาตุเบื้องขวา ๑ พระธาตุรากขวัญเบื้องขวา ๑ ฉะนั้นขอให้มหาบพิตร ทรงบูชาพระทันตธาตุเบื้องขวา แต่ทรงพระราชทานพระธาตุรากขวัญเบื้องขวา แก่อาตมภาพ. ท้าวสักกะจอมเหล่าเทพตรัสว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ! แล้วทรง เปิดพระสถูปแก้วมณีประมาณ ๑ โยชน์ ได้นำพระธาตุรากขวัญเบื้องขวาออก มาแล้ว ถวายแก่สุมนสามเณร. สุมนสามเณรนั้น รับเอาพระธาตุนั้นแล้ว ประดิษฐานไว้ ในเจติยบรรพตนั่นแล. [พระเถระและพระราชาตลอดถึงชาวเกาะต้อนรับพระธาตุ] ครั้งนั้นแล พระมหานาคเหล่านั้นทั้งหมด มีพระมหินท์เป็นประมุข ประดิษฐานพระธาตุที่พระเจ้าอโศกธรรมราช ทรงพระราชทานมาไว้ที่เจติยบรรพต นั่นแล แล้วเชิญพระธาตุรากขวัญเบื้องขวาไปยังมหานาควันอุทยานใน เวลาบ่าย. ฝ่ายพระราชาแล ทรงทำการบูชาสักการะมีประการดังที่สุมนสามเณร กล่าวแล้ว ประทับบนคอช้างตัวประเสริฐ ทรงกั้นเศวตฉัตรด้วยพระองค์เอง บนเศียรของช้างมงคล เสด็จไปถึงมหานาควันอุทยานพอดี. ครั้งนั้น ท้าวเธอ ได้ทรงมีพระรำพึงดังนี้ว่า ถ้าว่า นี้เป็นพระธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไซร้ เศวตฉัตรจงเบนออกไป ช้างมงคลจงคุกเข่าลงบนพื้น ขอให้ผอบบรรจุพระธาตุ จงมาประดิษฐานอยู่บนกระหม่อมของเรา. พร้อมด้วยจิตตุปบาทของพระราชา ฉัตรได้เบนออกไป ช้างคุกเข่าลงบนพื้น ผอบบรรจุพระธาตุได้มาประดิษฐาน
145 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 145
อยู่บนกระหม่อมของพระราชา. พระราชา ทรงประกอบด้วยพระปีติปราโมทย์ อย่างยิ่ง ดุจมีพระองค์อันน้ำอมฤตนั่นแลโสรจสรงแล้ว จึงตรัสถามว่า ท่านผู้ เจริญ ! ข้าพเจ้า จะปฏิบัติพระธาตุอย่างไร. พระเถระทูลว่า ขอพระองค์ได้ ทรงพระกรุณาวางไว้ บนกระพองช้างนั่นแหละก่อน มหาบพิตร ! พระราชา ได้ทรงยกผอบบรรจุพระธาตุลงวางไว้บนกระพองช้าง. ช้างมีความดีใจ ได้ บันลือเสียงดุจเสียงนกกะเรียน. มหาเมฆ ตั้งเค้าขึ้นแล้ว ได้ยังฝนโบกขรพรรษ ให้ตกลงมา. ได้มีแผ่นดินใหญ่ไหวจนถึงที่สุดน้ำ มีอันให้รู้ว่า พระธาตุของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จักประดิษฐานอยู่ ชื่อแม้ในปัจจันตชนบท ดังนี้เป็นเหตุ พวกเทวดาและมนุษย์ได้ร่าเริงบันเทิงใจทั่วกัน. พระมหาวีระ (ผู้มีความเพียรใหญ่) เสด็จมาในเกาะลังกานี้ จากเทวโลก ได้ ประดิษฐานอยู่บนกระพองช้าง ในดิถีเพ็ญ เป็นที่เต็มครบ ๔ เดือน (กลางเดือน ๑๒) ก่อให้เกิดปีติแก่ทวยเทพและหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ด้วยสิริคืออานุภาพแห่งฤทธิ์ ด้วยประการฉะนี้แล. [ช้างนำพระธาตุไปยังที่จะสร้างพระเจดีย์] ครั้งนั้น พญาช้างนั้น อันพวกตาลาวจรดนตรีมิใช่น้อยแวดล้อมแล้ว มีทวยนครสักการะอยู่ ด้วยการบูชาสักการะอย่างโอฬารยิ่ง เดินมุ่งหน้าไปทาง ทิศปัจฉิม ไม่ถอยหลังจนกระทั่งถึงประตูนครด้านทิศบูรพาแล้วเข้าสู่นครทาง ประตูด้านทิศบูรพา มีทวยนครทั่วทั้งเมืองทำการบูชาอย่างโอฬาร ออก (จากเมือง) ทางประตูด้านทิศทักษิณ เดินไปที่เทวาลัย (เทวสถาน) ของ
146 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 146
มเหชยักษ์ นัยว่ามีอยู่ในด้านทิศปัจฉิมแห่งถูปาราม แล้วย้อนกลับมุ่งหน้าตรง ไปยังถูปารามนั่นแลอีก. ก็สมัยนั้น ถูปารามเป็นที่ตั้งบริโภคเจดีย์ ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ๓ พระองค์. [ประวัติเกาะลังกาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า] ดังได้สดับมา ในอดีตกาล ทวีปนี้ (เกาะลังกา) ได้มีชื่อว่าโอชทวีป. พระราชามีพระนามว่าอภัย. เมืองหลวงชื่อว่า อภัยปุระ. เจติยบรรพตมีชื่อว่า เทวกูฏบรรพต. ถูปารามมีนามว่า ปฏิยาราม. ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ ทรงอุบัติแล้วในโลก. สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ชื่อว่ามหาเทวะ ได้ยืนอยู่บนเทวกูฏบรรพตกับภิกษุพันรูป เหมือนพระมหินทเถระยืนอยู่บนเจติยบรรพตฉะนั้น. สมัยนั้น พวกสัตว์บนเกาะ โอชทวีปถึงความวิบัติฉิบหายเพราะโรคชื่อปัชชรก (โรคไข้เซื่องซึม) พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ ทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล ซึ่งสัตว์เหล่านั้นผู้ถึงความวิบัติฉิบหาย ครั้น ทอดพระเนตรเห็นแล้ว มีภิกษุ ๔ หมื่นแวดล้อมได้เสด็จไป (ที่เกาะนั้น). ด้วย อานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น โรคปัชชรกได้สงบลงในขณะนั้นนั่นแล. เมื่อโรคสงบลงแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรด. ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานธมกรกไว้แล้วเสด็จหลีก ไป. ชาวเมืองสร้างพระเจดีย์ที่ปฏิยาราม บรรจุธมกรกนั้นไว้ข้างใน. พระมหาเทวะได้อยู่สั่งสอนชาวเกาะ. ส่วนในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมน์ ทวีปนี้มี ชื่อว่า วรทวีป. พระราชามีพระนามว่า สมิทธิ. เมืองหลวงชื่อว่า วัฑฒมาน. บรรพตชื่อว่า สุวรณกูฏ. ก็แลสมัยนั้น เกิดมีฝนแล้ง ภิกษุหายาก ข้าวกล้า
147 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 147
เสียหายในวรทวีป. พวกสัตว์ถึงความวิบัติฉิบหาย ด้วยโรคคือความอดอยาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมน์ ทรงทอดพระเนตรดูสัตวโลกด้วย พุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์เหล่านั้นผู้ถึงความวิบัติฉิบหาย ครั้นทรงทอด พระเนตรเห็นแล้ว มีภิกษุสามหมื่นรูปแวดล้อมได้เสด็จไป (ยังเกาะนั้น). ด้วย พุทธานุภาพฝนได้ตกถูกต้องตามฤดูกาล. ภิกษาหาได้ง่าย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรด (ชาวทวีปนั้น). ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐. พระผู้มีพระภาคเจ้า พักพระเถระนามว่า มหาสุมน ซึ่งมีภิกษุพันรูปเป็น บริวารไว้ที่เกาะ ได้ประทานประคดเอวนั้นไว้แล้วเสด็จหลีกไป. ชนทั้งหลาย ได้สร้างพระเจดีย์บรรจุประคดเอวนั้นไว้ภายใน. อนึ่ง ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป เกาะนี้มีชื่อ ว่า มัณฑทวีป. มีพระราชาทรงพระนามว่า ชยันต์. เมืองหลวงนามว่า ไพศาล. บรรพตมีชื่อว่า สุภกูฏ. ก็สมัยนั้นแล ได้มีการทะเลาะวิวาทใหญ่ในมัณฑทวีป. สัตว์เป็นอันมากเกิดทะเลาะวิวาทแก่งแย่งกัน ย่อมถึงความวิบัติฉิบหาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสป ทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ ทอดพระเนตรเห็นสัตว์เหล่านั้นผู้ถึงความวิบัติฉิบหาย ครั้นทอดพระเนตรเห็น แล้ว มีภิกษุสองหมื่นรูปแวดล้อมเสด็จมาระงับการวิวาท แล้วแสดงธรรมโปรด. ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐. พระผู้มีพระภาคเจ้าให้พระเถระนามว่า สัพพนันที ซึ่งมีภิกษุพันรูปเป็นบริวารพักอยู่ที่เกาะ ได้ประทานอุทกสาฏิก (ผ้าสรงน้ำ) ไว้แล้ว เสด็จหลีกไป. ชาวเกาะได้สร้างพระเจดีย์ บรรจุอุทกสาฏิก นั้นไว้ภายใน. บริโภคเจดีย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ๓ พระองค์ ได้ประดิษฐานอยู่แล้วในถูปาราม ด้วยประการอย่างนี้. เจดีย์เหล่านั้น ย่อม สาบสูญไป เพราะความอันตรธานไปแห่งพระศาสนา เหลืออยู่แต่เพียงฐาน
148 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 148
เท่านั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวคำนี้ว่า ก็สมัยนั้นถูปารามเป็นที่ตั้ง แห่งบริโภคเจดีย์ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ๓ พระองค์. ที่นี่นั้น เมื่อพระเจดีย์สาบสูญไปแล้ว ถูกห้อมล้อมอยู่ด้วยพุ่มไม้ต่าง ๆ ที่มีเรียวกิ่งสะพรั่งไปด้วยหนาม ด้วยอานุภาพของเทวดา โดยตั้งใจว่า ใคร ๆ อย่าได้ประทุษร้ายที่นั้น ด้วยของเป็นเดนของไม่สะอาด มลทินและหยากเยื่อ. [ช้างไม่ยอมให้ยกพระธาตุลงจากกระพอง] ครั้งนั้น พวกราชบุรุษล่วงหน้าไปก่อนช้างนั้น ถางพุ่มไม้ทั้งหมด ปราบพื้นที่ทำที่นั้นให้ราบเหมือนฝ่ามือ. พญาช้างเดินบ่ายหน้าไปยังที่นั้น ได้ ยืนอยู่ที่ฐานต้นโพธิ์ทางทิศปัจฉิมแห่งที่นั้น. ครั้งนั้น พวกราชบุรุษปรารภจะ ยกพระธาตุลงจากกระพองช้างนั้น. พญาช้างไม่ยอมให้ยกลง. พระราชาตรัสถาม พระเถระว่า ท่านผู้เจริญ ! เพราะเหตุไร ช้างจึงไม่ยอมให้ยกพระธาตุลง. พระเถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! พระธาตุที่ยกขึ้นแล้วจะยกลงไม่สมควร. ก็ในกาลนั้น น้ำในบึงอภัยวาปีแห้งขาดไป. พื้นดินโดยรอบแตกระแหง ก้อนดินเหนียว ยกขึ้นได้ง่าย มหาชนเร่งรีบช่วยกันนำดินจากบึงอภัยวาปีนั้น มาทำพื้นที่ (ฐาน) ประมาณเท่ากระพองช้าง. ในขณะนั้นนั่นเอง ชนทั้งหลาย เริ่มปั้นอิฐ เพื่อสร้างพระสถูป. พญาช้างยืนอยู่ในโรงช้างใกล้ฐานของต้นโพธิ์ ในเวลากลางวัน กลางคืนรักษาพื้นที่ที่จะสร้างพระสถูป ๒ - ๓ วัน จนกว่าอิฐ จะสำเร็จ. ครั้งนั้น พระราชารับสั่งให้ก่อพื้นที่ (ฐาน, ที่ตั้ง) แล้วตรัสถาม พระเถระว่า ข้าพเจ้าพึงสร้างพระสถูปมีรูปลักษณะเช่นไร ท่านผู้เจริญ ? พระเถระถวายพระพรว่า เช่นกับกองข้าวเปลือก มหาบพิตร ! พระราชาทรง รับสั่งว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ! รับสั่งให้ก่อพระสถูปขนาดฐานชุกชีแล้ว ให้ กระทำสักการะใหญ่ เพื่อต้องการยกพระธาตุขึ้น.
149 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 149
[พระธาตุแสดงปาฏิหาริย์แก่มหาชน] ทวยนครทั้งสิ้นและชาวชนบทประชุมกันแล้ว เพื่อชมการฉลอง พระธาตุ. ก็เมื่อหมู่มหาชนนั้นประชุมกันแล้ว พระธาตุของพระทศพลได้เหาะ ขึ้นสู่เวหาสประมาณชั่วตาล ๗ ต้น จากกระพองช้าง แสดงยมกปาฏิหาริย์. ธารน้ำและเปลวไฟมีรัศมี ๖ สี ย่อมพวยพุ่งออกจากองค์พระธาตุทั้งหลายนั้น ๆ. ได้มีปาฏิหาริย์คล้ายกับปาฏิหาริย์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ณ โคนต้นคัณฑามพฤกษ์ ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็แลปาฏิหาริย์นั้น ไม่ใช่ด้วยอานุภาพของ พระเถระ ไม่ใช่ด้วยอานุภาพของเทวดาเลย แท้ที่จริง เป็นด้วยพุทธานุภาพ เท่านั้น. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่นั่นแล ได้ทรง อธิษฐานว่า เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ยมกปาฏิหาริย์จงมีในวันประดิษฐาน พระธาตุรากขวัญเบื้องขวาของเรา เหนือที่ตั้งบริโภคเจดีย์ของพระพุทธเจ้าองค์ ก่อน ๆ ๓ องค์ ด้านทิศทักษิณแห่งอนุราชบุรี ในเกาะตัมพปัณณิทวีป ดังนี้. พระพุทธเจ้าเป็นอจินไตย พระธรรม ของพระพุทธเจ้า ก็เป็นอจินไตย วิบากของ เหล่าชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า และ พระคุณของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นอจินไตย ก็เป็นอจินไตย โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้แล. [พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปเกาะลังกาเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่] ได้ทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จไปสู่เกาะนี้ (เกาะลังกา) ถึง ๓ ครั้ง แม้ในคราวยังทรงพระชนม์อยู่ คือ คราวแรกเสด็จมาพระองค์เดียว เท่านั้น เพื่อทรมานยักษ์ ครั้นทรมานยักษ์แล้ว ทรงตั้งอารักขาที่
150 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 150
เกาะตัมพปัณณิทวีป เสด็จรอบเกาะ ๓ รอบ ตั้งพระทัยว่า เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ศาสนาของเรา จักประดิษฐานอยู่บนเกาะนี้. ครั้งที่สอง เสด็จมาพระองค์เดียวเหมือนกัน เพื่อต้องการทรมาน พญานาคผู้เป็นลุงและหลานกัน ครั้นทรมานนาคเหล่านั้นแล้ว ได้เสด็จไป. ครั้งที่สาม เสด็จมามีภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ณ ที่ตั้งมหาเจดีย์ ที่ตั้งถูปารามเจดีย์ ที่ประดิษฐานต้นมหาโพธิ์ ที่ตั้งมุติงคณเจดีย์ ที่ตั้งทีฆวาปีเจดีย์ และที่ตั้งกัลยาณิยเจดีย์. การมาโดยพระสรีรธาตุ คราวนี้ เป็นครั้งที่ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. ก็แลขึ้นชื่อว่า โอกาสน้อยหนึ่งบนพื้นเกาะตัมพปัณณิทวีป ที่เมล็ดน้ำ อันพุ่งออกจากพระสรีรธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่ถูกต้องหาได้มีไม่. พระสรีรธาตุนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยังความเร่าร้อนของ ภาคพื้นเกาะตัมพปัณณิทวีปให้สงบลงด้วยเมล็ดฝน แสดงปาฏิหาริย์แก่มหาชน แล้วลงประดิษฐานอยู่บนกระหม่อมของพระราชา ด้วยประการอย่างนี้. พระราชาทรงสำคัญการได้อัตภาพเป็นมนุษย์ซึ่งมีผลทรงทำสักการะใหญ่ ให้ บรรจุพระธาตุแล้ว พร้อมด้วยการบรรจุพระธาตุ ได้เกิดมีแผ่นดินหวั่นไหวใหญ่. [กุลบุตรชาวเกาะออกบวชในพระศาสนา] ก็แลราชกุมารพระนามว่าอภัยเป็นพระกนิษฐภาดาของพระราชา ยัง พระหฤทัยให้เลื่อมใสในปาฏิหาริย์แห่งพระธาตุนั้นแล้ว ทรงผนวชพร้อมกับ บุรุษประมาณพันหนึ่ง. พวกทารก ๕๐๐ คน ออกบวชจากหมู่บ้านเวตาลิ จากหมู่บ้าน เช่นหมู่บ้านทวารมณฑลเป็นต้น พวกทารกออกบวชหมู่บ้านละ
151 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 151
๕๐๐ คน เช่นเดียวกัน. พวกทารกหลายร้อยคนออกบวชจากภายในเมืองและ ภายนอกเมือง รวมทั้งหมดเป็นภิกษุ ๓ หมื่นรูป. ก็เมื่อพระสถูปสำเร็จแล้ว พระราชา ราชอำมาตย์และพระเทวี ได้กระทำการบูชา อย่างน่าพิศวงคนละ แผนก ๆ แม้แก่พวกเทวดานาคและยักษ์. อนึ่ง เมื่อการบูชาพระธาตุ (และ) พระธาตุเจดีย์สำเร็จแล้ว พระมหินทเถระไปสำเร็จการอยู่ยังอุทยานเมฆวัน นั่นแล. [พระนางอนุฬาเทวีทรงมีพระประสงค์จะบวช] ก็สมัยนั้นแล พระนางอนุฬาเทวี มีพระประสงค์จะบวช กราบทูล แด่พระราชา. พระราชาทรงสดับคำของพระนางแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้กะ พระเถระว่า ท่านผู้เจริญ ! พระนางอนุฬาเทวีมีพระประสงค์จะบวช, ขอ พระคุณท่านให้พระนางบวชเถิด. พระเถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! การ ให้มาตุคามบวช ไม่สมควรแก่พวกอาตมภาพ, แต่ในนครปาตลีบุตร มี พระเถรี นามว่าสังฆมิตตา เป็นน้องสาวของอาตมภาพ, ขอพระองค์ได้ทรง โปรดให้นิมนต์พระเถรีนั้นมา มหาบพิตร ! ก็แลโพธิพฤกษ์ (ต้นไม้เป็นที่ ตรัสรู้) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทั้ง ๓ พระองค์ ได้ประดิษฐาน อยู่ที่เกาะนี้, โพธิพฤกษ์อันเปล่งข่ายคือรัศมีใหม่ ๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ของเรา ก็ควรประดิษฐานอยู่บนเกาะนี้ เพราะฉะนั้น พระองค์พึงส่ง พระราชสาสน์ไปโดยวิธีที่พระเถรีสังฆมิตตาจะพึงเชิญไม้โพธิ์มาด้วย. [พระราชาส่งทูตไปยังชมพูทวีป] พระราชาทรงรับคำของพระเถระว่า ดีละ เจ้าข้า ! ดังนี้ ทรงปรึกษา กับพวกอำมาตย์แล้ว ตรัสกะอำมาตย์ผู้เป็นหลานของพระองค์ นามว่าอริฏฐะ ว่า เธอจักอาจไปยังนครปาตลีบุตรนิมนต์พระแม่เจ้าสังฆมิตตาเถรีมาพร้อมกับ
152 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 152
ไม้มหาโพธิ์หรือ ? อริฏฐอำมาตย์กราบทูลว่า อาจ สมมติเทพ ! ถ้าพระองค์ จักทรงอนุญาตให้หม่อมฉันบวช. พระราชาตรัสว่า ไปเถิดพ่อ ! เจ้านำ พระเถรีมาแล้ว จงบวชเถิด. อำมาตย์นั้นถือเอาพระราชสาสน์และเถรสาสน์แล้วไป ยังท่าเรือชื่อชัมพุโกลปัฏฏนะ โดยวันเดียวเท่านั้น ด้วยกำลังการอธิษฐานของ พระเถระ ลงเรือข้ามสมุทรไปยังเมืองปาตลีบุตรทีเดียว. ฝ่ายพระนางอนุฬาเทวี แล พร้อมด้วยหญิงสาว ๕๐๐ คน และหญิงชาววังอีก ๕๐๐ คน สมาทานศีล ๑๐ ครองผ้ากาสาวพัสตร์ให้สร้างสำนักอาศัย ในส่วนหนึ่งพระนคร แล้วสำเร็จ การอยู่อาศัย. [ทูตถวายพระราชสาสน์และเถรสาสน์] ฝ่ายอริฏฐอำมาตย์ก็ไปถึงในวันนั้นนั่นแล ได้ทูลเกล้าถวาย พระราชสาสน์และกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่สมมติเทพ ! พระมหินทเถระพระโอรส ของพระองค์ ทูลอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระเทวีพระนามว่า อนุฬา พระชายา ของพระกนิษฐภาดาแห่งพระเจ้าเทวานัมปิยดิส พระสหายของพระองค์ มี พระประสงค์จะบวช เพื่อให้พระนางได้บวช ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดส่ง พระแม่เจ้าสังฆมิตตาเถรี และต้นมหาโพธิ์ไปกับพระแม่เจ้าด้วย. อริฏฐอำมาตย์ ครั้นทูลถวายเถรสาสน์แล้วเข้าเฝ้าพระเถรีสังฆมิตตา กราบเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ! พระมหินทเถระ หลวงพี่ของพระแม่เจ้า ส่งข้าพเจ้ามาใน สำนักของพระแม่เจ้า โดยสั่งว่า พระนางอนุฬาเทวี พระชายาของพระกนิษฐภาดา แห่งพระเจ้าเทวานัมปิยดิส พร้อมกับหญิงสาว ๕๐๐ คน และหญิงชาววัง ๕๐๐ คน มีความประสงค์จะบวช นัยว่าพระแม่เจ้าจงมาให้พระนางอนุฬาเทวี นั้นบวช. ในทันใดนั้นนั่นเอง พระเถรีนั้นรีบด่วนไปยังราชสำนัก แล้วกราบ
153 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 153
ทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาบพิตร ! พระมหินทเถระ หลวงพี่ของหม่อมฉันส่งข่าว มาอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระนางอนุฬาเทวี พระชายาของพระกนิษฐภาดาแห่ง พระราชา พร้อมด้วยหญิงสาว ๕๐๐ คน และหญิงชาววัง ๕๐๐ คน มีความ ประสงค์จะบวช คอยท่าการมาของหม่อมฉันอยู่ ข้าแต่มหาราช ! หม่อมฉัน ปรารถนาจะไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีป. พระราชาตรัสว่า แน่ะแม่ ! พระมหินทเถระ แม้ผู้เป็นลูกของเราและสุมนสามเณรหลานของเรา ก็ไปสู่เกาะตัมพปัณณิทวีป ทำให้เราเป็นเหมือนคนแขนขาด เรานั้นเมื่อไม่เห็นลูกและหลานแม้ เหล่านั้น ก็เกิดความเศร้าโศก เมื่อเห็นหน้าเจ้าก็หายโศก อย่าเลยแม่ ! แม่ อย่าไป. พระเถรีทูลว่า ข้าแต่มหาราช ! คำของหลวงพี่แห่งหม่อมฉันหนักแน่น แม้พระนางอนุฬาขัตตติยานี อันสตรีพันคนแวดล้อมแล้วมุ่งหน้าต่อบรรพชา รอคอยหม่อมฉันอยู่ หม่อมฉันจะต้องไป มหาบพิตร ! พระราชาตรัสว่า แม่ ! ถ้าเช่นนั้น เจ้าเชิญต้นมหาโพธิ์ไปด้วยเถิด. [พระเจ้าอโศกตั้งพระทัยจะส่งต้นมหาโพธิ์ไปเกาะลังกาอยู่ก่อน] ถามว่า พระราชาได้ต้นมหาโพธิ์มาจากไหน ? แก้ว่า ได้ทราบว่า พระราชาทรงมีพระประสงค์จะส่งต้นมหาโพธิ์ไป ยังเกาะลังกา เมื่อสุมนสามเณรยังไม่มา เพื่อต้องการรับเอาพระธาตุ ก่อนแต่ พระสังฆมิตตาเถรีจะไปนั้นนั่นแล ก็ทรงพระดำริว่า เราจักส่งต้นมหาโพธิ์ ซึ่งไม่ควรจะตัดด้วยศัสตราไปได้อย่างไรหนอแล เมื่อไม่เห็นอุบาย จึงตรัสถาม อำมาตย์ชื่อมหาเทพ. อำมาตย์นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ! มีภิกษุบัณฑิต เป็นอันมาก. พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว รับสั่งให้ตระเตรียมภัต เพื่อภิกษุ สงฆ์ ในที่สุดภัตกิจได้ตรัสถามพระสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ! ต้นมหาโพธิ์ของ
154 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 154
พระผู้มีพระภาคเจ้า ควรไปยังเกาะลังกาหรือไม่หนอ ? พระสงฆ์มอบให้เป็น ภาระของพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ. พระเถระถวายพระพรว่า ต้นมหาโพธิ์ ควรไปยังเกาะลังกาแท้ มหาบพิตร ! ดังนี้แล้ว ได้ทูลบอกมหาอธิษฐาน ๕ ข้อ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. [มหาอธิษฐาน ๕ ข้อ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า) มหาอธิษฐาน ๕ ข้อเป็นไฉน ? คือได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรทมบนพระแท่นปรินิพพาน ได้ทรงอธิษฐานว่า เพื่อต้องการให้ ต้นมหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ในลังกาทวีป พระเจ้าอโศกมหาราชจักเสด็จมารับเอา ต้นมหาโพธิ์ ในเวลานั้น กิ่งมหาโพธิ์ด้านทิศทักษิณ จงขาดเองทีเดียว แล้ว ประดิษฐานอยู่ในกระถางทอง นี้เป็นอธิษฐานข้อที่หนึ่ง. ทรงอธิษฐานว่า ก็ในเวลาประดิษฐานอยู่ในกระถางทองนั้น มหาโพธิ์จงลอยเข้าไปสู่ห้องหิมวลาหก ตั้งอยู่ นี้เป็นอธิษฐานข้อที่สอง. ทรงอธิษฐานว่า ในวันคำรบ ๗ ต้น มหาโพธิ์จงลอยลงมาจากกลีบหิมวลาหก ตั้งอยู่ในกระถางทอง เปล่งฉัพพรรณรังสี จากใบและผลทั้งหลาย นี้เป็นอธิษฐานข้อที่สาม. ทรงอธิษฐานว่า พระธาตุรากขวัญเบื้องขวา จงทำยมกปาฏิหาริย์ในวันประดิษฐานอยู่ที่พระเจดีย์ ในถูปาราม นี้เป็นอธิษฐานข้อที่สี่. ทรงอธิษฐานว่า พระธาตุของเราประมาณ โทณะหนึ่ง ในเกาะลังกานี้แล ในเวลาประดิษฐานอยู่ในมหาเจดีย์ จงแปลง เพศเป็นพระพุทธเจ้าแล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส ทำยมกปาฏิหาริย์ นี้เป็นอธิษฐาน ข้อที่ห้า. [วิสสุกรรมเทพบุตรปลอมตัวเป็นช่างเนรมิตกระถางทอง] พระราชาทรงสดับมหาอธิษฐาน ๕ ข้อนี้แล้ว มีพระหฤทัยเลื่อมใส รับสั่งให้จัดการชำระหนทาง ตั้งแต่เมืองปาตลีบุตรจนถึงต้นมหาโพธิ์แล้ว ให้
155 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 155
นำทองคำเป็นอันมากออกมา เพื่อต้องการให้สร้างกระถางทองคำ. ในขณะนั้น นั่นแล วิสสุกรรมเทพบุตร ทราบพระราชหฤทัยได้นิรมิตเป็นช่างทอง ยืนอยู่ ตรงพระพักตร์ (ของพระราชา). พระราชาทอดพระเนตรเห็นเขาแล้ว จึงตรัส ว่า พ่อ เจ้าจงเอาทองนี้ไปทำกระถาง. เขาทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ! ขอ พระองค์ทรงบอกขนาดให้ทราบ. พระราชาตรัสว่า พ่อ เจ้านั่นแหละ ทราบ และจงทำให้ได้ขนาด. เขารับว่า ดีละ สมมติเทพ ! ข้าพระองค์จักกระทำ จึงถือทองเอามือลูบคลำ ด้วยอานุภาพของตน นิรมิตกระถางทอง วัดโดยรอบ ประมาณ ๙ ศอก สูง ๕ ศอก กว้าง ๓ ศอก หนา ๘ นิ้ว ขอบปากมีขนาด เท่าโคนงวงช้าง. [พระราชาพร้อมด้วยเสนาเสด็จไปยังต้นมหาโพธิ์] ครั้งนั้น พระราชา เสด็จออกจากนครปาตลีบุตรด้วยเสนาใหญ่ ยาว ประมาณ ๗ โยชน์ กว้างประมาณ ๓ โยชน์ พาเอาพระอริยสงฆ์ได้เสด็จไปยัง ที่ใกล้ต้นมหาโพธิ์. เสนาล้อมต้นมหาโพธิ์ ซึ่งมีธงชัยและธงแผ่นผ้ายกขึ้นไว้ แล้ว วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ ประดับด้วยเครื่องอลังการมากมาย เกลื่อนกล่น ไปด้วยดอกไม้นานาชนิด ประโคมด้วยเครื่องดุริยางค์หลายหลาก. พระราชา นิมนต์เอาพระมหาเถระผู้เป็นคณะปาโมกข์ ประมาณพันรูป แล้วให้พระราชา ผู้ได้รับการอภิเษกทั่วชมพูทวีปจำนวนพันองค์แวดล้อมพระองค์ และต้นมหาโพธิ์ ได้ประทับยืนที่โคนต้นมหาโพธิ์ทอดพระเนตรดูต้นมหาโพธิ์. ส่วนที่เหลือ เว้นลำต้นของมหาโพธิ์ และส่วนแห่งกิ่งใหญ่ด้านทิศทักษิณประมาณ ๔ ศอก ไม่ปรากฏให้เห็น พระราชาทรงเห็นปาฏิหาริย์นั้น เกิดพระปีติปราโมทย์ ตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าเห็นปาฏิหาริย์นี้แล้ว ยินดี จะบูชา ต้นมหาโพธิ์ ด้วยราชสมบัติในทวีป จึงได้ถวายการอภิเษก.
156 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 156
[พระราชาทรงทำสัตยาธิษฐาน] ครั้งนั้น พระราชาทรงบูชา (ต้นมหาโพธิ์) ด้วยดอกไม้และของหอม เป็นต้น กระทำประทักษิณ ๓ ครั้ง ถวายบังคมในที่ทั้ง ๘ เสด็จลุกขึ้นแล้ว ประทับยืนประคองอัญชลี มีพระประสงค์จะเชิญเอาต้นมหาโพธิ์ด้วยการทำ คำสัตย์ รับสั่งให้ตั้งกระถางทองข้างบนตั่งที่สำเร็จด้วยรัตนะทุกอย่าง ซึ่งตั้งหนุน ให้สูงขึ้น ตั้งแต่พื้นดินจนถึงกิ่งด้านขวาของมหาโพธิ์แล้ว เสด็จขึ้นบนรัตนบิฐ ทรงถือพระสุวรรณตุลิกา (พู่กันทองคำ) ทำรอยขีดด้วยมโนศิลา แล้วได้ทรง ทำสัจพจน์กิริยาว่า ถ้าต้นมหาโพธิ์ควรประดิษฐานอยู่ในเกาะลังกา และหากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนาไซร้ ขอให้ต้นมหาโพธิ์จง ประดิษฐานอยู่ในกระถางทองเสียเองทีเดียว. พร้อมกับการทรงทำสัจพจน์ กิ่งโพธิ์ขาดทรงที่ทรงเอามโนศิลากำหนดหมายไว้ แล้วตั้งอยู่ในเบื้องบนกระถาง ทอง อันเต็มด้วยโคลนผสมด้วยของหอม. ต้นโพธิ์นั้นมีลำต้นสูงได้ ๑๐ ศอก กิ่งใหญ่ ๕ กิ่ง ประมาณ ๔ ศอก ประดับด้วยผล ๕ ผลเท่า ๆ กัน. ส่วนกิ่ง เล็ก ๆ มีจำนวนพันกิ่ง. ครั้งนั้นพระราชาทรงกำหนดตัดรอยขีดในประเทศ (ส่วน ที่) ประมาณ ๓ องคุลี ข้างบนรอยขีดเดิม. ขณะนั้นนั่นเอง รากใหญ่ ๑๐ ราก งอกเป็นต่อมคล้ายต่อมน้ำออกจากรอยขีดนั้น. พระราชาทรงกำหนด ตัดรอยขีดอื่น ๆ อีก ๙ แห่งในระยะต่อ ๆ ไป แต่ละ ๓ องคุลี. ราก ๙๐ ราก งอกเป็นปุ่มคล้ายต่อมน้ำออกจากรอยขีดแม้เหล่านั้น รอยละ ๑๐ ราก. รากใหญ่ ๑๐ รากแรก งอกออกมาประมาณ ๔ นิ้ว. ราก ๙๐ ราก แม้นอกนี้ ก็งอก เกี่ยวประสานกัน คล้ายตาข่ายขวัญโค. พระราชา ประทับยืนอยู่เหนือสุด ตั่งรัตนบิฐนั่นแล ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์ประมาณเท่านี้ ได้ทรงประคอง อัญชลีบันลือลั่น. ภิกษุจำนวนหลายพันรูป ก็ได้ซ้องสาธุการ. ราชเสนาทั้งสิ้น
157 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 157
ก็ได้บันลือกันอึงมี่. ธงผ้าที่ยกขึ้นไว้ตั้งแสนธง ได้โบกสะบัดพริ้ว. พวกทวยเทพ ตั้งต้นภุมมัฏฐกเทวดา ได้ให้สาธุการเป็นไป จนกระทั่งถึงเหล่าเทพ พรหมกายิกา. เมื่อพระราชา ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์นี้ มีพระวรกายอันปีติ ถูกต้องหาระหว่างมิได้ ประทับยืนประคองอัญชลีอยู่นั่นแล, ต้นมหาโพธิ์ก็ได้ ประดิษฐานอยู่ในกระถางทอง ด้วยจำนวนรากตั้งร้อย. รากใหญ่ ๑๐ ราก ได้หยั่งลงจดพื้นกระถางทอง. รากที่เหลือ ๙๐ รากก็เจริญงอกงามขึ้นโดยลำดับ หยั่งลงแช่อยู่ในเปือกตมที่ผสมด้วยของหอม. เมื่อต้นมหาโพธิ์ สักว่าประดิษฐาน อยู่ในกระถางทองอย่างนั้นแล้ว มหาปฐพีก็หวั่นไหว. เหล่าเภรีของทวยเทพ บันลือลั่นไปในอากาศ. ความโกลาหลเป็นอันเดียวกัน ตั้งแต่พื้นปฐพีจนถึง พรหมโลกได้กึกก้องเป็นอันเดียวกัน เพราะความโน้มเอนไปมาแห่งเหล่า บรรพต เพราะเสียงสาธุการแห่งทวยเทพ เพราะการทำเสียงหิง ๆ แห่งเหล่า ยักษ์ เพราะการกล่าวชมเชยแห่งพวกอสูร เพราะการปรบมือแห่งพวกพรหม เพราะความคำรามแห่งหมู่เมฆ เพราะความร้องแห่งหมู่สัตว์สี่เท้า เพราะความ ขันกู่แห่งเหล่าปักษี (และ) เพราะความว่องไวเฉพาะตน ๆ แห่งพนักงาน ตาลาวจรดนตรีทั้งปวง. ฉัพพรรณรังสีพวยพุ่งออกจากแต่ละผลในกิ่งทั้ง ๕ แล้วก็พุ่งขึ้นไปจนถึงพรหมโลกเหมือนทำจักรวาลทั้งสิ้น ให้ติดเนื่องกันดุจ กลอนเรือนแก้ว ฉะนั้น. [กิ่งต้นมหาโพธิ์ลอยขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้า ๗ วัน] ก็แล จำเดิมแต่ขณะนั้นไป ต้นมหาโพธิ์ก็เข้าไปสู่กลีบเมฆซึ่งเต็มไป ด้วยหิมะ แล้วดำรงอยู่สิ้น ๗ วัน. ใคร ๆ ก็ไม่เห็นต้นมหาโพธิ์. พระราชา เสด็จลงจากรัตนบิฐแล้ว ทรงรับสั่งให้ทำการบูชามหาโพธิ์สิ้น ๗ วัน. ในวัน
158 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 158
ที่ ๗ หิมะและรัศมีทั้งหลายก็หมุนกลับจากทิศทั้งปวงเข้าไปสู่ต้นมหาโพธิ์นั่นแล. เมื่อห้องจักรวาลปราศจากหิมวลาหกแจ่มใสแล้ว ต้นมหาโพธิ์ที่มีลำต้น กิ่งใหญ่ และกิ่งน้อยบริบูรณ์ ซึ่งประดับไปด้วยผลทั้ง ๕ ได้ปรากฏตั้งอยู่ในกระถางทอง นั่นแล. พระราชา ทอดพระเนตรเห็นต้นมหาโพธิ์แล้ว มีพระปรีดาปราโมทย์ อันปาฏิหาริย์เหล่านั้นให้เกิดแล้ว จึงทรงดำริว่า เราจักบูชาต้นมหาโพธิ์หนุ่ม ด้วยราชสมบัติในสากลชมพูทวีป ดังนี้แล้ว ได้ทรงประทานการอภิเษก (แก่ ต้นมหาโพธิ์นั้น) แล้วได้ประทับยืนอยู่ที่ฐานต้นมหาโพธิ์นั่นแล สิ้น ๗ วัน ในวันปวารณาเดือนกัตติกาต้น เวลาเย็น ต้นมหาโพธิ์ก็ประดิษฐานอยู่ใน กระถางทองก่อน. หลังจากนั้นมา พระราชา ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์ที่ มหาโพธิ์อยู่ในกลีบเมฆ และสัปดาห์ที่พระราชทานอภิเษก จึงเสด็จเข้าไปสู่ พระนครปาตลีบุตร ในวันอุโบสถ แห่งกาฬปักษ์โดยวันเดียวเท่านั้น, ใน วันปาฏิบท (แรมค่ำหนึ่ง) แห่งชุณหปักษ์ของเดือนกัตติกา ทรงพักต้นมหาโพธิ์ ไว้ที่โคนต้นสาละใหญ่ด้านปราจีนทิศ. [ต้นมหาโพธิ์แตกหน่อออกใหม่] ในวันที่ ๑๗ ตั้งแต่วันที่ต้นมหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ในกระถางทอง หน่อใหม่ ๆ แห่งต้นมหาโพธิ์ก็ได้ปรากฏขึ้น. พระราชา แม้ทอดพระเนตรเห็น หน่อเหล่านั้นแล้ว ก็ทรงเลื่อมใส เมื่อจะทรงบูชาต้นมหาโพธิ์ด้วยราชสมบัติ อีก ได้ทรงถวายการอภิเษกในสากลชมพูทวีป. สุมนสามเณรไปเพื่อรับเอา พระธาตุ ในวันเพ็ญเดือนกัตติกมาส (คือ วันเพ็ญเดือน ๑๒) ได้เห็นการ บูชาแก่ต้นมหาโพธิ์เป็นมหรสพเดือนกัตติกมาส.
159 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 159
พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงหมายถึงต้นโพธิ์ที่นำมาจากมหาโพธิมณฑล แล้วชำไว้ที่นครปาตลีบุตร โดยนัยดังกล่าวมานี้ จึงตรัส (กะพระนางสังฆมิตตาเถรี) ว่า แม่ ! ถ้าเช่นนั้นขอให้ลูกรับเอาต้นมหาโพธิ์ไปด้วยเถิด. พระนางสังฆมิตตาเถรีนั้น ทูลรับว่า สาธุ. [พระเจ้าอโศกทรงตั้งตระกูลต่าง ๆ ไว้เพื่อรักษาต้นมหาโพธิ์] พระราชา พระราชทานตระกูลเทวดา ๑๘ ตระกูลอำมาตย์ ๘ ตระกูล พราหมณ์ ๘ ตระกูลกุฏุมพี ๘ ตระกูลเลี้ยงโค ๘ ตระกูลเสือดาว ๘ และ ตระกูลชาวกาลิงคะ ๘ ไว้เพื่อรักษาต้นมหาโพธิ์ และพระราชทานหม้อทอง ๘ หม้อเงิน ๘ ใบ ไว้เพื่อรดน้ำ (ต้นมหาโพธิ์) แล้วทรงให้ยกต้นมหาโพธิ์ขึ้น สู่เรือ พร้อมด้วยบริวารนี้ที่แม่น้ำคงคา. ฝ่ายพระองค์เองเสด็จออกจากพระนคร ข้ามดงชื่อวิชฌาฏวี แล้วเสด็จไปถึงท่าชื่อตามพลิตตี ตลอด ๗ วัน โดยลำดับ. ในระหว่างทาง พวกทวยเทพ นาค และมนุษย์ ได้พากันบูชาต้นมหาโพธิ์ อย่างมโหฬาร. ฝ่ายพระราชา ทรงพักต้นมหาโพธิ์ไว้ที่ริมฝั่งสมุทร ๗ วัน แล้วได้ทรงถวายราชสมบัติอย่างใหญ่ในสากลทวีป. คราวนี้ เป็นการทรงถวาย ราชสมบัติในชมพูทวีปครั้งที่ ๓ แก่ต้นมหาโพธิ์นั้น. [พระเจ้าอโศกทรงลุยน้ำส่งต้นมหาโพธิ์ไปเกาะลังกา] พระเจ้าอโศกธรรมราชา ครั้นทรงบูชา (ต้นมหาโพธิ์) ด้วยราชสมบัติ อย่างใหญ่อย่างนั้นแล้ว ในวันปาฏิบทแรก (คือแรม ๑ ค่ำ) แห่งเดือน มิคสิรมาส (คือ เดือนอ้าย) จึงทรงยกต้นมหาโพธิ์ขึ้น เสด็จลุยน้ำไปประมาณ เพียงพระศอ ทรงวางไว้บนเรือ แล้วทรงรับสั่งให้แม้พระนางสังฆมิตตาเถรี พร้อมด้วยบริวารขึ้นเรือ จึงได้ตรัสคำนี้กะอริฏฐอำมาตย์ว่า พ่อ ! ข้าพเจ้า
160 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 160
บูชาต้นมหาโพธิ์ ด้วยราชสมบัติในสากลชมพูทวีปถึง ๓ ครั้ง ต้องลุยน้ำไป ประมาณเพียงคอ ส่ง (ต้นมหาโพธิ์) ไปให้พระสหายของข้าพเจ้า, แม้พระสหาย ของข้าพเจ้านั้น ก็จงทรงบูชาต้นมหาโพธิ์เหมือนอย่างนี้แหละ. ท้าวเธอ ครั้นพระราชทานข่าวสาสน์แก่พระสหายอย่างนั้นแล้ว ทรง คร่ำครวญประคองอัญชลี ประทับยืนหลั่งพระอัสสุชลอยู่ว่า ต้นมหาโพธิ์ของ พระทศพล ซึ่งฉายช่อพระรัศมีดุจมีชีวิตอยู่ ไปละหนอ ดังนี้. นาวาที่ต้น มหาโพธิ์ขึ้นประดิษฐานอยู่แม้นั้นแล เมื่อมหาชนจ้องมองแลดูอยู่ ก็ออกวิ่งไป สู่ท้องทะเลหลวง. เหล่าระลอกคลื่นในมหาสมุทรสงบเงียบประมาณโยชน์หนึ่ง โดยรอบ. เหล่าปทุมชาติเบญจพรรณก็แย้มบาน. ทิพยดุริยางค์ดนตรีทั้งหลาย ก็บันลือลั่นอยู่บนอากาศกลางหาว. ได้มีการบูชาอันโอฬารยิ่งนัก ซึ่งพวก ทวยเทพผู้อาศัยอยู่ในอากาศ ทางน้ำ บนบกและที่ต้นไม้เป็นต้น บันดาลให้ เป็นไปแล้ว. พระนางสังฆมิตตาเถรี ทำให้ตระกูลนาคทั้งหลายในมหาสมุทร สะดุ้งกลัวแล้ว ด้วย (จำแลงเป็น) รูปสุบรรณ (คือนิรมิตเป็นรูปครุฑ). ก็นาค เหล่านั้นสะดุ้งกลัว มาเห็นสมบัตินั้นเข้า จึงทูลขอกะพระเถรี แล้วนำต้น มหาโพธิ์ไปสู่นาคพิภพ บูชาด้วยราชสมบัติแห่งนาคตลอด ๗ วันแล้ว (นำ กลับมา) ให้ประดิษฐานอยู่บนเรืออีก. นาวาได้แล่นไปถึงท่าชมพูโกลปัฏฏนะ ในวันนั้นนั่นเอง. ฝ่ายพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงระทมทุกข์เพราะวิโยคจาก ต้นมหาโพธิ์ ทรงคร่ำครวญกันแสง จ้องพระเนตรดูจนสุดทัศนวิสัย แล้วก็ เสด็จกลับ. [พระเจ้าเทวานัมปิยดิสกรุงลังกาเตรียมต้อนรับต้นมหาโพธิ์] ฝ่ายพระเจ้าเทวานัมปิยดิสมหาราชแล จำเดิมแต่วันปาฏิบทแรกแห่ง เดือนมิคสิรมาส (คือเดือนอ้าย) ทรงรับสั่งให้ชำระตกแต่งมรรคาตั้งแต่ประตู
161 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 161
ด้านทิศอุดร (แห่งอนุราชบุรี) จนถึงท่าชมพูโกลปัฏฏนะตามคำของ สุมนสามเณร, ในวันที่เสด็จออกจากพระนคร ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ตั้งศาลา อันมีอยู่ที่ฝั่งสมุทรใกล้กับประตูด้านทิศอุดรนั่นเอง ได้ทอดพระเนตรเห็น ต้นมหาโพธิ์ ที่กำลังมาอยู่ในมหาสมุทรนั่นแล โดยสมบัตินั้น เพราะอานุภาพ ของพระเถระ ทรงปลื้มพระหฤทัยเสด็จออกไป รับสั่งให้เอาดอกไม้เบญจพรรณ โปรยลงตลอดทางทั้งหมด ทรงตั้งเครื่องบูชาดอก ๑- ไม้อันมีค่าไว้ในระหว่างทาง เป็นระยะแล้ว เสด็จไปท่าชมพูโกลปัฏฏนะโดยวันเดียวเท่านั้น อันพวกพนักงาน ตาลาวจรดนตรีทั้งปวงแวดล้อมแล้ว ทรงบูชา (ต้นมหาโพธิ์) อยู่ด้วยเครื่อง สักการะทั้งหลาย มีดอกไม้ ธูปและของหอมเป็นต้น เสด็จลุยน้ำไปประมาณ เพียงพระศอแล้วทรงรับสั่งว่า ต้นมหาโพธิ์ของพระทศพล ซึ่งฉายช่อพระรัศมี ดุจมีชีวิตอยู่มาแล้วหนอ มีพระหฤทัยเลื่อมใสแล้ว จึงทรงยกต้นมหาโพธิ์ขึ้น แล้ว วางลงบนพระเศียร อันเป็นอวัยวะสูงสุด พร้อมด้วยเหล่าตระกูลที่ สมบูรณ์ด้วยชาติ ๑๖ ตระกูล ผู้แวดล้อมต้นมหาโพธิ์ เสด็จขึ้นจากสมุทร แล้วทรงพักต้นมหาโพธิ์ไว้ที่ริมฝั่งมหาสมุทร ทรงบูชาด้วยราชสมบัติในเกาะ ตัมพปัณณิทวีปทั้งหมดสิ้น ๒ วัน. ท้าวเธอทรงให้ตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยชาติ ๑๖ ตระกูลสำเร็จราชการแทน. ภายหลังต่อมาในวันที่ ๔ ท้าวเธอทรงรับเอา ต้นมหาโพธิ์แล้ว ทรงทำการบูชาอยู่อย่างโอฬาร เสด็จถึงกรุงอนุราธบุรีโดย ลำดับ. [พระเจ้าเทวานัมปิยดิสพักต้นมหาโพธิ์ไว้ในปูชนียสถาน ๔ แห่ง] พระราชา ครั้นทรงทำสักการะอย่างใหญ่ แม้ในกรุงอนุราธบุรี ใน วันจาตุทสี (คือวันขึ้น ๑๔ ค่ำ) นั่นเอง รับสั่งให้ส่งต้นมหาโพธิ์เข้าไปทาง &01
162 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 162
ประตูด้านทิศอุดรในเวลาตะวันบ่าย แห่ไปโดยท่ามกลางพระนคร ออกทาง ประตูด้านทิศทักษิณ แล้วทรงให้ตั้งต้นมหาโพธิ์ไว้บนฐานซุ้มพระทวารแห่ง ราชอุทยาน ที่ทำบริกรรมพื้นไว้แต่แรกทีเดียว ตามคำของสุมนสามเณร ซึ่ง เป็นใจกลาง (จุดเด่น) แห่งราชอุทยานมหาเมฆวัน อันเป็นสถานที่ที่สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ และ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ๓ พระองค์ เคยประทับนั่งเข้าสมาบัติ, ทั้ง เป็นสถานที่มีต้นซึกใหญ่ ซึ่งเป็นต้นไม้ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง พระนามว่า กกุสันธะ, ต้นอุทุมพร (ต้นมะเดื่อ) ซึ่งเป็นต้นไม้ตรัสรู้ของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าโกนาคมน์ และต้นนิโครธ (ต้นไทร) ซึ่งเป็นต้นไม้ตรัสรู้ของสมเด็จพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่ในที่ ประมาณ ๕๐๐ ชั่วธนู วัดจากประตูด้านทิศทักษิณ. ถามว่า พระราชาทรงรับสั่งให้ตั้งต้นมหาโพธิ์นั้นไว้อย่างไร ? แก้ว่า ทรงรับสั่งให้พักไว้อย่างนี้ คือ :- ได้ยินว่า ตระกูลที่สมบูรณ์ ด้วยชาติทั้ง ๑๖ ตระกูล ที่มาแวดล้อมต้นโพธิ์เหล่านั้น ถือเอาเพศเป็นพระราชา พระราชาก็ทรงถือเอาเพศเป็นนายทวารบาล. ตระกูลทั้ง ๑๖ ตระกูลเอาต้น มหาโพธิ์ลงปลูกแล้ว (ที่ปูชนียสถาน ๔ แห่งดังกล่าวแล้วนั้น). [ต้นมหาโพธิ์แสดงอิทธิปาฏิหาริย์] ในขณะที่พอพ้นจากมือของตระกูลทั้ง ๑๖ เหล่านั้นนั่นแล ต้นมหาโพธิ์ ก็ลอยขึ้นไปสู่เวหาสสูงประมาณ ๘๐ ศอก แล้วเปล่งรัศมีซึ่งมีพรรณะ ๖ ประการ ออก. รัศมีทั้งหลายก็แผ่ปกคลุมไปทั่วเกาะ ได้ตั้งอยู่จดถึงพรหมโลกเบื้องบน. บุรุษประมาณหมื่นคน เห็นปาฏิหาริย์ต้นมหาโพธิ์แล้วเกิดความเลื่อมใส เริ่ม
163 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 163
เจริญอนุบุพพวิปัสสนา ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วบวช. ต้นมหาโพธิ์ได้ ประดิษฐานอยู่บนอากาศ จนพระอาทิตย์อัสดงคต ก็เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคต แล้ว จึงกลับ (ลงมา) ประดิษฐานอยู่บนปฐพี โดยโรหิณีนักขัตฤกษ์. พร้อมกับด้วยต้นมหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ (นั่นแล) มหาปฐพีได้ไหวจนถึงที่สุด น้ำ (รองแผ่นดิน). ก็แล ต้นมหาโพธิ์ ครั้นประดิษฐานอยู่แล้ว ก็นิ่งเงียบ อยู่ในกลีบเมฆ (กลุ่มหมอก) ตลอด ๗ วัน. ต้นมหาโพธิ์ได้ถึงความมอง ไม่เห็นของชาวโลก (คือชาวโลกมองไม่เห็นต้นมหาโพธิ์). ในวันที่ ๗ นภากาศ ได้ปราศจากเมฆหมอกแล้ว, รัศมีซึ่งมีพรรณะ ๖ ประการ ก็พวยพุ่งกระจาย ออก. ลำต้น กิ่ง ใบ และผลทั้ง ๕ แห่งต้นมหาโพธิ์ก็ปรากฏให้เห็น. พระมหินทเถระ พระนางสังฆมิตตาเถรี และพระราชา พร้อมด้วยข้าราชบริพาร ได้เสด็จไปถึงสถานที่ตั้งแห่งต้นมหาโพธิ์นั่นแล. และประชาชนชาวเกาะทั้งหมด ก็ประชุมกันแล้วโดยส่วนมาก. เมื่อชนเหล่านั้นมองดูอยู่นั่นเอง ผลหนึ่งจากกิ่ง ด้านทิศอุดรสุกแล้วก็หล่นจากกิ่ง. พระเถระน้อมหัตถ์เข้ารับไว้. ผลก็ได้ตั้งอยู่ บนหัตถ์ของพระเถระ. พระเถระได้ถวายผลนั้นแด่พระราชา โดยถวายพระพร ว่า ขอพระองค์ทรงปลูกเถิด มหาบพิตร ! [ต้นมหาโพธิ์แตกสาขาออกถึง ๘ ต้นและ ๓๒ ต้น] พระราชาทรงรับแล้ว ก็ทรงโปรยปุ๋ยที่มีรสดีลงที่กระถางทองใส่โคลน ที่ผสมด้วยของหอมให้เต็ม แล้วเพราะปลูกไว้ในที่ใกล้ต้นมหาโพธิ์. เมื่อชน ทั้งหมดดูอยู่นั่นเอง ต้นโพธิ์อ่อน ๆ ๘ ต้น ซึ่งมีประมาณ ๔ ศอก ได้งอก ขึ้นแล้ว. พระราชาทอดพระเนตรเห็นอัศจรรย์นั้นแล้วก็ทรงบูชาต้นโพธิ์อ่อน ๆ ๘ ต้นด้วยเศวตฉัตร แล้วถวายการอภิเษก (แก่ต้นโพธิ์อ่อน ๆ ทั้ง ๘ ต้นนั้น). ประชาชนปลูกต้นโพธิ์ต้นหนึ่ง (ซึ่งแยกออก) จากต้นโพธิ์อ่อน ๆ ทั้ง ๘ ต้นนั้น
164 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 164
ไว้ที่ท่าชื่อชมพูโกลปัฏฏนะ ในโอกาสที่ต้นมหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ครั้งแรก ใน คราวมาถึง. ปลูกต้นหนึ่งไว้ที่หน้าประตูบ้านของควักกพราหมณ์ ๑- อีกต้นหนึ่ง ที่ถูปาราม อีกต้นหนึ่งที่อิสสรนิมมานวิหาร ๒- อีกต้นหนึ่งใกล้ที่ตั้งพระปฐมเจดีย์ อีกต้นหนึ่งที่เจติยบรรพต อีกต้นหนึ่งที่บ้านกาชรคามในโรหณชนบท อีกต้น หนึ่งที่บ้านจันทนคาม ในโรหณชนบทนั่นเอง. ประชาชนทั้งหลายได้ปลูก ต้นโพธิ์อ่อน ๓๒ ต้น ซึ่งเกิดจากพืชแห่งผลทั้ง ๔ นอกนี้ไว้ในอารามที่ตั้งอยู่ใน ระยะโยชน์หนึ่ง. [พระนางอนุฬาเทวีและอริฏฐอำมาตย์ผนวชแล้วสำเร็จพระอรหัต] เมื่อต้นมหาโพธิ์ อันเป็นธงชัยแห่งพระสัทธรรมของพระทศพล ประดิษฐานอยู่แล้ว เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนชาวเกาะโดย รอบ ด้วยการสืบต่อลำดับแห่งลูกหลานอย่างนี้แล้ว พระนางอนุฬาเทวี พร้อม กับมาตุคามพันหนึ่ง คือ หญิงสาว (ผู้เป็นบาทบริจาริกาของตน) ๕๐๐ คน และหญิงชาววังอีก ๕๐๐ คน ผนวชในสำนักของพระนางสังฆมิตตาเถรี ไม่ นานนักพร้อมด้วยบริวารก็ดำรงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์. ฝ่ายพระราชภาคิไนย ชื่ออริฏฐะแล พร้อมกับบุรุษ ๕๐๐ คน บวชในสำนักของพระเถระ พร้อมด้วยบริวาร ได้ดำรงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์ ต่อกาลไม่นานเช่น เดียวกัน. [พระศาสนาจักตั้งมั่นเพราะกุลบุตรชาวเกาะลังกาบวชเรียน] ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาถวายบังคมต้นมหาโพธิ์แล้ว เสด็จไปยัง ถูปารามพร้อมกับพระเถระ. เมื่อท้าวเธอเสด็จไปถึงสถานที่จะสร้างโลหปราสาท &01
165 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 165
พวกราชบุรุษก็ได้นำดอกไม้ทั้งหลายมาทูลถวาย. พระราชาได้ถวายดอกไม้ ทั้งหลายแก่พระเถระ. พระเถระก็เอาดอกไม้บูชาที่จะสร้าง โลหปราสาท. พอ เมื่อดอกไม้ทั้งหลาย สักว่าตกลงที่พื้น ได้เกิดมีแผ่นดินหวั่นไหวใหญ่. พระราชา ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! เพราะเหตุไร แผ่นดินจึงไหว ? พระเถระ ทูลว่า มหาบพิตร ! ในอนาคต โรงพระอุโบสถจักมีแก่สงฆ์ในโอกาสนี้ นี้จัก เป็นบุรพนิมิตแห่งโรงพระอุโบสถนั้น. พระราชาเสด็จต่อไปพร้อมกับพระเถระ ได้เสด็จไปถึงอัมพังคณสถาน. ที่อัมพังคณสถานนั้น ราชบุรุษได้นำผลมะม่วงสุกผลหนึ่งซึ่งสมบูรณ์ด้วยสีและ กลิ่น มีรสอร่อยยิ่ง มาทูลถวายแด่พระราชาพระองค์นั้น. พระราชาได้ถวาย ผลมะม่วงนั้นแก่พระเถระเพื่อขบฉัน. พระเถระก็ฉันในที่นั้นนั่นเอง แล้วทูลว่า ขอพระองค์ทรงปลูกเมล็ดมะม่วงนี้ไว้ ในที่นี้นั่นแล. พระราชา ทรงรับเอาเมล็ดมะม่วงนั้นแล้ว ทรงเพาะปลูกไว้ในที่นั้น นั่นเอง แล้วทรงรดน้ำ. พร้อมกับการทรงเพราะปลูกเมล็ดมะม่วงปฐพีหวั่นไหว แล้ว. พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! เพราะเหตุไร ปฐพีจึงไหว ? พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ! ในอนาคตที่ประชุมสงฆ์ ชื่ออัมพังคณะ จักมีใน โอกาสนี้ นี้จักเป็นบุรพนิมิตแห่งสันนิบาตสถานนั้น. พระราชา ทรงโปรยดอกไม้ ๘ กำลงในที่นั้น ทรงไหว้แล้วก็เสด็จ ต่อไปอีกพร้อมกับพระเถระ ได้เสด็จไปถึงสถานที่จะสร้างมหาเจดีย์. ในสถาน ที่นั้น พวกราชบุรุษ ได้นำดอกจำปาทั้งหลายมาทูลถวายแด่พระราชาองค์นั้น. พระราชา ได้ถวายดอกจำปาเหล่านั้นแก่พระเถระ. พระเถระก็เอาดอกไม้บูชา ที่จะสร้างมหาเจดีย์แล้วไหว้. ในทันใดนั้นเอง มหาปฐพีก็หวั่นไหว. พระราชา ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! เพราะเหตุไร ปฐพีจึงได้ไหว. พระเถระ
166 ปฐมมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 166
ทูลว่า มหาบพิตร ! ในอนาคต พระมหาสถูป ซึ่งไม่มีที่ไหนเหมือนของ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจักมีในโอกาสนี้ นี้จักเป็นบุรพนิมิต แห่งมหาสถูปนั้น. พระราชา ทรงรับสั่งว่า ข้าพเจ้าเอง จะสร้าง ท่านผู้เจริญ ! พระเถระ ทูลว่า อย่าเลย มหาบพิตร ! พระองค์ ยังมีการงานอื่น อยู่มาก แต่พระนัดดาของพระองค์ พระนามว่า ทุฏฐคามณีอภัย จักทรง ให้สร้าง. คราวนั้น พระราชา ทรงรับสั่งว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ถ้า พระนัดดาของข้าพเจ้าจักสร้างไซร้ ก็จักสร้างสิ่งที่ข้าพเจ้าสร้างไว้แล้วนั่นเอง ดังนี้แล้ว จึงรับสั่งให้นำเสาหินมีประมาณ ๑๒ ศอกมา แล้วให้จารึกอักษรไว้ว่า พระนัดดาของพระเจ้าเทวานัมปิยดิสพระนามว่า ทุฏฐคามณีอภัย จงสร้าง พระสถูปไว้ในประเทศนี้เถิด ดังนี้ รับสั่งให้ประดิษฐานไว้แล้ว จึงตรัสถาม พระเถระว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระศาสนา ตั้งมั่นแล้วในเกาะลังกา ทวีปหรือยัง ? พระเถระทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! พระศาสนาตั้งมั่นแล้ว แต่ว่า รากเหง้าแห่งพระศาสนานั้น ยังไม่หยั่งลงก่อน. พระราชา ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ก็เมื่อไรรากเหง้า (แห่งพระศาสนานั้น) จักชื่อว่าเป็นอันหยั่งลงแล้ว ? พระเถระ ทูลว่า มหาบพิตร ! ในกาลใด เด็กผู้เกิดในเกาะตัมพปัณณิทวีป มีมารดาบิดาเป็นชาวเกาะตัมพปัณณิทวีป จักออกบวชในเกาะ ตัมพปัณณิทวีป แล้วเรียนพระวินัยในเกาะตัมพปัณณิทวีปนั่นเอง ออกสอน
167 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 167
(พระวินัย) ในเกาะตัมพปัณณิทวีปได้ ในกาลนั้นรากเหง้าแห่งพระศาสนา จักชื่อว่าเป็นอันหยั่งลงแล้ว. พระราชา ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ก็ภิกษุเช่นนี้ มีอยู่หรือ ? พระเถระ ทูลว่า มีอยู่ มหาบพิตร ! พระมหาอริฏฐภิกษุเป็นผู้ สามารถในกรรมนั้น. พระราชา ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าควรทำ อะไรบ้าง ในกรรมนี้. พระเถระ ทูลว่า ควรสร้างมณฑป มหาบพิตร ! [พระเจ้าเทวานัมปิยดิสสร้างมณฑปเพื่อทำจตุตถสังคายนา] พระราชา ทรงรับว่า ดีละ เจ้าข้า ! แล้วรับสั่งให้สร้างมณฑปด้วย ราชานุภาพ ซึ่งเป็นเช่นกับมณฑปที่พระเจ้าอชาตศัตรูมหาราช ทรงสร้างใน คราวทำมหาสังคีติ (คือสังคายนาครั้งแรก) ไว้ในเนื้อที่ของอำมาตย์ ชื่อ เมฆวรรณาภัย (ของพระเจ้าเมฆวรรณาภัย) แล้วทรงรับสั่งให้พวกพนักงาน ตาลาวจรดนตรี ๑- ทั้งปวง ฝึกซ้อมในศิลปะของตน ๆ ไว้ (สั่งให้เตรียมซ้อมดนตรี ไว้ให้ชำนาญ) แล้วทรงรับสั่งว่า ข้าพเจ้า จักดูรากเหง้าแห่งพระศาสนา ที่ หยั่งลงแล้ว ดังนี้ มีบุรุษจำนวนหลายพันแวดล้อมแล้ว ได้เสด็จไปถึงถูปาราม. &01
168
เล่มที่ 1 หน้า 168
เริ่มจตุตถสังคายนา โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๖๘,๐๐๐ รูป ประชุมกันที่ถูปาราม. อาสนะ ของพระมหามหินทเถระ เขาปูหันหน้าไปทางด้านทิศทักษิณ. ธรรมาสน์ของ พระมหาอริฏฐเถระ เขาจัดตั้งหันหน้าไปทางด้านทิศอุดร. ครั้งนั้นแล พระมหาอริฏฐเถระ อันพระมหินทเถระ เชื้อเชิญแล้วก็นั่งบนธรรมาสน์ โดยลำดับ อันถึงแก่ตน ตามสมควร. พระมหาเถระ ๖๘ รูป ซึ่งมีพระมหินทเถระเป็น ประมุข ก็นั่งล้อมธรรมาสน์. พระกนิษฐภาดา แม้ของพระราชา พระนามว่า มัตตาภยเถระ เป็นผู้เอาธุระการงาน (คือตั้งใจศึกษาเล่าเรียน) ร่วมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป นั่งล้อมธรรมาสน์ของพระมหาอริฏฐเถระนั้นแล ด้วยตั้งใจว่า จัก เรียนเอาพระวินัย. พวกภิกษุแม้ที่เหลือ และบริษัทพร้อมด้วยพระราชา ก็ได้ นั่งบนที่นั่งอันถึงแก่ตน ๆ แล้ว. ครั้งนั้น ท่านพระมหาอริฏฐเถระ ได้แสดงนิทานแห่งพระวินัยว่า โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดาอันนเฬรุยักษ์สิง ใกล้เมืองเวรัญชา ดังนี้เป็นต้น. ก็แลเมื่อท่านพระอริฏฐเถระ แสดง นิทานแห่งพระวินัยแล้ว อากาศก็ร้องคำรามดังสนั่น. สายฟ้าอันมิใช่ฤดูกาลก็ แลบแปลบปลาบ. พวกเทวดาได้ถวายสาธุการแล้ว. มหาปฐพีไหวหวั่น จนถึง ที่สุดน้ำรองแผ่นดิน. เมื่อปาฏิหาริย์หลายอย่างเป็นไปอยู่อย่างนั้น ท่านพระอริฏฐเถระซึ่งมี พระมหาเถระขีณาสพ เจ้าคณะแต่ละคณะ ๖๘ รูป อันมีพระมหามหินท์เป็น ประมุข และภิกษุหกหมื่นรูปนอกจากนั้นห้อมล้อมแล้ว ได้ประกาศพระวินัย ปิฎก อันแสดงซึ่งคุณมีพระกรุณาของพระศาสดาเป็นต้น ซึ่งกำจัดความดิ้นรน
169 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 169
ทางกายกรรมวจีกรรม ของเหล่าชนผู้ทำตามคำพร่ำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในท่ามกลางแห่งมหาวิหารถูปาราม ในวันปวารณาเดือนกัตติกาแรก. ก็ท่าน พระอริฏฐเถระ ครั้นประกาศแล้ว บอกสอนแก่ภิกษุเป็นอันมาก คือ ให้ตั้ง อยู่ในหทัยของภิกษุมากหลาย ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุ แล้วก็ปรินิพพาน ด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. พระมหาเถระ ๖๘ รูป แม้เหล่านั้นแล อันมีพระมหามหินท์เป็นประมุข ผู้เอาธุระ การงานมาประชุมพร้อมกันแล้วในสมาคม นั้น, ทั้งหมดเป็นเจ้าคณะแต่ละคณะ เป็น สาวกของพระธรรมราชา มีอาสวะสิ้นแล้ว ได้บรรลุวสี มีวิชชา ๓ ฉลาดในอิทธิฤทธิ์ รู้แจ้งอุดมอรรถอนุสาสน์พระราชา พระเถระ ผู้แสวงหาคุณใหญ่แสดงแสงสว่าง (คือ ความสว่างแห่งญาณ) ให้เห็นชัด ยังแผ่นดิน (คือเกาะลังกา) นี้ให้รุ่งเรืองแล้ว ก็ปรินิพพาน เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วดับไป ฉะนั้น. จำเนียรกาลต่อมาแต่กาลปรินิพพานแห่งพระมหาเถระเหล่านั้นลำดับ สืบต่อกันมาแห่งอาจารย์ ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในตอนต้นอย่างนี้ คือ พระมหาเถระแม้เหล่าอื่น ผู้เป็นอันเตวาสิกของพระเถระเหล่านั้น และพระเถระ ทั้งหลาย มีพระติสสทัตตะ พระกาฬสุมนะ และพระทีฆสุมนะเป็นต้น ผู้เป็น อันเตวาสิกแห่งอันเตวาสิกทั้งหลาย ของพระมหาอริฏฐเถระ ได้นำพระวินัยปิฎกนี้มา จนถึงทุกวันนี้.
170 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 170
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า ก็ถัดจากตติยสังคายนามา พระเถระทั้งหลาย มีพระมหินท์เป็นต้น ได้นำพระวินัยปิฎกมาสู่เกาะนี้. พระเถระทั้งหลาย มีพระอริฏฐเถระเป็นต้น เรียนจาก (สำนัก) พระมหินท์ แล้ว ได้นำมาตลอดเวลาระยะหนึ่ง ตั้งแต่เวลาพระอริฏฐเถระเป็นต้นนั้นนำมา พระวินัยปิฎกนั่น พึงทราบว่า ได้นำสืบมาโดยลำดับอาจารย์ ซึ่งเป็นการสืบ ลำดับอันเตวาสิกของพระอริฏฐเถระเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเอง จนถึงทุกวันนี้. [แก้บทมาติกาว่า พระวินัยปิฎกตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด] บทมาติกาว่า พระวินัยปิฎกตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด ข้าพเจ้าจะเฉลย ต่อไป :- พระวินัยปิฎกของบุคคลเหล่าใด ย่อมเป็นไปไม่พร่อง ทั้งโดยบาลี ทั้งโดยอรรถ คือไม่เลอะเลือนแม้น้อยหนึ่ง เหมือนน้ำมันงาที่ใส่ไว้ในหม้อ แก้วมณี ย่อมไม่ซึมออกฉะนั้น พึงทราบว่า พระวินัยปิฎกตั้งอยู่แล้วในบุคคล เห็นปานนั้น ซึ่งเป็นผู้มีสติ คติ และธิติมีประมาณยิ่ง ผู้เป็นลัชชี มักมีความ รังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา. [อานิสงส์แห่งการเรียนพระวินัย ๕ ข้อ] เพราะฉะนั้น เพื่อให้พระวินัยตั้งมั่น อันภิกษุผู้กำหนดรู้อานิสงส์แห่ง วินัยปริยัติ (การเรียนพระวินัย) ใคร่ต่อการศึกษา ก็ควรเรียนพระวินัย. ในอธิการว่าด้วยการพรรณนานิทานนั้น มีอานิสงส์แห่งวินัยปริยัติ (การเรียน พระวินัย) ดังต่อไปนี้ :- จริงอยู่ บุคคลผู้ฉลาดในวินัยปริยัติ ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานเป็น มารดาบิดาของเหล่ากุลบุตร ผู้ได้ศรัทธาในพระศาสนา เพราะว่า บรรพชา อุปสมบท ข้อปฏิบัติวัตรใหญ่น้อย ความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระและโคจร ของกุลบุตรเหล่านั้น เนื่องด้วยความฉลาดในวินัยปริยัตินั้น.
171 พาหิรนิทานวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 171
อีกประการหนึ่ง เพราะอาศัยวินัยปริยัติ กองศีลของตน ย่อมเป็น ของอันบุคคลนั้น คุ้มครองรักษาดีแล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งพิงของเหล่ากุลบุตร ผู้ถูกความสงสัยครอบงำ ย่อมกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ ย่อมข่มขี่พวกข้าศึกได้ ด้วยดี โดยสหธรรม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ เหล่านี้ (มีอยู่) ในบุคคลผู้ทรงพระวินัย คือ :- (๑) กองศีลของตน ย่อมเป็นของอันบุคคลนั้น คุ้มครองรักษาไว้ ดีแล้ว (๒) ย่อมเป็นที่พึ่งพิงของเหล่ากุลบุตร ผู้ถูกความสงสัยครอบงำ (๓) ย่อมเป็นผู้กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ (๔) ย่อมข่มขี่พวกข้าศึกได้ด้วยดี โดยสหธรรม (๕) ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม. ๑- (วินัยเป็นข้อปฏิบัติให้บรรลุความหลุดพ้นจากกิเลสเป็นที่สุด) ก็อีกประการหนึ่ง กุศลธรรมเหล่าใด ซึ่งมีสังวรเป็นมูล อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว, บุคคลผู้ทรงวินัยนั่นแล ชื่อว่าเป็นทายาทแห่งกุศล ธรรมเหล่านั้น เพราะธรรมเหล่านั้น มีวินัยเป็นมูล. สมจริงดังคำที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า วินัย ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่สังวร (ความสำรวม), สังวรย่อมมี เพื่อประโยชน์แก่อวิปปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อน), อวิปปฏิสาร ย่อมมีเพื่อ ประโยชน์แก่ความปราโมทย์, ความปราโมทย์ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ปีติ (ความอิ่มใจ), ปีติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ (ความสงบ), ปัสสัทธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ความสุข, ความสุข ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ &01
172 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 172
(ความตั้งใจมั่น) สมาธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความ รู้เห็นตามเป็นจริง), ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา (ความเบื่อหน่าย), นิพพิทา ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิราคะ (ความสำรอก กิเลส), วิราคะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ (ความหลุดพ้น) วิมุตติ ย่อมมี เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ (ความรู้เห็นความหลุดพ้น), วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน (ความดับสนิทหาเชื้อ มิได้), การกล่าว การปรึกษา กิริยานั่งใกล้ความเงี่ยโสตลงสดับ แต่ละอย่าง ๆ มีอนุปาทาปรินิพพาน คือ ความพ้นพิเศษแห่งจิต ไม่ถือมั่น นั่นเป็นผล. ๑- เพราะฉะนั้น ควรทำความพยายามโดยเอื้อเฟื้อในการเล่าเรียนพระวินัย ดังนี้แล. [คาถาสรุปเรื่อง] ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ เป็นอันข้าพเจ้าประกาศใจความแห่ง คาถานี้ว่า พระวินัยปิฎกนี้ ผู้ใดกล่าวไว้ กล่าว ไว้เพื่อใด กล่าวไว้ทำไม ผู้ใดทรงไว้ ผู้ใด นำสืบมา และประดิษฐานอยู่แล้วในผู้ใด ข้าพเจ้ากล่าววิธีดังนี้แล้ว ภายหลัง (จัก พรรณนาอรรถแห่งพระวินัย) ดังนี้ ในมาติกา ที่ข้าพเจ้าตั้งไว้ เพื่อสังวรรณนาพระวินัยนั้นก่อน และการสังวรรณนา พาหิรนิทานแห่งพระวินัย ก็เป็นอันข้าพเจ้าวรรณนาแล้ว ตามที่ได้อธิบายมา ดังนี้แล. พาหิรนิทานวรรณนา จบ &01
173
เล่มที่ 1 หน้า 173
เวรัญชกัณฑวรรณนา ๑- บัดนี้ ข้าพเจ้าจักทำการพรรณนาเนื้อความแห่งบททั้งหลาย มี บทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นอาทิ เพราะได้กล่าวไว้แล้วว่า จักทำการพรรณนาอรรถแห่งวินัย แสดงเนื้อความแห่งปาฐะว่า เตน เป็นอาทิ โดยประการต่าง ๆ. ข้าพเจ้าจักทำอรรถวรรณนาอย่างไรเล่า. [อธิบายบทว่า เตน เป็นต้น] บทว่า เตน เป็นคำแสดงออกโดยไม่เจาะจง. บัณฑิตพึงทราบ ปฏินิเทศแห่งบทว่า เตน นั้น ด้วยคำว่า เยน นี้ ซึ่งเป็นคำสรุปแม้ไม่กล่าวไว้ แต่สำเร็จได้โดยใจความในกาลภายหลัง. จริงอยู่ ความรำพึงของท่าน พระสารีบุตร ซึ่งเป็นเหตุแห่งการทูลวิงวอนให้บัญญัติพระวินัย สำเร็จได้ในกาล ภายหลัง เพราะเหตุนั้น พึงทราบสัมพันธ์ในคำว่า เตน สมเยน เป็นต้นนี้ อย่างนี้ว่า ความรำพึงนั้นเกิดขึ้น โดยสมัยใด โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เสด็จประทับที่เมืองเวรัญชา. จริงอยู่ วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะแม้ในวินัยทั้งหมด คือคำว่า เตน ท่าน กล่าวไว้ในที่ใด ๆ ในที่นั้น ๆ บัณฑิตพึงทำปฏินิเทศด้วยคำว่า เยน นี้ ซึ่งสำเร็จโดยใจความในกาลก่อนหรือภายหลัง. อุทาหรณ์พอเป็นทางในวิธีที่ เหมาะตามที่กล่าวนั้นดังนี้ ภิกษุสุทินเสพเมถุนธรรม เพราะเหตุใด ภิกษุ &01
174 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 174
ทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย มีคำ อธิบายว่า ภิกษุสุทินเสพเมถุนธรรม เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น เราจักบัญญัติ. ปฏินิเทศ ย่อมเหมาะด้วยคำว่า เยน นี้ ซึ่งสำเร็จโดยใจความในกาลก่อน อย่างนี้ก่อน. ปฏินิเทศ ย่อมเหมาะด้วยคำว่า เยน นี้ ซึ่งสำเร็จโดยใจความ ในภายหลัง อย่างนี้ว่า พระธนิยะ บุตรนายช่างหม้อ ได้ถือเอาของที่เจ้าของ เขาไม่ให้ คือไม้ทั้งหลายของพระราชา โดยสมัยใด โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จอยู่ที่กรุงราชคฤห์. เนื้อความแห่งคำว่า เตน เป็นอัน ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้. [อธิบายบทว่า สมเยน เป็นต้น] ส่วน สมยศัพท์ ซึ่งมีในบทว่า สมเยน นี้ ย่อมปรากฏในอรรถ ๙ อย่าง คือ สมวายะ ๑ ขณะ ๑ กาละ ๑ สมุหะ ๑ เหตุ ๑ ทิฏฐิ ๑ ปฏิลาภะ ๑ ปหานะ ๑ ปฏิเวธะ ๑ ก่อน. จริงอย่างนั้น สมยศัพท์มีสมวายะเป็นอรรถ ในคำทั้งหลายมีอาทิ อย่างนี้ว่า ชื่อแม้ไฉน แม้พรุ่งนี้ เราทั้งหลายพึงเข้าไปให้เหมาะกาลและความ พร้อมกัน. ๑- มีขณะเป็นอรรถในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! &01
175 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 175
ก็ขณะและสมัยเพื่ออยู่พรหมจรรย์มีหนึ่งแล ๑- มีกาละเป็นอรรถในคำทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า คราวร้อน คราวกระวนกระวาย ๒- . มีสมุหะเป็นอรรถในคำ ทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ประชุมใหญ่ในป่ามหาวัน ๓- . มีเหตุเป็นอรรถ ในคำ ทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภัททาลิ ! แม้เหตุแล ได้เป็นของอันท่านไม่ได้ แทงตลอดแล้วว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล เสด็จอยู่ในกรุงสาวัตถี. แม้ พระองค์จักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อว่าภัททาลิ มิใช่ผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์ ด้วยสิกขาในศาสนาของพระศาสนา ดูก่อนภัททาลิ ! เหตุแม้นี้แล ได้เป็นของ อันท่านไม่ได้แทงตลอดแล้ว ๔- . มีทิฏฐิเป็นอรรถในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ปริพาชกชื่ออุคคหมานะบุตรของสมณมุณฑิกา อาศัยอยู่ใน อารามของนางมัลลิกา ศาลาหลังเดียวใกล้แถวต้นมะพลับเป็นที่สอนทิฏฐิเป็นที่ เรียน ๕- . มีปฏิลาภะเป็นอรรถ ในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ประโยชน์ใด ในทิฏฐธรรมนั่นแล ด้วยประโยชน์ใด เป็นไปในสัมปรายภพด้วย นักปราชญ์ ท่านเรียกว่า บัณฑิต เพราะได้ เฉพาะซึ่งประโยชน์นั้น ๖- . มีปหานะเป็นอรรถ ในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ได้กระทำ ที่สุดทุกข์ เพราะละมานะโดยชอบ ๗- . มีปฏิเวธะเป็นอรรถ ในคำทั้งหลายมี อาทิอย่างนี้ว่า อรรถคือความบีบคั้นแห่งทุกข์ อรรถคือข้อที่ทุกข์เป็นสังขตธรรม อรรถคือความแผดเผาแห่งทุกข์ อรรถคือความแปรปรวนแห่งทุกข์ เป็นอรรถที่ควรแทงตลอด ๘- . แต่ในที่นี้ สมยศัพท์นั้นมีกาละเป็นอรรถ เพราะ &01
176 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 176
เหตุนั้น พึงเห็นเนื้อความในบทว่า เตน สมเยน นี้ อย่างนี้ว่า ความรำพึง เป็นเหตุทูลวิงวอนให้ทรงบัญญัติวินัยเกิดขึ้นแก่ท่านพระสารีบุตร โดยกาลใด โดยกาลนั้น. ในบทว่า เตน สมเยน นี้ โจทก์ท้วงว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร ในวินัยนี้ จึงทำนิเทศด้วยตติยาวิภัตติว่า เตน สมเยน ไม่ทำด้วยทุติยาวิภัตติ ว่า เอกํ สมยํ เหมือนในสุตตันตะ และด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ เหมือนในอภิธรรมเล่า ? เฉลยว่า เพราะความสมกับใจความโดย ประการอย่างนั้น ในสุตตันตะและอภิธรรมนั้น และเพราะความสมกับใจความ โดยประการอื่นในวินัยนี้ สมกับใจความอย่างไร ? สมยศัพท์มีอัจจันตสังโยค เป็นอรรถ เหมาะในสุตตันตะก่อน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ด้วย กรุณาวิหารตลอดที่สุดสมัยที่ทรงแสดงพระสุตตันตะทั้งหลาย มีพรหมชาลสูตร เป็นต้นทีเดียว เพราะเหตุนั้น ในสุตตันตะนั้นท่านจึงทำอุปโยคนิเทศ เพื่อ ส่องเนื้อความนั้น. ก็แล สมยศัพท์มีอธิกรณะเป็นอรรถ และความกำหนด ภาวะด้วยภาวะเป็นอรรถ ย่อมเหมาะ ในอภิธรรม. จริงอยู่ สมยศัพท์มีกาละ เป็นอรรถและมีสมุหะเป็นอรรถ เป็นอธิกรณ์แห่งธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในอภิธรรมนั้น ภาวะแห่งธรรมเหล่านั้น อันท่าน ย่อมกำหนดด้วยความมีแห่งสมัย กล่าวคือ ขณะ สมวายะ และเหตุ เพราะ เหตุนั้น ในอภิธรรมนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติ เพื่อส่องเนื้อความ นั้น. ส่วนในวินัยนี้ สมยศัพท์มีเหตุเป็นอรรถและมีกรณะเป็นอรรถจึงสมกัน &01
177 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 177
๑- ก็สมัยบัญญัติสิกขาบทใดนั้น เป็นสมัยที่พระสารีบุตรเป็นต้นรู้ได้ ยาก, โดยสมัยนั้น อันเป็นเหตุและกรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ สิกขาบททั้งหลาย และทรงพิจารณาดูเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบท ได้เสด็จ ประทับอยู่ในที่นั้น ๆ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านทำนิเทศด้วย ตติยาวิภัตติในวินัยนี้ เพื่อส่องเนื้อความนั้น. ก็ในที่นี้มีคาถา (ด้วยสามารถ แห่งการสงเคราะห์เนื้อความตามที่กล่าวแล้ว) ดังต่อไปนี้ว่า เพราะพิจารณาเนื้อความนั้น ๆ ท่าน พระเถระทั้งหลาย จึงกล่าวสมยศัพท์ใน พระสูตรและพระอภิธรรมแห่งใดแห่งหนึ่ง ด้วยตติยาวิภัตติและสัตตมีวิภัตติ, สมยศัพท์ นั้นท่านกล่าวในพระวินัยนี้ ด้วยตติยาวิภัตติ เท่านั้น. ส่วนพระโบราณาจารย์พรรณนาไว้ว่า ความต่างกันนี้ว่า ตํ สมยํ ตลอดสมัยนั้นก็ดี ว่า ตสฺมึ สมเย ในสมัยนั้นก็ดี ว่า เตน สมเยน โดยสมัยนั้นก็ดี แปลกกันแต่เพียงถ้อยคำ, ในทุก ๆ บทมีสัตตมีวิภัตติเท่านั้น เป็นอรรถ. เพราะฉะนั้น ตามลัทธิของพระโบราณาจารย์นั้น แม้เมื่อท่าน กล่าวคำว่า เตน สมเยน แปลว่า โดยสมัยนั้น ก็พึงเห็นความว่า ตสฺมึ สมเย แปลว่า ในสมัยนั้น. ข้าพเจ้าจักพรรณนาอรรถแห่งบทเหล่านี้ว่า พุทฺโธ ภควา ดังนี้ เป็นต้นข้างหน้า. &01
178 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 178
[อรรถาธิบายคำว่า เวรญฺชายํ วิหรติ] ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เวรญฺชายํ วิหรติ นี้ ดังต่อไปนี้ :- คำว่า เวรญฺชายํ นี้ เป็นชื่อเมืองใดเมืองหนึ่ง. ในเมืองเวรัญชานั้น. คำว่า เวรญฺชายํ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. คำว่า วิหรติ เป็นการ แสดงถึงความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมเครื่องอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา ธรรมเครื่องอยู่คืออิริยาบถวิหาร ทิพพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร โดยไม่แปลกกัน. แต่ในที่นี้แสดงถึงการประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอิริยาบถมีประเภท คือ การยืน การเดิน การนั่ง และการนอน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ก็ดี เสด็จดำเนินไปก็ดี ประทับ นั่งอยู่ก็ดี บรรทมอยู่ก็ดี บัณฑิตพึงทราบว่า เสด็จประทับอยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบำบัดความลำบากแห่งอิริยาบถอย่างหนึ่ง ด้วยอิริยาบถอีกอย่างหนึ่ง ทรงนำ คือทรงยังอัตภาพให้เป็นไปมิให้ทรุดโทรม เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า เสด็จประทับอยู่. [อรรถาธิบายคำว่า นเฬรุปุจิมนฺทมูเล เป็นต้น] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นเฬรุปุจิมนฺทมูลเล นี้ ดังต่อไปนี้ :- ยักษ์ชื่อ นเฬรุ. ต้นสะเดาชื่อว่า ปุจิมันทะ. บทว่า มูลํ แปลว่า ที่ใกล้. จริงอยู่ มูลศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในรากเหง้า ในคำทั้งหลายมีอาทิเช่นว่า พึงขุดรากเหง้าทั้งหลาย โดยที่สุดแม้เพียงแฝกและอ้อ. ในเหตุอันไม่ทั่วไปใน คำมีอาทิว่า ความโลภ เป็นอกุศลมูล. ในที่ใกล้ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า เงาย่อมแผ่ไปในเวลาเที่ยง, ใบไม้ทั้งหลายย่อมตกไปในเวลาปราศจากลม ได้ เพียงใด ด้วยที่เพียงเท่านี้ ชื่อว่ารุกขมูล (โคนต้นไม้). แต่ในบทว่า มูเล นี้ ท่านประสงค์เอาที่ใกล้. เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความในคำนี้ อย่างนี้ว่า
179 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 179
ที่ใกล้ต้นไม้สะเดาอันนเฬรุยักษ์สิงแล้ว. ได้ยินว่า ต้นสะเดานั้นน่ารื่นรมย์ น่าเลื่อมใส ทำท่าเหมือนเป็นเจ้าใหญ่แห่งต้นไม้มากมาย มีอยู่ในที่ ซึ่งถึง พร้อมด้วยทางไปมาไม่ไกลเมืองนั้น. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปเมืองเวรัญชา เมื่อจะประทับ อยู่ในสถานอันสมควร จึงประทับอยู่ ณ ที่ใกล้ คือ ส่วนภายใต้แห่งต้นไม้นั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวว่า เสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดาที่ นเฬรุยักษ์สิงอยู่ ใกล้เมืองเวรัญชา. หากจะมีคำทักท้วงในข้อนั้นว่า ถ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองเวรัญชาก่อน, คำว่า ที่โคนต้นสะเดาซึ่ง นเฬรุยักษ์สิงอยู่ อันพระอุบาลีเถระไม่ควรกล่าว, ถ้าเสด็จประทับอยู่ที่ โคนต้นสะเดา ซึ่งนเฬรุยักษ์สิงอยู่นั้น, คำว่า ที่เมืองเวรัญชา ท่านก็ไม่ควรกล่าว, เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่อาจเสด็จประทับอยู่ในสองตำบลพร้อม ๆ กัน โดยสมัยเดียวกันนั้นได้. แต่คำว่า เวรญฺชายํ วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล นั้น บัณฑิตไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย, ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วมิใช่หรือว่า บทว่า เวรญฺชายํ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดา ซึ่งนเฬรุยักษ์สิง ในที่ใกล้ แห่งเมืองเวรัญชา พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า เสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดา ซึ่งนเฬรุยักษ์สิงใกล้เมืองเวรัญชา แม้ในพระบาลีประเทศนี้ เหมือนอย่างฝูงโค ทั้งหลาย เมื่อเที่ยวไปในที่ใกล้แห่งแม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า เที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคา เที่ยวไปใกล้แม่น้ำยมุนา ฉะนั้น. [อธิบายคำว่า เวรญฺชายํ และ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล] ในคำว่า เวรญฺชายํ วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล นี้ บัณฑิตพึง ทราบอรรถโยชนา โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า จริงอยู่ คำว่า เวรัญชา มีอัน
180 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 180
แสดงโคจรคามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นประโยชน์. คำว่า นเฬรุปุจิมันทมูล มีอันแสดงสถานเป็นที่อยู่อันสมควรแก่บรรพชิตเป็นประโยชน์. ท่านพระอุบาลีเถระแสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทำการอนุเคราะห์พวก คฤหัสถ์ ในบรรดาคำระบุทั้งสองนั้น ด้วยคำระบุว่า เวรัญชา แสดงการที่ ทรงอนุเคราะห์บรรพชิต ด้วยคำระบุว่า นเฬรุปุจิมันทมูล. อนึ่ง แสดงความเว้นอัตตกิลมถานุโยค เพราะการรับปัจจัย ด้วยคำ ระบุต้น, แสดงอุทาหรณ์แห่งอุบาย ในการเว้นกามสุขัลลิกานุโยค เพราะละ วัตถุกามเสีย ด้วยคำระบุหลัง. อนึ่ง แสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ประกอบยิ่งด้วยธรรมเทศนา ด้วยคำระบุต้น, แสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง น้อมไปเพื่อวิเวก ด้วยคำระบุหลัง. แสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบ ด้วยพระกรุณา ด้วยคำระบุต้น, แสดงการที่ทรงประกอบด้วยพระปัญญา ด้วยคำระบุหลัง. แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงน้อมพระทัยไป ในอันยัง หิตสุขให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยคำระบุต้น, แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่เข้าไปติดในการทำหิตสุขแก่สัตว์อื่น ด้วยคำระบุหลัง. แสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอยู่สำราญมีการไม่สละสุข ซึ่งประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่อง หมาย ด้วยคำระบุต้น, แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอยู่สำราญ มีความ ตามประกอบในอุตริมนุสธรรมเป็นเครื่องหมาย ด้วยคำระบุหลัง. แสดงข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่มนุษย์ทั้งหลาย, ด้วยคำระบุต้น, แสดงข้อที่พระองค์เป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่เทวดาทั้งหลาย ด้วยคำระบุหลัง. แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้วเจริญพร้อมในโลก ด้วยคำระบุต้น, แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เข้าไปติดอยู่ในโลก ด้วยคำ ระบุหลัง. ด้วยคำระบุต้น แสดงการที่พระองค์ทรงยังประโยชน์เป็นที่เสด็จ
181 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 181
อุบัติให้สำเร็จเรียบร้อย ตามพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลเอก เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย, บุคคลเอก คือบุคคลชนิดไหน คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, ๑- ด้วยคำระบุหลัง แสดงความอยู่สมควรแก่สถานที่เสด็จอุบัติ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติในป่าเท่านั้น ด้วยความอุบัติทั้งที่เป็น โลกิยะและโลกุตระ คือ ครั้งแรกที่ลุมพินีวัน ครั้งที่สองที่โพธิมณฑล ด้วย เหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงแสดงที่อยู่ ของพระองค์ ในป่าทั้งนั้น. [อธิบายคำว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ นี้ต่อไป บทว่า มหตา มีความว่า ใหญ่ด้วยความเป็นผู้มีคุณใหญ่บ้าง ใหญ่ด้วยความ เป็นผู้มีจำนวนมากบ้าง. จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้น ได้เป็นใหญ่ด้วยคุณทั้งหลาย บ้าง เพราะเหตุว่า ภิกษุผู้มีคุณล้าหลัง ในภิกษุสงฆ์นั้น ได้เป็นพระโสดาบัน บุคคล ได้เป็นใหญ่ด้วยจำนวนบ้าง เพราะมีจำนวนห้าร้อย. หมู่แห่งภิกษุ ทั้งหลาย ชื่อว่าภิกษุสงฆ์. ด้วยภิกษุสงฆ์นั้น. อธิบายว่า ด้วยหมู่สมณะผู้ ทัดเทียมกันด้วยคุณ กล่าวคือความเป็นผู้มีทิฏฐิและศีลเสมอกัน. บทว่า สทฺธึ คือโดยความเป็นพวกเดียวกัน. คำว่า ปญฺจมตฺเตหิ ภิกฺขุสเตหิ มีวิเคราะห์ว่า จำนวน ๕ เป็นประมาณของภิกษุเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปัญจมัตตา. ประมาณท่านเรียกว่า มัตตา. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความแม้ใน บาลีประเทศนี้อย่างนี้ว่า ร้อยแห่งภิกษุเหล่านี้ มีจำนวน ๕ คือมีประมาณ ๕ เหมือนอย่างเมื่อท่านกล่าวว่า โภชเน มตฺตญฺญู ย่อมมีอรรถว่า รู้จำนวน &01
182 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 182
คือรู้จักประมาณในโภชนะฉะนั้น. ร้อยแห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ภิกฺขุสตานิ. ด้วยร้อยแห่งภิกษุ ซึ่งมีประมาณห้าเหล่านั้น. ในคำที่พระเถระกล่าวว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ นี้ เป็นอันท่านแสดงความที่ภิกษุสงฆ์ใหญ่นั้น เป็น ผู้ใหญ่ด้วยจำนวน ด้วยคำว่า ปญฺจมตฺเตหิ ภิกฺขุสเตหิ นี้. ส่วนความที่ ภิกษุสงฆ์นั้น เป็นผู้ใหญ่ด้วยคุณ จักมีแจ้งข้างหน้าด้วยคำว่า ดูก่อนสารีบุตร ! ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสี้ยนหนามหมดโทษปราศจากความด่างดำ หมดจดดี ตั้งอยู่ แล้วในธรรมอันเป็นสาระ, เพราะว่าบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ภิกษุผู้ที่มี คุณล้าหลัง ก็ได้เป็นพระโสดาบันบุคคล ดังนี้. [อธิบายคำว่า อสฺโสสิ โข เป็นต้น] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อสฺโสสิ โข เวรญฺโช พฺราหฺมโณ ดังต่อไปนี้ :- บทว่า อสฺโสสิ ความว่า ฟัง คือ ได้ฟัง ได้แก่ ได้ทราบตาม ทำนองแห่งเสียงของคำพูดที่ถึงโสตทวาร. ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาตลงในอรรถ เพียงทำบทให้เต็ม หรือลงในอรรถแห่งอวธารณะ. บรรดาอรรถทั้งสองนั้น ด้วยอรรถแห่งอวธารณะ พึงทราบใจความดังนี้ว่า ได้ฟังจริง ๆ อันตราย แห่งการฟังอะไร ๆ มิได้มีแก่พราหมณ์นั้น. ด้วยอรรถว่าทำบทให้เต็ม พึง ทราบว่า เป็นเพียงความสละสลวยแห่งบทและพยัญชนะเท่านั้น. พราหมณ์ ผู้เกิดในเมืองเวรัญชา ชื่อว่าเวรัญชะ. พราหมณ์มีในเมืองเวรัญชา ชื่อว่า เวรัญชะ. อีกอย่างหนึ่ง เมืองเวรัญชาเป็นที่อยู่ของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น พราหมณ์นั้น จึงชื่อว่า เวรัญชะ. แต่ว่าพราหมณ์นี้ ชาวเมืองเรียกว่า อุทัย ด้วยอำนาจชื่อที่มารดาบิดาตั้งให้. ผู้ใดย่อมสาธยายพระเวท อธิบายว่า สาธยาย
183 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 183
มนต์ทั้งหลาย เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่าพราหมณ์. จริงอยู่ คำว่า พราหมณ์นี้แล เป็นคำเรียกพวกพราหมณ์โดยชาติ. แต่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเรียกว่า พราหมณ์ เพราะความเป็นผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว. [อธิบายเรื่องที่พราหมณ์ได้ฟัง] บัดนี้ พระอุบาลีเถระเมื่อจะประกาศเรื่องที่เวรัญชพราหมณ์ได้ฟัง จึง ได้กล่าวคำมีว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม เป็นต้น. ในคำนั้น บัณฑิต พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าสมณะ เพราะเป็นผู้มีบาปสงบแล้ว. ข้อนี้ สมจริงดังคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เราเรียกบุคคลว่าเป็นพราหมณ์ เพราะ มีบาปอันลอยเสียแล้ว ว่าสมณะ เพราะความเป็นผู้มีบาปอันสงบแล้ว. ก็ พระผู้มีพระภาคเจ้า จัดว่า เป็นผู้มีบาปอันอริยมรรคอย่างยอดเยี่ยมให้สงบแล้ว. เพราะฉะนั้น พระนาม คือ สมณะนี้ พระองค์ทรงบรรลุแล้ว ด้วยคุณตาม เป็นจริง. บทว่า ขลุ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ได้ฟังมา. คำว่า โภ เป็นเพียงคำร้องเรียกที่มาแล้วโดยชาติ แห่งเหล่าชนผู้มี ชาติเป็นพราหมณ์. แม้ข้อนี้ ก็สมจริงดังคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ผู้นั้นย่อม เป็นผู้ชื่อว่า โภวาที (ผู้มีวาทะว่าเจริญ) ผู้นั้นแล ยังมีกิเลสเครื่องกังวล. ด้วยคำว่า โคตโม นี้ เวรัญชพราหมณ์ ทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย อำนาจแห่งพระโคตร. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นใจความ ในคำว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม นี้ อย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระสมณโคตมโคตร ผู้เจริญ. ส่วนคำว่า สกฺยปุตฺโต นี้ แสดงถึงตระกูลอันสูงส่งของพระผู้มีพระภาคเจ้า. คำว่า สกฺยกุลา ปพฺพชิโต แสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวช
184 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 184
ด้วยศรัทธา. มีคำอธิบายว่า พระองค์มิได้ถูกความเสื่อมอะไร ๆ ครอบงำ ทรงละตระกูลนั้น อันยังไม่สิ้นเนื้อประดาตัวเลยแล้วทรงผนวชด้วยศรัทธา. คำอื่นจากนั้นมีอรรถอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วแล. ทุติยาวิภัตติอันมีอยู่ในบทว่า ตํ โข ปน นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถ ที่กล่าวถึงอิตถัมภูต. ความว่า ก็ (กิตติศัพท์อันงาม) ของพระโคดมผู้เจริญ นั้นแล (ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า... ) บทว่า กลฺยาโณ คือประกอบด้วยคุณอันงาม อธิบายว่า ประเสริฐ. เกียรตินั้นเอง หรือเสียงกล่าวชมเชย ชื่อว่า กิตติศัพท์.
185
เล่มที่ 1 หน้า 185
พุทธคุณกถา ก็ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น มีโยชนาดัง ต่อไปนี้ก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุ แม้นี้, เป็นสัมมาสัมพุทธะ เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ จรณะ เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้รู้แจ้งโลก เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างยอดเยี่ยม เพราะเหตุแม้นี้, เป็น ครูสอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้เบิกบานแล้ว เพราะเหตุแม้นี้, เป็นผู้จำแนกแจกธรรม เพราะเหตุแม้นี้. มีอธิบายที่ท่าน กล่าวไว้ว่า เพราะเหตุนี้และเหตุนี้. ๑- บัดนี้ จักกระทำการพรรณนาโดยนัยพิสดารแห่งบทเหล่านั้น เพื่อ ความเป็นผู้ฉลาดในสุตตันตนัย และเพื่อรื่นเริงแห่งจิตด้วยธรรมีกถาอัน ประกอบด้วยพุทธคุณ ในวาระเริ่มต้นแห่งการสังวรรณนาพระวินัยแห่ง พระวินัยธรทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พึงทราบวินิจฉัย ในคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ แม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้เป็นต้น. [อธิบายพุทธคุณบทว่า อรหํ] พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุเหล่านี้ก่อน คือเพราะเป็นผู้ไกล และทรงทำลายข้าศึกทั้งหลาย และ ทรงหักกำจักรทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น เพราะไม่มีความลับ ในการทำบาป. &01
186 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 186
ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกล คือทรงดำรงอยู่ใน พระคุณอันไกลแสนไกล จากสรรพกิเลส เพราะทรงกำจัดเสียซึ่งกิเลสทั้งหลาย พร้อมทั้งวาสนา ด้วยมรรค เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า อรหํ เพราะ เป็นผู้ไกล. อนึ่ง ข้าศึกคือกิเลสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงทำลาย เสียแล้วด้วยมรรค เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า อรหํ แม้เพราะทรง ทำลายข้าศึกทั้งหลายเสีย. อนึ่ง ซี่กำทั้งหมดแห่งสังสารจักร มีดุมอันสำเร็จ ด้วยอวิชชาและภวตัณหา มีคำกล่าวคืออภิสังขารมีบุญเป็นต้น มีกงคือชรามรณะ อันร้อยไว้ด้วยเพลาที่สำเร็จด้วยอาสวสมุทัย คุมเข้าไว้ในรถกล่าวคือภพสาม อันเป็นไปแล้ว ตลอดกาลหาเบื้องต้นมิได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรง ยืนหยัดอยู่แล้วบนปฐพีคือศีล ด้วยพระยุคลบาทคือพระวิริยะ ทรงถือผรสุคือ ญาณ อันกระทำซึ่งความสิ้นไปแห่งกรรม ด้วยพระหัตถ์คือศรัทธา ทรงหัก เสียได้แล้วในพระโพธิมัณฑ์ เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า อรหํ แม้ เพราะทรงหักกำจักรเสีย. ๑- [สังสารวัฏ คือปฏิจจสมุปบาทเป็นปัจจัยกัน] ๑- อีกอย่างหนึ่ง สังสารวัฏมีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า สังสารจักร. ก็อวิชชาเป็นดุมของสังสารจักรนั้น เพราะเป็นมูลเหตุ, มีชรามรณะเป็นกง เพราะเป็นที่สุด, ธรรม ๑๐ อย่าง ที่เหลือเป็นกำ เพราะมีอวิชชาเป็นมูลเหตุ และเพราะมีชรามรณะเป็นที่สุด. บรรดาธรรมมีอวิชชาเป็นต้นนั้น ความไม่รู้ในอริยสัจมีทุกข์เป็นต้น ชื่อว่า อวิชชา. ก็อวิชชาในกามภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในกามภพ. อวิชชาในรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในรูปภพ. อวิชชาในอรูปภพ &01
187 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 187
เป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในอรูปภพ. สังขารในกามภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ ปฏิสนธิวิญญาณในกามภพ. ในรูปภพและอรูปภพ ก็นัยนี้. ปฏิสนธิวิญญาณ ในกามภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่นามรูปในกามภพ. ในรูปภพ ก็อย่างนั้น ย่อม เป็นปัจจัยแก่นามอย่างเดียว ในอรูปภพ. นามรูปในกามภพเป็นปัจจัยแก่ อายตนะ ๖ ในกามภพ. นามรูป ในรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่อายตนะทั้ง ๓ ในรูปภพ. นามในอรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่อายตนะอย่างเดียว ในอรูปภพ. อายตนะ ๖ ในกามภพเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ ๖ อย่าง ในกามภพ. ๓ อายตนะใน รูปภพ เป็นปัจจัยแก่ ๓ ผัสสะในรูปภพ. ๑ อายตนะในรูปภพ ย่อมเป็น ปัจจัยแก่ ๑ ผัสสะในอรูปภพ. ผัสสะ ๖ ในกามภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนา ๖ ในกามภพ. ๓ ผัสสะในรูปภพ เป็นปัจจัยแก่ ๓ ผัสสะในรูปภพนั้นนั่นเอง. ผัสสะ ๑ ในอรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนา ๑ ในอรูปภพนั้นนั่นเอง. เวทนา ๖ ในกามภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ตัณหากาย ๖ ในกามภพ. เวทนา ๓ ในรูปภพ เป็นปัจจัยแก่ตัณหากาย ๓ ในรูปภพนั้นนั่นเอง. เวทนา ๑ ใน อรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ตัณหากาย ๑ ในอรูปภพ. ตัณหานั้น ๆ ในกามภพ เป็นต้นนั้น ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแก่อุปาทานนั้น ๆ. อุปาทานเป็นต้น ย่อมเป็น ปัจจัยแก่ภพเป็นต้น. คืออย่างไร. คือว่า คนบางคนในโลกนี้คิดว่า จักบริโภคกาม ย่อม ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ เพราะ กามุปาทานเป็นปัจจัย เพราะความเต็มรอบแห่งทุจริต เขาย่อมเกิดในอบาย. กรรมเป็นเหตุเกิดในอบายนั้นของบุคคลนั้น เป็นกรรมภพ, ความเกิดขึ้นแห่ง ขันธ์ทั้งหลาย เป็นชาติ, ความแก่หง่อมเป็นชรา, ความแตกทำลาย เป็นมรณะ.
188 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 188
อีกคนหนึ่งคิดว่า จักเสวยสมบัติในสวรรค์ ประพฤติสุจริตอย่างนั้น เหมือนกัน เพราะความบริบูรณ์แห่งสุจริต เขาย่อมเกิดในสวรรค์. คำว่า กรรมเป็นเหตุเกิดในสวรรค์นั้นของเขา เป็นกรรมภพเป็นต้น ก็มีนัยเหมือน กันนั้น. ส่วนอีกคนหนึ่งคิดว่า จักเสวยสมบัติในพรหมโลก ย่อมเจริญเมตตา เจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะกามุปาทานเป็นปัจจัย เขาย่อมเกิดใน พรหมโลก เพราะความบริบูรณ์แห่งภาวนา. คำว่า กรรมเป็นเหตุเกิดใน พรหมโลกนั้นของเขา เป็นกรรมภพเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกันนั้น. อีกคนหนึ่ง คิดว่า จักเสวยสมบัติในอรูปภพ จึงเจริญสมาบัติทั้งหลายมีอากาสานัญจายตนะ เป็นต้นอย่างนั้นนั่นแล เพราะความบริบูรณ์แห่งภาวนา เขาย่อมเกิดในอรูปภพ นั้น ๆ. กรรมเป็นเหตุเกิดในอรูปภพนั้นของเขา เป็นกรรมภพ. ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดแต่กรรม เป็นอุปบัติภพ, ความเกิดแห่งขันธ์ทั้งหลาย เป็นชาติ, ความ แก่หง่อม เป็นชรา, ความแตกทำลาย เป็นมรณะแล. ในโยชนาทั้งหลาย แม้มีอุปาทานที่เหลือเป็นมูล ก็นัยนี้. [ธัมมัฏฐิติญาณ] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า อวิชชานี้ เป็นตัวเหตุ สังขารทั้งหลายเกิดมาจากเหตุ อวิชชาและสังขารแม้ทั้งสองนี้ ก็เป็นเหตุมุปปันนธรรม (ธรรมที่เป็นเหตุและเกิดจากเหตุ) ชื่อธรรมฐิติญาณ. ปัญญาในการกำหนดปัจจัย โดยนัยที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า อวิชชาทั้งที่เป็น อตีตัทธา (อดีตกาล) ทั้งที่เป็นอนาคตัทธา (อนาคตกาล) เป็นตัวเหตุ สังขารทั้งหลายเกิดมาจากเหตุ อวิชชาและสังขารแม้ทั้งสองนี้ ก็เป็นเหตุ สมุปปันนธรรม (ธรรมที่เป็นเหตุและเกิดจากเหตุ) ชื่อธรรมฐิติญาณแล. ทุก ๆ บท ผู้ศึกษาพึงให้พิสดารโดยนัยนี้.
189 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 189
[สังเขปและอัทธาในปฏิจจสมุปบาท] บรรดาองค์แห่งปฏิจจสมุปบาทนั้น อวิชชาและสังขารเป็นสังเขปหนึ่ง. วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา เป็นสังเขปหนึ่ง. ตัณหา อุปาทานและภพ เป็นสังเขปหนึ่ง. ชาติและชรามรณะเป็นสังเขปหนึ่ง. ก็ใน สังเขป ๔ นั้น สังเขปต้น เป็นอตีตัทธา. สองสังเขปกลาง เป็นปัจจุปปันนัทธา ชาติและชรามรณะเป็นอนาคตัทธา. [วัฏฏะและสนธิ ๓ ในปฏิจจสมุปบาท] อนึ่ง ในสังเขปต้นนั้น ตัณหาอุปาทานและภพ ย่อมเป็นอันท่านถือ เอาแล้ว ด้วยศัพท์คืออวิชชาและสังขารนั่นแล เพราะฉะนั้น ธรรม ๕ เหล่านี้ จัดเป็นกรรมวัฏในอดีต. ธรรม ๕ อย่าง มีวิญญาณ เป็นต้น จัดเป็นวิปากวัฏ ในปัจจุบัน. อวิชชาและสังขาร เป็นอันท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์คือตัณหา อุปาทานและภพนั่นเอง เพราะฉะนั้น ธรรม ๕ เหล่านี้จัดเป็นกรรมวัฏในกาล บัดนี้. ธรรม ๕ เหล่านี้ จัดเป็นวิปากวัฏต่อไป (ในอนาคต) เพราะองค์ ปฏิจจสมุปบาท มีวิญญาณ เป็นต้น ท่านแสดงไขโดยอ้างถึงชาติ ชรา มรณะ. ปฏิจจสมุปบาท มีอวิชชาเป็นต้นนั้น ว่าโดยอาการมี ๒๐ อย่าง. อนึ่ง ในองค์ปฏิจจสมุปบาทมีสังขารเป็นต้นนี้ ระหว่างสังขารกับ วิญญาณ เป็นสนธิหนึ่ง. ระหว่างเวทนากับตัณหา เป็นสนธิหนึ่ง. ระหว่าง ภพกับชาติ เป็นสนธิหนึ่ง ฉะนี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบ ทรงแทงตลอด ปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งมีสังเขป ๔ อัทธา ๓ อาการ ๒๐ สนธิ ๓ โดยอาการทุกอย่าง ด้วยประการฉะนี้. ความรู้นั้น ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ (โดยสภาพตามเป็นจริง) ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด.
190 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 190
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อธรรมฐิติญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ธรรมเหล่านั้น ตามเป็นจริง ด้วยธรรมฐิติญาณนี้แล้ว ทรงเบื่อหน่ายคลายความพอใจจะพ้นไปในธรรมมีอวิชชาเป็นต้นนั้น จึงได้หัก ทำลาย กำจัดเสีย ซึ่งซี่กำทั้งหลาย แห่งสังสารจักร มีประการดังกล่าวแล้วนี้. พระองค์ทรงพระนามว่า อรหํ แม้เพราะทรงหักกำจักรเสีย แม้ด้วยประการ อย่างนี้. ๑- ๑- อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมควรซึ่งจีวราทิปัจจัย และบูชา วิเศษทั้งหลาย เพราะพระองค์เป็นผู้ควรซึ่งทักษิณาอันเลิศ. เพราะฉะนั้น ในเมื่อพระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เทพและมนุษย์ผู้มเหสักข์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง จึงไม่ทำการบูชาในที่อื่น. จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทรงบูชาพระตถาคต ด้วยพวงแก้วเท่าเขาสิเนรุ. อนึ่ง เทพและมนุษย์เหล่าอื่น มีพระเจ้า พิมพิสาร และพระเจ้าโกศลเป็นต้น ก็ทรงบูชาแล้วตามกำลัง. อนึ่ง พระเจ้า อโศกมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์ถึง ๙๖ โกฏิ ทรงสร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลังในสกลชมพูทวีป ทรงพระราชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จปรินิพพาน แล้ว. ก็จะกล่าวอะไรถึงบูชาวิเศษเหล่าอื่น. เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า อรหํ แม้เพราะเป็นผู้ควรซึ่งปัจจัยเป็นต้น. อนึ่ง เหล่าคนพาลผู้ถือตัวว่าเป็น บัณฑิตพวกไร ๆ ในโลก ย่อมทำบาปในที่ลับ เพราะกลัวแต่ความติเตียน ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมทรงกระทำดังนั้น ในบางครั้งก็หาไม่ เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า อรหํ แม้เพราะไม่มีความลับในการกระทำ บาป. ก็ในพระนามนี้ มีคาถาประพันธ์มีเนื้อความดังนี้ว่า &01
191 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 191
พระมุนีนั้น เพราะความที่พระองค์ เป็นผู้ไกล และทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส ทั้งหลาย พระองค์เป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักร เป็นผู้ควรปัจจัยเป็นต้น ย่อมไม่ทรง ทำบาปในที่ลับ เพราะเหตุนั้น บัณฑิต จึงถวายพระนามว่า อรหํ. [อธิบายพุทธคุณบทว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ] อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ ธรรมทั้งปวงโดยชอบ และด้วยพระองค์เอง. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น ตรัสรู้ชอบเองซึ่งธรรมทั้งปวง คือตรัสรู้ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง โดยความเป็น ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ตรัสรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ โดยความเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ตรัสรู้ธรรมที่ควรละ โดยความเป็นธรรมที่ควรละ ตรัสรู้ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง โดยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ตรัสรู้ธรรมที่ควรทำให้เจริญ โดยความ เป็นธรรมที่ควรทำให้เจริญ. ด้วยเหตุนั้นแหละ พระองค์จึงตรัสว่า สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เราได้รู้ยิ่งแล้ว สิ่งที่ ควรให้เจริญ เราก็ให้เจริญแล้ว และสิ่งที่ ควรละ เราก็ละได้แล้ว เพราะเหตุนั้น พราหมณ์ เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า. ๑- อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง โดยชอบ และด้วยพระองค์เอง แม้ด้วยการยกขึ้นทีละบทอย่างนี้ว่า จักษุเป็นทุกขสัจ ตัณหาในภพก่อน อันยังจักษุนั้นให้เกิด โดยความเป็นมูลเหตุแห่งจักษุนั้น &01
192 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 192
เป็นสมุทัยสัจ ความไม่เป็นไปแห่งจักษุและเหตุเกิดแห่งจักษุทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ ข้อปฏิบัติเป็นเหตุให้รู้นิโรธ เป็นมรรคสัจ. ใน โสตะ ฆานะ ชิวหากาย และมนะ ก็มีนัยเช่นนี้. บัณฑิตพึงประกอบอายตนะ ๖ มีรูปเป็นต้น วิญญาณกาย ๖ มีจักษุ วิญญาณเป็นต้น ผัสสะ ๖ มีจักษุสัมผัสเป็นต้น เวทนา ๖ มีจักษุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น สัญญา ๖ มีรูปสัญญาเป็นต้น เจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น ตัณหากาย ๖ มีรูปตัณหาเป็นต้น วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น วิจาร ๖ มีรูปวิจาร เป็นต้น ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ สัญญา ๑๐ ด้วยอำนาจอุทธุมาตกสัญญาเป็นต้น อาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ภพ ๙ มีกามภพเป็นต้น ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น อัปปมัญญา ๔ มีเมตตาภาวนาเป็นต้น อรูปสมาบัติ ๔ มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น และองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท โดยปฏิโลมมีชรามรณะเป็นต้น โดยอนุโลมมี อวิชชาเป็นต้น โดยนัยนี้นั่นแล. ในชรามรณะเป็นต้นนั้น มีการประกอบ บทเดียวดังต่อไปนี้ :- พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสรู้ คือตรัสรู้ตามสมควร ได้แก่แทงตลอด ซึ่งธรรมทั้งปวง โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ด้วยการยกขึ้นทีละบทอย่างนี้ว่า ชรามรณะ เป็นทุกขสัจ ชาติ เป็นสมุทัยสัจ การสลัดออกเสีย ซึ่งชรามรณะ และเหตุเกิดแห่งชรามรณะนั้น แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ ข้อปฏิบัติเป็นเหตุให้รู้ นิโรธ เป็นมรรคสัจ. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยชอบ และด้วยพระองค์เอง.
193 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 193
[อรรถาธิบายพุทธคุณบทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน] อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่าผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ก็เพราะทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ. ในวิชชาและจรณะนั้น วิชชา ๓ ก็ดี วิชชา ๘ ก็ดี ชื่อว่าวิชชา. วิชชา ๓ พึงทราบตามนัยที่ตรัสไว้ในภยเภรวสูตร นั่นแล. วิชชา ๘ ในอัมพัฏฐสูตร. ก็ในวิชชา ๓ และวิชชา ๘ นั้น วิชชา ๘ พระองค์ตรัสประมวลอภิญญา ๖ กับวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ เข้าด้วยกัน. ธรรม ๑๕ นี้ คือ สีลสังวร ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ชาคริยานุโยค สัทธรรม ๗ ฌาน ๔ พึงทราบว่า ชื่อว่าจรณะ. จริงอยู่ ธรรม ๑๕ นี้แหละ พระองค์ตรัส เรียกว่าจรณะ เพราะเหตุที่เป็นเครื่องดำเนินคือเป็นเครื่องไปสู่ทิศ คืออมตธรรม ของพระอริยสาวก. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนมหานาม ! พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศีล ดังนี้เป็นต้น. ๑- ผู้ศึกษาพึงทราบความพิสดาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วยวิชชาเหล่านี้ และด้วยจรณะนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ในความถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะนั้น ความถึงพร้อมด้วยวิชชา ยังความที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัพพัญญูให้เต็มอยู่. ความถึงพร้อมด้วยจรณะ ยัง ความที่พระองค์เป็นผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาให้เต็มอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้า นั้นทรงรู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ด้วยความเป็น สัพพัญญู แล้วทรงเว้นสิ่งที่มิใช่ประโยชน์เสีย ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วย พระมหากรุณา ทรงชักนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เหมือนอย่างผู้ที่ถึงพร้อมด้วย วิชชาและจรณะฉะนั้นแล. เพราะเหตุนั้น เหล่าสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น &01
194 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 194
จึงเป็นผู้ปฏิบัติดี หาเป็นผู้ปฏิบัติชั่วไม่. พวกสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หาเป็นผู้ปฏิบัติชั่วเหมือนอย่างเหล่าสาวกของพวกบุคคลผู้มีวิชชาและจรณะวิบัติ ทำตนให้เดือดร้อนเป็นต้นฉะนั้นไม่. [อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า สุคโต] ๑- สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุคโต เพราะภาวะที่ ทรงดำเนินไปงาม เพราะภาวะที่เสด็จไปยังสถานที่ดี เพราะภาวะที่เสด็จไป โดยชอบ และเพราะภาวะที่ตรัสไว้โดยชอบ. ก็ แม้ คมนํ จะกล่าวว่า คตํ ก็ได้. และการทรงดำเนินนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้างดงาม บริสุทธิ์หาโทษ มิได้. ก็การทรงดำเนินนั้นได้แก่อะไร ? ได้แก่ทางอันประเสริฐ. ก็ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จไปได้ยังทิศอันเกษม ไม่ข้องขัดด้วยการเสด็จ ไปนั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า สุคโต เพราะภาวะที่ทรงดำเนิน ไปงาม. อนึ่ง พระองค์เสด็จไปยังสถานที่ดี คือ อมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า สุคโต แม้เพราะเสด็จไปยังสถานที่ดี. อนึ่ง พระองค์ เสด็จไปโดยชอบ เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า สุคโต เพราะไม่กลับ มาหาเหล่ากิเลสที่มรรคนั้น ๆ ละได้แล้ว. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระองค์ทรงพระนามว่า สุคโต เพราะอรรถว่าไม่กลับมา ไม่คืนมา ไม่หวน กลับมาหาเหล่ากิเลสที่โสดาปัตติมรรคละได้แล้ว ฯลฯ พระองค์ทรงพระนามว่า สุคโต เพราะอรรถว่าไม่กลับมา ไม่คืนมา ไม่หวนกลับมาหาเหล่ากิเลสที่ อรหัตมรรคละได้แล้ว. อีกประการหนึ่ง พระองค์เสด็จไปโดยชอบ คือ เสด็จไปทรงกระทำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่โลกทั้งหมดอย่างเดียว ด้วย &01
195 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 195
การปฏิบัติชอบที่ทรงบำเพ็ญมาด้วยอำนาจพระบารมี ๓๐ ทัศ กำหนดจำเดิม ตั้งแต่แทบพระบาทของพระพุทธทีปังกรจนถึงควงไม้โพธิ์ และไม่เสด็จเข้าไป ใกล้ส่วนสุดเหล่านี้คือ เรื่องเที่ยง เรื่องขาดสูญ ความสุขในกาม ความทำตน ให้ลำบาก เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า สุคโต แม้เพราะเสด็จไปโดย ชอบ. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบ คือตรัสพระวาจา ที่ควร ในฐานะที่ควรเท่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า สุคโต แม้เพราะตรัสโดยชอบ. ในข้อนั้นมีพระสูตรเป็นเครื่องสาธกดังต่อไปนี้ว่า พระตถาคตทรงรู้ วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ ชอบใจของคนพวกอื่น พระตถาคตย่อมไม่ตรัสพระวาจานั้น, พระตถาคตทรง รู้วาจาใด จริง แท้ แต่ไม่เป็นประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น ที่ชอบใจของคนพวกอื่น วาจาแม้นั้น พระตถาคตก็ไม่ตรัส. ก็แลพระตถาคต ทรงรู้วาจาใด จริง แท้ เป็นประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ ชอบใจของคนพวกอื่น ในวาจานั้น พระตถาคตก็ทรงเป็นกาลัญญู (ผู้รู้กาล) เพื่อพยากรณ์วาจานั้น. พระตถาคตทรงรู้วาจาแม้ใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็น ประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของคนเหล่าอื่น พระตถาคตไม่ ตรัสวาจานั้น, พระตถาคตทรงรู้วาจาแม้ใด จริง แท้ แต่ไม่เป็นประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของคนเหล่าอื่น วาจาแม้นั้น พระตถาคตก็ ไม่ตรัส, ก็แลพระตถาคตทรงรู้วาจาใด จริง แท้ เป็นประโยชน์ และวาจา นั้นเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของคนเหล่าอื่น ในวาจานั้น พระตถาคตก็เป็น กาลัญญู (ผู้รู้กาล) เพื่อพยากรณ์วาจานั้น. ๑- พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น บัณฑิต พึงทราบว่า สุคโต แม้เพราะตรัสพระวาจาชอบด้วยประการฉะนี้ &01
196 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 196
[อรรถาธิบายพุทธคุณบทว่า โลกวิทู] อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า โลกวิทู เพราะพระองค์ทรงรู้แจ้ง โลก โดยประการทุกอย่าง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงรู้ คือ ทรงรู้ ทั่วถึง ทรงแทงตลอดโลก โดยประการทั้งปวง โดยสภาพบ้าง โดยสมุทัยบ้าง โดยนิโรธบ้าง โดยอุบายเป็นเหตุถึงนิโรธบ้าง. เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้ ว่า ดูก่อนอาวุโส ! ในที่สุดแห่งโลกใดแล ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่เคลื่อน ไม่อุบัติ เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกนั้นว่า อันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึง ด้วย การไป (ด้วยกาย), ดูก่อนอาวุโส ! และเราไม่กล่าวว่า การยังไม่ถึงที่สุด แห่งโลกเลยจะทำที่สุดแห่งทุกข์ใด, ดูก่อนอาวุโส ! อีกอย่างหนึ่ง เราย่อม บัญญัติโลก ความเกิดแห่งโลก ความดับแห่งโลก และข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับโลก ที่กเลวระประมาณวาหนึ่งนี้แล ซึ่งมีสัญญา มีใจ, ที่สุดแห่งโลก บุคคลไม่พึงถึงได้ด้วย การไป (ด้วยกาย) ในกาลไหน ๆ และจะ ไม่มีการพ้นจากทุกข์ได้ เพราะยังไม่ถึงที่สุด แห่งโลก เพราะเหตุนั้นแล ท่านผู้รู้แจ้งโลก มีปัญญาดีถึงที่สุดแห่งโลก อยู่จบพรหมจรรย์ แล้ว เป็นผู้สงบ รู้ที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อม ไม่ปรารถนาโลกนี้และโลกอื่น. ๑- [อรรถาธิบายโลก ๓) อีกอย่างหนึ่ง โลกมี ๓ คือสังขารโลก (โลกคือสังขาร) สัตวโลก (โลกคือหมู่สัตว์) โอกาสโลก (โลกคือแผ่นดิน). &01
197 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 197
บรรดาโลกทั้ง ๓ นั้น โลกในอาคตสถานว่า โลก ๑ คือ สรรพสัตว์ ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร ๑- ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นสังขารโลก. โลกในอาคตสถานว่า โลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยง ๒- ดังนี้เป็นต้น พึงทราบว่า เป็น สัตวโลก. โลกในอาคตสถานว่า พระจันทร์และอาทิตย์ รุ่งโรจน์ ย่อม เวียนส่องทิศทั้งหลาย ให้สว่างไสว ตลอด ที่มีประมาณเพียงใด, โลกมีประการตั้งพัน ก็ย่อมสว่างไสว ตลอดที่มีประมาณเพียงนั้น, อำนาจของท่าน ย่อมเป็นไปในโลกตั้งพัน จักรวาลนี้ ๓- ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นโอกาสโลก. (พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงรู้แจ้งโลกแม้ทั้ง ๓ นั้น โดยประการ ทั้งปวง. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงรู้แจ้งแม้สังขาร โลกนี้ โดยประการทั้งปวง คือ :- โลก ๑ คือสรรพสัตว์ ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร, โลก ๒ คือนาม ๑ รูป ๑, โลก ๓ คือเวทนา ๓, โลก ๔ คืออาหาร ๔, โลก ๕ คืออุปาทานขันธ์ ๕, โลก ๖ คืออายตนะภายใน ๖, โลก ๗ คือวิญญาณฐิติ ๗, โลก ๘ คือโลก ธรรม ๘, โลก ๙ คือสัตตาวาส ๙, โลก ๑๐ คืออายตนะ ๑๐, โลก ๑๒ คืออายตนะ ๑๒, โลก ๑๘ คือธาตุ ๑๘. ๔- &01
198 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 198
อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบอาสยะ (คือ ฉันทะเป็นที่มานอน) อนุสัย (คือกิเลสที่ตามนอนอยู่ในสันดาน) จริต (คือ ความประพฤติ) อธิมุตติ (คืออัธยาศัย) ของเหล่าสัตว์แม้ทั้งปวง, (และ) ย่อมทรงทราบสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย ผู้มีธุลีคือกิเลส ในปัญญาจักษุมาก ผู้มีอินทรีย์กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน ผู้มีอาการดี ผู้มีอาการชั่ว ผู้จะพึงให้รู้ได้ง่าย ผู้จะพึงให้รู้ได้ยาก ผู้ควร (จะตรัสรู้) ผู้ไม่ควร (จะตรัสรู้) เพราะฉะนั้น แม้สัตวโลกอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้แจ้งแล้ว โดยประการทั้งปวง. เหมือนอย่างว่า พระองค์ทรงรู้แจ้งสัตวโลก ฉันใด. แม้โอกาสโลก (โลกคือแผ่นดิน) ก็ทรงรู้แจ้งแล้ว ฉันนั้น. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงรู้แจ้ง คือได้ทรงทราบ ได้แก่ทรง แทงตลอดแล้ว ซึ่งโลกธาตุอันไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยพระพุทธญาณอันไม่มีที่สุด ตลอดอนันตจักรวาล อย่างนี้ คือ จักรวาลหนึ่ง ว่าโดยส่วนยาวและส่วนกว้าง มีประมาณล้านสองแสนสามพันสี่ร้อยห้าสิบโยชน์, ท่านกล่าวประมาณไว้โดย รอบ, จักรวาลมีปริมณฑลทั้งหมด สาม ล้านหกแสนหนึ่งหมื่นสามร้อยห้าสิบโยชน์, แผ่นดินนี้ในจักรวาลนั้น บัณฑิตกล่าวไว้ โดยความหนามีประมาณสองแสนสี่หมื่น โยชน์. น้ำสำหรับรองแผ่นดินซึ่งมีประมาณ สี่แสนแปดหมื่นโยชน์นั้นนั่นแลไว้ โดย ความหนาก็มีประมาณเท่านั้น ตั้งอยู่บนลม.
199 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 199
ลมสำหรับธารน้ำแม้นั้นไว้ พุ่งขึ้นจดท้องฟ้า สูงเก้าแสนหกหมื่นโยชน์, ความตั้งอยู่แห่ง โลกเป็นดังนี้. ก็ในจักรวาลนี้ ที่ตั้งอยู่แล้วอย่างนี้ มีภูเขาสิเนรุ เยี่ยมกว่าบรรดาภูเขาทั้งหลาย หยั่งลงในห้วงมหรรณพ ถึงแปดหมื่นสี่พัน โยชน์, สูงขึ้นไป (เบื้องบน) ก็มีประมาณ เท่านั้นเหมือนกัน. มหาบรรพตใหญ่ทั้ง ๗ เหล่านี้ คือ เขายุคันธร ๑ เขาอิสินธร ๑ เขากรวิกะ ๑ เขาสุทัสสนะ ๑ เขาเนมินธร ๑ เขาวินัตตกะ ๑ เขาอัสสกัณณะ ๑ เป็นของทิพย์ วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ หยั่งลง (ในห้วง มหรรณพ) และสูงขึ้นไป (เบื้องบน) ตาม ลำดับโดยประมาณกึ่งหนึ่ง ๆ จากประมาณ แห่งสิเนรุที่กล่าวแล้วทั้งเบื้องล่างและเบื้องบนนั้น เป็นสถานที่อยู่ของท้าวมหาราช (ทั้ง ๔) มีเทวดาและยักษ์อาศัยอยู่ ตั้งเรียง รายอยู่โดยรอบภูเขาสิเนรุ ด้วยอำนาจเป็น เครื่องล้อม.
200 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 200
หิมวันตบรรพต สูงห้าร้อยโยชน์ โดยส่วนยาวและกว้างสามพันโยชน์ ประดับ ด้วยยอดแปดหมื่นสี่พันยอด. ชมพูทวีปท่านประกาศแล้ว ด้วย อานุภาพแห่งต้นชมพูใด ต้นชมพูที่ชื่อว่า นคะ นั้นวัดโดยรอบลำต้นประมาณ ๑๕ โยชน์ ๑- ความยาวของลำต้นและกิ่งประมาณ ๕๐ โยชน์ ความกว้างโดยรอบประมาณ ๑๐๐ โยชน์ และสูงขึ้นไป (เบื้องบน) ก็มีประมาณ เท่านั้นนั่นแล. จักรวาลบรรพต หยั่งลงในห้วง มหรรณพสองหมื่นแปดพันโยชน์ สูงขึ้นไป (เบื้องบนก็มีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน จักรวาลบรรพตนี้ตั้งล้อมรอบโลกธาตุทั้งหมดนั้น อยู่. [ขนาดพระจันทร์เป็นต้นประมาณ ๔๙ โยชน์] ในโลกธาตุนั้น ดวงจันทร์ (วัดโดยตรงโดยส่วนยาวส่วนกว้างและ ส่วนสูง) ๔๙ โยชน์ ดวงอาทิตย์ประมาณ ๕๐ โยชน์ ภพดาวดึงส์ประมาณ หมื่นโยชน์ ภพอสูร อวีจิมหานรก และชมพูทวีปก็มีประมาณเท่านั้น อมรโคยานทวีป ประมาณ ๗ พันโยชน์ ปุพพวิเทหทวีป ก็มีประมาณเท่านั้น อุตรกุรุทวีป ประมาณ ๘ พันโยชน์ ก็แล ทวีปใหญ่ ๆ ในโลกธาตุนี้ แต่ละ &01
201 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 201
ทวีป ๆ มีทวีปเล็ก ๆ เป็นบริวาร ทวีปละห้าร้อย ๆ จักรวาลหนึ่งแม้ทั้งหมด นั้น ชื่อว่าโลกธาตุหนึ่ง ในระหว่างแห่งจักรวาลนั้น เป็นโลกันตริกนรก. แม้โอกาสโลก (โลกคือแผ่นดิน) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้ แจ้งแล้วโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง พระนามว่า โลกวิทู เพราะความที่พระองค์ทรงรู้แจ้งโลก โดยประการทั้งปวง แม้ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้. [อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า อนุตฺตโร] บทว่า อนุตฺตโร ความว่า บุคคลผู้ยิ่งกว่า ชื่อว่าย่อมไม่มีแก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เพราะไม่มีใคร ๆ ที่จะดีวิเศษกว่าพระองค์ โดยคุณของตน เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า อนุตฺตโร (ไม่มี ผู้อื่นยิ่งกว่า). จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ย่อมครอบงำโลก ทั้งหมด ด้วยพระคุณคือศีลบ้าง ด้วยพระคุณคือสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นไม่มีผู้เสมอ หาผู้เสมอ เหมือนมิได้ หาผู้เปรียบมิได้ ไม่มีผู้เปรียบเทียบหาบุคคลผู้ทัดเทียมมิได้ ด้วย พระคุณคือสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง. เหมือนอย่างที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็เรายังไม่เล็งเห็นสมณะ หรือพราหมณ์คนอื่นเลย ผู้จะสมบูรณ์ด้วยศีลยิ่งกว่าเรา ในโลกกับทั้งเทวดา มาร พรหม และในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์และเทวดา มนุษย์. ๑- ควรทราบความพิสดาร (แห่งพระสูตรนั้น). พระสูตรทั้งหลายมีอัคคัปปสาทสูตร เป็นต้น และคาถามีอาทิว่า อาจารย์ของเราไม่มี ๒- ดังนี้ ก็ควรให้พิสดาร ตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั้น. &01
202 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 202
[อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า ปุริสทมฺมสารถิ] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า ปุริสทมฺมสารถิ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ยังบุรุษผู้พอจะฝึกได้ให้แล่นไป. มีอธิบายไว้ว่า ย่อมฝึก คือแนะนำ. สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ก็ดี มนุษย์ผู้ชายก็ดี อมนุษย์ผู้ชายก็ดี ผู้ที่ยังมิได้ฝึก ควรเพื่อจะฝึกได้ ชื่อว่า ปุริสทัมมา ในคำว่า ปุริสทมฺมสารถิ นั้น. จริงอย่างนั้น แม้สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ มีอาทิอย่างนี้ คือ อปลาลนาคราช จุโฬทรนาคราช มโหทรนาคราช อัคคิสิขนาคราช ธูมสิขนาคราช อาลวาฬ นาคราช (และ) ช้างชื่อธนบาลก์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้ว คือทรง ทำให้สิ้นพยศแล้ว ให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลาย. แม้มนุษย์ผู้ชายมี สัจจกนิครณฐบุตร อัมพัฏฐมาณพ โปกขรสาติพราหมณ์ โสณทัณฑพราหมณ์ และกูฏทันตพราหมณ์เป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้ว. แม้อมนุษย์ ผู้ชาย มีอาฬวกยักษ์ สูจิโลมยักษ์ ขรโลมยักษ์ และท้าวสักกเทวราชเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้ว คือทรงแนะนำแล้ว ด้วยอุบายเครื่องแนะนำ อย่างวิจิตร. ก็แลในอรรถนี้ควรยังพระสูตรนี้ให้พิสดารดังนี้ ดูก่อนนายเกสี ! เราย่อมฝึกบุรุษผู้พอจะฝึกได้ ด้วยอุบายละเอียดบ้าง หยาบบ้าง ทั้งละเอียด ทั้งหยาบบ้าง. ๑- อีกอย่างหนึ่ง สองบทว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ นี้รวมเป็น อรรถบทเดียวกันก็ได้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังบุรุษ ผู้ควรจะฝึก ได้ให้แล่นไป เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าทั้งหลายประทับนั่งอยู่โดยบัลลังก์เดียว เท่านั้น ทรงแล่นไปได้ไม่ติดขัดตลอดทิศทั้ง ๘ ฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิตจึงเรียกว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (เป็นผู้สารถีผู้ฝึก &01
203 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 203
บุรุษที่พอจะฝึกได้ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า). ก็แลในอรรถนี้ ควรยังพระสูตรนี้ให้ พิสดารดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ช้างตัวควรฝึกได้ อันนายควาญช้างไส ไปแล้ว ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น. ๑- [อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า สตฺถา] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า สัตถา (เป็น พระศาสดา) เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ทรงสั่งสอน (สรรพสัตว์) ด้วยประโยชน์ ปัจจุบัน ด้วยประโยชน์ภายหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งตามสมควร. อีกอย่างหนึ่ง ก็ในบทว่า สตฺถา นี้ พึงทราบใจความนิเทศนัยมีอาทิดังนี้ว่า คำว่า สตฺถา ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นดุจนายพวก. เหมือนอย่างว่า นายพวก ย่อมพาพวกให้เวียนข้ามทางกันดาร คือให้เวียนข้ามทางกันดารเพราะโจร กันดารเพราะสัตว์ร้าย กันดารเพราะข้าวแพง กันดารเพราะไม่มีน้ำ คือย่อม ให้ข้ามพ้น ให้ข้ามไป ให้ข้ามถึง ได้แก่ให้บรรลุถึงถิ่นที่เกษม ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงเป็นพระศาสดา คือทรงเป็นดุจ นายพวก ทำเหล่าสัตว์ให้เวียนข้ามทางกันดาร ได้แก่ให้เวียนข้ามทางกันดาร คือชาติ ๒- เป็นต้น. [อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า เทวมนุสฺสานํ] บทว่า เทวมนุสฺสานํ แปลว่า ของเทวดาทั้งหลายด้วย ของมนุษย์ ทั้งหลายด้วย. คำว่า เทวมนุสฺสานํ นั่น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ด้วยอำนาจกำหนด สัตว์ชั้นสูง และด้วยอำนาจการกำหนดภัพพบุคคล (บุคคลผู้ควรตรัสรู้มรรคผล). อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าทรงเป็นพระศาสดา แม้ของพวก สัตว์ดิรัจฉาน เพราะทรงประทานอนุสาสนีให้เหมือนกัน. จริงอยู่ สัตว์ดิรัจฉาน &01
204 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 204
แม้เหล่านั้น บรรลุอุปนิสัยสมบัติ ก็เพราะได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งมรรคและผล ในภพที่ ๒ หรือที่ ๓ เพราะอุปนิสัยสมบัติ นั้นนั่นแล. ก็ในความเป็นพระศาสดาของพวกสัตว์ดิรัจฉานนี้ มีมัณฑูกเทวบุตร เป็นต้น เป็นอุทาหรณ์. [เรื่องกบฟังธรรมของพระพุทธเจ้าได้เป็นเทพบุตร] ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่ชนชาวนครจำปา อยู่ที่ริมฝั่งสระโบกขรณี ชื่อคัคครา ยังมีกบตัวหนึ่งได้ถือเอานิมิตในพระสุรเสียง ของพระผู้มีพระภาคเจ้า (ซึ่งกำลังทรงแสดงธรรมอยู่). (ขณะนั้น) มีคนเลี้ยงโค คนหนึ่ง เมื่อจะยืนยันไม้เท้าได้ (ยืน) กดลงที่ศีรษะกบนั้น. กบตัวนั้นก็ ตายในทันใดนั้นนั่นเอง แล้วเกิดในวิมานทองประมาณ ๑๒ โยชน์ ในภพดาวดึงส์ เหมือนนอนหลับแล้วตื่นขึ้นฉะนั้น. ในภพดาวดึงส์นั้น มัณฑูกเทพบุตร เห็นตนเองอันหมู่นางฟ้าแวดล้อม แล้ว ใคร่ครวญอยู่ว่า เว้ย ชื่อแม้เรา มาเกิดในที่นี้ ได้กระทำกรรมอะไร หนอแล ? ก็มิได้เห็นกรรมอะไร ๆ อย่างอื่น นอกจากการถือเอานิมิตใน พระสุรเสียง ของพระผู้มีพระภาคเจ้า (เท่านั้น). มัณฑูกเทวบุตร จึงมาพร้อมทั้ง วิมานในทันใดนั้นนั่นเอง แล้วถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเศียรเกล้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งที่ทรงทราบอยู่แล (แต่) ตรัสถามว่า ใครช่างรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ (และ) ยศ มีพรรณงดงามยิ่งนัก ยังทิศทั้งปวงให้สว่าง อยู่ กำลังไหว้เท้าของเรา ?
205 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 205
มัณฑูกเทวบุตร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในชาติปาง ก่อน ข้าพระองค์ได้เป็นกบอยู่ในน้ำ มีน้ำ เป็นที่เที่ยวไป เมื่อข้าพระองค์กำลังฟังธรรม ของพระองค์อยู่ คนเลี้ยงโค ได้ฆ่าข้าพระองค์แล้ว. ๑- พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่มัณฑูกเทวบุตรนั้นแล้ว. สัตว์ จำนวนแปดหมื่นสี่พัน ได้บรรลุธรรม. ฝ่ายเทพบุตรก็ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล ได้ทำการแย้มแล้วก็หลีกไปแล. [อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า พุทฺโธ] ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า พุทฺโธ ด้วยอำนาจพระญาณ อันเกิดในที่สุดแห่งวิโมกข์ เพราะขึ้นชื่อว่า เญยยธรรมอะไร ๆ ที่มีอยู่ทั้งหมด อันพระองค์ตรัสรู้แล้ว. อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระองค์ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ด้วย พระองค์เองบ้าง ทรงยังสัตว์เหล่าอื่นให้ตรัสรู้บ้าง, ฉะนั้น พระองค์จึงทรง พระนามว่า พุทฺโธ เพราะเหตุมีอาทิอย่างนี้บ้าง. เพื่อจะให้ทราบเนื้อความ แม้นี้แจ่มแจ้ง บัณฑิตควรขยายนิเทศนัย หรือปฏิสัมภิทานัยแม้ทั้งหมดที่เป็น ไปแล้ว ให้พิสดารอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะทรงยัง ประชาสัตว์ให้ตรัสรู้ ๒- ดังนี้. [อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า ภควา] ๑- ก็คำว่า ภควา นี้เป็นคำร้องเรียกพระองค์ ด้วยความเป็นผู้วิเศษ &01
206 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 206
ด้วยพระคุณ เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ และเป็นผู้ควรเคารพโดยฐานครู. ด้วย เหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา เป็นคำสูงสุด เพราะเหตุที่ พระองค์ควรแก่ความเคารพโดยฐานครู บัณฑิตจึงเรียกว่า ภควา. [ชื่อมี ๔ อย่าง) จริงอยู่ นามมี ๔ อย่าง คือ อาวัตถิกนาม ลิงคิกนาม เนมิตตกนาม อธิจจสมุปปันนนาม มีคำอธิบายว่า นามที่ตั้งตามความปรารถนาตามโวหาร ของโลก ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนนาม. ในนาม ๔ อย่างนั้น คำมีอาทิอย่างนี้ คือ ลูกโค โคหนุ่ม โคกำลัง เป็นอาวัตถิกนาม (นามที่บัญญัติอาศัยความ กำหนด). คำมีอาทิอย่างนี้ คือ มีไม้เท้า มีร่ม มีหงอน มีงวง เป็นลิงคิกนาม (นามที่เรียกตามเหตุหรือลักษณะ). คำมีอาทิอย่างนี้คือ มีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ เป็นเนมิตตกนาม (นามที่เกิดขึ้นโดยคุณนิมิต). คำมีอาทิอย่างนี้คือ เจริญศรี เจริญทรัพย์ ซึ่งเป็นไปไม่คำนึงถึงเนื้อความของคำ เป็นอธิจจสมุปปันนนาม (นามที่ตั้งตามใจชอบ). ก็แต่ว่า พระนามว่า ภควา นี้ เป็นเนมิตตกนาม พระนางมหามายาก็มิได้ทรงขนาน พระเจ้าสุทโธทนมหาราชก็มิได้ทรงขนาน พระญาติแปดหมื่นก็มิได้ทรงขนาน เทวดาวิเศษทั้งหลายมีท้าวสักกะและ ท้าวสันดุสิตเป็นต้นก็มิได้ทรงขนาน. จริงอยู่ คำนี้ พระธรรมเสนาบดีกล่าวแล้วว่า พระนามว่า ภควา นี้ เกิดในที่สุดแห่งความพ้นพิเศษ เป็นบัญญัติที่แจ่มใสแก่ พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับได้เฉพาะซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคนพระโพธิพฤกษ์. ๑- &01
207 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 207
ก็เพื่อจะประกาศพระคุณที่เกิดจากคุณเนมิตตกนามนี้นั้น พระสังคีติกาจารย์ ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถานี้ไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรง มีพระอิสริยยศ ทรงเสพ (อริยคุณ) มีส่วน (แห่งจตุปัจจัย) ทรงจำแนก (ธรรมรัตน์) เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ นั้น บัณฑิตจึงเฉลิมพระนามว่า ภควา, พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ได้ทรง ทำการหักกิเลส, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น บัณฑิตจึงเฉลิม พระนามว่า ภควา, พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ทรงเป็นครู เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัณฑิตจึง เฉลิมพระนามว่า ภควา, พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด เป็นผู้มีโชค เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น บัณฑิต จึงเฉลิมพระนามว่า ภควา, พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด มีพระองค์อบรมดีแล้ว ด้วยญายธรรมเป็นอันมาก เสด็จถึงที่สุด แห่งภพ, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น บัณฑิตจึงเฉลิมพระนามว่า ภควา.
208 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 208
อนึ่ง ในพระคาถานี้ บัณฑิตพึงเห็นใจความแห่งบทเหล่านั้น ๆ ตาม นัยที่กล่าวแล้วในนิเทศนั้นแล. ส่วนนัยอื่นอีก มีดังนี้คือ :- พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด เป็น ผู้มีโชค (คือมีส่วนแห่งบารมีธรรม) ทรง หักกิเลส ทรงประกอบด้วยภัคคธรรม ทรง จำแนก ทรงเสพ และทรงคลายการไปใน ภพทั้งหลายเสียแล้ว, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัณฑิตจึงเฉลิม พระนามว่า ภควา. พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถานั้นต่อไป, ผู้ศึกษาพึงทราบอรรถรูปว่า เพราะภาคยธรรม (คือกุศล) อันถึงซึ่งฝั่งแห่งพระบารมี มีทานและศีลเป็นต้น อันยังสุขทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตระให้บังเกิด มีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, ฉะนั้น ในเมื่อควรจะเฉลิมพระนามว่า ภาคยวา แต่ท่านถือ เอาลักษณะแห่งนิรุตติว่า ลงตัวอักษรใหม่ แปลงตัวอักษร เป็นต้น หรือ ถือเอาลักษณะคือรวมเข้าในชุดศัพท์มี ปิโสทรศัพท์เป็นต้น ตามนัยแห่งศัพท์ จึงเฉลิมพระนามว่า ภควา ดังนี้. [พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหักกิเลสให้ตั้งแสนอย่าง] อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงหักกิเลสเครื่อง เร่าร้อนกระวนกระวายทุกอย่าง ตั้งแสนอย่าง มีประเภทคือ โลภะ โทสะ โมหะ วิปรีตมนสิการ อหิริกะ อโนตตัปปะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ตัณหา อวิชชา, อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ สังกิเลส ๓ มลทิน ๓
209 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 209
วิสมะ ๓ สัญญา ๓ วิตก ๓ ปปัญจะ ๓, วิปริเยสะ ๔ อาสวะ ๔ คัณฐะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ อคติ ๔ ตัณหุปาทาน ๔, เจโตขีละ ๕ วินิพันธะ ๕ นีวรณ์ ๕ อภินันทนะ ๕, วิวาทมูล ๖ ตัณหากาย ๖, อนุสัย ๗, มิจฉัตตะ ๘, ตัณหามูลกะ ๙, อกุศลกรรมบถ ๑๐, ทิฏฐิ ๖๒, และตัณหาวิปริต ๑๐๘, หรือโดยย่อได้ทรงหักมาร ๕ คือ กิเลสมาร ขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวบุตรมาร, ฉะนั้น ในเมื่อควรจะเฉลิมพระนามว่า ภัคควา แต่ท่าน เฉลิมพระนามว่า ภควา เพราะพระองค์ทรงหักอันตรายเหล่านั้นได้แล้ว. ๑- อนึ่ง ในตอนนี้ท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงหักราคะได้แล้ว ทรงหักโทสะได้แล้ว ทรงหักโมหะได้แล้ว หาอาสวะมิได้, ธรรม อันเป็นบาปทั้งหลาย พระองค์ก็ทรงหักเสีย แล้ว, เพราะเหตุนั้น จึงเฉลิมพระนามว่า ภควา. ก็ความถึงพร้อมด้วยรูปกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ ทรงบุญลักษณะนับร้อย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยความที่พระองค์ทรง มีพระกายสมส่วน, ความถึงพร้อมด้วยพระธรรมกาย ย่อมเป็นอันท่านแสดง แล้วด้วยความที่พระองค์ทรงหักโทสะได้แล้ว. ความที่พระองค์ทรงเป็นผู้อันหมู่ นักวิจารณ์ฝ่ายโลกีย์นับถือมาก ความที่พระองค์เป็นผู้อันคฤหัสถ์และบรรพชิต พึงเข้าเฝ้า ความที่พระองค์ทรงเป็นผู้สามารถในการบำบัดทุกข์กายและจิต ของคฤหัสถ์และบรรพชิตเหล่านั้นผู้เข้าเฝ้าแล้ว ความที่พระองค์ทรงมี &01
210 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 210
พระอุปการะด้วยอามิสทานและธรรมทาน และความที่พระองค์ทรงสามารถ ในการ ชักชวนด้วยความสุขทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตระ ย่อมเป็นอันท่านแสดง แล้วเช่นเดียวกัน. อนึ่ง เพราะ ภคะ ศัพท์ ย่อมเป็นไปในธรรม ๖ ประการ คือ ความเป็นใหญ่ ธรรม ยศ สิริ กามะ และความเพียรในโลก. ก็แลความ เป็นใหญ่ในจิตของพระองค์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยอดเยี่ยม หรือความเป็นใหญ่ที่สมมติกันทางโลกิยะ มีการทำกายให้เล็กละเอียดและทำ กายให้ลอยไปได้ (มีการหายตัวและการล่องหน) เป็นต้น ก็ทรงมีอยู่อย่าง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง. พระโลกุตรธรรม ก็เช่นเดียวกัน คือทรงมีอยู่อย่าง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง. พระยศอันแผ่คลุมโลกสาม ซึ่งทรงบรรลุด้วย พระคุณตามที่เป็นจริงบริสุทธิ์ยิ่งนัก. พระสิริแห่งพระอังคาพยพน้อยใหญ่ ทุกส่วน บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง สามารถยังความเลื่อมใสแห่งดวงตาและ ดวงใจ ของชนผู้ขวนขวายในการดูพระรูปกายให้บังเกิด. กามะที่ชนทั้งหลาย หมายรู้กันว่า ความสำเร็จแห่งประโยชน์ที่ปรารถนา (ก็มีอยู่) เพราะความที่ แห่งความปรารถนาที่พระองค์ทรงตั้งไว้ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์ หรือ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่นนั้น ๆ สำเร็จแล้วอย่างนั้นทีเดียว หรือว่าความ เพียร กล่าวคือความพยายามโดยชอบ อันเป็นเหตุแห่งความบังเกิดขึ้นของ ความเป็นครูแห่งโลกทั้งปวง ก็ทรงมีอยู่เหตุนั้น แม้เพราะพระองค์ทรงประกอบ แล้วด้วยภคธรรมเหล่านี้ ก็เฉลิมพระนามได้ว่า ภควา ด้วยอรรถนี้ว่า ภคธรรม ทั้งหลายของพระองค์มีอยู่ ดังนี้. ๑- อนึ่ง เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้จำแนก มีอธิบายว่า ทรงแจก คือ เปิดเผย แสดงซึ่งธรรมทั้งปวง โดยประเภทมีกุศลเป็นต้น หรือซึ่งธรรมมี
211 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 211
กุศลเป็นต้น โดยประเภทมีขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ และ ปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น หรือซึ่งอริยสัจ คือ ทุกข์ ด้วยอรรถว่าเป็นสิ่งบีบคั้น เป็นสิ่งถูกปรุงแต่ง เป็นสิ่งแผดเผา และเป็นสิ่งแปรผัน, ซึ่งสมุทัย ด้วย อรรถว่าหอบทุกข์มาให้เป็นต้นเค้า เป็นเครื่องพัวพัน และเป็นเครื่อง หน่วงเหนี่ยว, ซึ่งนิโรธ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องสลัดออก เป็นสภาพสงัด ไม่ถูกปรุงแต่ง และเป็นอมตะ ซึ่งมรรค ด้วยอรรถว่าเป็นธรรมนำออกจากทุกข์ เป็นเหตุ เป็นเครื่องชี้ และเป็นความเป็นใหญ่, ฉะนั้น ในเมื่อควรเฉลิม พระนามว่า วิภัตตวา ก็เฉลิมพระนามได้ว่า ภควา. อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงคบ คือทรงเสพ หมายความว่า ได้ทรงทำให้มาก ซึ่งทิพพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร ซึ่งกายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก ซึ่งสุญญตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ และอนิมิตตวิโมกข์ และซึ่งอุตริมนุสธรรมเหล่าอื่น ทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็น โลกุตระ, ฉะนั้น ในเมื่อควรเฉลิมพระนามว่า ภัตตวา ก็เฉลิมพระนามได้ว่า ภควา. อนึ่ง เพราะความไป กล่าวคือตัณหาในภพทั้ง ๓ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ทรงคายเสียแล้ว, ฉะนั้น ในเมื่อควรเฉลิมพระนามว่า ภเวสุ วนฺตคมโน (ผู้มีความไปในภพทั้งหลายอันคายแล้ว) แต่ถวายพระนาม ว่า ภควา เพราะถือเอา ภ อักษรแต่ ภว ศัพท์ ค อักษรแต่คมนศัพท์ และ ว อักษรแต่ วันตศัพท์ ทำให้เป็นทีฆะ เปรียบเหมือนถ้อยคำในทางโลก เมื่อควรจะกล่าวว่า เมหนสฺส ขสฺส มาลา (ระเบียบแห่งโอกาสอันลับ) เขากล่าวว่า เมขลา ฉะนั้น.
212 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 212
[อรรถาธิบาย สเทวกะ ศัพท์ เป็นต้น] หลายบทว่า โส อิมํ โลกํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง. บัดนี้ จะชี้แจงคำที่ควรกล่าว ต่อไป :- บทว่า สเทวกํ คือพร้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย ชื่อ สเทวกะ (พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้) พร้อมด้วยมาร ที่ชื่อว่า สมารกะ พร้อมด้วยพรหม ที่ชื่อว่า สพรหมกะ พร้อมด้วยสมณะและพราหมณ์ ที่ ชื่อว่า สัสสมณพราหมณี (ให้แจ้งชัด) ด้วยอาการอย่างนี้. ที่ชื่อว่า ปชา เพราะความเป็นผู้เกิดจากกรรมกิเลสของตน. ซึ่งหมู่สัตว์นั้น พร้อมด้วยเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ชื่อว่า สเทวมนุสสะ. บรรดาคำว่า สเทวกะ เป็นต้น พึงทราบการถือเอาเทวดาชั้น กามาวจร ๕ ชั้น ด้วยคำว่า สเทวกะ (พร้อมด้วยเทวดา). พึงทราบการถือ เอาเทวดาชั้นกามาวจรชั้นที่ ๖ ด้วยคำว่า สมารกะ. พึงทราบการถือเอา พรหมมีพรหมชั้นพรหมกายิกาเป็นต้น ด้วยคำว่า สพรหมกะ. พึงทราบ การถือเอาสมณะและพราหมณ์ผู้เป็นข้าศึกศัตรูต่อพระศาสนา และการถือเอา สมณะและพราหมณ์ผู้มีบาปอันสงบแล้ว และผู้มีบาปอันลอยแล้ว ด้วยคำว่า สัสสมณพราหมณี. พึงทราบการถือเอาสัตวโลก โดยคำว่า ปชา. พึงทราบ การถือเอาสมมติเทพและมนุษย์ที่เหลือ ด้วยคำว่า สเทวมนุสสะ. บรรดาบททั้ง ๕ นี้ ดังพรรณนามานี้ โอกาสโลก พึงทราบว่าท่าน ถือเอาแล้วด้วยบททั้ง ๓ (คือ สเทวกะ ๑ สมารกะ ๑ สพรหมกะ ๑) สัตวโลก พึงทราบว่า ท่านถือเอาแล้วด้วยบททั้ง ๒ (คือสัสสมณพราหมณี และสเทวมนุสสะ) ด้วยอำนาจแห่งหมู่สัตว์.
213 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 213
อีกนัยหนึ่ง อรูปาวจรโลก ท่านถือเอาแล้วด้วย สเทวกศัพท์ กามาวจรเทวโลก ๖ ชั้น ท่านถือเอาแล้วด้วย สมารกศัพท์. พรหมโลกที่มีรูป ท่านถือเอาแล้วด้วย สพรหมกศัพท์, มนุษย์โลกกับเหล่าสมมติเทพหรือสัตวโลก ทั้งหมดที่เหลือ ท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์ มีสัสสมณพราหมณี เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งบริษัท ๔. อีกอย่างหนึ่ง ในคำทั้งหลาย มีคำว่า สเทวกะ เป็นต้นนี้ พระกิตติศัพท์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ประกาศความที่แห่งโลก แม้ทั้งปวง อันพระองค์ทรงกระทำให้แจ้งแล้ว โดยกำหนดอย่างอุกฤษฏ์ ด้วยคำว่า สเทวกะ ฟุ้งขจรไปแล้ว. เพราะเหตุนั้นชนเหล่าใด พึงมีความ สงสัยว่า มารชื่อ วสวัดดี ผู้มีอานุภาพมาก เป็นใหญ่กว่าเทวดาชั้นฉกามาวจร, แม้มารนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงทำให้แจ้งได้อย่างไร ? พระกิตติศัพท์ฟุ้งขจรไปทำลายความสงสัยของชนเหล่านั้น ด้วยคำว่า สมารกํ (พร้อมด้วยมาร). อนึ่ง ชนเหล่าใดพึงมีความสงสัยว่า พรหมผู้มีอานุภาพมาก ย่อม ส่องแสงสว่างไปในหนึ่งพันจักรวาลด้วยองคุลีหนึ่ง ในสองพันจักรวาล ด้วย สององคุลี. ฯลฯ ย่อมส่องแสงสว่างไปในหมื่นจักรวาลด้วยสิบองคุลี และได้ เสวยสุขอันเกิดจากฌานสมาบัติอย่างเยี่ยมอยู่, แม้พรหมนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำให้แจ้งได้อย่างไร ? พระกิตติศัพท์ฟุ้งขจรไปทำลายความสงสัย ของชนเหล่านั้น ด้วยคำว่า สสฺสมณพฺราหฺมณึ ปชํ (ซึ่งหมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์). พระกิตติศัพท์ (ของพระผู้มีพระภาคเจ้า) ครั้นประกาศความที่ฐานะ อย่างอุกฤษฏ์ทั้งหลาย อันพระองค์ทรงทำให้แจ้งแล้วอย่างนั้น ในลำดับนั้น
214 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 214
เมื่อจะประกาศความที่สัตวโลกซึ่งยังเหลือ อันพระองค์ทรงกระทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอำนาจการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์ จนกระทั่งถึงสมมติเทพและพวกมนุษย์ที่ ยังเหลือ ฟุ้งขจรไปแล้ว ด้วยคำว่า สเทวมนุสฺสํ (พร้อมทั้งเทวดาและ มนุษย์). ในบททั้งหลายมีบทว่า สเทวกํ เป็นต้นนี้ มีลำดับอนุสนธิเท่านี้. [อรรถาธิบาย สยํ ศัพท์เป็นต้น] อนึ่ง ในคำว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ นี้พึงทราบ วินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า สยํ แปลว่า ด้วยพระองค์เอง, สยํ ศัพท์นี้ เป็นศัพท์มี ใจความที่คนอื่นจะพึงนำไปหามิได้. บทว่า อภิญฺญา ความว่า ทรงรู้ด้วย ความรู้ยิ่ง คือด้วยพระญาณอันยิ่ง. บทว่า สจฺฉิกติวา คือทรงทำให้ประจักษ์. ด้วยบทว่า สจฺฉิกตฺวา นั่น เป็นอันท่านทำการห้ามกิจมีการอนุมานเป็นต้น เสีย. บทว่า ปเวเทติ ความว่า คือทรงยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้ คือให้รู้ ได้แก่ ทรงประกาศให้รู้. [พระธรรมงามในเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด] ข้อว่า โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิกลฺยาณํ ฯเปฯ ปริโยสานกลฺยาณํ มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ต้องสละสุขอันเกิด แต่วิเวกอย่างยอดเยี่ยมแล้ว ทรงแสดงธรรมอยู่ ก็เพราะทรงอาศัยความกรุณา ในสัตว์ทั้งหลาย. ก็แลพระองค์เมื่อทรงแสดงธรรมนั้น จะน้อยหรือมากก็ตาม ทรงแสดงครบถ้วนทั้ง ๓ ประการ มีความงามในเบื้องต้นเป็นอาทิเท่านั้น คืออย่างไร ? คืออย่างนี้ ความพิสดารว่า แม้พระคาถาเดียว ก็มีความงาม ในเบื้องต้น ด้วยบาททีแรก มีความงามในท่ามกลาง ด้วยบาทที่สองและที่สาม
215 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 215
มีความงามในที่สุด ด้วยบาทที่สุด เพราะพระธรรมมีความงามรอบด้าน. พระสูตรมีอนุสนธิเดียว มีความงามในเบื้องต้นด้วยคำนิทาน, มีความงามใน ที่สุดด้วยคำนิคม, มีความงามในท่ามกลางด้วยคำที่เหลือ. พระสูตรที่มีอนุสนธิ ต่าง ๆ มีความงามในเบื้องต้นด้วยอนุสนธิแรก, มีความงามในที่สุดด้วยอนุสนธิ ในที่สุด, มีความงามในท่ามกลาง ด้วยอนุสนธิที่เหลือ ศาสนธรรมแม้ทั้งสิ้น มีความงามในเบื้องต้น ด้วยศีลอันเป็นอรรถของตนบ้าง, มีความงามใน ท่ามกลาง ด้วยสมถะและวิปัสสนา มรรคและผลบ้าง, มีความงามในที่สุด ด้วย พระนิพพานบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง มีความงามในเบื้องต้น ด้วยศีลและสมาธิ, มีความงาม ในท่ามกลาง ด้วยวิปัสสนาและมรรค, มีความงามในที่สุด ด้วยผลและพระนิพพาน. ๑- อีกอย่างหนึ่ง มีความงามในเบื้องต้น ด้วยความตรัสรู้ดีของ พระพุทธเจ้า มีความงามในท่ามกลาง ด้วยความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม มีความงามในที่สุด ด้วยการปฏิบัติดีของพระสงฆ์. อีกอย่างหนึ่ง มีความงามในเบื้องต้น ด้วยพระอภิสัมโพธิญาณ อัน ผู้สดับศาสนธรรมนั้นแล้ว ปฏิบัติโดยความเป็นเช่นนั้นจะพึงบรรลุ มีความ งามในท่ามกลาง ด้วยปัจเจกโพธิญาณ มีความงามในที่สุด ด้วยสาวกโพธิญาณ. อนึ่ง ศาสนธรรมนั้น เมื่อสาธุชนสดับอยู่ ย่อมนำมาแต่ความงามฝ่ายเดียว แม้ด้วยการสดับ เพราะจะข่มนิวรณ์ธรรมไว้ได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความงามในเบื้องต้น เมื่อสาธุชนปฏิบัติอยู่ ก็ย่อมนำมาแต่ความงามฝ่ายเดียว แม้ด้วยการปฏิบัติ เพราะจะนำมาแต่ความสุขอันเกิดแต่สมถะและวิปัสสนา &01
216 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 216
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มีความงามในท่ามกลาง. และเมื่อสาธุชนปฏิบัติแล้ว โดยประการนั้น ก็ย่อมนำมาแต่ความงามเช่นเดียวกัน แม้ด้วยผลแห่งการ ปฏิบัติ เพราะจะนำความเป็นผู้คงที่มาให้ ในเมื่อได้สำเร็จผลแห่งการปฏิบัติ แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความงามในที่สุด. อนึ่ง มีความงามในเบื้องต้น ด้วยความบริสุทธิ์แห่งแดนเกิด เพราะ ศาสนธรรมมีที่พึ่งเป็นแดนเกิด มีความงามในท่ามกลางด้วยความบริสุทธิ์แห่ง อรรถ มีความงามในที่สุดด้วยความบริสุทธิ์แห่งกิจ. เพราะฉะนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงแสดงธรรมจะน้อยหรือมากก็ตาม พึงทราบว่า ทรงแสดงครบถ้วนทั้ง ๓ ประการ มีความงามในเบื้องต้นเป็น อาทิ. [อรรถาธิบายศัพท์ว่า สาตฺถํ สพฺพยฺชนํ] ก็ในคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า สาตฺถํ สพฺพยฺชนํ ดังนี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ :- เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงแสดงพระธรรมนี้ ชื่อว่าทรงประกาศ คือทรงแสดงศาสนพรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์ด้วย นัยต่าง ๆ. ก็ศาสนาพรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์นั้น ชื่อว่าพรั่งพร้อม ด้วยอรรถ เพราะถึงพร้อมด้วยอรรถ, ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะ ถึงพร้อมด้วยพยัญชนะตามสมควร. ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะประกอบ พร้อมด้วยอรรถบทที่แสดง ประกาศ เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้นและบัญญัติ, ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะถึงพร้อมด้วยอักษร บท พยัญชนะ อาการ นิรุตติ และนิเทศ, ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะความที่ ศาสนพรหมจรรย์เป็นต้นนั้น ลึกโดยอรรถ และลึกโดยปฏิเวธ, ชื่อว่า พรั่งพร้อม
217 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 217
ด้วยพยัญชนะ เพราะความที่ศาสนพรหมจรรย์นั้น ลึกโดยธรรม และลึกโดย เทศนา, ชื่อว่า พรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะความเป็นวิสัย (คืออารมณ์) แห่งอัตถปฏิสัมภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทา, ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะความเป็นวิสัย (คืออารมณ์) แห่งธัมมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทา. ๑- พรหมจรรย์นั้น ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะเหตุว่า เป็นที่ เลื่อมใสแห่งชนผู้เป็นนักปราชญ์ เพราะเป็นสิ่งอันบัณฑิตพึงรู้, ชื่อว่าพรั่ง พร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะเหตุว่า เป็นที่เลื่อมใสแห่งโลกียชน เพราะเป็น สิ่งควรเชื่อ, ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะมีความอธิบายลึก, ชื่อว่า พรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะมีบทตื้น, ชื่อว่าบริสุทธิ์สิ้นเชิง เพราะมีความ บริบูรณ์เต็มที่ เหตุไม่มีสิ่งที่จะต้องเพิ่มเข้า ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะเป็นของหา โทษมิได้ เหตุไม่มีที่จะต้องนำออก, ชื่อว่าพรหมจรรย์ เพราะอันบุคคลผู้ เป็นใหญ่ คือผู้ประเสริฐพึงปฏิบัติ เหตุที่พรหมจรรย์นั้นอันท่านกำหนดด้วย ไตรสิกขา และเพราะเป็นจริยาของท่านเหล่านั้น, ฉะนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อม ด้วยอรรถ พร้อมด้วยพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมมีเหตุ และเรื่องที่เกิดขึ้น ชื่อว่าทรงแสดง (ธรรมนั้น) มีความงามในเบื้องต้น และชื่อว่าทรงแสดง (ธรรมนั้น) มีความงามในท่ามกลาง เพราะเนื้อความ ไม่วิปริต และเพราะประกอบด้วยเหตุและอุทาหรณ์ โดยสมควรแก่เวไนยสัตว์ และชื่อว่าทรงแสดง (ธรรมนั้น) มีความงามในที่สุด เพราะทำให้พวกนักฟัง ได้ศรัทธาและความมั่นใจ ก็เมื่อทรงแสดงธรรมอยู่อย่างนั้น ชื่อว่าทรง ประกาศพรหมจรรย์.
218 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 218
ก็พรหมจรรย์ ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะทราบชัดในธรรมที่ ควรบรรลุได้ ก็ด้วยการปฏิบัติ ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะเชี่ยวชาญ ในพระคัมภีร์ ก็ด้วยปริยัติ ชื่อว่าบริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะประกอบด้วยธรรมขันธ์ ๕ มีสีลขันธ์เป็นต้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะไม่มีเครื่องเศร้าหมอง เพราะ เป็นไปเพื่อประโยชน์จะสละทุกข์ในวัฏฏะ และเพราะไม่มีความมุ่งหมายโลกามิส เรียกว่าพรหมจรรย์ เพราะเป็นจริยาของท่านผู้ใหญ่ โดยอรรถว่าเป็นผู้ประเสริฐ คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธสาวก แม้เพราะฉะนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงกล่าวได้ว่า ทรงแสดงธรรมมีความ งามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ทรงประกาศ พรหมจรรย์ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมด้วยอรรถ พร้อมด้วยพยัญชนะ. ข้อว่า สาธุ โข ปน ความว่า อนึ่ง (การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้เห็นปานนั้น) เป็นความดีแล. มีคำอธิบายว่า นำประโยชน์มาให้ นำความสุข มาให้. ข้อว่า ตถารูปานํ อรหตํ ความว่า (การเห็น พระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ซึ่งเห็นปานนั้น) เป็นความดีแล. มีคำอธิบายว่า นำประโยชน์มาให้ นำความสุข มาให้. ข้อว่า ตถารูปานํ อรหตํ ความว่า (การเห็น) พระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ซึ่งได้ความชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ในโลก เพราะได้บรรลุคุณตามเป็นจริง เห็นปานพระโคดมผู้เจริญนั้น (เป็นความดี). ข้อว่า ทสฺสนํ โหติ ความว่า เวรัญชพราหมณ์ ทำอัธยาศัยไว้ อย่างนี้ว่า แม้เพียงสักว่าการลืมตาทั้งสอง อันใสแจ๋วด้วยประสาทแล้วมองดู ย่อมเป็นความดี ดังนี้ (จึงเข้าไปเฝ้าในภายหลัง). [อรรถาธิบายวิเสสนสัพพนามว่า เยน เตน] คำว่า เยน ในข้อว่า อถโข เวรญฺโช พฺราหฺมโณ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ นี้ เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้น
219 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 219
ในสองบทว่า เยน เตน นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ ที่ใด เวรัญชพราหมณ์ ได้เข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น. อีกอย่างหนึ่ง ในสองบทว่า เยน เตน นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้า ด้วยเหตุใด เวรัญชพราหมณ์ ก็เข้าไปเฝ้าด้วยเหตุนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้า เพราะเหตุไร ? พึงเข้าไปเฝ้า เพราะมีความประสงค์ ในการบรรลุคุณวิเศษมีประการ ต่าง ๆ เหมือนต้นไม้ใหญ่ซึ่งผลิตผลเป็นนิตย์ อันหมู่ทิชาชาติทั้งหลาย พึงบิน เข้าไปหา เพราะมีความประสงค์ในการจิกกินผลที่ดีฉะนั้น. อนึ่ง บทว่า อุปสงฺกมิ มีอธิบายว่า คโต แปลว่า ไปแล้ว. คำว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นคำแสดงปริโยสานกาลกิริยาแห่งการเข้าไปเฝ้า. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เวรัญชพราหมณ์ ไปแล้ว อย่างนั้น คือไปยังสถานที่ใกล้ชิดกว่านั้น ได้แก่ที่นับว่าใกล้ต่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้บ้าง. หลายบทว่า ภควตา สทฺธึ สมฺโมทิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสถามถึงความสุขทุกข์เป็นต้น ๑- ได้ทรงมีความรื่นเริงเป็นไปกับพราหมณ์ นั้นแล้ว ฉันใด ถึงแม้พราหมณ์นั้น ก็ฉันนั้น ได้มีความรื่นเริงเป็นไปกับ พระผู้มีพระภาคเจ้า คือได้ถึงความเป็นผู้รื่นเริง ได้แก่ความเป็นพวกเดียวกัน ดุจน้ำเย็นกับน้ำร้อนผสมเป็นอันเดียวกันฉันนั้น. &01
220 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 220
[อรรถาธิบายศัพท์ว่า สมฺโมทนียํ และ สาราณียํ] ก็เวรัญชพราหมณ์ ได้รื่นเริง (กับพระผู้มีพระภาคเจ้า) ด้วยถ้อยคำ มีอาทิว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! พระองค์พออดทนได้หรือ ? พอยังอัตภาพ ให้เป็นไปได้หรือ ? และพระสาวกทั้งหลายของพระโคดมผู้เจริญ ไม่มีอาพาธ หรือ ? ไม่มีทุกข์หรือ ? ยังยืนคล่องแคล่วอยู่หรือ ? ยังมีกำลังอยู่หรือ ? ยังอยู่ผาสุกหรือ ? ดังนี้ อันใด ถ้อยคำอันนั้น ชื่อว่า สัมโมทนียะ (คือถ้อยคำเป็นที่ตั้งแห่งความรื่นเริง) เพราะให้เกิดความรื่นเริงกล่าวคือปีติและ ปราโมทย์ และเพราะเป็นถ้อยคำสมควรเพื่อความรื่นเริง ชื่อว่า สาราณียะ (คือถ้อยคำเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน) เพราะเป็นถ้อยคำที่สมควร และ เพราะเป็นถ้อยคำที่ควรระลึกถึง เพื่อให้ระลึกถึงตลอดกาลแม้นานด้วยดี คือ เพื่อให้เป็นไปหาระหว่างมิได้ เพราะเป็นถ้อยคำอ่อนหวานด้วยอรรถและ พยัญชนะ. อนึ่ง ชื่อว่า สัมโมทนียะ เพราะฟังอยู่ก็เป็นสุข. ชื่อว่า สาราณียะ เพราะตามระลึกถึงอยู่ก็เป็นสุข, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัมโมทนียะ เพราะ เป็นถ้อยคำบริสุทธิ์ด้วยพยัญชนะ ชื่อว่า สาราณียะ เพราะเป็นถ้อยคำ บริสุทธิ์ด้วยอรรถ ด้วยประการฉะนี้แล. [อรรถาธิบายสองศัพท์ว่า เอกมนฺตํ นิสีทิ] เวรัญชพราหมณ์ ยังถ้อยคำอันเป็นที่ตั้งแห่งความรื่นเริง คือถ้อยคำ เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ให้ผ่านไป คือให้จบลง ได้แก่ให้สำเร็จลง ด้วยบรรยายมิใช่น้อยอย่างนั้นแล้ว มีความประสงค์จะทูลถามถึงประโยชน์ที่เป็น เหตุให้ตนมา จึงนั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
221 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 221
ศัพท์ว่า เอกมนฺตํ นี้ เป็นศัพท์แสดงภาวนปุงสกลิงค์. (ศัพท์ว่า เอกมนฺตํ นี้เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ) เหมือนในคำ ทั้งหลายเป็นต้นว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์ ย่อมเดินเวียนรอบไปในที่อัน ไม่เสมอ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ในคำว่า เอกมนฺตํ นิสีทิ นี้ พึงเห็นใจ ความอย่างนี้ว่า เวรัญชพราหมณ์นั้นนั่งแล้ว จะชื่อว่า เป็นผู้นั่ง ณ ที่สมควร ข้างหนึ่ง โดยประการใด ก็นั่งแล้วโดยประการนั้น. อนึ่ง คำว่า เอกมนฺตํ นั้น เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง สัตตมีวิภัตติ. บทว่า นิสีทิ แปลว่า เข้าไปใกล้แล้ว. จริงอยู่ บุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาด เข้าไปหาครุฐานียบุคคล (คือบุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานครู) ชื่อว่าย่อมนั่ง อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เพราะความเป็นผู้ฉลาดในการนั่ง ก็บรรดาบุรุษ ผู้ฉลาดเหล่านั้น เวรัญชพราหมณ์นี้ เป็นคนใดคนหนึ่ง, เพราะฉะนั้น พราหมณ์นั้น จึงนั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. [การนั่งเว้นโทษ ๖ อย่าง] ถามว่า ก็บุคคลนั่งอยู่อย่างไร จึงชื่อว่าเป็นผู้นั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ? แก้ว่า ต้องนั่งเว้นโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่าง จึงชื่อว่าเป็นผู้นั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. โทษแห่งการนั่ง ๖ อย่างเป็นไฉน ? โทษแห่งการนั่ง ๖ อย่างนั้นคือ นั่งไกลนัก ๑ นั่งใกล้กันนัก ๑ นั่งเหนือลม ๑ นั่งที่สูง ๑ นั่งตรงหน้าเกินไป ๑ นั่งข้างหลังเกินไป ๑. จริงอยู่ บุคคลนั่งอยู่ในที่ไกลกันนัก ถ้ามีความประสงค์จะพูด จะต้อง พูดด้วยเสียงดัง. นั่งในที่ใกล้กันนัก ย่อมทำความเบียดเสียดกัน. นั่งในที่ เหนือลม ย่อมรบกวน (คนอื่น) ด้วยกลิ่นตัว. นั่งในที่สูง ย่อมประกาศ
222 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 222
ความไม่เคารพ. นั่งในที่ตรงหน้าเกินไป ถ้ามีความประสงค์จะดู จะต้องจ้องดู ตาต่อตากัน. นั่งข้างหลังเกินไป ถ้ามีความประสงค์จะดู จะต้องยื่นคอออกไปดู. เพราะฉะนั้น เวรัญชพราหมณ์ แม้นี้ จึงนั่งเว้นโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่าง เหล่านั้นแล เหตุดังนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า พราหมณ์นั้น นั่นแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. [อรรถาธิบายศัพท์ต่าง ๆ มี เอตํ ศัพท์ เป็นต้น] เวรัญชพราหมณ์ นั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล จึงได้กราบทูล คำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยบทว่า เอตํ เป็นต้น พระอาจารย์แสดง ใจความที่ควรจะกล่าวในบัดนี้. ท. อักษร ทำการต่อบท. บทว่า อโวจ แปลว่า ได้กราบทูลแล้ว. ประชุมบทว่า สุตมฺเมตํ ตัดบทเป็น สุตํ เม ตํ แปลว่า ข้อนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว. พระอาจารย์แสดงในความที่ควรกล่าว ในบัดนี้ด้วยคำว่า เอตํ มยา สุตํ เป็นต้น เวรัญชพราหมณ์ ย่อมทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยพระโคตรว่า โภ โคตม แปลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! บัดนี้ ท่านพระอุบาลีเถระ เมื่อจะแสดงข้อความที่เวรัญชพราหมณ์นั้นได้ฟังแล้ว จึงได้กล่าวคำมีอาทิ อย่างนี้ว่า น สมโณ โคตโม. ในคำว่า สมโณ โคตโม เป็นต้นนั้น มีการพรรณนาบทที่ไม่ง่ายดังต่อไปนี้ :- บทว่า พฺราหฺมเณ ได้แก่ พราหมณ์โดยชาติ. บทว่า ชิณฺเณ ได้แก่ เป็นคนแก่คร่ำคร่า คือถูกชราส่งให้ไปถึง ความเป็นผู้มีอวัยวะหักเป็นท่อนเป็นต้น บทว่า วุฑฺเฒ ได้แก่ ผู้เข้าเขตแห่งความเจริญแห่งอวัยวะน้อยใหญ่.
223 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 223
บทว่า มหลฺลเก คือผู้มาตามพร้อมแล้ว ด้วยความเป็นคนแก่ โดยชาติ. มีคำอธิบายว่า ผู้เกิดมานานแล้ว. บทว่า อทฺธคเต ได้แก่ ผู้ผ่านกาลมานานแล้ว. อธิบายว่า ผู้ล่วงเลย มา ๒ - ๓ ชั่วรัชกาลแล้ว. บทว่า วโยอนุปตฺเต ได้แก่ ผู้ย่างเข้าปูนปัจฉิมวัยแล้ว. ส่วนที่ ๓ อันมีในที่สุดแห่งร้อยปี ชื่อว่า ปัจฉิมวัย (คือวัยสุดท้าย). อีกอย่างหนึ่ง ในบททั้งหลายมีบทว่า ชิณฺเณ เป็นต้นนี้ พึงทราบ โยชนาอย่างนี้ว่า บทว่า ชิณฺเณ ได้แก่ ผู้เกิดก่อน. มีอธิบายว่า ผู้คล้อย ตามตระกูลที่เป็นไปตลอดกาลนาน. บทว่า วุฑฺเฒ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเจริญแห่งคุณมีศีลและ มรรยาทเป็นต้น. บทว่า มหลฺลเก คือผู้มาตามพร้อมแล้ว ด้วยความเป็นผู้มีสมบัติมาก คือผู้มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก. บทว่า อทฺธคเต ได้แก่ ผู้ดำเนินไปตลอดทางแล้ว คือผู้ประพฤติ ไม่ก้าวล่วงเขตแดนแห่งคุณมีวัตรจริยาเป็นต้น ของพวกพราหมณ์. บทว่า วโยอนุปฺปตฺเต ได้แก่ ผู้ย่างเข้าถึงความเป็นคนแก่โดยชาติ คือวัยที่สุดโต่ง. บัดนี้ บัณฑิตพึงประกอบบททั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า อภิวาเทติ ด้วย น อักษร ที่ท่านกล่าวไว้ในคำว่า น สมโณ โคตโม นี้ แล้วทราบ ตามเนื้อความอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ทั้งไม่เชื้อเชิญ ด้วยอาสนะอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงนั่งบนอาสนะนี้. จริงอยู่ วา
224 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 224
ศัพท์ซึ่งมีอยู่ในบทเป็นต้นว่า อภิวาเทติ นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถชื่อว่า วิภาวนะ (คือคำประกาศตามปกติของชาวโลก) ดุจ วา ศัพท์ในประโยคเป็นต้น ว่า รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง. เวรัญชพราหมณ์ ครั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้ว ลำดับนั้น เห็น พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไม่ทรงทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นแก่ตน จึงกราบทูล ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! คำที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วนี้นั้น เป็นเช่นนั้นจริง อธิบายว่า คำนั้นใด ที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว, คำนั้น ย่อมเป็นเช่นนั้นจริง คือข้อที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาและได้เห็นมานั้น ย่อมสมกัน คือเสมอกัน ได้แก่ ถึงความเป็นอย่างเดียวกันโดยความหมาย. เวรัญชพราหมณ์ กล่าวย้ำเรื่องที่ตน ได้ฟังมาพร้อมทั้งที่ตนได้เห็นมา อย่างนี้ว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ ไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะเลย เมื่อจะตำหนิ (พระพุทธองค์) จึงกราบทูลว่า ตยิทํ โภ โคตม น สมฺปนฺนเมว ดังนี้, มีอธิบายว่า การที่พระองค์ ไม่ทรงทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นนั้น ไม่สมควรเลย. [พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัดค้าน] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงเข้าไปอาศัยโทษคือการกล่าว ยกตนข่มท่าน แต่มีพระประสงค์จะทรงกำจัดความไม่รู้นั้น ด้วยพระหฤทัยที่ เยือกเย็นเพราะกรุณา แล้วแสดงความเหมาะสมแก่พราหมณ์นั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ! ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพดาและมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลผู้ที่เราควร กราบไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญด้วยอาสนะ, เพราะว่าตถาคตพึง
225 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 225
กราบไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญบุคคลใดด้วยอาสนะ, แม้ศีรษะของ บุคคลนั้น ก็พึงตกไป. ในคำว่า นาหนฺตํ เป็นต้นนั้น มีเนื้อความสังเขปดังนี้คือ :- ดูก่อนพราหมณ์ ! เราแม้ตรวจดูอยู่ด้วยจักษุคือสัพพัญญุตญาณ ซึ่งไม่มีอะไร ขัดขวางได้ ก็ไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรกราบไหว้ ควรลุกรับ หรือควร เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ในโลกต่างโดยประเภทมีเทวโลกเป็นต้นนี้เลย, อีกอย่างหนึ่ง ข้อที่เราได้บรรลุความเป็นสัพพัญญูในวันนี้ ไม่เล็งเห็นบุคคลผู้ที่ควรทำการ นอบน้อมเห็นปานนั้น ไม่น่าอัศจรรย์เลย, อีกประการหนึ่งแล แม้ในกาลใด เราเกิดได้ครู่หนึ่งเท่านั้น ก็ผินหน้าไปทางด้านทิศอุดร เดินไปได้ ๗ ก้าว แล้วได้ตรวจดูหมื่นโลกธาตุทั้งสิ้น, แม้ในกาลนั้น เราก็มิได้เล็งเห็นบุคคลที่ เราควรกราบไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ ในโลกต่างโดย ประเภทมีเทวโลกเป็นต้นนี้เลย, คราวนั้นแล ถึงท้าวมหาพรหมผู้เป็น พระขีณาสพ ซึ่งมีอายุได้หนึ่งหมื่นหกพันกัป ก็ได้ประคองอัญชลี เกิดความโสมนัส ต้อนรับเราว่า ท่านเป็นมหาบุรุษในโลก, ท่านเป็นผู้เลิศ เจริญที่สุด และ ประเสริฐที่สุดแห่งโลก พร้อมทั้งเทวโลก, บุคคลผู้เยี่ยมกว่าท่าน ย่อมไม่มี, อนึ่ง แม้ในกาลนั้น เราเมื่อไม่เล็งเห็นบุคคลผู้เยี่ยมกว่าตน จึงได้เปล่ง อาสภิวาจาว่า เราเป็นยอดแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐ ที่สุดแห่งโลก ๑- ดังนี้, บุคคลผู้ที่ควรแก่สามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น ของเราแม้ผู้เกิดได้ครู่เดียว ยังไม่มี ด้วยประการฉะนี้, บัดนี้ เรานั้นได้บรรลุ ความเป็นสัพพัญญูแล้ว จะพึงกราบไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญใครด้วย อาสนะเล่า ? ดูก่อนพราหมณ์ ! เพราะเหตุนั้น ท่านอย่าได้ปรารถนาการทำ ความนอบน้อมเห็นปานนั้น จากตถาคตเลย, ดูก่อนพราหมณ์ ! เพราะว่า &01
226 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 226
ตถาคตพึงกราบไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญบุคคลใดด้วยอาสนะ, แม้ศีรษะ ของบุคคลนั้น พึงขาดจากคอตกลงไปบนพื้นดิน โดยเร็วพลันทีเดียว ดุจ ผลตาลที่มีเครื่องผูกหย่อนเพราะแก่หง่อม หล่นจากขั้วในที่สุดแห่งราตรี ฉะนั้น. [เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้าว่าเป็นคนไม่มีรส] แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ก็กำหนดไม่ได้ ถึงข้อความที่พระตถาคตเจ้าเป็นเชษฐบุรุษในโลก เพราะทรามปัญญา ไม่ยอม อดกลั้นพระดำรัสนั้นถ่ายเดียว จึงกล่าวว่า พระโคดมผู้เจริญ ! เป็นคนไม่มีรส. ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นมีความประสงค์ดังนี้ว่า สามีจิกรรมคือการกราบไหว้ การลุกรับ และประนมมือไหว้อันใด ที่ประชาชนเรียกอยู่ในโลกว่า สามัคคีรส สามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นนั้น ของพระโคดมผู้เจริญ ย่อมไม่มี, เพราะฉะนั้น พระโคดมผู้เจริญ จึงเป็นคนไม่มีรส คือมีพระชาติไม่มีรส มีสภาพไม่มีรส. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะให้พราหมณ์นั้นเกิดใจอ่อน จึงทรงหลีกหนีความเป็นข้าศึกโดยตรงเสีย ทรงรับสมเนื้อความแห่งคำนั้นโดย ประการอื่นในพระองค์ จึงตรัสว่า พราหมณ์ ! บรรยายนี้มีอยู่แล ดังนี้เป็นต้น. [ปริยายศัพท์ลงในอรรถ ๓ อย่าง] ในคำว่า ปริยาโย เป็นต้นนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ การณะชื่อว่า ปริยาย. จริงอยู่ ปริยายศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปในเทศนา วาระและการณะ. ความจริง ปริยายศัพท์นั่น ย่อมเป็นไปในเทศนา ในคำทั้งหลายมี อาทิว่า ท่านจงทรงจำพระสูตรนั้นไว้ว่า มธุปิณฑิกเทศนา ๑- ดังนี้นั่นเทียว &01
227 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 227
เป็นไปในวาระ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ ! วันนี้เป็น วาระของใครหนอแล เพื่อโอวาทนางภิกษุณีทั้งหลาย. เป็นไปในการณะ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดตรัสบอกปริยาย (เหตุ) อื่น โดยอาการที่ภิกษุสงฆ์ จะพึงดำรงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์. ในที่นี้ ปริยายศัพท์นี้นั้น ย่อมเป็นไปในการณะ (เหตุ). เพราะฉะนั้น ในบทว่า ปริยาโย นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ! บุคคล กล่าวหาเราอยู่ว่า พระโคดมผู้เจริญ เป็นคนไม่มีรส ดังนี้ พึงพูดถูก คือ พึงถึงความนับว่า เป็นผู้พูดไม่ผิด เพราะเหตุใด เพราะนั่น มีอยู่จริงแล. ถามว่า ก็ปริยาย (เหตุ) นั้น เป็นไฉน ? แก้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ! รสในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านั้นใด, รสในรูปเป็นต้นเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอธิบายไว้อย่างไร ? แก้ว่า ตรัสอธิบายไว้อย่างนี้ คือ รสในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ กล่าวคือความยินดีในกามสุข เหล่านั้นใด ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชน ทั้งหลาย แม้ผู้ที่ชาวโลกสมมติว่า เป็นผู้ประเสริฐ ด้วยอำนาจชาติ หรือด้วย อำนาจความอุบัติ ผู้ยังยินดี เพลิดเพลิน กำหนัดในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์ เป็นต้น, รสเหล่าใด ย่อมฉุดรั้งโลกนี้ไว้เหมือนผูกที่คอ และบัณฑิตเรียกว่า สามัคคีรส เพราะเมื่อมีความพร้อมเพรียงกันแห่งวัตถุและอารมณ์เป็นต้น ก็เกิด ขึ้นได้ รสเหล่านั้นแม้ทั้งหมด พระตถาคตละได้แล้ว.
228 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 228
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะตรัสว่า อันเราละได้แล้ว ก็ทรง แสดงธรรม ไม่ยกพระองค์ขึ้นข่มด้วยมมังการ. อีกนัยหนึ่ง นั่นเป็นความ วิลาสแห่งเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า. [พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละรสในรูปเป็นต้นได้เด็ดขาด] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหีนา ความว่า รสในรูปเป็นต้น ปราศไปจากจิตตสันดาน (ของพระตถาคต) หรืออันพระตถาคตทรงละได้แล้ว. แต่ในอรรถนี้ พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถตติยาวิภัตติ. รสในรูปเป็นต้น ชื่อว่ามีรากเหง้าอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตัดขาดแล้ว เพราะอรรถว่า รากเหง้า แห่งความเยื่อใยในรูปเป็นต้นเหล่านั้น อันสำเร็จมาจากตัณหาและอวิชชา อัน พระองค์ทรงตัดขาดแล้ว ด้วยศัสตราคืออริยมรรค. ชื่อว่าอันพระองค์ทรงทำ ให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน เพราะอรรถว่า วัตถุแห่งรูปรสเป็นต้นเหล่านั้น อันพระองค์ทรงทำให้เป็นเหมือนตอตาลฉะนั้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อบุคคล ถอนต้นตาลขึ้นพร้อมทั้งรากแล้ว กระทำประเทศนั้นให้เป็นสักว่าตอแห่งต้น ตาลนั้น ความเกิดขึ้นแห่งต้นตาลนั้น ย่อมปรากฏไม่ได้อีกฉันใด, เมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถอนรสในรูปเป็นต้นขึ้นพร้อมทั้งราก ด้วยศัสตราคือ อริยมรรคแล้ว ทรงทำจิตตสันดานให้เป็นไปเพียงที่ตั้งแห่งรสในรูปเป็นต้นนั้น โดยความเป็นสถานที่เคยเกิดมาในกาลก่อน รสในรูปเป็นต้นเหล่านั้นแม้ ทั้งหมด ท่านเรียกว่า ตาลาวัตถุกตา (ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน) ฉันนั้น. อีกอย่างหนึ่ง รูปาทิรสเป็นต้นเหล่านั้น มีอันไม่งอกขึ้นเป็นธรรมดา อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำให้เหมือนตาลยอดด้วนฉะนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตาลาวัตถุกตา (อันพระองค์ทรงทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน แล้ว). อนึ่ง เพราะรูปาทิรสเป็นต้น พระองค์ทรงทำให้เป็นเหมือน
229 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 229
ตาลยอดด้วน โดยนัยที่กล่าวแล้วอย่างนั้น ชื่อว่า เป็นอันพระองค์ทรงทำไม่ให้มี ในภายหลัง คือทรงทำโดยอาการที่รูปาทิรสเป็นต้นเหล่านั้น จะมีในภายหลัง ไม่ได้, ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า อนภาวํ กตา (กระทำไม่ให้มีในภายหลัง). [อรรถาธิบายศัพท์ อนภาวํ กตา - อนภาวํ คตา] ในบทว่า อนภาวํ กตา นี้ ตัดบทดังนี้ คือ อนุ อภาวํ กตา เชื่อมบทเป็น อนภาวํ กตา แปลว่า ทำไม่ให้มีในภายหลัง. ปาฐะว่า อนภาวํ คตา ดังนี้ก็มี. ความแห่งปาฐะนั้นว่า ถึงแล้วซึ่งความไม่มีใน ภายหลัง. ในบทว่า อนภาวํ คตา นั้น ตัดบทดังนี้ คือ อนุ อภาวํ คตา เชื่อมบทเป็น อนภาวํ คตา แปลว่า ถึงแล้วซึ่งความไม่มีในภายหลัง เหมือนการตัดบทในประโยคว่า อนุอจฺฉริยา เชื่อมบทเป็น อนจฺฉริยา แปลว่า พระคาถาเหล่านี้มีความอัศจรรย์ในภายหลัง แจ่มแจ้งแล้วแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ๑-. สองบทว่า อายตึ อนุปฺปาทธมฺมา แปลว่า มีอันไม่เกิดขึ้นใน อนาคตเป็นสภาพ. จริงอยู่ รูปรสเป็นต้นเหล่าใด ที่ถึงความไม่มีแล้ว รูปรส เป็นต้นเหล่านั้น จักเกิดขึ้นได้อย่างไรเล่า ? เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัส ว่า ถึงแล้วซึ่งความไม่มีในภายหลัง มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป. หลายบทว่า อยํ โข พฺราหฺมณ ปริยาโย ความว่า ดูก่อนพราหมณ์! บุคคลกล่าวหาเราอยู่ว่า พระสมณโคดม เป็นคนไม่มีรส ดังนี้ ชื่อว่าพึงพูดถูก ด้วยเหตุใด, เหตุนี้ มีอยู่จริง ๆ. หลายบทว่า โน จ โข ยํ ติวํ สนฺธาย วเทสิ ความว่า ก็แล เหตุที่ท่านกล่าวมุ่งหมายเอากะเราไม่มี. &01
230 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 230
ถามว่า เพราะเหตุใด พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอย่างนั้น ? เมื่อ พระองค์ตรัสอย่างนั้น ย่อมเป็นอันทรงรับรองความที่สามัคคีรส ซึ่งพราหมณ์ กล่าวนั้นมีอยู่ในพระองค์มิใช่หรือ ? ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- สามัคคีรสที่พราหมณ์กล่าวหามีไม่. แท้จริง ผู้ใด เป็นผู้ควรเพื่อทำสามัคคีรสนั้น แต่ไม่ทำ, ผู้นั้น พึงเป็นผู้ ถูกกล่าวหาว่า เป็นคนมีรูปไม่มีรส เพราะไม่มีการทำสามัคคีรสนั้น. ส่วน พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ควรเพื่อทรงทำสามัคคีรสนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศข้อความที่พระองค์เป็นผู้ไม่ควร ในการทำ สามัคคีรสนั้น จึงได้ตรัสว่า โน จ โข ยํ ติวํ สนฺธาย วเทสิ อธิบายว่า ท่านมุ่งหมายถึงเหตุอันใด จึงกล่าวกะเราว่า เป็นคนไม่มีรส เหตุอันนั้น ท่านไม่ควรพูดในเราเลย. [เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ไร้โภคะ] พราหมณ์ ไม่สามารถจะยกความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นคนไม่มีรส (ขึ้นข้อนขอด) ตามที่ตนประสงค์อย่างนั้น จึงกล่าวคำอื่นต่อไปอีกว่า พระโคดม ผู้เจริญ เป็นผู้ไร้โภคะ. อนึ่ง บัณฑิตครั้นทราบลำดับโยชนา โดยนัยดังกล่าวแล้วนั้นแหละ ในปริยายทั้งปวงในพระบาลีนี้ ก็ควรทราบใจความตามที่พราหมณ์มุ่งกล่าวไว้ โดยนัยดังจะกล่าวต่อไปนี้ :- พราหมณ์ สำคัญสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เหล่าชนผู้เจริญวัยเป็นต้น นั้นนั่นแลว่า เป็นสามัคคีบริโภคในโลก จึงได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นผู้รู้โภคะ เพราะความไม่มีสามีจิกรรม มีการกราบไหว้เป็นต้นนั้น.
231 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 231
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นความไม่มีการบริโภคด้วยอำนาจ ฉันทราคะ (ดุจ) ของสัตว์ทั้งหลาย ในรูปารมณ์เป็นต้น ในพระองค์ จึง ทรงรับรองบรรยายอื่นอีก. พราหมณ์ พิจารณาเห็นการไม่กระทำกรรมคือมรรยาทสำหรับสกุล มีการกราบไหว้เหล่าชนผู้เจริญวัยเป็นต้น ที่ประชาชนชาวโลกทำกันอยู่ในโลก จึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า พระโคดมผู้เจริญ เป็นผู้กล่าวการไม่ กระทำ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นการกล่าว การไม่กระทำนั้น (มีอยู่) ในพระองค์ เพราะพระองค์ตรัสการไม่กระทำกายทุจริตเป็นต้น จึง ทรงรับรองบรรยายอื่นอีก. ก็เจตนาในการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป ในการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ เขาไม่ได้ให้และในมิจฉาจาร พึงทราบว่า กายทุจริต ในบรรดาบทเหล่านั้น. เจตนาในการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ พึง ทราบว่า วจีทุจริต. ความโลภอยากได้ ความปองร้าย ความเห็นผิด พึง ทราบว่า มโนทุจริต. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เหลือ เว้นธรรมเหล่านั้นเสีย พึงทราบว่า อกุศลธรรมอันลามกมีส่วนมิใช่น้อย. [เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้กล่าวการขาดสูญ] พราหมณ์ไม่เห็นกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นนั้นแล ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าใจว่า อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ แบบแผนประเพณีของ โลกนี้ ก็จักขาดสูญ จึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า พระโคดมผู้เจริญ เป็นผู้กล่าวการขาดสูญ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นการกล่าวการ ขาดสูญนั้น (มีอยู่) ในพระองค์ เพราะพระองค์ตรัสการขาดสูญแห่งราคะอัน
232 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 232
เป็นไปในกามคุณ ๕ ในจิตตุปบาทอันสหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง และโทสะ อันบังเกิดขึ้นในอกุศลจิต ๒ ดวง ด้วยอนาคามิมรรค อนึ่ง ตรัสการขาดสูญ แห่งโมหะอันเกิดแต่อกุศลทั้งหมดไม่มีเหลือ ด้วยอรหัตมรรค ตรัสการขาด แห่งโมหะอันเกิดแต่อกุศลทั้งหมดไม่มีเหลือ ด้วยอรหัตมรรค ตรัสการขาด สูญแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่เหลือ นอกจากโลภะ โทสะ โมหะ ทั้ง ๓ นั้น ด้วยมรรค ๔ ตามสมควร จึงทรงรับรองบรรยายอื่นอีก. [เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้รังเกียจ] พราหมณ์เข้าใจว่า พระสมณโคดม ชะรอยจะทรงรังเกียจกรรมคือ มรรยาทสำหรับสกุลมีการกราบไหว้เหล่าชนผู้เจริญวัยเป็นต้นนี้ เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงไม่ทรงกระทำกรรมนั้น จึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า พระโคดม ผู้เจริญ เป็นผู้รังเกียจ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นความ รังเกียจนั้น (มีอยู่) ในพระองค์ เพราะพระองค์ทรงรังเกียจแต่กายทุจริต เป็นต้น. พระองค์ตรัสอธิบายไว้อย่างไร. ตรัสอธิบายไว้ว่า ทรงรังเกียจ ทรงละอาย กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ มโนทุจริต ๓ และความเข้าถึงความ ถึงพร้อม ความเป็นผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยธรรมทั้งหลายที่เหลือ เว้นทุจริต เหล่านั้นที่ชื่อว่าชั่วช้า เพราะอรรถว่าเลวทราม ที่ชื่อว่าอกุศล เพราะอรรถว่า เป็นความไม่ฉลาด แม้ทั้งหมด เหมือนบุรุษผู้มีชาติคนประดับ รังเกียจคูถ ฉะนั้น จึงทรงรับรองบรรยายอื่นอีก. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายทุจฺจริเตน เป็นต้น พึงเห็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. [เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้กำจัด] พราหมณ์ เมื่อไม่เล็งเห็นกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นแล ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าใจว่า พระโคดมนี้ ย่อมทรงกำจัด คือทรงทำกรรมที่ควร
233 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 233
ทำแก่ผู้ประเสริฐในโลกนี้ ให้พินาศ, อีกอย่างหนึ่ง เพราะไม่ทรงทำสามีจิกรรม นั่น ฉะนั้น พระโคดมนี้ จึงควรถูกกำจัด คือ ควรถูกข่มขี่ จึงกล่าวกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า พระโคดมผู้เจริญ เป็นผู้กำจัด. ในบทว่า เวนยิโก นั้น มีใจความเฉพาะบท ดังต่อไปนี้ :- อุบายที่ชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า ย่อมกำจัด. อธิบายว่า ย่อมทำให้พินาศ. วินัยนั่นแลชื่อว่า เวนยิกะ. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมควรซึ่งการกำจัด เหตุนั้น จึงชื่อว่า เวนยิกะ (ผู้ควรกำจัด). มีอธิบายว่า ย่อมควรซึ่งอันข่มขี่. แต่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าทรงกำจัด เพราะพระองค์ทรงแสดงธรรม เพื่อกำจัด คือเพื่อความสงบกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น. ในบทว่า เวนยิโก นี้ มีใจความเฉพาะบทเท่านี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า เวนยิกะ เพราะอรรถว่า ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อกำจัด (กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น). จริงอยู่ วิธีพฤทธิ์แห่งศัพท์ตัทธิต เป็นของวิจิตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้นั้น ทรงพิจารณาเห็นความเป็นผู้กำจัดนั้น (มีอยู่) ในพระองค์ จึงทรง รับรองบรรยายอื่นอีก. [เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระองค์ว่าเป็นผู้มักเผาผลาญ] พราหมณ์เข้าใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ย่อมเผาผลาญเหล่าชนผู้ เจริญวัย เพราะชนทั้งหลายเมื่อกระทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น ย่อม ทำเหล่าชนผู้เจริญวัยให้ยินดี ให้ร่าเริง แต่เมื่อไม่กระทำ ย่อมทำให้เดือดร้อน ให้ขัดเคือง ให้เกิดโทมนัสแก่พวกเขา และพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่กระทำ สามีจิกรรมเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง เข้าใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นคน กำพร้า เพราะเป็นผู้เว้นจากมรรยาทของคนดี จึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้า อีกว่า พระสมณโคดม ผู้เจริญ เป็นผู้มักเผาผลาญ.
234 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 234
ในอรรถวิกัปแรกนั้น มีใจความเฉพาะบทดังต่อไปนี้ :- ธรรมที่ชื่อ ว่า ตบะ เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. มีคำอธิบายว่า ย่อมรบกวน คือย่อม เบียดเบียน. คำว่า ตบะ นี้ เป็นชื่อแห่งการทำสามีจิกรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ตปัสสี เพราะอรรถว่า ทรงมีตบะ. ในอรรถวิกัป ที่สอง บัณฑิต ไม่ต้องพิจารณาถึงพยัญชนะ เรียกคนกำพร้าในโลกว่า ตปัสสี. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นความมักเผาผลาญนั้น (มีอยู่) ใน พระองค์ เพราะพระองค์ถึงการนับว่าเป็นผู้เผาผลาญ เพราะทรงละเหล่าอกุศล ธรรมที่เรียกว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน เพราะเผาผลาญชาวโลก จึง ทรงรับรองบรรยายอื่นอีก. ในบทว่า ตปสฺสี นั้น มีใจความเฉพาะบท ดังต่อไปนี้ :- อกุศล ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ตบะ เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. คำว่า ตบะ นั่น เป็นชื่อแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย. แม้ข้อนี้ ก็สมจริงดังพระดำรัสที่พระองค์ ตรัสไว้ในคาถาว่า บุคคลผู้ทำบาป เดือดร้อนอยู่ในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อม เดือดร้อน ๑- ดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตปัสสี เพราะอรรถว่า ทรงเหวี่ยง ทรงสลัด ทรงละ คือทรงกำจัดตบะธรรมเหล่านั้นเสีย. [เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ปราศจากครรภ์] พราหมณ์เข้าใจว่า กรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเข้าถึงพร้อมแห่งครรภ์ในเทวโลก เพื่อได้เฉพาะ ซึ่งปฏิสนธิในเทวโลก และเห็นกรรมนั้นไม่มีในพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า พระโคดมผู้เจริญ เป็นผู้ปราศจากครรภ์. อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์ แม้เมื่อ &01
235 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 235
แสดงโทษ เพราะการถือปฏิสนธิในท้องแห่งมารดาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยอำนาจความโกรธ จึงกล่าวอย่างนั้น. ในบทว่า อปคพฺโภ นั้น มีใจความเฉพาะบท ดังต่อไปนี้ :- พระสมณโคดม ชื่อว่า อปคัพภะ เพราะอรรถว่า ปราศจากครรภ์ อธิบายว่า พระสมณโคดม ไม่สมควรถึงความบังเกิดยังเทวโลก. อีกอย่างหนึ่ง ครรภ์ ของพระสมณโคดมนั้นเลว เหตุนั้น ท่านจึงชื่อ อปคัพภะ. อธิบายว่า พระสมณโคดม ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนได้แต่ครรภ์ที่เลวทรามต่อไป เพราะเป็นผู้ เหินห่าง จากครรภ์ในเทวโลก, เพราะเหตุนั้น ความอยู่ในครรภ์ ในท้อง แห่งมารดาของพระสมณโคดมนั้น จึงเป็นการเลวบ้าง. ก็เพราะความนอนใน ครรภ์ต่อไปของพระผู้มีพระภาคเจ้าปราศจากไปแล้ว ฉะนั้น พระองค์เมื่อทรง พิจารณาเห็นความปราศจากครรภ์นั้น (มีอยู่) ในพระองค์ จึงทรงรับรอง บรรยายอื่นอีก. ก็บรรดาบทเหล่านั้น ใจความแห่งบทเหล่านี้ว่า ยสฺส โข พฺราหฺมณ อายตึ คพฺภเสยฺยา ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ ปหีนา พึงทราบอย่างนี้ :- ดูก่อนพราหมณ์ ! ความนอนในครรภ์ในอนาคต และความเกิดในภพใหม่ ของบุคคลใด ชื่อว่า ละได้แล้ว เพราะมีเหตุอันมรรคยอดเยี่ยมกำจัดเสียแล้ว. ก็ในอธิการนี้ ชลาพุชะกำเนิด พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาด้วย คัพภเสยยศัพท์ กำเนิดนอกนี้อีก ๓ ทรงถือเอาด้วย ปุนัพภวาภินิพพัตติศัพท์. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในสองบทว่า คพฺภเสยฺยา ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ นี้ อย่างนี้ว่า ความนอนแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ชื่อว่า คพฺภเสยฺยา ความบังเกิด คือภพใหม่ ชื่อว่า ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ เหมือนอย่างว่า
236 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 236
แม้เมื่อกล่าวว่า วิญญาณฐิติ ที่ตั้งอื่นจากวิญญาณไป ย่อมไม่มี ฉันใด แม้ในที่นี้ ก็ฉันนั้น ไม่พึงเข้าใจความนอนอื่นจากสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ต่อไป. ก็ขึ้นชื่อว่า ความบังเกิดที่เป็นภพใหม่ก็มี ที่ไม่ใช่ภพใหม่ก็มี แต่ในที่นี้ประสงค์ เอาที่เป็นภพใหม่ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ความบังเกิด คือภพใหม่ ชื่อ ปุนัพภวาภินิพพัตติ. ๑- พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นพระธรรมิศร พระธรรมราชา พระธรรมสวามี พระตถาคต ทรงทอดพระเนตรดูพราหมณ์ แม้ผู้ด่าอยู่ด้วย อักโกสวัตถุ ๘ มีความที่พระองค์มีปกติไม่ไยดีในรูปเป็นต้น จำเดิมแต่กาลที่มา ถึงโดยประการฉะนี้ ด้วยพระจักษุอันเยือกเย็นด้วยพระกรุณาอย่างเดียว ทรงกำ จัดความมืด ในหทัยพราหมณ์ ดุจพระจันทร์เพ็ญและดุจพระอาทิตย์ ใน สรทกาล ลอยอยู่ในอากาศอันปราศจากเมฆ ฉะนั้น เพราะพระองค์ทรงแทงตลอด ดีแล้ว ทรงแสดงอักโกสวัตถุเหล่านั้นนั่นเอง โดยประการอย่างอื่นจากปริยาย นั้น ๆ แล้ว เมื่อจะประกาศความแผ่ไปแห่งพระกรุณาของพระองค์ ลักษณะ แห่งตาทิคุณอันพระองค์ทรงได้แล้ว โดยความที่พระองค์มิได้ทรงหวั่นไหว เพราะโลกธรรม ๘ ความที่พระองค์มีจิตเสมอด้วยแผ่นดิน และความที่พระองค์ มีอันไม่กำเริบเป็นธรรมซ้ำอีก ทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้ ย่อมทราบความ ที่ตนเป็นใหญ่ ด้วยเหตุมีความเป็นผู้มีผมหงอกบนศีรษะ มีฟันหัก มีหนังเหี่ยว เป็นต้นอย่างเดียว แต่หารู้ไม่แล ซึ่งตนอันชาติติดตาม ชรารึงรัด พยาธิ ครอบงำ มรณะกำจัด เป็นดุจหลักตอในวัฏฏะอันจะพึงตายในวันนี้แล้ว ถึง ความเป็นทารกนอนหงายในพรุ่งนี้อีก ก็พราหมณ์นี้มาสู่สำนักของเราด้วยความ &01
237 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 237
อุตสาหะใหญ่แล ขอให้การมาของพราหมณ์นั้น จงเป็นไปกับด้วยประโยชน์ เถิด ดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดงความที่พระองค์เป็นผู้เกิดก่อน ซึ่งหาผู้เทียมถึง พระองค์มิได้ ในโลกนี้ จึงยังพระธรรมเทศนาให้เจริญแก่พราหมณ์โดยนัยว่า เสยิยถาปิ พฺราหฺมณ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยถา เป็นนิบาต ลงในอรรถคืออุปมา. ปิศัพท์ เป็นนิบาต ลงในอรรถ คือสัมภาวนะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ยถา นาม พฺราหฺมณ ด้วยนิบาตทั้งสอง, ก็ในคำว่า ฟองไข่แห่งแม่ไก่ ๘ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง นี้ ฟองไข่แห่งแม่ไก่ ถึงจะมีจำนวนหย่อนหรือเกินไปจากประการดังที่กล่าวแล้ว แม้ก็จริง ถึงกระนั้น ก็ควรทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำอย่างนี้ เพราะเป็นความสละสลวย แห่งถ้อยคำ. จริงอยู่ ถ้อยคำเช่นนั้น จัดว่าเป็นคำสละสลวย ในทางโลก. บทว่า ตานิสฺสุ ตัดบทเป็น ตานิ อสฺสุ อธิบายว่า ภเวยฺยุํ แปลว่า ไข่เหล่านั้นพึงมี. หลายบทว่า กุกฺกุฏิยา สมฺมา อธิสยิตานิ ความว่า ฟองไข่ ทั้งหลายอันแม่ไก่ตัวให้กำเนิดนั้น กางปีกออกนอนกกอยู่ข้างบนแห่งฟองไข่ เหล่านั้น ชื่อว่านอนกกอยู่โดยถูกต้อง. สองบทว่า สมฺมา ปริเสทิตานิ ความว่า เมื่อแม่ไก่ให้ฟองไข่ ได้รับอุณหภูมิตามกาลเวลาอันสมควร ชื่อว่าให้อบอุ่นโดยทั่วถึงด้วยดี. มีคำ อธิบายว่า ทำให้มีไออุ่น. สองบทว่า สมฺมา ปริเสวิตานิ ความว่า ฟองไข่ทั้งหลายอันแม่ไก่ ฟักถูกต้องโดยทั่วถึง ตามกาลเวลาอันสมควร. อธิบายว่า ให้ได้รับกลิ่นตัว แม่ไก่.
238 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 238
[ไก่ตัวออกก่อนเรียกว่าไก่ตัวพี่] บัดนี้ เพราะฟองไข่เหล่านั้น อันแม่ไก่นั้นบริบาลอยู่ ด้วยวิธีทั้ง ๓ อย่างนี้ จึงเป็นไข่ไม่เน่า แม้ยางเมือกแห่งฟองไข่เหล่านั้นที่มีอยู่ ก็จะถึงความ สิ้นไป กระเปาะฟองไข่จะบาง ปลายเล็บเท้าและจะงอยปากจะแข็ง. ลูกไก่ ทั้งหลาย (ที่อยู่ในกระเปาะฟอง) ย่อมถึงความแก่ตัว แสงสว่างข้างนอก ย่อมปรากฏถึงข้างใน เพราะกระเปาะไข่บาง เวลาแสงสว่างปรากฏอยู่นั้น ลูกไก่ เหล่านั้นใฝ่ฝันอยู่ว่า นานแท้หนอ พวกเรานอนงอปีกและเท้าอยู่ในที่คับแคบ และแสงสว่างข้างนอก ก็กำลังปรากฏ บัดนี้ ความอยู่อย่างสบาย จักมีแก่ พวกเราในแสงสว่างนี้ ดังนี้ มีความประสงค์จะออกมา จึงเอาเท้ากะเทาะ กระเปาะฟองไข่ยื่นคอออกมา. ต่อจากนั้นกระเปาะฟองไข่นั้น ก็แตกออกเป็น สองเสี่ยง. ลูกไก่ทั้งหลาย ก็ออกมาสลัดปีกพลางร้องพลาง ตามสมควรแก่ ขณะนั้น. ก็บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ที่ออกมาอยู่อย่างนั้น ตัวใดออกมาก่อน กว่าเขา ตัวนั้นเขาเรียกกันว่า ตัวพี่ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มี พระประสงค์จะยังความที่พระองค์เป็นผู้ใหญ่กว่าเขาให้สำเร็จด้วยอุปมานั้น จึง ตรัสถามพราหมณ์ว่า บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวใด พึงเอาปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากกะเทาะกระเปาะฟองไข่ออกมาได้ โดยความสวัสดีก่อนกว่าเขา ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร ? บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุกฺกุฏจฺฉาปกานํ คือบรรดาลูกไก่ ทั้งหลาย. หลายบทว่า กินฺติ สฺวาสฺส วจนีโย ความว่า ลูกไก่ตัวนั้นควร เรียกว่ากระไร ? คือ ควรเรียกว่า พี่ หรือ น้อง เล่า ? คำที่เหลือมีใจความ ง่ายทั้งนั้น.
239 เวรัญชกัณฑวรรณนา
เล่มที่ 1 หน้า 239
ลำดับนั้น พราหมณ์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ควร เรียกว่า พี่ มีอธิบายว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ลูกไก่ตัวนั้น ควรเรียกว่า พี่. หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า พี่ ? แก้ว่า เพราะลูกไก่ตัวนั้น มันแก่กว่าเขา อธิบายว่า เพราะลูกไก่ ตัวนั้น เติบโตกว่าบรรดาลูกไก่ที่ออกมาภายหลังเหล่านั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงเทียบเคียงข้ออุปมาแก่ พราหมณ์นั้น จึงตรัสว่า ฉันนั้นนั่นแล พราหมณ์ แม้เราก็เหมือนลูกไก่ตัวนั้น ในบรรดาหมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ในอวิชชา... ความไม่รู้ ท่านเรียกว่า อวิชชา ในบทว่า อวิชฺชาคตาย นี้ บรรดาหมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ในอวิชชานั้น. คำว่า ปชาย นั่น เป็นชื่อของสัตว์. เพราะฉะนั้น ในคำว่า อวิชฺชาคตาย ปชาย นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า บรรดาสัตว์ทั้งหลาย ผู้ตกเข้าไปในภายในแห่งกระเปาะฟองคืออวิชชา. บทว่า อณฺฑภูตาย ความว่า ผู้เป็นแล้ว ผู้เกิดแล้ว คือผู้เกิด พร้อมแล้วในฟองไข่ เหมือนอย่างว่า สัตว์บางพวกผู้เกิดในฟองไข่เขาเรียกว่า อัณฑภูตา ฉันใด หมู่สัตว์แม้ทั้งหมดนี้ ก็ฉันนั้น ท่านเรียกว่า อัณฑภูตา เพราะความที่ตนเกิดในกระเปาะฟองไข่คืออวิชชา. บทว่า ปริโยนทฺธาย ความว่า ผู้อันกระเปาะฟองคืออวิชชานั้น รึงรัด คือ ผูกมัด พันไว้โดยรอบ. บทว่า อวิชฺชณฺฑโกสมฺปทาเลตฺวา ความว่า เราได้ทำลาย กระเปาะฟองที่สำเร็จมาจากอวิชชานั้นแล้ว.
240 ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล
เล่มที่ 1 หน้า 240
สองบทว่า เอโกว โลเก ความว่า ในโลกสันนิวาสแม้ทั้งสิ้น เราผู้เดียวเท่านั้น คือไม่มีคนที่สอง. บทว่า อนุตฺตรํ ในคำว่า อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธ นี้ ความว่า เว้นจากอริยมรรคอันเยี่ยมเสียแล้ว ประเสริฐกว่าธรรมทุกอย่าง. บทว่า สมฺมาสมฺโพธึ แปลว่า ซึ่งความตรัสรู้โดยชอบและด้วย พระองค์เอง. อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า ซึ่งความตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระองค์ เอง. อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า ซึ่งความตรัสรู้ ที่ปราชญ์สรรเสริญด้วย ดีด้วย. [โพธิศัพท์หมายความถึง ๔ นัย] ต้นไม้ก็ดี มรรคก็ดี สัพพัญญุตญาณก็ดี นิพพานก็ดี ท่านเรียกว่า โพธิ. จริงอยู่ ท่านเรียกต้นไม้ว่า โพธิ ในอาคตสถานทั้งหลายว่า ตรัสรู้ ครั้งแรก ที่โคนโพธิพฤกษ์ และว่า ในระหว่างแห่งต้นโพธิ์ ในระหว่างแห่ง แม่น้ำคยา. มรรค ท่านเรียกว่า โพธิ ในอาคตสถานว่า ความรู้โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ในมรรคทั้ง ๔. สัพพัญญุตญาณ ท่านเรียกว่า โพธิ ในอาคตสถานว่า พระสิทธัตถโพธิสัตว์ มีพระปัญญาประเสริฐดุจแผ่นปฐพี ทรงบรรลุพระโพธิญาณ. พระนิพพาน ท่านเรียกว่า โพธิ ในอาคตสถานว่า พระสิทธัตถโพธิสัตว์ ทรงบรรลุโพธิ อันเป็นอมตะเป็นอสังขตะ. แต่ในบทว่า สมฺมาสมฺโพธึ นี้ ท่านประสงค์เอาอรหัตมรรคญาณ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ประสงค์เอา สัพพัญญุตญาณบ้าง.